งานเลี้ยงดง ปู่แสะ-ย่าแสะ ปี 2567

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ย. 2024
  • เลี้ยงปู่แสะ-ย่าแสะ หรือเลี้ยงดง เลี้ยงผีอารักษ์เมือง ไม่น่าเชื่อว่าประเพณีจะสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการรักษาระบบน้ำความเชื่อเรื่องผี พุทธศาสนา ภูมิปัญญาอย่างแยบยลคนในอดีต กับการสร้างบ้านแปลงเมือง การดูแลรักษาป่า ธรรมชาติ
    เสวนา “เลี้ยงดงวันทา ปูจาขุนน้ำ" คณะวิจิตรศิลป์ มช.
    เริ่มหัวข้อ อ.ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มช.เล่าหลักฐานจากภาพถ่ายและเอกสารโบราณ
    “เลี้ยงดง” ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงพระพุทธเจ้ามาดอยสุเทพ-ดอยคำ ยักษ์สองผัวเมียกินคนในเมือง พระพุทธเจ้าเทศนาสั่งสอนให้หยุดกินคนเป็นอาหาร ยักษ์จึงต่อรองขอกินเดือนละหนึ่งคน พระพุทธเจ้าห้าม จึงกินควายได้ปีละหนึ่งตัว
    เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานจึงเอา “พระบฏ” แทน ในการเลี้ยงควาย
    ปู่แสะ-ย่าแสะ คือ อารักษ์เมืองเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องดูแล
    หอปู่แสะ เดิมอยู่บริเวณฝายหิน มช. เชิงดอยสุเทพ
    หอย่าแสะ อยู่เชิงดอยคำ(ปัจจุบัน) หลังสร้าง มช.จึงย้ายไปไหว้ปู่แสะ-ย่าแสะดอยคำด้วยกัน
    หน้าที่เลี้ยงปู่แสะ-ย่าแสะ อดีตเป็นหน้าที่เจ้าผู้ครองนคร เสนาบดี สังเกตหีบใส่”พระบฏ“ อยู่วัดสวนดอก เมื่อเปลี่ยนระบบการปกครองหน้าที่จึงเป็นของชุมชนแม่เหี๊ยะ และเก็บพระบฎไว้วัดป่าจี้
    การแขวนพระบฏยังใช้ต้นไม้เดิม ปีไหนพระบฏแกว่งแรงบนต้นไม้จนไปชนต้นไม้แตก แสดงว่าปีนั้นน้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์
    เมื่อกินทรงเสร็จแล้ว จะมาพบประชาชน/ให้พร
    -------
    ดร.สราวุธ รูปิน เล่าเรื่อง ”ผีกับพุทธ ในประเพณีเลี้ยงผีอารักษ์เมืองเชียงใหม่“
    ”ดง“ คือ เป็นที่สิงสถิตของบรรพบุรุษหมู่บ้าน
    ”ดอยสูง“ เป็นที่อยู่ของผี เช่น ดอยหลวงเชียงดาว เป็นที่อยู่ของ “ผีขุนน้ำ”
    บทบาทผีบนดอยให้คนยำเกรง โดยเฉพาะ น้ำ-ป่า
    คนอดีตเชื่อว่า ”ต้นไม้แห่งการให้น้ำ“ ดูดน้ำจากก้อนเมฆคนโบราณเคารพต้นไม้มาก
    ประเพณีระดับเมืองเชียงใหม่ 1.เตียวขึ้นดอย2.บูชาเสาอินทขิล3.ประเพณีเลี้ยงดง 4.สืบชะตาเมือง
    อารักษ์หลวงในเมือง เช่น หออินทขิล /เลี้ยงเสาอินทขิล มีต้นไม้ใหญ่อยู่หอ ความเชื่อพิธีกรรม เป็นที่ขึ้นลงของผี
    กลุ่มไทลื้อ ปักหินกลางหมู่บ้าน ”เสาใจบ้าน“
    ลั้วะ เรียกว่า ”เสาสะกั้ง“ หมู่บ้านไหนเป็นลูกหลาน นักรับ หลวงวิลังคะ พิธีเลี้ยงสะกั้ง”เลี้ยงให้ข้าว ไร่อุดมสมบูรณ์“
    อารักษ์หลวงบนดอย คือ ปู่แสะ-ย่าแสะ
    ความเชื่อบรรพบุรุษล้านนา นับถือภูเขาสูง ต้นไม้ใหญ่ เมื่อรับพระพุทธศาสนา ก็เอาพระบรมสารีริกธาตุไปไว้บนพื้นที่สูง พระธาตุดอยสุเทพเชื่อมผีกับพุทธไว้ด้วยกัน
    การบูชาขันดอกอินทขิล “แห่พระฝนแสนห่า” ใช้น้ำขมิ้นขอสายฝน ตั้งแต่ตำนานพญาแถน (เป็นผีฟ้า) จุดบั้งไฟเป็นสัญลักษณ์ เมื่อเปลี่ยนเป็นพุทธบทบาทจึงเป็นของพระอินทร์
    เลี้ยงผีสี่แจ่ง
    “สืบชะตาเมือง สืบชะตาต้นน้ำ สืบชะตาป่า ดึงความเชื่ออนุรักษ์ต้นน้ำ“
    ........
