ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ส.ค. 2021
  • ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น
    รู้หรือไม่ ความถนัดและพฤติกรรมของคนแต่ละประเทศ ล้วนสามารถอธิบายได้ด้วย สิ่งที่เรียกว่า “ภาษา” แล้ว "ภาษา" มีอิทธิพลต่อเราขนาดไหน ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
    References
    -www.psychologytoday.com/us/bl...
    -www.ted.com/talks/lera_borodi...
    -so04.tci-thaijo.org/index.php...
    -itdev.win/14215/13.pdf
    ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
    การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด”Subscribe”ลงทุนแมนไว้ในทุกช่องทาง
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - www.longtunman.com
    Blockdit - www.blockdit.com/longtunman
    Facebook -​ / longtunman
    Twitter - / longtunman
    Instagram - longtunman...
    Line - page.line.me/ayw2996y
    TH-cam - / longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn...
    Soundcloud - / longtunman​
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast
    Clubhouse - @longtunman
    #ลงทุนแมน​ #ห้องประชุมลงทุนแมน​ #ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง​ #BREAKTHROUGH​ #THEBRIEFCASE​ #longtunman​ #ลงทุนแมนORIGINALS​ #ภาษา #ความคิด #ประเทศ #เป็นตัวกำหนด @Longtunman

ความคิดเห็น • 203

  • @yanapda
    @yanapda 2 ปีที่แล้ว +52

    จริงค่ะ ปกติเป็นคนพูดชัดเจน ตรงไปตรงมา
    พอมาเรียนภาษาญี่ปุ่นทำให้ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ การพูดจาอ้อม ๆ แรก ๆ ก็เป็นเรื่องยากเพราะขัดกับบุคลิกเรา แต่พออยู่กับมันไปนาน ๆ ก็ซึมซับ ทำให้เป็นคนที่สามารถปรับตัวเข้ากับอีกวัฒนธรรมได้

    • @richrich8888
      @richrich8888 2 ปีที่แล้ว +3

      เราก็เจอปัญหานี้อะ รู้สึกเพลียที่จะพูดอ้อมๆ ลำคานมาก

    • @thanimaluleem7804
      @thanimaluleem7804 2 ปีที่แล้ว

      จริง

    • @hiya0246
      @hiya0246 2 ปีที่แล้ว

      พอซึมไปแล้วก็จะเข้าใจว่า มันไม่ได้ยุ่งยาก แต่มันเป็นไปตามตรรกะแบบญี่ปุ่น

    • @yanapda
      @yanapda 2 ปีที่แล้ว +3

      @@hiya0246 ใช่เลย ๆ อารมณ์แบบพอใช้ภาษาที่ซอฟต์ อย่างรูปภาษาญี่ปุ่นจะมีความหมายที่สุภาพมาก ๆ มันก็พลอยทำให้ใจเราซอฟต์ตาม

    • @nuttananlucky8859
      @nuttananlucky8859 2 ปีที่แล้ว +2

      เราเป็นคนที่รักษาน้ำใจคู่สนทนาอยู่เเล้ว จึงไม่ยากในการปฏิบัติตนต่อชาติที่มีมารยาท...เรากลับเข้ากับคนไทยยาก เพราะคนไทยพูดจาเเรงเกินไป

  • @wanwisagedsri
    @wanwisagedsri 2 ปีที่แล้ว +31

    คิดว่าทักษะ และวิถีชีวิต เป็นตัวกำหนดภาษามากกว่า เช่นชาวอะบอริจิน จำเป็นต้องจดจำทิศทาง คำเกี่ยวกับทิศทาง เลยจำเป็นในการเอาชีวิตรอด
    ชาวรัสเซียให้ความสำคัญกับเฉดสีต่างๆ เลยมีคำเฉพาะสีที่ใช้กันเป็นประจำ
    รูปแบบการนับตัวเลขภาษาไทยก็ไม่ได้ยากมาก แต่คนไทยก็ไม่ได้เก่งคณิตศาสตร์

  • @wichetleelamanit6195
    @wichetleelamanit6195 2 ปีที่แล้ว +85

    ช่องนี้เปนสื่อการเรียนการสอนที่ดึที่สุด ทันสมัย ชัดเจน ไม่เยิ่นยื้อ อยากให้คนไทยได้ชมมากๆ ไม่ว่าวัยใด

    • @Man_Nakkarat
      @Man_Nakkarat 2 ปีที่แล้ว +3

      ใช่ ฟังเข้าใจง่ายมาก ขนาดผมวัยรุ่นยังฟังจนจบเลย❤️

    • @MrNahodtaekodsao
      @MrNahodtaekodsao 2 ปีที่แล้ว

      ดีที่สุดคือฟังครบทุกช่องในโลกแล้วเหรอถึงกล้าใช้คำนี้ ถ้ายังใช้คำว่า ดีที่สุดเท่าที่เคยฟังมาจะดีกว่า ไม่เกินจริง ไม่อวยจนชวนอ้วก

    • @wichetleelamanit6195
      @wichetleelamanit6195 2 ปีที่แล้ว +5

      @@MrNahodtaekodsao คุณครับ ผมไม่เคยรู้จักใครเลยแม้แต่คนเดียวในช่องนี้ และมั่นใจว่าเขาก็ไม่รู้จักผม และผมไม่ได้มีผลประโยชน์จากใครในช่องนี้แม้เพียงนิดเดียว ผมติดตามเป็นครั้งคราว แต่ทุกครั้งที่ชมทำให้ทราบว่าเขาตั้งใจมากๆในการทำทุกครั้ง การเขียนใน youtube คงไม่ใช่เขียนแบบบรรยายเรียงความ คงเขียนแบบสั้นๆ แสดงความรู้สึกผู้เขียนเท่านั้น และหากคุณสังเกตแต่ละคนที่ comment จะเห็นว่าชอบกันและบอกว่าได้ประโยชน์จากการชม หากเป็นไปได้มากกว่าที่เขียนครั้งก่อน ผมก็จะเขียนชมมากกว่านี้ เพื่อให้กำลังใจผู้ทำ....

    • @wingspan9875
      @wingspan9875 2 ปีที่แล้ว +4

      @@MrNahodtaekodsao อย่าเอาความชอบตัวเองมาเป็นบรรทัดฐานโลก
      สำหรับเขา อาจเป็น "ช่องที่ดีสุดสำหรับเขา" ... ส่วนของคุณแบบไหนที่ดีก็เรื่องของคุณ
      การทำตัวขวางโลก บางครั้งอาจจะโดนอวัยวะบางอย่างขวางเข้าที่ปากคุณในสักวัน

    • @MrNahodtaekodsao
      @MrNahodtaekodsao 2 ปีที่แล้ว

      @@wingspan9875 เราไม่ได้กวนตีนนะแต่ที่พูดคือการถามเพราะตอนเราทำวิทยานิพนธ์เราก็ใช้คำนี้ โดนอาจารย์ย้อนถามแบบนี้แหละ

  • @minchaya.akkaranee
    @minchaya.akkaranee 2 ปีที่แล้ว +24

    "ภาษา" ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือสื่อสาร แต่เป็นการสะท้อนแนวคิด/วัฒนธรรมของคนประเทศนั้นผ่านภาษาด้วย

    • @Why007xdd
      @Why007xdd ปีที่แล้ว +2

      เป็นอาวุธ​ได้ด้วย

  • @piipeply6931
    @piipeply6931 2 ปีที่แล้ว +12

    ภาษาเขียนไทยไม่ได้ออกแบบเพื่อให้ชาวบ้านธรรมดาๆ ดูตัวอักษรสิออกแบบเพื่อใช้สำหรับภาษาบาลี-สันสกฤตคนที่จะใช้ก็มีแค่พระและชนชั้นสูงแม้แต่การสะกดวรรณยุกต์คุณยังต้องรู้อักษรสูงกลางต่ำจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคนพิมพ์ผิดเยอะแยะเพราะการจะสะกดได้ถูกคุณต้องเรียนในระดับที่สูงอาจถึงขั้นต้องเรียนบาลี-สันกฤต (สังเกตคำศัพท์ส่วนมากเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต)ยังไม่รวมโคลงฉันท์กาพย์กลอน
    แต่พอพูดถึงโครงสร้างของภาษากลับหละหลวมดิ้นได้ง่าย

