คำพิพากษาฎีกาเด่นปี 2563-2566 ป.พ.พ. (สำหรับการสอบทุกสนาม)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2024
  • 📣 LIVE สด สถาบันติวกฎหมาย Ohm's law‼️
    #คำพิพากษาฎีกาเด่นปี 2563-2566 ป.พ.พ. (สำหรับการสอบทุกสนาม)
    นอกจากหลักกฎหมายจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการสอบสนามต่าง ๆ แล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ได้วางหลักเพิ่มเติมจากบทกฏหมายหรือคำพิพากษาฎีกาที่มีข้อเท็จจริงเฉพาะที่ต้องจำนัั้น มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันในการสอบสนามต่าง ๆ ไลฟ์นี้ติวเตอร์จะจับประเด็นคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ป.พ.พ. พร้อมทบทวนหลักกฎหมายให้แม่นยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งนำไปใช้ได้กับการสอบทุกสนาม ⭐️⭐️⭐️
    📚 ท่านใดที่กำลังจะเตรียมตัวสอบเนติฯ ภาคเรียนที่ 1/76 หรือสอบสนามผู้ช่วยผู้พิพากษาหรืออัยการผู้ช่วย ห้ามพลาดเด็ดขาดนะครับ !!
    -------------
    ✅ ดูคอร์สติวและสมัครติวได้ที่ www.OhmsLawTutor.com/courses
    .
    ✅ LINE Official : @OhmsLawTutor
    (09.00-24.00 น. ทุกวัน)
    หรือคลิก line.me/R/ti/p...
    .
    ✅ โทร. 098-997-8919, 097-928-9289, 095-693-9789, 080-563-9789, 089-392-8236 (09.00-18.00 น. ทุกวัน)
    #ฝากความสำเร็จให้เราดูแล ❤️
    #สถาบันติวกฎหมายโอห์มลอว์

ความคิดเห็น • 19

  • @thitanunt88
    @thitanunt88 9 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @oibitparte
    @oibitparte ปีที่แล้ว +3

    1:07:10
    "1129" การโอนหุ้น "ชนิดระบุชื่อ"
    "ว.1 "
    - โอนได้โดยไม่ต้องได้รับ "ความยินยอม" ของบริษัท เว้นแต่ "ข้อบังคับบริษัท" จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
    "ว.2 "
    - ถ้ามิได้ "ทำเป็นหนังสือ" + ลงลายมือชื่อผู้โอน & ผู้รับโอน + มีพยาน 1 คนรับรอง = "โมฆะ"
    - ดังนั้น การซื้อขายหุ้น (อสังหา) กับการโอนหุ้น เป็นคนละขั้นตอนกัน แบบของการขายหุ้นเป็นไปตาม "456 ว.2" เมื่อซื้อขายแล้วและจะจดทะเบียนโอนหุ้น ต้องทำตาม "1129"
    - อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มี "การแถลงหมายเลขหุ้น" ก็ไม่ตกเป็น "โมฆะ" แต่อย่างใด
    "ว.3"
    - การกระทำตาม ว.2 เป็นเรื่องระหว่าง "ผู้โอน & ผู้รับโอน" แต่ถ้าจะให้มีผลเป็นการยัน "บริษัท & บุคคลภายนอก" ได้ จะต้องมี "การจดแจ้งการโอน" ทั้งชื่อ & สนง.ของผู้รับโอน ลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วย

    • @oibitparte
      @oibitparte ปีที่แล้ว

      3829/64
      ประเด็น 1
      - ข้อบังคับบริษัทเรื่องการโอนหุ้นมีว่า จะต้องบอกกล่าวผู้ถือหุ้นเดิมก่อน หากไม่มีใครประสงค์รับโอนจึงจะโอนให้บุคคลภายนอกได้ + ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการด้วย
      - และแม้บริษัทจะไม่มี "การจัดทำใบหุ้น" ให้ผู้ถือหุ้นแต่ละราย แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตาม "1129" แต่อย่างใด
      - ดังนั้น เมื่อบริษัทมี "การออกเลขหมายใบหุ้น" แล้ว การโอนหุ้นจึงต้องบังคับตาม "1129 ว.1" อยู่ดี
      ประเด็น 2
      - ผู้โอนหุ้นไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท โดยอ้างว่าเป็นการโอนให้ "บุตรของตน/ คนในครอบครัว" จึงไม่ใช่กรณีโอนให้ "บุคคลภายนอก" ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ฟังขึ้นหรือไม่?
      - ฟังไม่ขึ้น เพราะข้อบังคับไม่ได้ให้ข้อยกเว้นว่า หากโอนให้ "บุตร/ คนในครอบครัว" จะไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับแต่อย่างใด
      - ต่างจากกรณี "ตัวแทน" โอนหุ้นคืนให้ "ตัวการ (ผู้ถือหุ้นที่แท้จริง)" ไม่ถือเป็น "บุคคลภายนอก" จึงไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ
      ประเด็น 3
      - ผู้โอนหุ้นอ้างอีกว่า เมื่อบริษัท "ยังไม่มีคณะกรรมการ" จึงไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ฟังขึ้นหรือไม่?
      - ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่อาจถือได้ว่าการไม่มีคณะกรรมการเป็นเหตุปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตาม

