เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 อย่าง (7 QC Tools)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 ก.ย. 2024
  • เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 อย่าง (7 QC Tools)
    ในการควบคุมคุณภาพจะถูกควบคุมกระบวนการผลิตด้วยวิธีการทางสถิติ (Statistics Process Control; SPC) เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องควบคุมคุณภาพ 7 อย่าง (7 QC Tools)
    ใบตรวจสอบ (Check Sheet)
    ฮีสโตแกรม (Histogram)
    แผนภูมิพาเรโต (Parato Diagram)
    แผนผังก้างปลา (Fish-bone Diagram)
    กราฟ (Graph)
    แผนภูมิกระจาย (Scatter Diagram)
    แผนภูมิควบคุม (Control Chart)
    ใบตรวจสอบ (Check Sheet)
    1. ใบตรวจสอบการผลิต
    2. ใบตรวจสอบตำแหน่งบกพร่อง
    3. ใบตรวจสอบจำนวนของเสีย
    4. ใบตรวจสอบสาเหตุของเสีย
    5. ใบตรวจสอบความเรียบร้อย
    ประโยชน์ของใบตรวจสอบ คือ ช่วยให้ผู้ตรวจสอบสามารถบันทึกผลการตรวจสอบได้สะดวก รวดเร็วและเป็นไปตามระบบ ซึ่งจะส่งทำให้ในการตัดสินในการควบคุมคุณภาพเป็นไปได้อย่างถูกต้อง
    ฮิสโทแกรม (Histogram)
    เป็นแผนภูมิที่แสดงการแจกแจงความถี่ของข้อมูล ซึ่งจำนวนของอันตรภาคชั้นควรอยู่ระหว่าง 5 ถึง 20 หรือสามารถหาได้จากจำนวนข้อมูลในสูตร 1+3.3log N โดยแกนตั้งเป็นค่าความถี่ ส่วนแกนนอนเป็นช่วงของข้อมูล
    แผนภาพพาเรโต (Pareto Diagram)
    แผนภูมิแสดงสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากแต่ละสาเหตุ มีลักษณะเป็นกราฟแท่งที่แบ่งแยกข้อมูลเป็นช่วงๆโดยเรียงค่ามากไปน้อย โดยเริ่มจากซ้ายไปขวา ทั้งนี้แกนตั้งมี 2 แกน ได้แก่ แกนตั้งทางด้านซ้ายแสดงถึงความถี่ของข้อมูล ส่วนแกนนอนแทนสาเหตุของปัญหา
    แผนผังก้างปลา (Fish-bone Diagram)
    เป็นการพิจารณาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพที่สนใจศึกษา ซึ่งปัญหาคุณภาพที่ต้องการแก้ไขจะอยู่ทางขวามือและสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพของอยู่ทางซ้ายมือ ซึ่งสาเหตุหลักที่จะนำวิเคราะห์ คือ 4M
    ขั้นตอนการสร้างแผนผังก้างปลา
    1. ชี้ลักษณะคุณภาพที่เป็นปัญหาออกมาให้ชัดเจน
    2. ขวาสุด (หัวปลา) เขียนปัญหาหรือความผิดพลาด ลากเส้นไปขวามาที่ตัวปัญหา
    3. เขียนสาเหตุหลักของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้องค์ประกอบ 4M
    4. เขียนสาเหตุรองและสาเหตุย่อยๆลงไปที่ส่งผลต่อๆกันไป
    5. จัดลำดับความสำคัญมากน้อยของสาเหตุ เพื่อการแก้ไขต่อไป
    ประโยชน์ของแผนผังก้างปลา คือ เป็นที่รวบรวมมาจากทุกฝ่ายในองค์กร เนื่องจากเป็นการสอบถามสาเหตุของปัญหาจากทุกฝ่ายและทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีจุดร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการหาวิธีการแก้ปัญหา
    กราฟ (Graph)
    กราฟแท่ง เป็นกราฟที่เปรียบเทียบความแตกต่างทางปริมาณ
    กราฟเส้น เป็นกราฟที่แสดงที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ซึ่งกราฟประกอบไปด้วยแกนนอนและแกนตั้ง แกนนอนแทนค่าของตัวแปรอิสระ ส่วนแกนตั้งแทนค่าของตัวแปรตาม เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ประโยชน์ของกราฟเส้น คือ ใช้ในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเวลา เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
    กราฟวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม เป็นร้อยละ โดยการแบ่งพื้นที่ในวงกลมออกเป็นส่วนตามร้อยละจากอัตราส่วนทั้งหมด
    แผนภาพการกระจาย (Scatter Diagram)
    แผนภาพที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวว่ามีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อที่จะใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง
    แผนภูมิควบคุม (Control Chart)
    แผนภูมิควบคุมมีการเขียนขอบเขตที่ยอมรับได้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการ โดยการติดตามและตรวจจับข้อมูลที่ออกนอกขอบเขต ประกอบไปด้วย ขีดจำกัดควบคุมด้านบน (Upper Control Limit; UCL) เส้นกึ่งกลาง (Center Line; CL) และขีดจำกัดควบคุมด้านล่าง (Lower Control Limit; LCL)
    #7QCTOOL
    #QUALITYCONTROL
    #SPC

ความคิดเห็น • 3

  • @Naraphit
    @Naraphit 2 ปีที่แล้ว +1

    เป็นประโยชน์มากเลยขอบคุณมากครับผม

  • @user-io8mn6lg5k
    @user-io8mn6lg5k 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับมีประโยชน์มาก

  • @pongsarun0073
    @pongsarun0073 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