  • @kiatisukkitthananthorn4766
    @kiatisukkitthananthorn4766 2 ปีที่แล้ว +31

    4:40 ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเรานึกถึงเรื่องกิน เพราะเวลาเจอใครชอบทักใครต่อใครว่า หวัดดี กินข้าวรึยัง อยู่ตลอดเวลานี่เอง

    • @billybee7415
      @billybee7415 2 ปีที่แล้ว +2

      อันนี้จริง มีเพื่อนทำงานบนเรือสำราญเขาบอกว่า เวลาแวะตามประเทศต่างๆ พนักงานฝรั่งจะไปนั่งPark มีเบียร์สักขวดไปเดินเล่นชายหาด นั่งจิบกาแฟไป หรือเดินเล่นในตัวเมือง แต่พนักงานคนไทยจะเน้นกินก่อน หาร้านนั่งนั่งกินนั่งยาวๆ ไม่เน้นเดินเล่น

    • @User5467h-4etic
      @User5467h-4etic 2 ปีที่แล้ว

      ใช้ แต่คนไทย ต้องล่ะ คำสนทนา คำถามที่ล้าสมัยออก เช่น คนไทยชอบถามถึงบุคคลที่สาม ประจำ สมัยก่อน อ่จตอบโจทย์ แต่สมัยนี้ ไม่สมควร อย่างยิ่ง เคยเจอโดนถาม แต่เราไม่อยากพูด ก้อ แค่นถามอีก พอ ตอบ เขาไม่ถูกใจ เขาตัดบท เรานิ ( นึกในใจ แล้ว เมิงถาม ตรู ทำไม ตรู ไม่อยาก พูดเลย)

    • @kiatisukkitthananthorn4766
      @kiatisukkitthananthorn4766 2 ปีที่แล้ว +2

      @@User5467h-4etic ขอยกตัวอย่างได้มั้ยครับ จะได้เห็นภาพมากขึ้น

    • @user-mv1kz9pc6w
      @user-mv1kz9pc6w 2 ปีที่แล้ว

      ควรเลิกการทักคนอื่นตอนที่ตัวเองนั่งกินข้าวว่า กินข้าวด้วยกันไหม เพราะเราไม่รู้ว่ามันเป็นการทักแบบพูดไปงั้นๆ เลยตอบไปว่า ตอนนี้ไม่ว่างค่ะ (พร้อมหน้ายุ่งๆ) เพิ่งมารู้ทีหลังว่าเป็นการทักทายแบบพูดไปงั้น แล้วคนพูดก็ไม่เหมือนไม่ชอบเราไปแล้ว

  • @preechahokim
    @preechahokim 2 ปีที่แล้ว +11

    การลงทุนในความรู้มีความเสี่ยงครับ ถ้าความรู้ที่ได้มาเป็นความรู้ที่ผิดครับ
    เช่นการวิเคราะห์หุ้นของลงทุนแมน ถ้าเราไปอ่านรายงานประจำปีของบริษัท เราจะเห็นว่าข้อมูลที่ได้มาจากลงทุนแมน เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครับ

  • @SurapholKruasuwan
    @SurapholKruasuwan 2 ปีที่แล้ว +14

    ขอบคุณครับ
    โครงสร้างภาษา มีส่วน กำหนด วิสัยทัศน์
    วิสัยทัศน์ กำหนด พฤติกรรม ใช้ชีวิตจริง

  • @glomcloud
    @glomcloud 2 ปีที่แล้ว +3

    จริงๆแล้ว ความคิดของคนต่างหาก ที่สะท้อนออกมาผ่านทางภาษา (ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ)
    เปรียบเทียบเหมือน"กาลเวลา" สะท้อนออกมาผ่านทางวัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที (ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ) แต่วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาทีไม่ได้เป็นตัวกำหนด"กาลเวลา"

  • @thisisnatapong6729
    @thisisnatapong6729 2 ปีที่แล้ว +43

    รู้สึกอยาเรียนภาษาเพิ่มขึ้นเลยครับ เข้าใจแล้วว่าทำไมแต่ละประเทศต้องผันเวลา 😂

  • @nathapong1962
    @nathapong1962 2 ปีที่แล้ว +6

    8:51 จริงแท้ๆ นัดกินกาแฟเพื่อนไทย ทำไมชอบ late ก็ไม่รู้ 10 นาที 15 นาที
    นัดเพื่อนญี่ปุ่น เราไปสาย 2 นาที บ่นจนเบื่อที่จะฟัง

  • @TheSoPhar
    @TheSoPhar 2 ปีที่แล้ว +3

    คลิปนี้สนุกมาก ได้ความรู้แบบเพลินๆ

  • @thanakritjermsuerawong8901
    @thanakritjermsuerawong8901 2 ปีที่แล้ว +1

    คอนเท้นดีมากครับ. ทำออกมาเยอะๆนะครับขอบคุณมากๆ

  • @apiladw6762
    @apiladw6762 2 ปีที่แล้ว +2

    ชอบเรื่องราวความรู้แบบนี้ค่ะ ฟังแล้วคิดตามไปด้วย ต่อยอดได้เยอะ

  • @adriancarton5182
    @adriancarton5182 2 ปีที่แล้ว +80

    เพื่อนฝรั่งที่เรียนภาษาไทยเคยบอกว่า สรรพนาม กู-มึง ใช้ให้เข้าใจแบบคนไทย ยากมาก จะหมายถึงสนิทกันจนไม่มีกำแพงกั้นก็ได้ แต่ถ้าใช้ผิดคนผิดโอกาสจะเป็นการหยามกันอย่างรุนแรง ใครใช้ได้เป็นธรรมชาติคือสามารถเนียนไปกับคนไทยได้เลย

    • @adithepr
      @adithepr 2 ปีที่แล้ว +1

      555

    • @khaschen
      @khaschen 2 ปีที่แล้ว +7

      @Vasabhi Vasabhi ผมกลัวว่าเขาจะงงว่า แล้วำคนพูด กู มึง ในโซเชี่ยวด่ากันถึงพูด
      ทั้งๆที่ไม่ได้สนิทกัน

    • @user-wc4bw4yp6j
      @user-wc4bw4yp6j 2 ปีที่แล้ว +2

      บริบท ช่วง อายุของภาษา ที่หลอมรวมหลายๆภาษาเข้าด้วยกัน ทำให้ภาษาไทยแตกต่างในอารมณ์​และวลี ภาษาไทยแต่เดิมเมื่อพันปี อาจจะมีแค่ กูมึง แต่พอมี ภาษา ขอมหรือเขมรเข้ามา ก็จะมีความหมายมากมาย เพราะภาษาหลังยุคสุโขทัย อยุธยา​ ก็มีทั่ง บาลีสัน สกฤต ขมุ เขมร มอญ จีน มากมาย จึงทำให้ ความหมายของคำเดิมโดนทอดทิ้ง แต่จริงๆแล้วคำว่า กูมึงคือ ไพเราะ​ มาก แต่คำว่า ดิฉัน เดี้ยน กระผม ข้าพระเจ้า โดนยกให้สูงเป็นภาษาของ เทพของคนชั้นสูง ย้อนกลับไปดูชาวจ้วงกวางสีคุยกัน คำว่า กูมึงนี่คือ เพราะและเป็นคำที่มีความหมายชัดสุด

    • @MrSoftypolimer
      @MrSoftypolimer 2 ปีที่แล้ว +1

      Think of it as N-word in African-American culture.