  • @ทนายเรืองสุข
    @ทนายเรืองสุข 9 หลายเดือนก่อน

    นครพม ครับ​ เหลือ​ 4​ ขา​ ครับ

  • @oibitparte
    @oibitparte ปีที่แล้ว +1

    7:50
    - สัญญาเช่าที่ จล.1 ผู้เช่า และจล.2 ผู้ให้เช่า มีข้อตกลงให้ "เช่าช่วง" ได้ จล.1 จึงให้จ.เช่าช่วงต่อโดยชอบ
    - แต่ต่อมา จล.1 & จล.2 ตกลงกัน "เลิกสัญญาเช่า" ก่อนครบกำหนดเวลา ซึ่งผลคือหาก "สัญญาเช่าเดิม" ระงับ "สัญญาเช่าช่วง" ก็จะระงับไปด้วย
    - จ.ได้รับความเสียหาย สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก จล.1 ผู้ให้เช่าช่วง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนโดยตรงได้
    ประเด็น 1 : "จ.ผู้เช่าช่วง" จะมีอำนาจฟ้อง "จล.2 ผู้ให้เช่าเดิม" ด้วยหรือไม่?
    - ไม่ได้ เพราะตาม "545" การเช่าช่วงโดยชอบ "ผู้เช่าช่วง" จะต้องรับผิดโดยตรงต่อ "ผู้ให้เช่าเดิม" แต่ไม่อาจตีความกม.ให้กลับกันว่า "ผู้ให้เช่าเดิม" จะต้องรับผิดต่อ "ผู้เช่าช่วง"
    ประเด็น 2 : เมื่อปรากฏว่า
    - ใน "สัญญาเช่า" มีข้อตกลงว่า จล.1 ตกลงยอมรับภาระผูกพันของ "ผู้เช่ารายย่อย/ ผู้เช่าช่วง" ที่มีภาระผูกพันตามสัญญาเช่ากับตน จึงเป็นกรณี จล.1 ตกลงกับจล.2 แต่ประโยชน์เกิดกับ "ผู้เช่าช่วง" ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามสัญญาเช่า จึงเป็น "374 : สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก"
    - แต่ในกรณีนี้ เมื่อ จ. ยังไม่ได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าว ตาม "375" สิทธิของจ.จึงยังไม่เกิดขึ้น จ.จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจล.2 และไม่มีอำนาจฟ้องให้จล.2 ร่วมรับผิดกับจล.1 ในการใช้ค่าเสียหาย

    • @oibitparte
      @oibitparte ปีที่แล้ว

      14:20 69/66
      - ตาม "206" กรณี "หนี้ละเมิด" ถือว่า "ผู้ทำละเมิด" ผิดนัดทันทีตั้งแต่วันทำละเมิด "ดอกเบี้ยผิดนัด" จึงเริ่มนับในวันเดียวกัน และกรณีนี้นำไปใช้กับ "ผู้ต้องร่วมรับผิด" กับผู้ทำละเมิดด้วย เช่น พ่อแม่ นายจ้าง
      - แต่กรณี "ผู้รับประกันภัยค้ำจุน" มีความผูกพันที่จะร่วมรับผิดตามที่ระบุในกรมธรรม์ อันเป็นมูลความรับผิดตาม "สัญญาประกันภัย" จึงไม่ใช่ผู้ทำละเมิด/ ผู้ต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่าง "ลูกหนี้ร่วม"
      - ผลคือ เรื่องดอกเบี้ยผิดนัดจะใช้หลักของ "206" ไม่ได้ ต้องกลับไปใช้หลักทั่วไปตาม "204" โดยเมื่อสัญญาประกันภัยไม่มีกำหนดเวลาชำระตามปฏิทิน ดังนั้น เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ + เจ้าหนี้เตือนแล้ว แต่ไม่ชำระ = ผิดนัดเพราะเขาเตือน ตาม "204 ว.1"
      - แต่เมื่อปรากฏว่าก่อนฟ้องคดี ผู้เสียหายยังไม่ได้ทวงถามให้ชำระหนี้ ผู้รับประกันภัยจึงยังไม่ตกเป็น "ผู้ผิดนัด" จนกว่าจะมีการฟ้องคดีที่จะถือว่าผิดนัดนับแต่ "วันฟ้องคดี" (เพราะมีผล = การเตือนเช่นกัน) ดังนั้น ดอกเบี้ยผิดนัดจึงเริ่มนับตั้งแต่ "วันฟ้องคดี"