    อ.ไพโรจน์ โพธิพงศ์สกุล เล่าเรื่อง เลี้ยงดงเจ้าหลวงคำแดง ดอยหลวงเชียงดาว
    ดอยหลวงเชียงดาว เป็น เทวบรรพต จุดยุทธศาสตร์โบราณ ”เจ้าหลวงคำแดง“อารักษ์หลวงล้านนาผู้เป็นผีเจ้า
    เจ้าหลวงคำแดง มาจากพะเยา เมืองเทิง สถาปนาให้เป็นเก๊าผี 44 ตน ตำนานเจ้าหลวงคำแดงเกี่ยวกับหมู่บ้านหลายแห่ง
    เชียงดาวผีเมืองเกี่ยวข้องกับเจ้าหลวงคำแดวจะเป็นผู้ให้พลังงานกับศิษย์
    ”ดง“เป็นป่าทึบ ยกให้เป็นเขตของเทพเจ้า
    ”ขุนน้ำฮู“ จัดทำเหมืองฝาย กติการ่วมกัน เกิดพิธีระหว่างผีกับพุทธ
    ผีเจ้าหลวงคำแดงถูกสถาปนาให้เป็นผีพิทักษ์พุทธศาสนา เจ้าหลวงคำแดงเป็นผีพุทธจะต้องรอพระเจ้าธรรมมิกราชมาโปรด จึงนำมาสู่ ”การเลี้ยงผี“
    พิธีกรรมเลี้ยงผี พูดกับผี อาหาร การเสี่ยงทาย จัดทุก 14 ค่ำเดือน 9 จุดมุ่งหมายคือ ขอความอุดมสมบูรณ์
    ”การมีฝน มีป่า มีน้ำ ทำให้เกิดชีวิต“
    ..........
    รศ.ดร.วรลักจก์ บุณยสุรัตน์ เล่าถึงการจัดการน้ำผ่านพิธีกรรม ได้เชื่อมโยงให้เห็นภาพการเลี้ยงดง กับ การจัดการน้ำ พร้อมตั้งข้อสังเกต ผ่านงานวิจัยศึกษาโครงข่ายน้ำเมืองเชียงใหม่
    เชียงดาว=เชียงใหม่ จัดการน้ำในเมืองเชียงใหม่
    ”พิธีกรรมเป็นเครื่องมือในการรักษาต้นธารแห่งทรัพยากรน้ำของส่วนรวม“
    ”ดอยสุเทพ เป็นผีขุนน้ำ“
    ”ปูแสะ-ย่าแสะ“ เมื่อไหว้สายน้ำ จะดูแลใช้พิธีกรรมเป็นเครื่องมือ ตำแหน่งที่เลี้ยงดง มีลำห้วยสองห้วยมาบรรจบกัน จึงเป็นจุดเลี้ยงผี
    เวียงเจ็ดริน-เวียงสวนดอก- เวียงเชียงใหม่ ระบบน้ำเชื่อมโยงจากภูเขา
    บริเวณสบกันของน้ำน่าจะเป็นที่ตั้งเลี้ยงปู่แสะ-ย่าแสะ ?
    เวียงเจ็ดริน=7สายน้ำมาจากดอยสุเทพ
    ”การเลี้ยงผีทุกอย่างทำให้สภาพแวดล้อมมีความสมบูรณ์และสมดุล
    “พิธีกรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งรักษาต้นน้ำ”
    “ควาย”เป็นตัวแทน เมื่อไหร่ดูแลธรรมชาติจะให้คืนกลับมา
    พรุ่งนี้ไหว้ปู่แสะ-ย่าแสะ กับความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้พิธีกรรม

ความคิดเห็น •