  • @ppc0187
    @ppc0187 2 ปีที่แล้ว +1

    เรื่องนี้สนุกครับ

  • @user-sc4xb2is4s
    @user-sc4xb2is4s 2 ปีที่แล้ว +10

    ที่กล่าวว่า ภาษา กำหนด 'คิด'
    ฉันเห็นผิด แผกต่าง ทางความเห็น
    เพราะฉันมอง สลับ กลับประเด็น
    ว่า 'คิด' เป็น ส่วนราก ฟากต้นทาง
    เมื่อจะอ่าน ผู้คน หรือชนขาติ
    เราก็อาจ เดาได้ จากปลายหาง
    ด้วย 'ภาษา' บัญญัติ ที่จัดวาง
    สะท้อนอ้าง 'ความคิด' จิตใจเอย

  • @wuzuxiong2100
    @wuzuxiong2100 2 ปีที่แล้ว +3

    มันก็มีส่วนจริงแต่ก็ไม่ขนาดนั้น ไอ้พวกเคารพคนอาวุโสหรือผู้ชายใหญ่กว่าหญิง เกากับยุ่นก็เอามาจากจีนนี่แหละ แต่หลังจากจีนปฏิวัติวัฒนธรรม เรื่องนี้ในจีนเรียกว่าแทบจะหายไปเลย

  • @jarerntv6137
    @jarerntv6137 2 ปีที่แล้ว +2

    เราอาจจะรู้ว่าสึกว่านิสัยของเราจะเหมือนคนญี่ปุ่นหลังจากเราเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างนั้นหรือ ลองเอาคนญี่ปุ่นเพียงหนึ่งคนมาสอนภาษาญี่ปุ่นให้คนไทยซักสิบคน แล้วให้ทั้งสิบเอ็ดคนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นเวลานานๆ โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นภาษาเดียว แล้วเรามาดูสิว่า คนญี่ปุ่นหรือคนไทยที่จะมีนิสัยเปลี่ยนไป ศาสตราจารณ์เหล่านั้นได้ทองลองแนวทางแบบนี้แล้วหรือยัง

  • @SuJin_Jan
    @SuJin_Jan 2 ปีที่แล้ว +1

    อธิบายทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา และยกตัวอย่างได้ชัดเจน ขออนุญาตนำไปใช้สอนนะคะ

  • @batmand2811
    @batmand2811 2 ปีที่แล้ว +4

    ถ้าสังเกตภาษาไทยเรามีความยากและเยอะในการใช้มาก ทั้งคำลงท้าย ตัวอักษรตั้ง44ตัว ตลบตะแลงอีกมากมาย ถ้าเปรียบเทียบกับฝั่งยุโรปเค้าคงเอาเวลาที่จะคิดถึงเรื่องคำพูดและการใช้ภาษาไปคิดเรื่องอื่นที่มีประโยชน์กว่า เหมือนเค้านำหน้าเราก้าวหนึ่งเสมอ อีกทั้งยังมีการแบ่งการใช้คำตามชนชั้นฐานะหรือวรรณะ ที่แต่งตากกัน เช่นกษัตริย์และพระที่ต้องใช้คำพูดที่แตกต่างจากคนปกติ ทำให้สังคมคนไทยมีความแตกต่าง เลื่อมล้ำกัน ชิงดีชิงเด่นกันถึงทุกวันนี้ อีกทั้งหากพูดถึงคำสอนศาสนาที่สอนให้คนอยู่กับปัจจุบัน มีความสุขกับปัจจุบัน คำสอนนี้จะทำให้คนคิดถึงการวางแผนอนาคต การเตรียมตัว และหากเกิดปัญหาก็จะไม่เกิดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้จบๆไป

    • @loop2696
      @loop2696 2 ปีที่แล้ว +4

      ต้องสืบย้อนไปถ้าดูตามประวัติศาตร์ คำคำไทยแท้ ใช้วรรณยุกต์ พยัญชนะแค่ไม่กี่ตัว ที่เพิ่มมาคือวรรณยุกต์กับพยัญชนะ สระ ที่ใช้สำหรับเลียนภาษาต่างประเทศ ภาษาไทยที่เห็นในปัจจุบันยืมคำมาจากภาษาต่างประเทศเยอะมาก ทั้ง จีน มาลายู เขมร บาลี-สันสกฤต อังกฤษ ฯลฯ จนมีพยัญชนะ 44 ตัวแบบที่เห็น เรื่องนี้ในหลักสูตรภาษาไทยไม่ค่อยเน้นถึงเลย ความไม่เข้าใจทำให้คนไทยมองว่าภาษาไทยยากไปด้วย
      เช่น เสียง ตรี จัตวา เพิ่มมาเพื่อใช้เลียนเสียงในภาษาจีน สระผสมหลายตัวด้วย จะเห็นว่าคำไทยไม่ใช้เลย เห็นบ่อยๆ ก็ป้ายร้านจีน ชื่อฝรั่ง
      พยัญชนะ ฅฃฎฑธฐฤฆฏษศ พวกนี้คือพยัญชนะที่ใช้เขียนคำแทนเสียงภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งออกเสียงได้แบบได้ซ้ำเสียงกันด้วย
      ภาษาไทย คำไทยแท้ คือที่สะกดตามเสียง ไม่ได้ดูซับซ้อน ยุ่งยาก คล้ายภาษาลาว
      เวลาอ่านหนังสือ จึงทำให้เราพอเดาได้ว่าคำไหนคือภาษาต่างประเทศ อย่างเช่น คำไหนที่มี - ์ คือภาษาต่างประเทศแน่นอน ถ้าได้อ่านบันทึกในสมัยอยุธยาจะเห็นได้ชัดเจนเรื่องการสะกดคำ (ถ้าคนยุคนี้เห็นคงกรีดร้อง ยุคนั้นไม่เคร่งเรื่องการสะกดเท่ายุคนี้ อ่านเข้าใจความหมายเป็นพอ) แนะนำที่สนุกก็บันทึกของโกษาปาน หรือลองสังเกตตามวัดที่มีจารึกฝังตามเสา(จะมีภาษาบาลีสันสกฤตเยอะหน่อย)
      ภาษาอื่นที่มีระบบแยกชัดเจนก็ภาษาญี่ปุ่น คือ ฮิรางานะกับคาตาคานะ
      ตัวอักษร 2 ชุด ออกเสียงเหมือนกัน แต่รูปต่าง เพื่อใช้แยกคำญี่ปุ่นกับต่างประเทศ ทั้งที่จะใช้ชุดเดียวก็ได้ กลายเป็นมีอักษรที่ต้องจำ 90 กว่าตัว

  • @user-ty8iq3so7i
    @user-ty8iq3so7i 2 ปีที่แล้ว

    Excelente, Gracias!

  • @LekAC101
    @LekAC101 2 ปีที่แล้ว

    ความรู้ดีมากคับ

  • @lalaaspire755
    @lalaaspire755 2 ปีที่แล้ว

    ดีมากเลยคลิปนี้

  • @iyayuii
    @iyayuii 2 ปีที่แล้ว

    ข้อมูลดีมากกกกกค่ะ

  • @keatkhamjornmeekanon7616
    @keatkhamjornmeekanon7616 2 ปีที่แล้ว +6

    ภาษามันคู่กับวัฒนธรรม เช่นฉันชื่อ..... ในภาษาจีน ภาษาดัชต์ จะใช้โครงสร้างเหมือนกับภาษาไทย เช่น Wo Jiao......และ Ik heet...... ในภาษาอังกฤษจะใช้โครงสร้าง Just call me.... (ให้เรียกฉันว่า......) ส่วนภาษาฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกสจะใช้ ฉันเรียกตัวเองว่า...... เช่น Je m'apelle..... Yo me llamo.... Eu chamo-me.....

  • @narisalee3222
    @narisalee3222 2 ปีที่แล้ว

    น่าสนใจมาก

  • @jarerntv6137
    @jarerntv6137 2 ปีที่แล้ว +1

    ฟังหูไว้หูครับ ผมกลับมองตรงกันข้าม ว่าพฤติกรรมของคนต่างหากที่เป็นตัวกำหนดภาษา ส่วนสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมคือสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ พฤติกรรมเกิดขึ้นก่อนภาษาแน่นอน อย่าเพิ่งเชื่ออะไร แม้ว่าคนที่บอกเราจะเป็นคนที่น่าเชื่อถือ ให้ใช้วิจารณจารให้ถ่องแท้ก่อน แล้วจึงตัดสินใจทีหลัง พระพุทธเจ้าที่ผมรู้จักสอนไว้แบบนี้

  • @baby_jubby
    @baby_jubby 2 ปีที่แล้ว

    Contentดีค่ะ

  • @roundandround6138
    @roundandround6138 2 ปีที่แล้ว +12

    พี่พิธีกรเรียนภาษาที่ 3 อะไรคะ อยากเก่งและมีความมั่นใจแบบพี่บ้าง
    ปล. พี่พิธีกรเสียงชัดถ้อยชัดคำมากค่ะ น้ำเสียงน่าติดตาม ไม่ง่วงเลย

