สร้างฝายแกนดินซีเมนต์ ฝายภูกลอง จ พะเยา

แชร์
ฝัง

ความคิดเห็น • 1

  • @radhanasiri
    @radhanasiri 2 หลายเดือนก่อน

    หลายที่ออกแบบฝายผิด ฝายแบบคนไทยไม่ใช่เขื่อน อย่าทำสูงชันแบบเขื่อนของฝรั่ง
    1. คนแถวบ้านสมัยก่อนจะเลือกช่วงที่กว้างสุดของลำน้ำแล้วขยายขอบกว้างออกไปอีกเท่าตัว เพื่อให้เหลือแรงดันน้ำกระจายตัวออกมากที่สุดเวลาน้ำหลากฝายก็ไม่พัง
    2. ใช้ท่อนซุงโค่นล่องมาตามลำน้ำตอนน้ำหลาก หรือก้อนหินท้องห้วยเป็นฐาน ใช้ดินเหนียวลูปหน้าฝาย หรือไม่ต้องทำปล่อยใว้หน่อยเดี๋ยวก็อุดตันไปเอง
    3. วางฐานขวางทิศทางการไหลของน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อได้เดินข้ามห้วยสบาย ไม่ทำให้สูงชันเพื่อเลี่ยงน้ำกัดเซาะท้องห้วย พาดขัดรากไม้โคนไม้ริมตลิ่งเอาก็ได้
    4. ไม่ทำสูงเกินตลิ่งนะเพราะไม่งั้นน้ำกัดตลิ่งพังง่าย ที่เลือกช่วงกว้างก็เพราะถ้าเป็นช่วงแคบ น้ำจะกัดตลิ่งแรงนี่หละ ที่เคยเห็นสูงแค่เข่าด้วยซ้ำ
    5. เขาไม่ได้ทำเติมน้ำให้แผ่นดินอะไรนะ ทำเพื่อใช้ตรงๆเลยขอบตลิ่งด้านหนึ่งก็ขุดปากคูกว้างๆผันเอาน้ำเข้านา.. ย้ำนะขุดเน้นกว้างไม่ใช่ขุดเน้นลึกเพื่อให้น้ำไหลเอื่อยกัดเซาะคูน้ำน้อยๆ ดังนั้นตำแหน่งของฝายก็ต้องอยู่สูงเหนือที่นาสัก สามสี่เมตร อาจจะห่างกันราว30-100 เมตร
    6. ขุดคูไกลขนาดนั้นเหนื่อยแย่เลย ไม่หรอก เพราะเขาทำฝายก่อน แล้วทำคูเล็กสักตาจอบให้มีส่วนลึกกรุยทางไปที่นา เมื่อทำปากคูเชื่อมกับฝายน้ำจะเซาะคูน้ำไปเรื่อยๆ ช่วยพาตะกอนดินออกไปเองก็ทำจุดพักตะกอนโดยอาศัยแรงดันน้ำช่วยดันออกเป็นช่วงๆช่วงละสิบยี่สิบเมตร ทีนี้ก็เดินขุยขยายต่อไปเรื่อยๆสบายๆ