    • @oibitparte
      @oibitparte ปีที่แล้ว +1

      20:10 4197/63
      คำถาม : หลังจาก "สัญญาจ้างแรงงาน" สิ้นสุดลงไปแล้ว แต่ลูกจ้างก็ยังคงมาทำงาน + นายจ้างยินยอมและไม่ได้ว่าอะไร หากต่อมาลูกจ้างทำละเมิดในการที่จ้าง นายจ้างต้องร่วมรับผิดตาม "425" หรือไม่?
      1. แม้สัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวยังคงแสดงให้เห็นถึง "ความผูกพันในหน้าที่เดิมอย่างไม่ขาดตอน" พฤติการณ์จึงยังบ่งชี้ว่า "ยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้าง" ของนายจ้างอยู่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนข้อตกลงการทำงานระหว่างนายจ้างลูกจ้างจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา ไม่มีผลต่อ "บุคคลภายนอก"
      2. อีกทั้ง ตาม "575" ก็ไม่ได้บัญญัติว่าสัญญาจ้างแรงงานต้อง "ทำเป็นหนังสือ" การตกลงจ้างกันใหม่ "ด้วยวาจา" จึงสามารถเกิดขึ้นได้
      ดังนั้น
      - การกระทำของลูกจ้างในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ขับรถของนายจ้าง โดยมิได้เป็นการกระทำนอกหน้าที่
      - และแม้จะเกิดเหตุในขณะที่ลูกจ้างขับรถไป "ทำธุระส่วนตัว + ไม่ได้อยู่ในเขตที่ทำงาน" แต่ก็เป็น "ช่วงเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยว" กับการทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยยังไม่ได้เอารถกลับไปคืนสู่ "ความครอบครองนายจ้าง"
      - จึงถือเป็นละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดตาม "425"

    • @oibitparte
      @oibitparte ปีที่แล้ว +1

      25:55 56/65
      ประเด็น 1
      - "สัญญาเช่าอาคาร" ระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดไม่ว่าเราะเหตุใด ผู้เช่าต้องขนย้ายทรัพย์สินบริวารออกไป + ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืน ภายใน 30 วันนับแต่สัญญาสิ้นสุด หากพ้นกำหนดต้องชดใช้ "ค่าปรับรายวัน" วันละ 600 บ.
      - ข้อตกลงนี้จึงเป็นการตกลงเรื่องค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อมีการผิดข้อตกลง จึงมีลักษณะเป็น "เบี้ยปรับ" ตาม "380"
      ประเด็น 2 : นอกจาก "เบี้ยปรับ" แล้ว ผู้ให้เช่าจะเรียก "ค่าขาดประโยชน์" ได้อีกหรือไม่?
      - ตาม "380 ว.2" หากเจ้าหนี้พิสูจน์ได้ว่า มี "ค่าเสียหายอย่างอื่น" ยิ่งไปกว่าเบี้ยปรับ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายนั้นเพิ่มได้อีก
      - หลังจากสิ้นสุดสัญญา แต่ผู้เช่ายังอยู่ในอาคาร ไม่ยอมส่งมอบคืน ผู้ให้เช่าย่อมได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์เพราะไม่สามารถเอาไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้ อันเป็น "การทำละเมิด" ต่อผู้ให้เช่า
      - ดังนั้น เมื่อผู้ให้เช่าพิสูจน์ได้ว่าตนเสียหายจริง จึงสามารถเรียกค่าขาดประโยชน์ได้อีกส่วนหนึ่ง อันค่าเสียหาย "คนละส่วน" กับเบี้ยปรับ
      ประเด็น 3 : ผู้เช่าอ้างว่า "อาคารนั้นผุกร่อนแล้ว ไม่ปลอดภัย ไม่อาจให้เช่าต่อได้อยู่แล้ว ผู้ให้เช่าจึงไม่ขาดประโยชน์ใดๆ" เพื่อจะไม่ชำระค่าขาดประโยชน์ได้หรือไม่?
      - ฟังไม่ขึ้น เพราะแม้อาคารจะมีสภาพที่เป็นอันตราย แต่ก็ยังสามารถใช้อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งการที่ผู้เช่ายังคงอยู่อาศัยต่อโดยประสงค์จะขอต่อสัญญาต่อไป แสดงว่าผู้ให้เช่าสามารถนำอาคารออกให้ผู้อื่นเช่าได้
      - ที่ศาลจึงกำหนดให้ผู้เช่าชำระ "ค่าเสียหาย" เสมือนเป็น "ค่าเช่ารายเดือน" ในอัตราที่เท่ากัน จึงเหมาะสมแล้ว
      ประเด็น 4 : ผู้ให้เช่าฟ้องเรียก "ค่าเสียหายจากค่าบำรุงรายปี" (คล้ายกับค่าส่วนกลาง) เพราะผู้เช่ายังคงอยู่ต่อไป "โดยไม่มีสิทธิ" โดยคิดตามอัตราค่าเช่า "ในสัญญาเช่า" ที่เลิกกันไปแล้วนั้นได้หรือไม่?
      - ไม่ได้ เพราะเมื่อผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาจนสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว ผู้ให้เช่าจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากค่าบำรุงรายปี อันเป็นการเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยข้อสัญญาเช่าได้อีก คงมีสิทธิเรียกเพียง "ค่าเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญา" เท่านั้น

