28 เมษายน ค.ศ. 2024

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 เม.ย. 2024
  • เมื่อเช้าผู้ช่วยสอนคนหนึ่ง เขามาส่งการบ้าน
    ว่าใจมีความสุข สว่าง เบา
    บอกความสุขอันนี้มันเกิดจากบุญ
    เราไปทำงานเผยแพร่ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรทั้งสิ้น
    ทำถวายพระพุทธเจ้า ใจเราเป็นบุญเป็นกุศล
    บุญเป็นชื่อของความสุขที่ได้ทำดี
    ใจมีความสุข แต่จิตมันไม่ได้เข้าฐาน
    จิตมันไม่ได้เข้าฐาน มันเลยมีความสุขเพลินๆ อยู่ข้างนอก
    ตรงนี้มันมีนันทิราคะ นันทิราคะคือความเผลอเพลิน มีความสุข
    เหมือนๆ กับรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ แต่จริงๆ เป็นรู้ออกนอก
    บอกลองย้อนเข้ามาข้างในดูสิ ถ้าอยู่ตรงนั้นมีความสุข แต่ไม่เห็นทุกข์
    มีความสุขแต่จะไม่เห็นทุกข์ ต้องโอปนยิโก
    น้อมกลับเข้ามา ให้จิตมันตั้งมั่นถึงฐานจริงๆ
    ตรงที่จิตมันไปข้างนอก แล้วเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็ต้องมีอุบาย
    อุบายที่หลวงพ่อบอกผู้ช่วยสอนคนนี้ ก็คือกำหนดจิตลงไปที่กระดูก
    ต่ำกว่าต้นคอลงไปอีก สักฝ่ามือหนึ่งลงไป กำหนดจิตลงไป
    พอกำหนดลงไป จิตมันก็เข้าฐานมา
    แล้วผู้ช่วยสอนเขาถามหลวงพ่อ ว่าต่อไปใช้วิธีนี้ได้ไหม
    คำตอบคือไม่ได้ อุบายใช้ได้ชั่วครั้งชั่วคราว
    กิเลสมันพัฒนาตัวเองรวดเร็ว
    เราใช้อุบายซ้ำๆ กิเลสมันเปลี่ยนรูปโฉมไปแล้ว
    เหมือนเราผลิตวัคซีนขึ้นมา แต่เชื้อมันกลายพันธุ์ไปแล้ว
    กิเลสกลายพันธุ์เร็ว เร็วมากๆ เลย
    ฉะนั้นเราเอาอุบายเดิมไปต่อสู้ จะไม่สำเร็จหรอก
    ครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่องค์หนึ่ง หลวงตามหาบัว
    ท่านบอกว่ามันต้องใช้สติ ใช้ปัญญาสดๆ ร้อนๆ
    ใช้ของแห้งๆ ของซ้ำๆ อุบายพวกนี้ใช้ไม่ได้
    หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    20 เมษายน 2567
    ความอัศจรรย์ของธรรมะ อุปมาเช่นวงดนตรีไทยเดิม ต่างคนต่อเพลงจากทำนองหลักของฆ้องวงใหญ่ พอมารวมวงกันเล่น ต่างก็แปรทำนองเป็นทางของตัวเอง เป็นอิสระแบบที่เรียกว่าด้นสด (Improvise)
    นักปฏิบัติธรรมผู้ได้แก่นแท้แล้ว แม้มีทางเฉพาะของตัวเอง แต่เป็นเอกายนมรรค เหมือนนักดนตรีไทยเดิมที่บรรเลงพร้อมกันได้อย่างสร้างสรร ไม่หลุดออกไปจากทำนองหลักของฆ้องวงใหญ่ ด้วยว่าผู้บรรลุธรรมจริงล้วนดำเนินอยู่ในหลักของอริยสัจ4 หมายถึง ท่านรู้ทุกข์จึงละสมุทัย ท่านแจ้งนิโรธจึงเจริญมรรค เกิดปฏิเวธถึงมรรคผล นิพพาน
    ส่วนพวกเดียรถีย์ สรรหาวิธีหนีทุกข์ ดับเวทนา ดับสังขาร ทำนิโรธขึ้นมา หลงในว่าง เพื่อสนองตัวตน เพราะหลงว่าเจโตวิมุตติคือที่สุดแห่งทุกข์ ไม่ต่างกับโมกษะของศาสนาฮินดู ไม่ต่างกับนิรวานของศาสนาเชน
    ไม่ได้เอะใจเลยว่า ถ้าปรัชญาจิตนิยมที่เชื่อกันมาแต่ก่อนพุทธกาลเป็นสัจธรรมแท้จริง เป็นคำตอบสุดท้าย เช่นนี้แล้วการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือการลอกข้อสอบอย่างนั้นหรือ? เหตุใดพระองค์จึงต้องหาคำตอบใหม่ด้วยความยากลำบาก นิพพานที่พระพุทธเจ้าสอนไม่ใช่การหลุดพ้นอย่างสองศาสนาที่สอนมาก่อน
    ตรรกะง่ายๆนี้รู้ด้วยปรีชาญาณ และสามารถรู้แจ้งเห็นจริงด้วยวิปัสสนาญาณ อันมาจากการเจริญสติปัฏฐาน4

ความคิดเห็น •