  • @MrLemonchang
    @MrLemonchang 9 หลายเดือนก่อน

    นึกถึงเฮียวิทย์เลยพูดได้ 5 ภาษา
    ส่วนภาษาไทยแง่นึงคือมีหลายคำที่มีความหมายเดียวกัน รูปประโยคบางทีก็ไม่แน่นอนสลับได้หรือดิ้นได้ ทำให้การใช้ภาษาที่ค่อนข้างอิสระพลิกแพลงได้ ทำให้คนไทยนี่เลยค่อนข้างชิวๆ หรือไปในทางไร้ระเบียบ แต่ก็พลิกแพลงเก่งแบบนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจ 😅

  • @farysubkhan3614
    @farysubkhan3614 ปีที่แล้ว

    นายกบ้านเรา ภาษายอดเยี่ยมมากเลยครับ
    โดยเฉพาะ รองฯ วิษณุ

  • @KasidisP
    @KasidisP 2 ปีที่แล้ว +2

    เรื่องนี้ผมคิดได้ตั้งแต่เด็กแล้วครับ แต่ไม่มีไครเชื่อว่ามันเป็นจริง

  • @aiirable7901
    @aiirable7901 2 ปีที่แล้ว

    ชอบเสียงคนพูด

  • @supapong.aree.2309
    @supapong.aree.2309 ปีที่แล้ว

    บางเรื่องก็สมเหตุสมผล เห็นเหตุที่มาได้ตามความเป็นจริงในธรรมชาติ (ซึ่งก็ต้องจริงแน่ๆ เพราะ ภาษา เป็นเครื่องมือสื่อ concept/perception ที่คนคิด เข้าใจ รู้สึก เมื่อใช้ร่วมกันเหมือนกันมากๆ ก็มีแนวโน้มสื่อความคิด ความรู้สึก ไปในทางเดียวกันในหมู่คนส่วนใหญ่มากขึ้น) แต่บางเรื่อง เหมือนจับแพะชนแกะ โดยไม่รู้ที่มาที่แท้จริงที่ลึกไปกว่าที่เห็นในปัจจุบัน
    เช่น ถ้าการเรียกตัวเลขได้ง่าย เป็นส่วนสำคัญในการบอกความสามารถในการใช้ตัวเลข อย่างภาษาจีนเทียบอังกฤษ คนไทยก็คงเก่งเลขด้วยเหมือนกัน เพราะภาษาไทยเราก็เรียกตัวเลขในแบบเดียวกับภาษาจีนเกือบหมด ซึ่งความจริงคือ คนไทยอ่อนแอเรื่องเลขมากๆ ในขณะที่ ระบบการเรียกตัวเลขแบบภาษาอังกฤษ (และในยุโรปอีกหลายภาษา) นั้นมีรากฐานเดียวกันกับภาษาบาลี สันสกฤต คือกลุ่มภาษา Indo-European (ซึ่งเริ่มต้นเมื่อกว่า 5 พันปีที่แล้วในดินแดนเหนือเทือกเขาคอเคซัส ก่อนคนแถบนั้นจะอพยพไปทางยุโรปและลงมาอินเดีย) กลับไม่ได้ทำให้คนอินเดียอ่อนด้านเลขและการคำนวณเลย เพราะอินเดียคือต้นกำเนิดของระบบเลขหลักและค่าประจำหลัก รวมถึงการใช้เลข 0 ทำให้เรามีเครื่องมือคิดเลขได้อย่างรวดเร็ว เป็นรากฐานสำคัญในการใช้เรียนรู้โลกและพัฒนาเทคโนโลยี ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก มาจนถึงปัจจุบัน ... บางทีสำหรับเรื่องตัวเลขและคณิตศาสตร์แล้ว ภาษาอาจไม่เกี่ยวกัน ... ความจริงแล้ว สัญลักษณ์ที่ใช้ในคณิตศาสตร์ ก็นับว่าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งเลยต่างหากครับ

  • @Royyaful
    @Royyaful 2 ปีที่แล้ว +1

    การใช้วรรณยุกต์ของไทยนั้นสำคัญ วรรณยุกต์เปลี่ยน ความหมายเปลี่ยน แม้จะเป็นคำเดียวกัน แม่ ,แม้ แม๋ม.. ฉันรักภาษาไทย

  • @akkarawinchaiyakam6073
    @akkarawinchaiyakam6073 2 ปีที่แล้ว +24

    สเปน: มีมอไซค์คว่ำที่ปากซอย
    พี่ไทย: มีมอไซค์คว่ำที่ปากซอย (ต่อด้วย)...คว่ำได้ไง ชนใครรึเปล่า ลูกใครล่ะ เจ็บไหม ขับเร็วละซิ ต่อท้าย ตายเปล่า? 😁

    • @Kimuji402
      @Kimuji402 2 ปีที่แล้ว +1

      คนไทยเป็นคนละเอียดค่ะ 5555

    • @BeeUltima
      @BeeUltima ปีที่แล้ว +1

      ทะเบียนอะไรจะไปแทงหวย 🤣🤣🤣

  • @Boss_Patit
    @Boss_Patit 2 ปีที่แล้ว +8

    ความคิดของคนประเทศนั้นตั้งหากที่บังคับให้ภาษาสอดคล้องกับความเป็นตัวตนของเขา แต่แน่นอนภาษาก็บังคับให้คนที่มาเรียนคิดตามตัวตนของคนที่คิดภาษานั้นมาและมีผลต่อกันและกันอย่างลงตัว

    • @gamernaja
      @gamernaja 2 ปีที่แล้ว +1

      คิดเหมือนกันครับ norm เป็นสิ่งที่กำหนดรูปแบบการใช้ภาษา

  • @srisattanakhanahut
    @srisattanakhanahut 2 ปีที่แล้ว +1

    คลิปมีสาระมากเลยครับ👍

  • @siapan4584
    @siapan4584 2 ปีที่แล้ว +4

    คิดมานานแล้วเหมือนกันครับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวพูดได้สามภาษา ไทย ญี่ปุ่น อีงกฤษ ใช้บ่อยสุดก็ไทย กับ ญี่ปุ่น คิดมานานเหมือนกันการคิดเเละพูดศัพท์ของญี่ปุ่นใช้เป็นรหัสคันจิสองตัวมาต่อกัน เพื่อได้ความหมายหนึ่งขึ้นมา ส่วนตัวคิดเล่นๆว่าคนที่นี้คุยกันด้วยศัพที่เหมือนรหัส เหมือนกับว่าการเขียนศัพท์นั้นคันจิเกิดก่อนเสียง มีความหมายในตัวมันเอง แต่ของไทยตัวอักษรเป็นแค่ตัวเเทนของเสียงเท่านั้น คำศัพท์ก็ไม่ได้เป็นรหัสเหมือนของญี่ปุ่น นี่เลยอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ว่าคนญี่ปุ่นคิดเป็นรหัส(หรือเปล่านะ) และอีกอย่างคือจริตในการพูดขอโทษ ขอร้อง หรือ ขอบคุณของคนญี่ปุ่น รู้ว่าในใจจริงคนพูดคงไม่ได้คิดวงั้น แต่จริตมันเยอะเกินไปมาก ส่วนตัวอยู่ญี่ปุ่นมาก็นานก็พูดให้จริตเป็นธรรมชาติไม่ได้ พูดไปก็ดูเเข็งๆ

    • @giant7334
      @giant7334 11 หลายเดือนก่อน

      อยากทราบว่าภาษาญี่ปุ่นนี่มีเอกลักษณ์ยังไงบ้าง มีวิธีในการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้นมั้ยคะ

  • @user-np7fz4fg1w
    @user-np7fz4fg1w 2 ปีที่แล้ว

    คอนเทนดี

  • @TT-fx2se
    @TT-fx2se 2 ปีที่แล้ว

    เนื้อหามีส่วนคล้าย Ted Talk เลยครับ เรื่อง Aborigin กับเรื่องของชาวรัสเซีย ความต่างระหว่างการมองโลกของเสปน-อังกฤษด้วยครับ

  • @peemmpeemmss7113
    @peemmpeemmss7113 2 ปีที่แล้ว +9

    @SCAR ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ยากมากโดยเฉพาะการเขียน มีเพื่อนต่างชาติหลายคนที่รู้จักยอมแพ้เรื่องเขียนภาษาไทย เช่นคำว่าไทยทำไมต้องมี"ย" ทำไมไม่เขียน "ไท" "นครพนม" เขาถามว่าไม่มีสระเลย จะอ่านได้ยังไง ทำไมไม่เขียนแบบนี้ "นะคอนพะโนม" และเขางงมากเรื่อง สระ ไ, ใ ไม่รู้จะใช้ไม้อันไหน และ มี ส,ศ ถ,ฐ ฑ,ท,ฒ,ธ ล,ฬ ซ,ฌ พวกนี้เสียงเหมือนกันไม่รู้จะใช้อันไหน

