ชุมชนมัสยิดยะวา อัตลักษณ์ที่หลงเหลือจากการผสมทางวัฒนธรรม | จากรากสู่เรา ซีซัน 2

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 ธ.ค. 2022
  • ชาวยะวา หรือคนจากเกาะชวา กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน กลุ่มของชาวยะวาเข้ามาในดินแดนสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทำการค้าขายและเป็นทหารอาสา แต่ยังไม่มีการตั้งเป็นชุมชนชาวยะวาที่ชัดเจน
    ในสมัยรัชกาลที่ 4 ชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อแสวงหาโอกาสการทำงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ในเกาะชวาขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา และได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีนัก รวมถึงในเรื่องของค่าแรงในสยามที่สูงกว่าในเกาะชวา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะชวา และได้ทอดพระเนตรเห็นสวนพฤกษศาสตร์ในเกาะชวา จึงได้มีการนำกลุ่มของช่างทำสวนชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อตกแต่งสวนในหลาย ๆ ที่ เช่น สนามหลวง พระราชวังดุสิต พระราชวังบางประอิน และสวนลุมพินี
    ชาวยะวามีการตั้งชุมชนกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ โดยส่วนมากจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำงาน เช่น บางลำพู สวนลุมพินี แต่ชุมชนชาวยะวาที่ใหญ่ที่สุด จะอยู่บริเวณถนนสาทร ในตรอกโรงน้ำแข็ง หรือในปัจจุบัน คือ ซอยเจริญราษฎร์ 1 ในปัจจุบัน พื้นที่ตรงนี้ยังคงมีคนเชื้อสายยะวาอาศัยอยู่ และยังคงสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างเช่น เรื่องของอาหารและการแต่งกาย เพื่อให้ยังสามารถดำรงตัวตนของตัวเองไว้ได้ ท่ามกลางสังคมที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ล้วนถูกผสมผสาน จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมไทย
    ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ชุมชนมัสยิดยะวา วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/JakRakSuRao
    #จากรากสู่เรา #ประวัติศาสตร์สังคม #สารคดีไทยพีบีเอส #ชุมชนมัสยิดยะวา #ชาวยะวา #เกาะชวา #ซอยเจริญราษฎร์1 #สาทร #ตรอกโรงน้ำแข็ง
    -------------------------------------------------------
    กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : thaip.bs/YSBht5j
    และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
    Website : www.thaipbs.or.th
    Facebook : www. ThaiPBS
    Twitter : / thaipbs
    Instagram : / thaipbs
    LINE : www.thaipbs.or.th/AddLINE
    TikTok : / thaipbs
    TH-cam : / thaipbs
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 15

  • @patchareerious3138
    @patchareerious3138 ปีที่แล้ว +9

    สวัสดีค่ะ
    อยากให้นำเสนอชีวิตชาวมุสลิมในประเทศไทยในชุมชนอื่นๆว่ามีบรรพบุรุษมาจากไหน

  • @Yai1950
    @Yai1950 ปีที่แล้ว +2

    ThaiPBS จากรากสู่เรา ซีซัน2 ขอบคุณค่ะ

  • @tossaphornsitsuksai3116
    @tossaphornsitsuksai3116 ปีที่แล้ว +4

    ช่วง 0:22-0:29 คือวัดแม่พระลูกประคำ(วัดกาลหว่าร์) มั้ยครับ ส่วนอาสนวิหารจะลงใต้ไปตามถนนเจริญกรุงอีกนิดนึง

    • @beer-yr9vz
      @beer-yr9vz ปีที่แล้ว +1

      ใช่ครับ ใส่ชื่อวัดผิดแน่เลยยย

  • @user-fq6mb6yw8i
    @user-fq6mb6yw8i ปีที่แล้ว +2

    faceinterested
    👍👍👍👍👍

  • @user-vq4re7by1s
    @user-vq4re7by1s 7 หลายเดือนก่อน

    สิ่งที่เราไม่ควรเอามาจากชะวาเลย คือผักตบ เต็มแม่น้ำหมด กำจัดยากมาก

  • @eimmybb_five-o7899
    @eimmybb_five-o7899 9 หลายเดือนก่อน

    👍👍👍👍👍👍👍👍👍

  • @bigpirate7513
    @bigpirate7513 ปีที่แล้ว

    อัตลักษณ์แบบนี้อยู่ชายแดนใต้ดีแล้วอย่าไปรุกทางวัฒนธรรมภาคอื่นอีกโดยเฉพาะอีสานกับภาคเหนือขอให้เจริญอยู่แค่ชายแดนใตัก็พอ😂😂😂😂

    • @user-uz8ys9mr5m
      @user-uz8ys9mr5m 11 หลายเดือนก่อน

      เค้าขยายไปทั่วไทยแล้วละช้าไปแล้ว

    • @user-pr2lu4wl7y
      @user-pr2lu4wl7y 11 หลายเดือนก่อน

      คิดแบบนี้ต้องไปอยู่ในป่าในเขาคนเดียวน่ะ..ครับ

  • @badbaddy
    @badbaddy ปีที่แล้ว

    มุสลิม แปลว่า ผู้ข้ามน้ำข้ามทะเล (แล้วมาอาศัยในสุวรรณภูมิ) ขออย่างเดียวอย่าเป็นกาเหว่า

    • @Keepgoingdown23
      @Keepgoingdown23 ปีที่แล้ว

      แปลมั่วละ

    • @warzone.ukraine
      @warzone.ukraine ปีที่แล้ว

      คนมุสลิมมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาล่ะ เป็นทหารหัวหมู่ทะลวงฟันสู้กับพม่า มานานมากๆ

  • @thyidapremsala4693
    @thyidapremsala4693 11 หลายเดือนก่อน

    อยากให้แนะนำนักท่องเที่ยวอินโดนีเซียให้มาเที่ยวชุมชนยะวา