รวมบทสวด 7 ตำนาน พระปริตร คุ้มครองป้องกันภัย เสริมสิริมงคลให้ชีวิต

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ก.ย. 2024
  • บทสวด 7 ตำนาน และ ความเป็นมา
    คำว่า ปริตร มาจากคำบาลีว่า ปริตฺต (ปริ+ตาณ) เขียบแบบสันสกฤตว่า ปริตฺตราณ แปลว่า ต้านทาน หรือ ป้องกันภัยอันตราย
    พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครอง คือป้องกันอันตรายภายนอก มีโจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายใน มีโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนั้นบังเกิดจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและเป็นผลของการเจริญเมตตาภาวนา เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาเป็นหลัก ดังนั้น ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ เช่น ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรื่อง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน ดังพระพุทธดำรัสว่า เธอจงเจริญพุทธานุสสติภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริญภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา ย่อมประสบภัยพิบัติเอง เหมือนคนที่ใช้มือจับหอกคม ย่อมได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น (midnighparty Bloggang)
    พระปริตรที่พระเถระชาวลังกาคัดมานั้น แบ่งเป็น ๒ หมวด คือ
    ๑) หมวดที่เรียกว่า “จุลราชปริตร” (พระราชปริตรน้อย) ประกอบด้วยบทสวด ๗ บท หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “๗ ตำนาน”
    ๒) หมวดที่เรียกว่า “มหาราชปริตร” (พระราชปริตรใหญ่) ประกอบด้วยบทสวด ๑๒ บท หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “๑๒ ตำนาน”
    คำว่า ตำนาน เดิมเขียนว่า ตำนาณ มาจากคำบาลีว่า ตาณ ที่แปล ต้านทาน
    มาถึงตรงนี้ มีคำที่ควรทำความเข้าใจอยู่ ๓ คำ คือ คำว่า สูตร ปริตร ตำนาน
    คำว่า สูตร เป็นคำที่ใช้ในพระไตรปิฎก เช่น มงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร เป็นต้น และให้เรียกบทสวดที่มีเป็นแนวหลักธรรมคำสอน ไม่ใช่บทสวดแนวให้เกิดฤทธิ์ป้องกันภัย
    คำว่า ปริตร ใช้เรียกพระสูตรที่คัดจากพระไตรปิฎก แล้วนำมาสวดในงานมงคลต่างๆ โดยพระเถระชาวลังกา
    คำว่า ตำนาน หรือ ตำนาณ เป็นคำไทยใช้เรียกบทสวดพระปริตร ที่พระเถระชาวลังกาจัดไว้ว่า ๗ ตำนาน (จุลราชปริตร) ๑๒ ตำนาน (มหาราชปริตร)
    บทสวดมนต์ 7 ตำนาน จึงหมายถึง บทสวด 7 บทที่มีอานุภาพต้านทานภัยอันตรายต่างๆ 7 ประการ เช่น ภัยไฟไหม้ ภัยจากงูพิษ ภัยจากภูตผีปีศาจ เป็นต้น
    7 ตำนาน มีบทสวดดังนี้
    เจ็ดตำนาน (จุลราชปริตร) มี ๗ ปริตร คือ
    ๑. มงคลสูตร ๒. รตนสูตร ๓. กรณียเมตตสูตร ๔. ขันธปริตร
    ๕. โมรปริตร ๖. ธชัคคปริตร ๗. อาฏานาฏิยปริตร
    มังคลปริตร (มงคลสูตร) เครื่องป้องกันที่ 1
    อานุภาพป้องกัน : ให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต พระครูปิยธรรมวิเทศ (ปสัณห์ ปิยธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดพระมหาชนก บ้านพลังเพียร รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา แนะนำว่าบทมงคลสูตรให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สวดเป็นประจำ จะส่งผลทำให้บุตรที่อยู่ในครรภ์ เป็นเด็กที่มีสติปัญญาดี ว่านอนสอนง่าย ฉลาด มีสมาธิเป็นเลิศ รู้จักกตัญญูกตเวที เป็นอภิชาตบุตร
    รัตนปริตร (รตนสูตร) เครื่องป้องกันที่ 2
    อานุภาพของบทสวดนี้ : ขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากโรคระบาด ภูตผีปีศาจ และความอดอยาก
    เมตตปริตร (เมตตสูตร,กรณียเมตตสูตร) เครื่องป้องกันที่ 3
    อานุภาพของบทสวดนี้ : ทำให้เป็นที่รักของเทวดา มนุษย์ อมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ขันธปริตร เครื่องป้องกันที่ 4
    อานุภาพของบทสวดนี้ : ป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง รวมถึงยาพิษจากผู้คิดร้าย
    โมรปริตร เครื่องป้องกันที่ 5
    อานุภาพของบทสวดนี้ : เป็นบทสวดของพญานกยูงโพธิสัตว์ สวดภาวนาก่อนออกหากินและก่อนเข้านอน มีอานุภาพให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
    ธชัคคปริตร (ธชัคคสูตร) เครื่องป้องกันที่ 6
    อานุภาพของบทสวดนี้ : ถือเป็นที่สุดของพุทธมนต์ทั้งหมด มีการนำไปดัดแปลงเป็นมนต์คาถาและลงอักขระในยันต์ต่างๆ มากมาย มีอานุภาพ ๑๐๘ ประการ
    อาฏานาฏิยปริตร เครื่องป้องกันที่ 7
    อานุภาพของบทสวดนี้ : ป้องกันภัยจากภูตผีปีศาจ ยักษ์ และวิญญาณร้าย ตลอดถึงคุณไสยต่างๆ

ความคิดเห็น •