    • @xpheonixx9873
      @xpheonixx9873 2 ปีที่แล้ว +1

      ภาษาลาวง่ายกว่าเยอะ สะกดตรงๆ
      ภาษาอังกฤษ ไม่ชอบการเขียนเท่าไร เช่น do อ่าน ดู .. to อ่าน ทู .. แต่ go อ่าน โก (ซะงั้น) ทำให้คำที่ไม่เคยอ่าน อ่านผิดได้

    • @KINGZAMAN45887
      @KINGZAMAN45887 2 ปีที่แล้ว +1

      เพื่อคงรากศัพท์ไว้ จากภาษาบาลี สันสกฤต ถ้าเขียนตามเสียงตรงๆ แบบภาษาลาว เมื่อเจอคำคำพ้องรูปพ้องเสียงขึ้นมาจะยุ่งยากในการหาความหมายจากรากศัพท์เดิม

    • @pko359
      @pko359 2 ปีที่แล้ว

      @++ ถ้าตามสองคำก่อนต้องอ่านว่า (go)กูครับ หลายๆคำภาษาอังกฤษ ก็ ออกเสียงไม่เหมือนกัน เช่น diamond (ไดมอน) diablo (เดียโบล)

  • @richrich8888
    @richrich8888 2 ปีที่แล้ว +1

    ช่วยวิเคราะห์ภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นหน่อยทำไม มันซีเรียสทุกอย่างเรื่องมากเรื่องเลย

  • @longeoylongeoy1348
    @longeoylongeoy1348 2 ปีที่แล้ว +9

    ภาษากับความคิดมันส่งผลต่อกันเป็นวงกลมนะ สิ่งแวดล้อม ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมส่งผลต่อการสร้างและใช้ภาษา ขณะเดียวกันภาษาก็ส่งผลต่อสิ่งเหล่านั้นเหมือนกัน พอมีสิ่งใหม่ ก็มีคำใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ความคิดกำหนดภาษา แล้วภาษาก็กำหนดทิศทางความคิด

    • @rinzaerinzae8310
      @rinzaerinzae8310 2 ปีที่แล้ว +1

      ฟังแล้วเหมือนตั้งใจเข้าข้างภาษที่มีการเปลี่ยน รูปตามกาล ทั้งที่ภาษาที่พัฒนาสูงกว่า ควรจะง่าย ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน หรือนับเลข

    • @longeoylongeoy1348
      @longeoylongeoy1348 2 ปีที่แล้ว +3

      แต่ละภาษาก็มีเอกลักษณ์ มีสเน่ห์ในตัวเอง ภาษาไทยไม่ผันรูปคำ แต่เรามีคำช่วยและคำบอกเวลาอื่นๆ เช่น กำลัง จะ ...แล้ว ฯลฯ ซึ่งก็แสดงกาลได้เช่นกัน คิดว่าคลิปนี้น่าจะเสนอตามผลงานวิจัยนะคะ น่าสนใจดี แต่นักวิชาการเวลาคิดทฤษฎีก็จะเน้นประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นปกติ

  • @user-me7rg8sd2j
    @user-me7rg8sd2j 2 ปีที่แล้ว +32

    ภาษาไทยก็ไม่มีเวลาเหมือนกัน เพราะอย่างนี้คนไทยเลยไม่มีทั้งอดีตและอนาคต ซึ่งถ้า มองในแง่พุทธศาสนา อาจจะแปลได้ว่าคนไทยให้คุณค่ากับปัจจุบันและไม่คิดอะไรมาก เเป็นชนชาติที่เหมาะกับคำว่าสนุก สะดวก สบายเป็นที่สุด

    • @kiattim2100
      @kiattim2100 2 ปีที่แล้ว +15

      สบาย ๆ จนปล่อยให้ประเทศพังด้วยระบบอวุโส 😖

    • @__BETTY__
      @__BETTY__ 2 ปีที่แล้ว +7

      ระบบภาษาของไทยและเอเชียหลายๆชาติมีชนชั้นที่กดกันด้วยอายุเพศ เรื่องที่ว่าเน้นปัจจุบันเพราไม่มีรูปอดีตก็จริงนะ

    • @junta1203
      @junta1203 2 ปีที่แล้ว +5

      @@kiattim2100 แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แล้วทำไม จีนถึงเจริญ ทำไม ญี่ปุ่น เกาหลี ถึงเจริญ การที่ประเทศเราพังไม่ได้เกิดจากระบบอวุโสแต่เป็นนิสัยของคนไทยที่เวลาเจอปัญหาหรือคนที่กำลังสร้างปัญหาแล้วเลือกที่จะหลีกหนีเพราะไม่อยากมีส่วนร่วมกับปัญหา(หรือก็คือไม่อยากเหนื่อยที่จะช่วยแก้ปัญหา)จึงเป็นที่มาของคำว่า ไม่เป็นไร ไง เลิกโทษนู้นโทษนี่ซะที ถ้าคนไทยเลือกที่จะแก้ปัญหามาตั้งแต่แรกประเทศเราไม่พังแบบนี้หรอก แต่ดีใจนะที่รุ่นใหม่เลือกที่จะแก้ปัญหาไม่ใช่หนีปัญหาน่ะ

    • @earthgreen5996
      @earthgreen5996 2 ปีที่แล้ว +5

      @@kiattim2100 ระบบอวุโสเกียวไรครับ

    • @junta1203
      @junta1203 2 ปีที่แล้ว +5

      @@kiattim2100 ส่วนเรื่องความสบายมันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ถ้าเราเลิกโฟกัสข้อเสียมันและหาข้อดีมัน อาจทำให้เราสามารถหาประโยชน์จากความสบายก็ได้นะ

  • @user-tt7zm1zt9p
    @user-tt7zm1zt9p 2 ปีที่แล้ว +2

    นะจ๊ะ

  • @user-nt4vn1od5y
    @user-nt4vn1od5y 2 ปีที่แล้ว +2

    เวลาสำหรับคนไทย กลางวัน กลางคืน หัวรุ่ง เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ค่ำ ดึก เที่ยงคืน โมง ยาม ไม่มีนาที วินาที เวลาสำคัญสำหรับคนไทยเหมือนกัน ไม่งั้นคงไม่มีฤกษ์ยาม โหราศาสตร์

  • @MrNahodtaekodsao
    @MrNahodtaekodsao 2 ปีที่แล้ว +1

    1.ภาษาไม่ได้กำหนดความคิดหรอก บางทีความคิดต่างหากที่กำหนดภาษาไม่งั้นจะมีภาษาเหล่านั้นมาใช้เหรอ แต่เอาจริงๆมันก็ส่งผลกันจนแยกไม่ออกเพราะถ้าไม่มีความคิดก็ไม่ทางคำในภาษานั้นออกมาใช้หรอก
    2.ที่จริงคนจีนเก่งเพราะส่วนนึงมาจากหลักสูตรการสอนในห้องเรียนเอาแค่การนับเลขมาสรุปมันตื้นเขินเกินไปเพราะไทยก็นับเหมือนจีนแต่ทำไมไม่เห็นเก่งเหมือนกัน

    • @yugiohduallink681
      @yugiohduallink681 2 ปีที่แล้ว

      ใช้คำว่าเกือบเหมือนดิกว่าครับ ไทยใช้"เอ็ด"แทนหนึ่งกับ"ยี่"แทนสอง

  • @PuiBikers
    @PuiBikers 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าพูดว่าภาษาเป็นตัวกำหนดความคิด แล้วคนที่พูดกันคนละภาษาแต่มีความคิดเหมือนกันคืออะไรล่ะ และไม่ใช่มีน้อยๆด้วยนะ

