ไตรลักษณ์ ทุกข์ อนิจัง อนัตตา เห็นสัจธรรม อริยสัจ 4 เสียงธรรม โดยหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 เม.ย. 2024
  • แบ่งปันบันทึกเสียง หลวงพ่อวิริยังค์ เรื่องไตรลักษณ์ ทุกข์ อนิจัย อนัตตา และอริยสัจ 4 หลุดพ้นเพื่อแจ๋มแจ้งเห็นชัดเจนในสัจธรรม
    ไตรลักษณ์ (three characteristics of existence) หมายถึง สภาพที่เป็นปกติวิสัยหรือเป็นไปตามธรรมชาติ หรืออาจเรียกว่าเป็นทฤษฎีแห่งความเหมาะเหมือน (the law of identity) เพราะทุกสิ่งบนโลกจะอยู่ในกฎหรือภาวะเช่นนี้เหมือนกันทั้งหมด ไตรลักษณ์จึงเป็นหลักสัจธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งสอนให้เข้าใจชีวิตที่เป็นไปตามธรรมดาตามความเป็นจริง ทำให้ตระหนักรู้ และเกิดความเข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร เกิดความรู้เท่าทัน และรับรู้ต่อทุกอาการของการปฏิบัติตน
    ไตรลักษณ์ 3 ประการ
    1. อนิจจัง/อนิจจตา (impermanence)
    คือ ความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความไม่เที่ยง ความไม่ถาวรคงที่แน่นอน ความไม่คงที่อยู่ได้ในสภาพเดิมตลอดไป ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายแปรปรวนไป กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งใดหยุดนิ่งคงที่อยู่อย่างเดิมได้ตลอดไป ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนแปลงช้าหรือเปลี่ยนแปลงเร็วเท่านั้น แต่ที่แน่ๆ ก็คือสิ่งต่างๆ ทั้งหมดจะถูกกาลเวลาทำให้เปลี่ยนแปลงเปลี่ยนสภาพไปอย่างแน่นอน สิ่งใดมีการเกิดขึ้นในตอนต้น สิ่งนั้นแม้จะคงมีอยู่ในท่ามกลาง แต่ก็ยังต้องมีความเสื่อมสลายดับไปในที่สุด นี่นับเป็นสิ่งธรรมดาแท้ของโลก
    หลักอนิจจตา (ความไม่เที่ยง) จะปรากฏขึ้นเมื่อสรรพสิ่งไม่ว่าจะมีรูปร่าง (รูปธรรม) หรือไม่มีรูปร่าง (อรูปธรรม) ก็ตาม มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสูญสลายไป
    พระพุทธศาสนาสอนหลักอนิจจตา มิใช่ให้คนยึดติดหรือหลีกหนีความไม่เที่ยง แต่สอนเพื่อให้บุคคลเห็นหรือเข้าใจกฎธรรมชาติของความไม่เที่ยงว่า ทุกสิ่งเป็นไปภายใต้กฎของการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ถาวรอยู่อย่างเดิมได้ตลอดไป เมื่อมองเห็น และเข้าใจกฎธรรมชาตินี้แล้วก็จะเกิดความรู้เท่าทัน
    ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ของหลักอนิจจตา ปรากฏขณะที่สรรพสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไปใน 3 จังหวะ คือ สิ่งที่เป็นรูปธรรมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
    สังเกตได้จาก 3 จังหวะนี้ คือ
    1) อุปจยะ มีการเกิดขึ้น
    2) สันตติ มีการสืบต่อ
    3) ชรตา มีการตาย แตกดับ และสลายไป
    ส่วนสิ่งที่เป็นนามธรรมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นสังเกตได้จาก 3 จังหวะ คือ
    1) อุปปาทะ มีการเกิดขึ้นของความรู้สึกจำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
    2) ฐิติ มีการตั้งอยู่ชั่วขณะของความรู้สึกจำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
