ศรัทธากับปัญญา สมภาร พรมทา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ธ.ค. 2024

ความคิดเห็น • 30

  • @จ๋องแหล๋งวารินชําราบ
    @จ๋องแหล๋งวารินชําราบ 5 หลายเดือนก่อน +11

    ผมกดดูช่องที่กำลังติดตามทุกครั้ง แอบมองคลิปอัพเดทช่องตลอดครับ ผมเข้าฟังเกือบทุกคลิปน่าจะเกิน90%บางคลิปเข้าฟังหลายรอบซ้ำไปมาจนผมเองคึดว่าน่าจะเข้าใจ ทำให้คนที่ วุฒิ ม.3อย่างผมพอที่จะมีแนวทาง แนะนำให้ลูกชาย2คนผม เริ่มมีแนวโนมเป็นคนที่ใจกว้างพอ มีทัศนะคติที่ดี อย่างพอดี ขอบคุณ อ.สมภาร พรมทา ครับ

    • @philoking4670
      @philoking4670 5 หลายเดือนก่อน +1

      นอกจากมีแนวความคิดที่ถูกต้องแล้วยังเป็นตักกะศิลาแห่งโลกเลยครับ..เพราะอาจารย์สมภารอ่านหนังสือทุกวันครับ

  • @มันไม่ใช่เรา
    @มันไม่ใช่เรา 5 หลายเดือนก่อน +13

    "ศรัทธา" มาจากความเชื่อ
    ไม่ว่าจะเชื่อโดยสัมมาทิฏฐิ หรือเชื่อโดยมิจฉาทิฏฐิ ต่างก็เกิดศรัทธา บางคนเกิดความสงบในใจเมื่อได้อยู่กับความเชื่อนั้น การอินไปกับสิ่งที่ทำหรือขออะไรแล้วได้บางครั้งเกิดเจโตวิมุตติ สุดท้าย "ศรัทธา" กลับกลายเป็น "งมงาย" ไม่มีเหตุผล
    "ปัญญา" มาจากความเข้าใจ
    ไม่ว่าจะเข้าใจโดยสัมมาทิฏฐิ หรือเข้าใจโดยมิจฉาทิฏฐิ บางคนเกิดความยึดมั่นในความคิดเมื่อได้เมามายในความรู้นั้น การอ่านคัมภีร์หรือครุ่นคิดตีความบางครั้งเกิดเจโตวิมุตติ สุดท้าย "ปัญญา" กลับกลายเป็น "โมหะ" ไม่รับฟังใคร
    แม้ว่า "ศรัทธา" อันมาจากความเชื่อ และ "ปัญญา" อันมาจากความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ควรมีเพื่อผลักดันให้เกิด "อิทธิบาท 4" แต่ควรตระหนักไว้ว่ายังไปไม่พ้น "อวิชชา"
    ทางแห่งการพ้นอวิชชา
    1.ใช้สมาธินำปัญญา
    2.ใช้ปัญญานำสมาธิ
    3.ใช้สมาธิและปัญญาควบกัน
    "สมาธิ" ที่ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้เนื้อรู้ตัวใช้งานไม่ได้ สมาธิอันมาจาก "ศรัทธา" แทบทุกคนเป็น "มิจฉาสมาธิ"
    "ปัญญา" ที่จำเป็นได้จากการเรียนเรื่อง "จิตตสิกขา" ใครทำความเข้าใจได้จะช่วยให้รู้จัก "สัมมาสมาธิ"
    พระพุทธเจ้าสอน "ไตรสิกขา" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีคนเคยเปรียบไว้ว่าเหมือนรูป 3 เหลี่ยมด้านเท่าที่รวมมุมกันได้ 360° ถ้าศีลบกพร่องสัมมาสมาธิไม่มี การเจริญปัญญาก็พาให้ฟุ้งซ่าน
    "ศรัทธา" ที่ประกอบด้วย "ปัญญา" เป็นประโยชน์ก็ด้วยการหาข้อมูลดังกล่าวให้ครบ เป็นปัญญาเบื้องต้นที่จะพาไปสู่ "อธิปัญญา" อันเป็นผลของการ "เจริญสติปัฏฐาน 4"
    เป็นปัญญาคนละอันกับการตีความ "พระสูตร" ตีความ "พุทธวจน" เพราะความรู้ในหัวสมอง ยิ่งรู้มากยิ่งหลงอยู่ในโลกความคิด ไม่รู้ว่าสิ่งที่คิดกับธรรมะของจริงเป็นคนละสิ่งกัน
    การใช้ "ปัญญา" นำหน้า "ศรัทธา" ใช้นำหน้า "สมาธิ" เหมาะกับคนยุคปัจจุบัน เริ่มต้นตรงที่อ่านบทความนี้จนรู้ว่าอะไรเป็นอะไรในแต่ละเรื่อง เมื่อฝึกให้มีจิตตั้งมั่นได้การเดินก้าวต่อไปก็จะตรงทาง
    @PMS youtube
    การที่เราศึกษาปฏิบัติธรรม
    ให้เข้าใจ ให้รู้ถูก เข้าใจถูก
    แล้วก็สืบทอดเผื่อแผ่ไปถึงคนอื่น
    นั่นคือหน้าที่ของพวกเราชาวพุทธ
    ทำประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม
    ทำประโยชน์ผู้อื่นให้เต็มตามความสามารถ"
    หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    วัดสวนสันติธรรม
    13 เมษายน 2567

