มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-ฟ้อนเมืองก๋ายลาย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2024
  • โครงการสานสัมพันธ์มิตรภาพไทย - ลาว ครั้งที่ 15
    วันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2561
    ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
    ชื่อชุดการแสดง ฟ้อนเมืองก๋ายลาย แสดงโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ควบคุมและฝึกซ้อมการแสดง
    1.รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล
    รายละเอียดการแสดง
    ฟ้อนเมืองกลายลาย มักเรียกสั้นๆ ว่า “ฟ้อนกลายลาย” หรือ “ฟ้อนลาย” เป็นฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสืบทอดจากแม่ครูที่บ้านแสนตอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา เป็นการฟ้อนแบบโบราณที่ปรับมาจากการฟ้อนเชิงของผู้ชาย แม่หม่อนดีพร้อมกับเพื่อนๆ ผู้หญิง เป็นรุ่นแรกที่ได้รับการปรับจากฟ้อนเชิงของคุณตาเป็นฟ้อนของผู้หญิง โดยคุณตาผู้มีบรรพบุรุษเป็นไทลื้อและไทใหญ่อพยพจากเมืองต่วน เมืองหาง นครเชียงตุง (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) มาอยู่เมืองเชียงของ(อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย) ต่อมาเคลื่อนย้ายมาอยู่บริเวณเมืองเชียงใหม่(บริเวณอำเภอแม่ริมปัจจุบัน) จนกระทั่งมาอยู่บ้าน แสนตอง เมืองสะเมิง(อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่) คุณตาเป็นครูฟ้อนเชิงจะสอนให้บุตรหลานแต่ไม่มีบุตรหลานที่เป็นผู้ชายจึงได้สอนให้บุตรหลานผู้หญิง โดยเลือกท่าทางที่อ่อนช้อย เช่น บิดบัวบาน เสือลากหาง สาวไหม สอนให้แม่หม่อนดีเคยได้ฟ้อนรับเสด็จรัชกาลที่ ๗ คราวเสด็จเลียบมณฑลพายัพเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ แม่ครูฟ้อนกลายลายของชมรมพื้นบ้านล้านนาในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ ๖ คือ แม่ครูบัวเร็ว เวชสุคำ และแม่ครูบัวคำ อินเสาร์ เรียนจากแม่หม่อนดี แม่หม่อนก๋องแก้ว และแม่เตรียมตา วงศ์วาน โดยความหมาย “กลาย” (ออกเสียง “ก๋าย”) แปลว่าเปลี่ยนไปหรือผ่านไป ฟ้อนเมืองกลายลายนิยมใช้ฟ้อนในประเพณีแห่ครัวทาน ผู้แสดงจะฟ้อนประกอบวงกลองมองเซิงแบบของชาวไทใหญ่ โดย“มอง” แปลว่า “ฆ้อง” และ “เซิง” แปลว่า “ชุด” วงกลองมองเซิงประกอบด้วย กลองมองเซิง ฉาบและฆ้องหลายใบตั้งแต่ขนาดเล็กถึงใหญ่ ส่วนการแต่งกายของฟ้อนเมืองกลายลายทางชมรมพื้นบ้านล้านนาจะแต่งกายแบบหญิงสาวชาวไทลื้อ หรือชุดผ้าเมือง ท่าฟ้อนเมืองกลายลายดั้งเดิมมีจำนวน ๒๐ แม่ลาย ไม่มีการกำหนดเรียงลำดับท่าก่อนหลังตายตัวขึ้นอยู่กับผู้ฟ้อน และบางท่าแม่ครูก็ลืมชื่อเรียกจึงเรียกตามลักษณะการฟ้อน ทางชมรมพื้นบ้านล้านนาจึงตั้งชื่อเรียกแม่ท่าบางท่าที่ไม่มีชื่อขึ้นใหม่เพื่อสะดวกต่อการเข้าใจและฝึกซ้อม ส่วนบางท่าที่ไม่มีชื่อทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่และเรียงลำดับใหม่ ๒๐ ท่า คือ (๑) ไหว้ (๒) บิดบัวบาน (๓) เสือลากหาง (๔) แทงบ้วง (๕) กาตากปีก (๖) ใต้ศอก (๗) ไล่ศอก (๘) จีบข้างเอวหมุน (๙) บัวบานคว่ำหงาย (๑๐) ยกเอวสูง (๑๑) แลกลาย(เต็กลาย) (๑๒) ใต้ศอกนั่ง - ยืน (๑๓) แลกลาย(เต็กลาย) (๑๔) ยกเอวต่ำ (๑๕) บัวบานคว่ำหงาย (๑๖) ม้วนไหมเข่า (๑๗) ใต้ศอกนั่งลง (๑๘) ตวัดเกล้า (๑๙) ใต้ศอกลุก (๒๐) ไหว้

