ปัญหามะละกอช่วงหน่าฝน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 ก.ย. 2024
  • ลักษณะอาการ
    โรครากเน่า โคนเน่ามะละกอ
    เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา สามารถพบมากในระยะต้นกล้าไปจนถึงระยะต้นโต
    เก็บเกี่ยวผลผลิต
    ในระยะต้นกล้า จะแสดงอาการส่วนโคนลำต้นบริเวณผิวดิน มีลักษณะฉ่ำน้ำ
    ยุบเป็นแถบๆ ใบจะเหี่ยว ถ้าอาการรุนแรง บริเวณโคนต้น จะหักพับและตำยในที่สุด
    ในระยะต้นโต มักแสดงอาการเริ่มแรกพบรากแขนงสีน้ำตาลหลุดขาดได้ง่าย ต่อมา
    โรคลุกลามไปยังรากแก้ว ทำให้รากเน่าเปื่อย ต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ก้านใบลู่ลง
    และหลุดร่วงได้ง่าย ส่วนต้นมะละกอจะเหลือใบยอด เป็นกระจุกและตายในที่สุด
    โดยบริเวณโคนต้นจะเน่าชุ่มน้ำ มีสีน้ำตาลเยิ้มออกมา และจะหักล้มพับได้ง่าย
    1. เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและก าจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นมะละกอที่แสดงอาการ
    ของโรครากเน่าและโคนเน่า ให้ขุดหรือถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง และนำไปเผาท าลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลด
    แหล่งสะสมเชื้อสาเหตุของโรคและควรใส่ปูนขาวหรือโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80:800 กิโลกรัมต่อไร่ บริเวณหลุมที่ขุด
    หรือถอนต้นออกไปแล้ว แล้วกลบหลุม รดน้ำให้ดินมีความชื้นทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุของโรค
    2. เกษตรกรควรมีการป้องกันและกำจัดโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
    2.1 รองก้นหลุม เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1กิโลกรัม ผสมร าข้าว 5กิโลกรัม ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม อัตราการใช้ 30กรัมต่อหลุม
    2.2 แช่เมล็ด เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 100 - 200 ลิตร
    2.3 โรยรอบโคนต้นพืช เชื้อราไตโคเดอร์ม่า1 กิโลกรัม ผสมรำข้าว 5 กิโลกรัม ปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม อัตราการใช้5กิโลกรัมต่อ
    ต้น หรือตามรัศมีทรงพุ่ม
    3. หากเริ่มพบการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า ให้ใช้สารราดป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลก ซิล+แมนโคเซบ
    4%+64% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร
    ราดบริเวณโคนต้นด้วย
    4. ส าหรับพื้นที่เคยมีการระบาดของโรคนี้ ควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรท าแปลงปลูกให้มีการระบาย
    น้ำที่ดี ไม่ให้มีน้ำขัง

ความคิดเห็น • 7