    3) ภังคะ มีการแตกดับสิ้นสุดไปของความรู้สึกจำได้หมายรู้ คิดนึก และรับรู้ในทางจิต
    2. ทุกฺขัง/ทุกขตา (stress and conflict)
    คือ ความเป็นทุกข์ หมายถึง ความผิดหวังที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของตนเอง รวมถึงภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นของเหตุอันไม่พึงประสงค์ เกิดสภาพฝืนทน และขัดแย้งอยู่ในตัว กล่าวคือ สิ่งต่างๆ ที่มีองค์ล้วนมีประกอบจากปัจจัยต่างๆที่ไม่สามารถดำรงอยู่ตามสภาพเดิมได้ มีเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอย และสลายไปตามกาลเวลา
    หลักทุกขตา (ความเป็นทุกข์) จะปรากฏขึ้นเมื่อสรรพสิ่งไม่ว่าจะมีรูปร่าง (รูปธรรม) หรือไม่มีรูปร่าง (อรูปธรรม) ก็ตาม กำลังตั้งอยู่หรือดำเนินไป
    พิจารณาในเรื่องของทุกข์ มีข้อควรทำความเข้าใจอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
    1. ประการแรก
    ทุกข์ในไตรลักษณ์ กับ ทุกข์ในอริยสัจ 4 กล่าวคือ ทุกข์ที่ปรากฏอยู่ในหมวดธรรมสำคัญ 3 หมวด คือ
    1.1 เวทนา เรียกว่า “ทุกขเวทนา” ประกอบด้วย เวทนา 3 คือ
    - ทุกข์
    - สุข
    - อุเบกขา และเวทนา 5
    - ทุกข์
    - สุข
    - โทมนัส
    - โสมนัส
    - อุเบกขา
    1.2 ไตรลักษณ์ เรียกว่า “ทุกขลักษณะ”
    - อนิจจัง
    - ทุกขัง
    - อนัตตา
    1.3 อริยสัจ 4 เรียกว่า “ทุกขอริยสัจ”
    - ทุกข์
    - สมุทัย
    - นิโรธ
    - มรรค
    2. ประการที่สอง
    ดังนั้น ทุกข์ในข้อนี้จึงหมายถึง ทุกข์ในไตรลักษณ์ที่หมายรวมทั้งสิ่งมีชีวิตคือ มนุษย์
    และสัตว์ และไม่มีชีวิต
    3. อนัตตา/อนัตตตา (soullessness หรือ non-self)
    อ ความเป็นอนัตตา หมายถึง ความไม่ใช่ตัวตน หรือ ความไม่มีตัวตนแท้จริงของสรรพสิ่ง และไม่สามารถควบคุมให้คงอยู่ได้ตามความมุ่งหมายของตน กล่าวคือ ชีวิตหรือร่างกายนี้มิอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวตนแท้จริงของบุคคล เพราะที่เรามองเห็นเป็นรูปร่างหรือเป็นชีวิตนี้ก็เพราะมีการรวมกันของขันธ์ 5 คือ
    1. รูปหรือรูปขันธ์ 1 อันเป็นส่วนรูปหรือกาย มีส่วนประกอบคือ มหาภูตรูป 4 คือ
    - ดิน
    - น้ำ
    - ลม
    - ไฟ
    2. อุปทายรูป 24 และนามหรือนามขันธ์ 4 ส่วน คือ
    - เวทนา
    - สัญญา
    - สังขาร
    - วิญญาณ
    ลักษณะของทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรามักเป็นทุกข์ในอริยสัจ 4
    เอกสารอ้างอิง
    1. ธรากร จันทนะสาโร, 2557. นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา.
    2.นำเนื้อมาจาก เว็ปไซต์ thaihealthlife.com /ไตรลักษณ์

ความคิดเห็น • 6

  • @user-gg1dd3xh3n
    @user-gg1dd3xh3n หลายเดือนก่อน +1

    น้อมกราบนมัสการสาธุสาธุครับ

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดคะ

  • @user-ye7ir4nq5r
    @user-ye7ir4nq5r หลายเดือนก่อน +3

    กราบทานหลวงพ่อดวัยเศียรเกล้าแล้วครับกะผม

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดคะ

  • @yupinthumla415
    @yupinthumla415 หลายเดือนก่อน +1

    🙏🙏🙏🪷🪷🪷

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดคะ