วิธีดับกิเลส สมุทัย ละอย่างไร (สติ-ปัญญา) เสียงธรรม โดยหลวงตามหาบัว

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2024
  • แบ่งปันเสียงธรรมหลวงตามหาบัว เรื่อง กิเลส ดับหรือละได้ด้วยสติปัญญา กิเลส หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง
    กิเลสมี 3 ระดับ คือได้แก่
    1.อนุสัยกิเลส (Latent Defilements) กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
    2.ปริยุฏฐานกิเลส (Internally Active Defilements) กิเลสอย่างกลางคือกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งทางความคิด ได้แก่ กิเลสประเภทนิวรณ์ 5
    3.วีติกกมกิเลส (Externally Active Defilements) กิเลสอย่างหยาบคือกิเลสที่ทะลักออกมาทำให้สัตว์สร้างกรรมขึ้นมาทางกายและวาจา
    กิเลสอย่างละเอียด สงบได้ด้วยปัญญา,กิเลสอย่างกลาง สงบได้ด้วยสมาธิ,กิเลสอย่างหยาบ สงบได้ด้วยศีล
    กิเลสวัตถุ ในวิภังคปกรณ์ระบุว่า กิเลสวัตถุ 10 ได้แก่
    โลภะ ความอยากได้ในสิ่งของ เงินทอง ทรัพย์สิน ที่ดินหรือลาภอื่นๆที่ไม่ใช่ของๆตน
    โทสะ ความคิดประทุษร้าย ทำลาย
    โมหะ ความหลง มัวเมา
    มานะ ความถือตัว
    ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
    ถีนะ ความหดหู่
    อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
    อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป
    สรุป กิเลส หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว มีจิตอันไม่บริสุทธิ์ และขัดขวางความความสงบทางจิตใจ ประกอบด้วยกิเลส 3 ประเภท คือ
    1. โลภะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโลภ
    2. โทสะกิเลส คือ กิเลสแห่งความโกรธ
    3. โมหะกิเลส คือ กิเลสแห่งความหลง
    กลุ่ม1. โลภะกิเลส
    โลภะกิเลส หมายถึง กิเลสที่ทำให้เกิดทะยานอยากในสิ่งต่างๆอันทวารทั้ง 5 สัมผัสได้ และความอยากในจิตของตนที่ปรุงแต่งขึ้น ซึ่งความอยากนี้เป็นเหตุให้จิตเกิดการดิ้นรน และแสวงหาเพื่อมาสนองต่อความอยากของตน ประกอบด้วย
    1. กามโลภะ หมายถึง ความอยากในกาม คือ ความอยากที่จะสนองต่อทวารทั้ง 5 สัมผัสได้ คือ มีรูปสัมผัสด้วยตา มีเสียงสัมผัสด้วยหู มีกลิ่นสัมผัสด้วยจมูก มีรสสัมผัสด้วยลิ้น และกายสัมผัสด้วยการจับต้อง
    2. ภวโลภะ หมายถึง ความอยากในภพ คือ อยากเป็นอย่างนี้ อยากมีอย่างนี้ เป็นรูปที่จิตตนปรุงแต่งขึ้น
    3. วิภวโลภะ หมายถึง ความอยากในวิภพ คือ ไม่อยากเป็นอย่างนี้ ไม่อยากมีอย่างนี้ เป็นรูปที่จิตตนปรุงแต่งขึ้นเช่นกัน
    กลุ่มที่ 2 โทสะกิเลส
    โทสะกิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเกิดความขุ่นเคือง เกิดความแค้นเคืองต่อสิ่งที่มากระทบต่อจิตนั้น ซึ่งจะนำไปสู่การระบายซึ่งโทสะออกมาเป็นพฤติกรรมอันรุนแรง
    ประเภทของโทสะ
    1. อสังขาริก คือ โทสะที่เกิดขึ้นเพราะตนเอง
    2. สสังขาริก คือ โทสะที่มีผู้อื่นเป็นเหตุหรือยุยงให้เกิด
    กลุ่มที่ 3 โมหะกิเลส
    โมหะกิเลส หมายถึง กิเลสที่ทำให้จิตใจเกิดความลุ่มหลงในสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ด้วยทวารทั้ง 5 และเป็นนามธรรมที่จิตตนเองปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุที่มาจากความเขลาที่ปราศจากเหตุ และผล
    ลักษณะของโมหะ
    1. เกิดความมืดในจิตใจด้วยความไม่มีปัญญา
    2. มีอารมณ์เป็นรส
    3. มีความเห็นอันเป็นมิจฉาทิฏฐิที่ประกอบขึ้นจาก
    - วิจิกิจฉา คือ ความสงสัย
    - อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน
    อนึ่งท่านผู้รู้กล่าวว่า โลภะกิเลส นั้น ให้ความหมายเหมือนกับคำว่า ตัณหา และ ราคะ และสามคำนี้มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน คือ เป็นความทะยานอยากแห่งจิต
    คำว่า “กิเลส” มาจากฐานศัพท์ภาษาบาลี คือ กิลิส แปลว่า ความเร่าร้อน หรือ การเบียดเบียน แปลโดยนัยแห่งธรรม หมายถึง เครื่องที่ทำให้จิตใจเร่าร้อนหรือเข้าเบียดเบียนจิตใจให้เศร้าหมอง
    ที่มาข้อความ อ้างอิง วิกิพีเดีย
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด
    แนบ มหานีรานนท์ "อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค"
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), กิเลส 10, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    ทสกนิเทศ, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
    เพิ่มเติมเว็ปไซต์ / thaihealthlife.com

ความคิดเห็น •