    • @เก้าพุทไธสง2567
      @เก้าพุทไธสง2567 หลายเดือนก่อน +3

      จิตตั้งมั่นเป็นเรื่องใหญ่
      “เจริญปัญญา เรามีจิตที่ตั้งมั่น สติระลึกรู้กาย
      สติระลึกรู้กาย เราก็ดูไป
      กายกับจิตนั้นคนละอันกัน
      สติระลึกรู้เวทนา
      เราก็เห็นเวทนากับจิตคนละอันกัน
      สติระลึกรู้สังขาร กุศล อกุศลทั้งหลาย
      โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ก็เห็นลงไป
      มันคนละอันกับจิต
      ตรงที่เราเห็นว่ากายกับจิตเป็นคนละอัน
      เวทนากับจิตเป็นคนละอัน
      สังขารกับจิตเป็นคนละอัน
      เราจะเห็นมันมีตัวร่วมสำคัญ คือจิตนั่นเอง
      เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกให้จิตเราตั้งมั่นขึ้นมา
      เสียก่อน เราถึงจะแยกขันธ์ได้
      ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่น เวลาเราดูกาย
      จิตเราก็ไหลไปรวมเข้ากับกาย
      เวลาดูเวทนา จิตก็ไหลไปรวมเข้ากับเวทนา
      เวลาดูสังขาร เช่น ความโลภ ความโกรธ
      ความหลง จิตก็ไหลไปรวมกับสังขาร อันนั้น
      เพราะว่าจิตไม่มีกำลัง ไม่ตั้งมั่น ไม่มีสมาธิ
      ฉะนั้นการฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นเรื่องใหญ่
      เป็นเรื่องสำคัญ ตัวนี้ล่ะที่จะทำให้เราภาวนา
      สำเร็จหรือไม่สำเร็จ”
      หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
      วัดสวนสันติธรรม
      5 มีนาคม 2566

    • @เก้าพุทไธสง2563
      @เก้าพุทไธสง2563 หลายเดือนก่อน +3

      ความสม่ำเสมอสำคัญมาก
      "เราภาวนาของเราทุกวันๆ สม่ำเสมอ
      ฝึกมีสติ มีจิตตั้งมั่น สม่ำเสมออยู่
      เวลาเราลงมือปฏิบัติ มันจะไม่ต้องเพ่ง
      ก็ใช้จิตธรรมดาของเรานี้ล่ะ ภาวนาเข้าไปเลย
      ถ้าเราวันๆ เราปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสไปเรื่อย
      แล้วค่ำๆ มาลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็เพ่ง
      เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา
      เหวี่ยงข้างซ้ายไปแรง
      เหวี่ยงกลับมาข้างขวามันก็แรงด้วยล่ะ
      หลงแรงก็เพ่งแรง
      ในทางกลับกัน
      เพ่งแรงพอปล่อยออกมาหลงแรง
      หลงแรงกว่าคนธรรมดาอีก
      เพราะฉะนั้นคำว่าสม่ำเสมอสำคัญมากๆ
      ปฏิบัติให้มันสม่ำเสมอไป
      จิตมันจะตั้งมั่นโดยที่ไม่ได้เจตนา ไม่ได้บังคับ
      เพราะฉะนั้นอย่าทิ้งคำว่าสม่ำเสมอ
      ตั้งใจปฏิบัติทุกวันๆ
      มีเวลาเมื่อไรภาวนาเมื่อนั้น
      แล้วการภาวนาจะง่ายขึ้นๆ"
      --
      หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
      วัดสวนสันติธรรม
      9 มกราคม 2565