  • @Cat.fighting
    @Cat.fighting 2 ปีที่แล้ว +1

    ภาษาไทยมีลำดับชนชั้นเยอะมาก

  • @paulz8864
    @paulz8864 2 ปีที่แล้ว

    เนื้อหาและตัวอย่างที่สื่อออกมายังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ ผมคิดว่าควรยกตัวอย่างที่มีเหตุผลกว่านั้น ส่วนตัวผมคิดว่า ไวยกรณ์ภาษามีส่วนทำให้ความคิดต่างกัน

  • @growfrombegin5775
    @growfrombegin5775 2 ปีที่แล้ว

    เราก็เคยคิดแบบนี้ว่าภาษามีส่วนกำหนดความคิด ไม่คิดว่าจะมีคนคิดด้วย เพราะเราว่ามันลึกมากพูดไปคนอาจไม่เข้าใจ เราก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงดีรู้แต่ว่ามีส่วน แล้วเราก็คิดว่าการเรียงตัวของประโยค เช่น รถสีแดงคันนั้นกำลังวิ่งเหมือนที่คนไทยและจีนพูดกับสีแดงรถคันนั้นกำลังวิ่ง มันก็มีอะไรที่แตกต่างกัน เราคิดมาตั้งนานแล้วว่าทำไมฝรั่งชอบทำภาษาให้มันยาก ทั้งที่สำหรับคนไทยมันง่ายมาก เหมือนภาษาไทยจะยากนะแต่การปั้นประโยคเราว่าง่ายกว่าภาษาอังกฤษมาก ซึ่งมันทำให้ฝรั่งคิดอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็คิดยากเกินไป หรือคิดอะไรก็ไม่รู้บอกไม่ถูก การบอกสีมาก่อนวัตถุเราว่ามันแปลกๆนะ

  • @parameskitikanchana1574
    @parameskitikanchana1574 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาอังกฤษมีคำต่อท้ายคือset หรือครับ, ค่ะ

  • @hunterstrong2799
    @hunterstrong2799 2 ปีที่แล้ว +1

    คนไทยทักทาย : ไปไหน กินข้าวยัง
    = บ่งบอกว่าเราเป็นคนขี้เสือก😂😂
    หยอกๆ

  • @sarunpakpiam7788
    @sarunpakpiam7788 2 ปีที่แล้ว +1

    จากที่ฟังมันเหมือนแนวคิด และวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดภาษามากกว่าเลยครับ ในทางกลับกันภาษาก็เป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมและความเชื่อเท่านั้นเอง หรือผมเข้าใจผิด🤔

  • @moo0071
    @moo0071 2 ปีที่แล้ว

    ใช่ ประเทศไทยอะไรก็ใช้คำว่า เล่น พร่ำเพรื่อ / เล่นการเมือง เล่นกีฬา เล่นหนัง เล่นละคร เล่นเพลง ไม่มีอะไรจริงจังเลยซักอย่าง แม้กระทั่งใช้ยาเสพติดยังใช้คำว่าเล่นยา / เมืองไทยเลยกลายเป็นเหมือนเมืองสมมุติ มันเลยเบลอๆสนุกกันทั้งประเทศ เพราะ เราเล่นมันทุกอย่าง เบื่อก็หยุด 55

  • @windywinend586
    @windywinend586 2 ปีที่แล้ว +5

    ภาษาไทย ผันเสียงได้มาก ในหลักภาษาให้ความสำคัญกับเสียงมากกว่าตัวอักษร ใช้เสียงเป็นเกณฑ์จัดประเภท เช่น พวกคำควบกล้ำเเท้/เทียม อักษรนำ เเม่ ก กา กก กบ กน อื่นๆ ดังนั้น จะทำให้คนไทยสามารถเเยกเเยะเสียงได้ดี จดจำด้วยเสียงได้ดี ให้ความสำคัญกับน้ำเสียงของคำพูด ใช้น้ำเสียงในการวิเคราะห์ความหมายของคำพูด

  • @TheMusictor
    @TheMusictor 2 ปีที่แล้ว +1

    ไทยมีสรรพนามเยอะเกินไป แค่อายุต่างกันก็เกิดการไม่เท่าเทียม คนอายุน้อยกว่าต้องเคารพคนอายุมากกว่า

  • @LordTribunalBeyonder
    @LordTribunalBeyonder 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาไทยเนี้ย เอาไว้ใช้ด่า หรือชมได้เจ๋งมาก
    เช่น ควาย ถ้าออกเสียงอีกแบบ ก็จะกลายเป็นด่า
    ถ้าออกเสียงแบบมีจริต ก็จะกลายเป็นน่ารัก "ควายน้อยเอ้ย"

  • @iamgod8019
    @iamgod8019 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาเดียวกันแต่สำเนียงต่างกัน ส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมของบุคคลได้ ภาษาไม่สามารถส่งผลต่อทักษะความคิดได้

  • @cultureislife8678
    @cultureislife8678 2 ปีที่แล้ว +1

    แต่วัฒนธรรมก็เป็นส่วนกำหนดบริบทของภาษา

  • @bryan5435
    @bryan5435 2 ปีที่แล้ว +3

    เรื่องจริงเลยครับ ภาษาเยอรมัน เขียนยังไงก็อ่านยังนั้นและมีแยกเพศของคำถึงสามเพศ คนเยอรมันเลยเป็นคนตรงๆ และเคารพในความหลากหลายทางเพศ แต่ไทยนี่ คำๆหนึ่งเขียนได้หลายแบบ พยัญชนะบางตัวก็เขียนไปแต่ไม่ออกเสียง เปลืองมาก สะท้อนในตัวคนไทยที่พลิกแพลงเก่ง ไม่ว่าจะเวลาโดนจับก็จะพลิกแพลงหาตัวช่วย เช่น ติดสินบน เป็นต้น และชอบทำอะไรที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ เช่น เสาไฟกินนรี สุ้มประตู้เข้าจังหวัดอลังการงานสร้าง ล้วนแต่เป็นการเผาเงินโดยไม่จำเป็น

    • @piyawho3385
      @piyawho3385 2 ปีที่แล้ว +1

      เรื่องการพลิกแพลงให้สินบนผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวเท่าไรนะ น่าจะเป็นที่สันดานล้วนๆ ไม่งั้นประเทศอย่างโคลอมเบียหรือเม็กซิโกที่ใช้ภาษาราชการอย่างสเปน ซึ่งมีลักษณะทางภาษาที่ชัดเจนกว่าภาษาไทย คงไม่ติดอันดับท้อปเท็นประเทศคอร์รัปชั่นของโลกปี2020 หรอกผมว่า

    • @ArmMobile-pn2cq
      @ArmMobile-pn2cq 9 หลายเดือนก่อน

      แค้นฉิบหายเสาไฟกินรีภาษีเอกชนทั้งนั้นกว่าจะหาเงินมาได้เพื่อเสียภาษี

  • @wararatpongsuthiyakorn4248
    @wararatpongsuthiyakorn4248 ปีที่แล้ว +1

    ว่างั่นเน่อะ..

  • @ungink.n
    @ungink.n 2 ปีที่แล้ว +1

    เคยคิดแบบนี้อยู่เหมือนกัน ตอนแรกนึกว่ามโนไปเองงงง

  • @nuchchanata
    @nuchchanata ปีที่แล้ว

    ภาษาอินเดียโบราณอย่างภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี ตระกูลเดียวกันกับภาษายุโรป มีconjugation กาลต่างๆ อดีตกาลหลายแบบ ปัจจุบัน อนาคต ก็ไม่นิยมจดบันทึกนะคะ เวลาพูดถึงอดีต ก็จะบอกว่าในสมัยหนึ่ง ครั้งหนึ่ง แต่ไม่บอกเมื่อไร

  • @Momo-qo7is
    @Momo-qo7is 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาถูกสร้างขึ้นจากความคิดคนและสภาพสังคม และคนรุ่นใหม่ก็เรียนความคิดจากภาษาที่ตนเองใช้

  • @SahtitBKK
    @SahtitBKK 2 ปีที่แล้ว +1

    บางประเทศ ... พูด “ฉันขอโทษ” หรือ “ขอบคุณมาก” กันจนชิน เป็นคำพูดประจำ สื่อถึงความตระหนักและใส่ใจกันและกันของคนที่สื่อสาร ภาษานั้น
    ซึ่ง เราทุกๆคน ... ควรพูดขอบคุณให้มาก.
    ... 😀👍👍