ความคิดเห็น • 15

  • @ถ.วัวลายตําบลหายยา

    มีอยู่ช่วงหนึ่ง (เชียงทองของลาว ) #อยู่ในอาณาจักรล้านนา และ ล้านช้าง # กล่าวคือถูกควบทั้งสองอาณาจักรไว้ ยุค สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ครับ ตามหลักฐาน ประวัติศาสตร์ ของเมืองเชียงใหม่

  • @nopsri1672
    @nopsri1672 4 ปีที่แล้ว +2

    ไม่ค่อยได้เห็นคนรำแบบเต็มๆเท่าไร
    เพราะกล้องเอาแต่ตัดไป ตัดมา นักดนตรีทีนึง หลังของนางรำทีนึง พอจะได้เห็นนางรำก็เห็นครึ่งตัว

  • @nonnyheilbronn3340
    @nonnyheilbronn3340 4 ปีที่แล้ว +3

    หล่อจังเป่าปี่

  • @tassarinnemeth4261
    @tassarinnemeth4261 5 หลายเดือนก่อน

    ฟ้อนงามแต๊ๆจ้าว กึ๊ดเติงหาอาณาจักรลานนา บ้านเกิดของเฮาแต๊ๆ จ้าว / Far away from home..Pennsylvania, The USA.

  • @SuperChaiyanan
    @SuperChaiyanan 2 ปีที่แล้ว +2

    นี้แหละฟ้อนลื้อดั้งเดิม

  • @boysan218
    @boysan218 4 ปีที่แล้ว +2

    ขับลื้อ และการแสดงของ พี่น้องไตยโหลง

  • @tankura
    @tankura 5 ปีที่แล้ว +2

    _+_ เริศจ้า สวยงามมาก

  • @Aabb-rz9sw
    @Aabb-rz9sw 5 ปีที่แล้ว +2

    งามมม

  • @chanchaykawee3665
    @chanchaykawee3665 3 ปีที่แล้ว

    ต้องปรับปรุงดนตรี อย่างนี้ทำให้ไม่เร้าใจคนดูคนฟัง

  • @พิพัฒน์วัชราภรณ์
    @พิพัฒน์วัชราภรณ์ 3 ปีที่แล้ว +1

    ดนตรีจืดชืด ไม่ดึงดูด เร้าใจ 😎

    • @ละอ่อนหน้อยลอยลํา
      @ละอ่อนหน้อยลอยลํา 3 ปีที่แล้ว +1

      เล่นได้อย่างเขาไหมครับ

    • @555าส9ถถถุบ
      @555าส9ถถถุบ 3 ปีที่แล้ว +2

      ขนาดนี้ยังว่าจืดชืดอีกเหรอครับ
      มีอคติ มีความในใจ หรือมีความอิจฉา อะไรเป็นการส่วนตัวไหมครับ

    • @kongsit7258
      @kongsit7258 2 ปีที่แล้ว +1

      เล่นอย่างอารยะครับ โม่น อก โม่น ใจ๋ ม่วนตามฮีต😀