    • @ชาติพันธุ์ใหม่
      @ชาติพันธุ์ใหม่ 11 วันที่ผ่านมา +4

      การปฏิบัตินั้นไม่ยาก
      ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ
      “หายใจอยู่รู้ไหม ร่างกายหายใจอยู่รู้ไหม
      ยากไหมที่จะรู้ว่ากำลังหายใจ
      ยากไหมที่จะรู้ว่ากำลังหายใจออก
      หรือหายใจเข้า ลองหายใจอยู่
      หายใจด้วยใจธรรมดานี้ล่ะ แล้วจะรู้ไหม
      รู้ไหมว่ากำลังนั่งอยู่ รู้ไหมว่ากำลังเกา
      รู้ไหมว่าขยับมือ ของง่าย ไม่ใช่เรื่องยากเลย
      รู้ไหมก้มลงไป ไปหยิบน้ำแล้ว
      ใจมันอยากกินน้ำ เห็นไหม
      ใจมันอยากกินน้ำ ยังไม่เห็น
      เอื้อมมือหยิบมาก็ยังไม่เห็น
      พอหลวงพ่อบอกแล้วเห็น
      ขณะนั้นใจมันไหลไปอยู่ที่กระติกน้ำแล้ว
      มันไหลไป หัดรู้อย่างนี้ หัดรู้เรื่อยๆ ไป
      แล้วจะพบว่า การปฏิบัตินั้นไม่ยาก
      ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ
      พวกไม่ปฏิบัติคือพวกที่หลงไปทาง
      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
      ผู้ที่ปฏิบัติก็คือ คนที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่
      ฉะนั้นเราพยายามรู้สึก
      นั่งพัดอยู่นี้ก็ทำกรรมฐานได้
      เมื่อก่อนหลวงพ่ออยู่ที่สวนโพธิ์ฯ
      พรรษาที่ 1 พรรษาที่ 2
      มีการพัดอย่างนี้เป็นเครื่องอยู่
      ร่างกายเคลื่อนไหว
      ที่เมืองกาญจน์ฯ นั้นร้อนจัด หน้าร้อนนี้
      ร้อนสุดๆ เลย นั่งพัด ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก
      พอพัดแล้วลมมันเย็นๆ มากระทบ
      เกิดความพอใจ รู้สึก มันง่ายๆ
      เห็นไหมจะทำอะไรคอยรู้สึกกายรู้สึกใจ
      มันก็เป็นกรรมฐานไปหมด
      จะนั่งสมาธิอยู่ เดินจงกรมอยู่ แต่ลืมกายลืมใจ
      ไม่ได้ทำกรรมฐานอยู่ กำลังหลงอยู่
      ฉะนั้นการปฏิบัติไม่ได้อยู่ที่กระบวนท่า
      ว่าจะนั่งอย่างไร จะเดินอย่างไร
      แต่อยู่ที่ว่าเรามีสติหรือเปล่า
      เรามีสมาธิ คือจิตใจตั้งมั่น อยู่กับเนื้อกับตัว
      หรือเปล่า”
      หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
      วัดสวนสันติธรรม
      15 เมษายน 2566

  • @รู้ว่าผิดจึงถูก
    @รู้ว่าผิดจึงถูก 2 หลายเดือนก่อน +8

    #อ้างพุทธวจนเป็นเพลงกระบี่ปราบมาร

    • @รู้ว่าผิดจึงถูก
      @รู้ว่าผิดจึงถูก หลายเดือนก่อน +5

      #พระไตรปิฎกฉบับแปลตรงกับต้นฉบับ
      หากนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยไปเทียบกับฉบับภาษาบาลีหรือภาษาอื่นๆในประเทศต่างๆ จะพบว่าไม่มีการตัดทอนหรือเพิ่มเติม เพราะเป็นการแปลมาจากต้นฉบับเดียวกัน(ภาษาบาลี)
      ดังนั้นการตีความพุทธวจนโดยพระคึกฤทธิ์เป็นการยึดถือตามอาจาริยาวาท อธิบายโดยยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเอง ปฏิเสธพระไตรปิฎกที่ทุกชาติภาษาใช้ร่วมกัน และไม่ยอมรับพระอรหันต์ผู้สังคายนาพระไตรปิฎก
      พระคึกฤทธิ์เคยกล่าวดูหมิ่นพระอรหันต์ในอดีตที่พระพุทธเจ้ารับรอง เพื่อสนับสนุนคำพูดตนที่ว่า "อย่าฟังคำสาวก" ให้ฟังพุทธวจนที่ตนตีความ(ผิดๆถูกๆ) เป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ ชวนให้คนหลงเชื่อว่าคำคึกฤทธิ์คือคำพระพุทธเจ้า