  • @user-ns8on9sq8i
    @user-ns8on9sq8i 2 ปีที่แล้ว

    จะเห็นได้ว่าคนไทยแม่งไม่เคยตรงเวลา/ คนป่าอัฟริกา มีชื่อเรียกสีเขียวใบไม้ถึง 21 สี

  • @alisra007
    @alisra007 2 ปีที่แล้ว

    ดูหนังเรื่อง my fair lady มาใช่เลย

  • @ikQ09
    @ikQ09 2 ปีที่แล้ว

    เป็นหยักใหม่ของสมองเลย

  • @user-nu8vw1ow4n
    @user-nu8vw1ow4n 2 ปีที่แล้ว

    Characteristic Of Language (แค่พูดอีสาน พูดเมือง สมองก็ไปแล้วครับ 555)
    คนญี่ปุ่นเขียนเกมเก่ง เกมที่เราเล่นส่วนใหญ่จนถึงทุกวันนี้ มักจะถูกเขียนด้วยคนญี่ปุ่น แม้เนื้อเรื่องจะออกไปทางตะวันตกก็ตามแต่ถูกเขียนโดยคนญี่ปุ่น เช่น Darksoul เป็นต้น ภาษาแต่ล่ะภาษาใช้สมองคนล่ะส่วนอย่างเห็นได้ชัด และอาจมีผลต่อหน้าตาด้วย ลองสังเกตหน้าฝรั้งที่พูดไทยเป็นหรือพูดไทยเก่งๆสิ แม้กระทั้งฝรั้งมาฝึกมวยไทยบ้านเรา เราก็จะสังเกตว่าเขามีความเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน

  • @adultyutub3
    @adultyutub3 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาไทยมีคำว่า ไฟลนก้น ที่ใช้หมายถึงพูดเรื่องเวลา

  • @wisarutsonpim7931
    @wisarutsonpim7931 2 ปีที่แล้ว +1

    ผมว่าสิ่งที่ทำให้คนเเต่ละชาติมีมุมมองความคิดต่างกันนั้นไม่ใช่ภาษาเป็นหลักหากเเต่เป็นวัฒนธรรม ผมขอหักล้างด้วยภาษาสเปนที่เป็นภาษาที่มีจำนวนประเทศที่ใช้ภาษานี้มากสุดเป็นอันดับสองรองมาจากภาษาอาหรับ ซึ่งมุมมองของคนที่ผูดสเปนในอเมริกาใต้ นั้นมีมุมมองหลายอย่างต่างจากคนในสเปน

    • @piipeply6931
      @piipeply6931 2 ปีที่แล้ว +1

      ใช่ครับฝรั่งเศสกับสวิสยังนับเลขไม่เหมือนกันเลย

    • @yugiohduallink681
      @yugiohduallink681 2 ปีที่แล้ว

      ลาตินอเมริกัน กับ คนสเปนฝั่งยุโรป ใช้ภาษาสเปนเหมือนกันก็จริงแต่มีคำที่ใช้ต่างกันเยอะอยู่นะครับ การออกเสียงหลายๆคำก็ต่างกัน

    • @wisarutsonpim7931
      @wisarutsonpim7931 2 ปีที่แล้ว

      @@yugiohduallink681 นั้นก็เห็นจะมีอยู่จริงบ้างครับเเต่ที่เเสดงความเห็นต่างในที่นี้คิดว่าความคิดของคนเเต่ละชาติเเต่ละภาษาที่มีมุมมองต่อเรื่องต่างๆหรือความสามารถต่างกันนั้นไม่ใช้ภาษาเป็นปัจจัยหลักเเต่หากเป็นสิ่งที่เรียกรวมๆว่าวัฒนธรรม ซึ่งภาษาก็จัดว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง โดยส่วนตัวผมมองว่างานวิจัยของเเหล่งข้อมูลที่นำมาเสนอนั้นยังมีข้อหักล้างได้หลายประการ เเต่ก็ชื่นชมนักวิจัยเเละผู้นำเสนอที่ได้เเสดงทัศนะเเละความรู้ออกเผยแพร่เป็นสาธารณะ เเต่ในหัวข้อนี้ผู้นำเสนอเน้นเป็นหลักว่าภาษาเป็นปัจจัยสำคัญ ถึงจะมีต่างกันบ้างเเต่ผมยังคงยื่นยันว่าภาษาไม่ใช่ปัจจัยหลักในหัวข้อนี้หากเเต่เป็นวัฒนธรรม ภาษาผมเองมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้นครับ

  • @Uunartoq2018
    @Uunartoq2018 2 ปีที่แล้ว

    ไม่แปลกถึงมีบางคนบอกว่า ... ภาษาจะกำหนดความรอบรู้ของเราๆ ท่านๆ เพราะนั่นหมายถึงการเข้าถึงทางความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ค่านิยม ที่แตกต่างกัน คนบางภาษา บางเชื้อชาติ อาจจะเก่งกว่าที่บางชนชาติ ลองคิดดูถ้าคนนึงรู้หลายภาษา ความรู้ต่างๆ คงจะดีกับสังคมไม่น้อยครับ

  • @terdphanpongcharoenchai1166
    @terdphanpongcharoenchai1166 2 ปีที่แล้ว +1

    ภาษาไทย
    มีเสียงพยัญชนะ
    เสียงสระ
    เสียงวรรณยุกต์
    #อย่างครบตรงชัดทุกเสียงอยู่แล้วจริงไหม
    จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเน้นเสียงฟุดฟิด
    ให้ชัดเหมือนอย่างภาษาอังกฤษ
    หรือไปเน้นเสียงโช้งเช้งให้ชัด
    เหมือนอย่างภาษาจีนอะไรแบบนั้นเลย

    • @sirib5311
      @sirib5311 2 ปีที่แล้ว +3

      ไม่มีภาษาไหนที่มีครบทุกเสียง
      ภาษาไทยมีบางเสียงที่ภาษาอื่นไม่มี
      ภาษาอื่นก็มีบางเสียงที่ภาษาไทยไม่มี

    • @alexatlas6090
      @alexatlas6090 2 ปีที่แล้ว

      เหยียดภาษาชาติอื่นโดยที่ไม่ได้เข้าใจอะไรเลยสินะ สงสัยฟังคลิปไม่จบแน่ ๆ ที่เขาบอกว่าไทยไม่ผันไวยกรณ์ เพราะเราไม่เห็นความสำคัญของเวลาต่างหาก ที่เขาผันไวยกรณ์เพราะเวลาเป็นสิ่งที่นับได้

    • @cafelatte2958
      @cafelatte2958 2 ปีที่แล้ว

      ตัว V , TH , Z ก็เทียบเสียงไทยตรงๆไม่ได้อยู่ดี

    • @terdphanpongcharoenchai1166
      @terdphanpongcharoenchai1166 2 ปีที่แล้ว

      @@cafelatte2958
      เพราะเป็นเสียงเฟื่อนฟุดฟิดไม่ชัดจริงไหม

  • @loop2696
    @loop2696 2 ปีที่แล้ว

    เคยสังเกตพวกป้ายระวังต่างๆ พบว่า ภาษาไทยเหมือนเป็นการบอกอ้อมๆ
    ภาษาไทย 'ระวังพื้นต่างระดับ'
    ภาษาอังกฤษ 'ระวังการก้าวเดิน'
    ภาษาไทยต้องใช้ คอมมอน เซ็นส์
    ถามว่ากินข้าวรึยัง เราตอบได้โดยที่ไม่ถามว่า ข้าวของมื้อไหน

  • @abcdefghijk2023__
    @abcdefghijk2023__ 2 ปีที่แล้ว +1

    ภาษาไทยก็มีศัพท์เกี่ยวรสชาติเยอะมาก 55

  • @augustmonday6021
    @augustmonday6021 2 ปีที่แล้ว

    ถ้า ด่าแข่งกันภาษาไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก 😅😅

  • @zenithchan581
    @zenithchan581 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาไทยทำให้เลี่ยงบาลีแบบศรีธนชัยได้กฏหมายเลยมีช่องว่างสำหรับคนหัวหมอ

  • @failogy
    @failogy 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาของ Heptapods ในหนังเรื่อง Arrival

