ม่านไทรย้อย ขับร้องโดย ดวงดาว เถาว์หิรัญ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 7 พ.ค. 2024
  • ม่านไทรย้อย ขับร้องโดย ดวงดาว เถาว์หิรัญ
    คำร้อง สไล ไกรเลิศ
    ทำนอง สุทิน เทศารักษ์ นำทำนองมาจาก เพลง ไวโอลิน คอนแชร์โต ของไชคอฟส์กี้
    บรรเลงโดย วงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
    อำนวยเพลงโดย
    อ. ธนู รักษาราษฎร์
    --------------------------------------
    รายนามนักดนตรี - นักร้อง
    นายธนู รักษาราษฎร์ - ผู้อำนวยเพลง
    นายโชติ บัวสุวรรณ - ไวโอลิน ๑
    นางสาวกุลิสรา แสงจันทร์ - ไวโอลิน ๑
    นางสาวพบภัค งามเจริญ - ไวโอลิน ๑
    นายชลัฐ ลิมปิศิริ - ไวโอลิน ๑
    นายธันวิน ใจเพียร - ไวโอลิน ๒
    นายรวยชัย แซ่โง้ว - ไวโอลิน ๒
    นางสาววรรณชนก นุตาคม - ไวโอลิน ๒
    นางสาวสุวิดา ทะละวงษ์ - ไวโอลิน ๒
    นายขจร โกศลสิริพจน์ - วิโอลา
    นายสุรชน เลิศลบ - วิโอลา
    นายขจรศักดิ์ ม้าละออเพชร - วิโอลา
    นายณัฐนันท์ จูฑังคะ - วิโอลา
    พ.จ.อ.สุนทร ทองประกอบ - โอโบ
    นายทศพร โพธิ์ทอง - เชลโล
    นายคุณัชญ์ เฉลิมพรพงศ์ - เชลโล
    พ.จ.อ.สุนทร ทองประกอบ - เชลโล
    นางสาวศริญญา คงเฟื่องฟุ้ง - เชลโล
    นายธีรัตม์ เกตุมี - ฟลูต
    นายเชาวลิต เจริญชีพ - โอโบ
    นายพงศ์วิสิษฐ์ สิริวารินทร์ - คลาริเน็ท
    นายศิริอนันต์ ใจซื่อ - บาสซูน
    นายนันทวัฒน์ วารนิช - ฮอร์น
    นายปิติพงศ์ ภู่แก้ว - ทรัมเป็ต
    นายสมเจตน์ สุกอร่าม - ทรอมโบน
    พ.จ.อ.ศิลปชัย สุขประเสริฐ - เปียโน
    นายสกล ศิริพิพัฒนกุล - กีต้าร์
    จ.อ.ชูเกียรติ พรมศิริกรรณ - เบสไฟฟ้า
    พ.จ.อ.ชาลี เพ็งจิ๋ว - กลอง
    นายธรรมศักดิ์ หิรัญขจรโรจน์ - กลอง
    นางดวงดาว เถาว์หิรัญ - ขับร้อง
    นายสุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ - ขับร้อง
    นายมานิต ธุวะเศรษฐกุล - ขับร้อง
    นางสาวณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ - ขับร้อง
    นายอิสรพงศ์ ดอกยอ - ขับร้อง
    นายถิรวัฒน์ ศรีสุรางค์ - ขับร้อง
    นางสาวโฉมวิลัย ยูฮันเงาะ - ขับร้อง
    นางสาวธนิษฐา นิลบุตร - ขับร้อง
    นายรัฐพงศ์ ปิติชาญ - ขับร้อง
    ดำเนินรายการโดย
    ดวงดาว เถาว์หิรัญ และ ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
    --------------------------------------
    ความเป็นมาของวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณำโปรดเกล้าฯ
    ให้มีการจัดวงดุริยางค์ประเภทออร์เคสตร้า (ORCHESTRA) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระราชทานนามว่า “วงเครื่องสายฝรั่งหลวง”
    ขึ้นอยู่ในพระราชสำนัก สังกัดกรมมหรสพ กระทรวงวัง และให้จ้างครูฝรั่งชาวอิตาเลียนมาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับนักดนตรีไทย
    ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ครูผู้สอนจำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศอิตาลี
    วงเครื่องสายฝรั่งหลวงจึงขาดครูฝึกสอน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนเจนรถรัฐ
    ผู้ซึ่งมีความชำนาญด้านดนตรีสากล โอนย้ายจากกรมรถไฟหลวงมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรม
    โดยมีหน้าที่ฝึกสอนและปรับปรุงวงดนตรีวงนี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๐
    วงดนตรีวงนี้พัฒนาความสามารถขึ้นเป็นลำดับ ได้จัดแสดงให้ประชาชนชมที่ กาแฟนรสิงห์ สนามเสือป่า ศาลาสหทัยสมาคม
    และโรงมหรสพสวนมิสกวัน ตลอดจนบรรเลงในงานสำคัญต่าง ๆ อาทิ งานฤดูหนาว งานสภากาชาด และงานของสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ
    จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
    ขุนเจนรถรัฐ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้นเป็นหลวงเจนดุริยางค์และพระเจนดุริยางค์โดยลำดับ
    นับว่าท่านเป็นวาทยากรที่เป็นคนไทยคนแรก
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดการบรรเลงซิมโฟนี คอนเสิร์ต (SYMPHONY CONCERT)
    สำหรับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ณ โรงโขนหลวงในสวนมิสกวัน และที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง (เขตชั้นนอก)
    สลับที่กันบรรเลงเป็นงานประจำ เพื่อนำรายได้พระราชทานแก่องค์การสาธารณกุศลต่าง ๆ โดยพระเจนดุริยางค์เป็นผู้อำนวยเพลง
    จนได้รับคำชมเชยจากชาวต่างประเทศ และมีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในเมืองไทยหลายฉบับด้วยกัน
    ได้รับการยกย่องว่า “วงเครื่องสายฝรั่งหลวงแห่งเมืองไทย” วงนี้ เป็นวงดนตรีที่ดีที่สุดในภาคพื้นเอเชียตะวันออก
    ต่อมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กรมปี่พาทย์หลวงและโขนหลวง รวมทั้งวงเครื่องสายฝรั่งหลวง
    ได้โอนย้ายจากกระทรวงวังมาขึ้นกับกรมศิลปากร และเปลี่ยนชื่อวงดนตรีวงนี้เป็น “วงดุริยางค์สากล กรมศิลปำกร”
    ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ จนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นวงดุริยางค์สากลวงแรกของประเทศไทย ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai National Symphony Orchestra”
    -----------------------------------------
    ฟังดนตรีที่จุฬาฯ ขอเชิญชม
    “เพลงกล่อมกรุง”
    โดย วงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
    เชิญชวนฟังเพลง
    ลมหวล, คนเดียวในใจ, สไบแพร, แม่ยอดรัก, หงส์เหิน, นกเขาไพร, บัวขาว,
    หนาวตัก, ร้อยใจเป็นมาลัยรัก, เรือนแพร, ชื่นชีวิต, ม่านไทรย้อย, คอย, นานเท่าไหร่ก็จะรอ,
    ธาราระทม, ความในใจ, ดวงจันทร์, น้ำตาแสงใต้ และ ชั่วฟ้าดินสลาย
    วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗
    เวลา ๑๘.๐๐ น.
    ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพลง

ความคิดเห็น •