    • @เก้าพุทไธสง2567
      @เก้าพุทไธสง2567 หลายเดือนก่อน +4

      ดับความคิดแบบพระคึกฤทธิ์✖️
      ดับความคิดแบบพระสิ้นคิด✖️
      ดับความคิดแบบอาจารย์แดง✖️

    • @เก้าพุทไธสง2567
      @เก้าพุทไธสง2567 หลายเดือนก่อน +4

      รู้ว่าเสพพุทธวจนคือเสพโมหะ✔️
      รู้ว่าเสพบุญคือเสพโมหะ✔️
      รู้ว่าเสพอัตตาคือเสพโมหะ✔️

    • @เก้าพุทไธสง2567
      @เก้าพุทไธสง2567 หลายเดือนก่อน +5

      ยังดิ้นรนเพราะมีตัวตน🙂
      แสดงตัวตนเพราะมีอาสวะ🙂
      ยึดถืออาสวะเพราะมีอวิชชา🙂

    • @ชาติพันธุ์ใหม่
      @ชาติพันธุ์ใหม่ หลายเดือนก่อน +4

      เสพโมหะ พาหลงปัญญาปลอม
      ไร้สติสัมปชัญญะ พาหลงทาง

  • @chantarat1754
    @chantarat1754 5 หลายเดือนก่อน

    ได้ความรู้ อย่างมากมาย ขอบคุณสาระดีๆครับ อาจารย์

  • @dfdf2601
    @dfdf2601 5 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณครับ อ. ที่ให้ความรู้และแนวคิดในหลายด้านของชีวิต ❤❤❤

  • @warsmile5016
    @warsmile5016 5 หลายเดือนก่อน

    ขอขอบคุณครับผม

  • @ATGartist
    @ATGartist 5 หลายเดือนก่อน

    ขอขอบคุณครับ อาจารย์

  • @thanachartk.
    @thanachartk. 5 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากเลยครับอาจารย์ คำถามของอาจารย์ คม เเละลึกขึ้นมาก ให้ได้ตรวจสอบความคิด เลยครับ จากเด็กนักเรียนนอกห้องเรียนที่ติดตามอาจรย์ครับ

  • @MrPalmie4
    @MrPalmie4 5 หลายเดือนก่อน

    ดีมากเลยครับ คำถามอาจาร์ยทำให้ผมได้กลับไปขบคิดในหลายๆมิติในเรื่องสิ่งที่เชื่ออยู่ พอได้ใช้ความคิดพิจารราจริงๆกับพบว่าความเชื่อหลายๆอย่างของผมนี่เป็นความงมงายจริงๆ ขอบคุณมากครับ

  • @inthaphonemeksouvanh2031
    @inthaphonemeksouvanh2031 5 หลายเดือนก่อน +1

    ສະບາຍດີອາຈານ ຮັກສາສຸຂະພາບແຂງແຮງເດີ້❤

    • @philoking4670
      @philoking4670 5 หลายเดือนก่อน

      อยากให้คนลาวได้เรียนปรัชญาด้วยครับ

  • @somtoon
    @somtoon 5 หลายเดือนก่อน +2

    ท่านพระครูสมณธรรม ตอบแต่ละคำถามได้ดีมากเลยครับ ❤

  • @banyatmr.srisom4644
    @banyatmr.srisom4644 5 หลายเดือนก่อน

    ตื้นๆ อยู่นะ

  • @วิทนามเมือง
    @วิทนามเมือง 5 หลายเดือนก่อน

    อาจารย์สรุปปุ๊บนี่เข้าใจแก่นแท้เลยครับ ขอบคุณครับ

  • @ever7714
    @ever7714 5 หลายเดือนก่อน

    ผมเห็นด้วยน่ะว่า ศรัทธาหรือเชื่อก่อนแล้วจะเกิดปัญญา การจะทำไรมันก็ต้องมีปล่ายทางที่เราเห็นหรือต้องเชื่อก่อนสิ ไม่งั้นเราก้จะกลายเป็นคนไปเรื่อยเปือนไม่มีเป๋าหมาย