  • @user-ei8zv7tj5m
    @user-ei8zv7tj5m 2 ปีที่แล้ว

    แต่ผมชอบภาษาญี่ปุ่น คิคิคิ

  • @kittyart560
    @kittyart560 2 ปีที่แล้ว +8

    ภาษาไทยเราเป็นภาษาดนตรี ทำให้เกิดวรรณยุกต์ที่ให้ความหมายต่างทันที เช่น ไกล ไก่ ใกล้ คนละความหมายเลย แล้วเวลาคนพูดกันถ้าใส่โทนเสียงสูงต่ำกันจะทำให้คำๆนั้นให้อารมณ์คนละแบบเลย เช่น โง่ ลองพูดแบบซอฟๆกับพูดเสียงแข็งๆ อาจจะมีเรื่องกันได้ นี่ทำให้คนไทยชอบมีเรื่องมีราวเพราะพูดจาไม่เข้าหูอีกฝ่าย

    • @Royyaful
      @Royyaful 2 ปีที่แล้ว

      ใช่ เช่นไกล( ต้องเดินทางอีกไกล) ไก่ (ฉันอยากกินไก่)
      ใก้ล (บ้านใกล้แค่นี้เอง)
      ไกด์ ( ต้องหาไกด์มาแนะนำสถานที่) ไก๋ล( คุณอย่ามาทำไก๋ล ว่าไม่รู้จักชั้นนะ) เป็นต้น

  • @user-gc7go1ls3h
    @user-gc7go1ls3h 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาเดียวกันคิดไม่เหมื่อนกันแตกแยกกัน

  • @adithepr
    @adithepr 2 ปีที่แล้ว +1

    ภาษาไทย สามารถออกเสียงได้มากมาย / มีภาษา อื่น ไหม ที่สามารถ สะกด ออกเสียง ได้มากเท่าไทย ครับ ?

    • @loop2696
      @loop2696 2 ปีที่แล้ว +2

      มีภาษาจีนแต่ไม่ใช่จีนกลาง จำชื่อไม่ได้ ผันวรรณยุกต์ 10 เสียง 😅 ขึ้นชื่อว่าเป็นภาษายากที่สุดในจีน

    • @adithepr
      @adithepr 2 ปีที่แล้ว

      @@loop2696 ครับ

    • @yugiohduallink681
      @yugiohduallink681 2 ปีที่แล้ว

      พวกภาษาอาหรับครับ ออกเสียงได้แทบจะทุกเสียง ภาษาไทยมีหลายเสียงนะครับที่ออกเสียงไม่ได้ ตัวอย่างก็เสียงของ ñ กับ j ในภาษาสเปน, เสียง th ในภาษาอังกฤษ และ zh sh ch ในภาษาจีน

  • @papilloncath6620
    @papilloncath6620 2 ปีที่แล้ว

    วัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น
    ภาษา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม

  • @alexatlas6090
    @alexatlas6090 2 ปีที่แล้ว

    ไม่แปลกที่คนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเวลา

  • @jamesbond744
    @jamesbond744 2 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของคนประเทศนั้นจริงๆ ทำไมถึงมีคนไทยที่คิดไม่เหมือนกันแทนที่จะคิดคล้ายๆกันในแนวทางเดียวกันทั้งหมดทั้งประเทศ? และคนไทยหลายคนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่ก็ยังมีความคิดละม้ายคล้ายกับคนต่างชาติที่พูดภาษาอื่นๆ

    • @khaschen
      @khaschen 2 ปีที่แล้ว

      ภาษาความคิดคนครับ ทีทำให้คนคิดไม่เหมือนกัน

    • @burinwannajarung8996
      @burinwannajarung8996 2 ปีที่แล้ว +1

      เหมือนในงานวิจัยจะบอกว่าสำเนียงที่แตกต่างกันก็ส่งผลให้ความคิดแตกต่างกันได้เหมือนกัน และคนไทยบางคนเขาก็เป็นคนสองภาษามาแต่เกิด เช่น คนไทยเชื้อสายมลายู คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยมุสลิม คนไทยเชื้อสายต่างๆที่รู้สองภาษาหรือไม่ก็คนไทยที่เรียนภาษาต่างประเทศ ที่คนไทยความคิดหลากหลายน่าจะเป็นเพราะสาเหตุนี้

  • @ccmobile116
    @ccmobile116 2 ปีที่แล้ว

    สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล

  • @keatkhamjornmeekanon7616
    @keatkhamjornmeekanon7616 2 ปีที่แล้ว

    ผมดูวิดีโอนี้ในฉบับภาษาอังกฤษมาก่อน ถ้าจำไม่ผิดเป็น TedTalk

  • @user-ve4ur8we1f
    @user-ve4ur8we1f 2 ปีที่แล้ว

    แล้วถ้าเกิด ..มันไม่เคยมีอยู่จริง ภาษา ศาสนา ตลาดหุ้น สกุลเงิน ..แต่เมื่อถูกสร้างขึ้นมา ใช้กันจนชำนาญ มันฝั่งลึกลงไป ในจิตใต้สำนึก ...จนแยกไม่ออก ว่าจริงหรือไม่จริง...5555นี่คงเป็น ปรัชญา ที่ลึกเกินไป

  • @yukigp370
    @yukigp370 ปีที่แล้ว

    ลาวก็ควรเจริญใกล้เคียงเราสินะ

  • @CK-ti9oy
    @CK-ti9oy 2 ปีที่แล้ว +1

    ดังนั้น ผู้นำประเทศทุกประเทศ "ต้อง"พูดภาษาสากลได้นะครับ เป็นข้อบังคับ ถ้าพูดไม่ได้ อย่ามาลงสมัครครับ

  • @user-sl9wq8xu8r
    @user-sl9wq8xu8r 2 ปีที่แล้ว

    วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม เป็นสิ่งที่สะท้อนความคิดเห็นของคนในแต่ละสังคม ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ในแต่ละสังคม ภาษาจึงไม่ใช่ตัวกำหนดความคิด ของคนในสังคม

    • @Human_hardware
      @Human_hardware 2 ปีที่แล้ว

      ไปศึกษาเรื่องการสร้างวาทกรรมครับ วัฒนธรรมประเพณีความคิดทุกอย่างคือวาทกรรมทั้งหมดครับ

  • @AranArayawattana
    @AranArayawattana 2 ปีที่แล้ว

    เรื่องผมเห็นต่างสุดขั้ว ไทยไทยโทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง เราโยนบาปให้ภาษาอีกหรือ ภาษาเป็นแค่เครื่องมือในการสื่อสาร แต่นิสัยและวัฒนธรรมของตัวคนๆ นั้นต่างหาก จะดีจะเลวอย่าโทษภาษา

    • @user-si1xb9zy4c
      @user-si1xb9zy4c 2 ปีที่แล้ว

      เขาไม่ได้โทษภาษาหรอกค่ะ ทุกภาษามีข้อดีมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เช่นคนไทยสามารถรู้ว่าเดือนไหนมีกี่วันเพราะคำลงท้าย คม ยน พันธ์

  • @korawitwoonsin7547
    @korawitwoonsin7547 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาไทย บางทีถ้าสนิทกัน มีการใช้สรรพนามบุรุษที่1เรียกตัวเองว่า เรา ต่างชาติที่เรียนไทยนิงงกัน555

    • @h2ood
      @h2ood 2 ปีที่แล้ว

      ใช้ครับ ยิ่งสนิทกันมากจะใช้สรรพนามเรียกกันด้วยชื่อบรรพบุรุษเลยทีเดียว

  • @pechkasinanon3911
    @pechkasinanon3911 ปีที่แล้ว

    ก็ไม่แปลก ที่ภาษาไทยทักใน 2 เวลา คือ เช้า อรุณสวัสดิ์ และ ราตรีสวัสดิ์ เท่านั้น เพราะเดิมที เรามีการสวัสดีตอนบ่าย ว่าทิวาสวัสดิ์ และตอนเย็น ก็ สายัณห์สวัสดิ์ ด้วย

  • @sahatsawat33
    @sahatsawat33 2 ปีที่แล้ว

    เวลาใครเป็นคนสร้งคนแรก

  • @fimoql6789
    @fimoql6789 2 ปีที่แล้ว +2

    ภาษาไทย คือ ภาษาที่มีแต่ความดราม่า พูดผิดนิดโกรธกันได้เลย

  • @kornmarketing1995
    @kornmarketing1995 ปีที่แล้ว

    ทำไมคนไทยไม่มีรายชื่ออัจฉริยะ​ของโลกบ้างครับ