ประวัติศาสตร์ วัดพระธาตุช้างค้ำ จ.น่าน พระเจ้าหลวง พระคู่บ้านคู่เมือง Ep41

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 พ.ย. 2022
  • #วัดพระธาตุช้างค้ำ#ขอพร วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดหลวง" หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน (หอคำ)ต.ในเวียงอ.เมืองน่าน จ.น่านค่ะ เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่งเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 เป็นวัด ที่มีอายุยาวนานกว่า600ปี ค่ะ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาค่ะ
    สถานที่ ที่ โดดเด่นและสะดุดตามีความสวยงาม งดงาม ดึงดูดสายตา ต่อผู้พบเห็นและเดินทางสัญจรไปมาคือ พระวิหารหลวงค่ะ
    พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารเป็นวิหารขนาดใหญ่รูปทรงสร้างตามสถาปัตยกรรมทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถงด้านหน้ามีสิงห์คู่ยืนตรงเชิงบันไดด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และ ประตูเล็กอยู่ด้านซ้าย และ ด้านขวามีทางขึ้นเป็นประตูเล็กๆ ตรงข้ามพระประธานด้านทิศตะวันออก และ ทิศตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และ ด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสาด้านหน้าทุกต้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อยเหมือนลวดลายที่เสาในวิหาร วัดภูมินทร์
    พระประธานเป็นพรพพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน พระเจ้าหลวงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิวัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 4.50 เมตร สูง 6 เมตรศิลปะสมัยล้านนา ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำ และ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน
    เป็นที่นับถือของชาวเมืองน่านว่าศักสิทธ์นอกจากพระองค์จะงดงามแล้ว ยังมีสังฆาฎิซึ่งปั้นลวดลายก้านต่อดอก ประดับกระจกงดงามฐานชุกชีเป็นรูปตรีมุขค่ะ และในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย และยังล้อมไปด้วยพระพุทธรูปขนาดต่างๆอีกหลายองค์เลยค่ะ
    นอกจากนี้ยังมีหอไตรวัดช้างค้ำวรวิหาร ลักษณะโครงสร้างเหมือนวิหารและโบสถ์ มีสิงห์ยืนอยู่ตรงเชิงบันได งดงามด้วยลายปูนปั้น หลังคาซ้อน 3 ชั้น เป็นห้องเก็บพระธรรมและพระไตรปิฎก ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน
    พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมณี พระพุทธรูปสุโขทัยปางลีลาค่ะ
    เป็นพระพุทธรูปทองคำ 65% สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬี ทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2524 หนัก 69 บาท สร้างโดยเจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย หาชมได้ยากยิ่ง
    ในอดีตตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะ สุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา ( ทรงระฆัง)ค่ะ
    พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือ เจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำได้รับการบูรณะซ่อมแซมและหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

ความคิดเห็น • 6

  • @nichnana4907
    @nichnana4907 ปีที่แล้ว +1

    ยอดเยี่ยมค่ะ รอชมอยู่แล้วค่า เมื่อวานไปงานทอดกฐิน เอาบุญใหญ่มาฝากนะคะ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  ปีที่แล้ว

      อนุโมทนาสาธุนะคะ ขอบคุณค่ะ🙏🙏🙏

  • @nichnana4907
    @nichnana4907 ปีที่แล้ว +1

    ยิ่งวันยิ่งเด็กลงน้า สวยและเก่งค่ะคุณเนตร ชอบช่องคุณเปรมมากค่ะ ทำการบ้านมาดี ถ่ายภาพสวยค่ะ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @user-bs9nq4sy7t
    @user-bs9nq4sy7t 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขออนุญาตแชร์นะครับ
    ขอบคุณมากครับ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  6 หลายเดือนก่อน +2

      ได้ค่ะ ยินดีมากค่ะ