    • @oibitparte
      @oibitparte ปีที่แล้ว

      35:20 3692/64
      "491" หลักของสัญญาขายฝาก คือ
      - กมส.ในทรัพย์ที่ขายฝาก "จะโอนแก่ผู้ซื้อฝากทันที" เพียงแต่ผู้ขายฝาก "มีสิทธิไถ่คืน" ภายในกำหนดเวลาไถ่ได้
      แต่ตาม "สัญญาขายฝากรถ" นี้มีข้อตกลงว่า
      1. ผู้ขายฝากตกลงขายฝากรถ และผู้ซื้อตกลงซื้อรถนั้นในราคา 9 หมื่น และเมื่อผู้ขายฝากได้รับเงินแล้ว จึงมอบรถ + ใบคู่มือจดทะเบียนให้ผู้ซื้อ "เพื่อจะทำการโอนรถให้" เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่แล้ว
      2. ในระหว่างระยะเวลาขายฝาก หากมีเหตุที่ทำให้รถที่ขายฝาก "ไม่สามารถโอนแก่ผู้ซื้อได้" ภายหลังจากที่ผู้ขายฝากสละสิทธิ์ไถ่ ผู้ขายฝากก็จะคืนเงินค่าซื้อรถตามข้อ 1 ให้แก่ผู้ซื้อไป
      3. ผู้ซื้อฝากจะหักเงินที่ให้แก่ผู้ขายฝาก เพื่อเป็น "ค่าจอดรถ + ค่าดูแลรักษา" ในระหว่างที่รถยังอยู่ในครอบครองของตนด้วย
      จึงมีความหมายเพียงว่า
      - ผู้ขายฝากจะยอมให้กมส.ในรถตกแก่ผู้ซื้อฝาก "ก็ต่อเมื่อ" ผู้ขายฝากไม่ชำระเงินค่าซื้อรถ คืนแก่ผู้ซื้อฝากเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
      - แสดงให้เห็นว่า คู่สัญญา "ไม่ได้มีเจตนาจะขายฝากกันจริง" เพราะเหมือนเป็นการให้รถไว้เพื่อเป็น "หลักประกัน" เท่านั้น โดยกมส.ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อฝากโดยทันที เพราะสุดท้ายผู้ขายฝากสามารถขอรถคืนได้
      ศาลจึงเห็นว่า
      - เป็นเพียง "สัญญาขายฝากอำพรางสัญญาจำนำ" อันเกิดจากการแสดง "เจตนาลวง" ตาม "155 ว.1" เท่านั้น ผลคือ "สัญญาขายฝาก" ตกเป็นโมฆะ
      - และจะต้องบังคับตาม "สัญญาจำนำ" ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง ตาม "155 ว.2"

    • @OhmsLawTutor
      @OhmsLawTutor  ปีที่แล้ว

      เยี่ยมเลยครับ เก็บประเด็นได้ครบถ้วนมาก หากมีคำถามสงสัยสอบถามติวเตอร์ได้นะครับ

  • @zbingz_001
    @zbingz_001 ปีที่แล้ว

    อายุ​ 10​ ป.4

  • @MyMolee
    @MyMolee 3 หลายเดือนก่อน

    14:10
    หนี้ลูกหนี้ผิดนัด