  • @peaaphodite
    @peaaphodite 4 หลายเดือนก่อน

    "ศรัธากับปัญญา" ปัญหาที่อ.ให้วิเคราะห์วิจารณ์นั้นน่าจะใช้กาลามสูตรเป็นคำตอบได้เราชาวพุทธควรใช้ปัญญานำศรัธา กรรมนั้นเป็นผลแห่งการกระทำหมายถึงความพยายามทำสิ่งใดนั้นย่อมได้ผลสิ่งนั้น เช่นปลูกมะม่วงก็ได้มะม่วงแต่ไม่ได้กรันตีว่ามะม่วงต้นนั้นจะอร่อยดีเลิศกว่าต้นอื่น เปรียบคนไม่ดีได้เป็นสว. เปรียบเหมือนต้นมะม่วงได้อยู่ในดินน้ำที่พอดีจึงได้ผลออกมาดี เราจึงใช้วิธีคิดว่าทำกรรมดีแล้วจะออกดอกออกผลดีไม่ได้เปรียบกับการปลูกมะม่วงในดินไม่ดีน้ำไม่ดีผลก็ออกมาไม่ดี แต่ผลลัพธ์นั้นคือปลูกอะไรได้อย่างนั้นเสมอ ทำดีย่อมดีต่อใจต่อตัว

  • @bing999-q6j
    @bing999-q6j 5 หลายเดือนก่อน

    อาจารย์เล่นโป๊กเกอร์ใช่ไหม

  • @Z7749-r7y
    @Z7749-r7y 5 หลายเดือนก่อน

    ปุริสลักษณะ 32
    มันน่าจะเป็นไปได้
    คนมันมีเป็น 1000 ล้านคนมันน่าจะมีคนลักษณะแปลกแตกต่าง
    มันมีความเป็นไปได้
    จีน - #เล่าปี่ สามก๊ก
    ก็เป็นคนมีลักษณะคล้ายกัน
    เล่าปี่ แขนยาว มือแตะเข่าได้ โดยไม่ต้องก้มตัว

  • @sownl4272
    @sownl4272 4 หลายเดือนก่อน

    ช่วง 57:00 ที่อาจารย์ถามว่าการที่ได้ยศ ได้ตำแหน่งหรืออะไรก็ตามในปัจจุบัน ยกตัวอย่างว่าได้เป็นนายก เป็นผลของกรรมหรือไม่ อะไรทำนองนี้คือ
    ผมมองว่า การที่ได้เป็นนายกหรือไม่ได้เป็นมันก็เป็นผลของกรรมเหมือนกัน แต่อันนี้คือกรรมในปัจจุบันไงครับที่เราทำเองในปัจจุบัน หรือบางคนอาจจะไม่ได้ทำในปัจจุบันแบบทำอะไรนิดหน่อย เขาก็ได้สมปรารถนา อันนั้นก็น่าจะเป็นกรรมเก่าในอดีตชาติ ส่งผลให้บ้าง
    อย่างบางคนจู่ๆก็ได้รับมรดกมหาศาลจากเศรษฐีอะไรทำนองนี้
    หรือไม่ก็เดินอยู่ดีๆเจอ เพชรพลอยก่อนล้ำค่า ประมาณนี้ ซึ่งมันรวนเกื้อกูลกัน
    แต่เรื่องการให้ผลของกรรมพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นอจินไตย มันคงซับซ้อนมากๆ 😅 ผมว่ามันถ้าเป็นอจินไตยแล้วมันน่าจะอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ยากมาก
    คืนลองยกตัวอย่างเล่นๆ เอาซุปเปอร์คอมพิวเตอร์หรือควอนตัมคอมพิวเตอร์ ลองคำนวณการให้ผลของกรรม มันน่าจะตลกดี แบบทำนายได้เลย นายเออีก 5 วัน จะมีผลกรรมแบบนั้นแบบนี้ตามมา แค่คิดก็ขำแล้วครับ 😅
    แต่มันทำไม่ได้ครับ เรื่องอจินไตยเนี่ย ผมไม่รู้ว่าเป็นการเอาอะไรมากั้น ในการอธิบายของเราหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ แบบอธิบายให้ผมฟังหน่อยครับอธิบายให้หนูฟังหน่อยครับ ผู้ตอบก็จะบอกว่าเออ...อันนี้มันเป็นเรื่องอจินไตยนะเราเข้าใจไม่ได้สำหรับปุถุชนอย่างเรา 😅 แหมมันก็น่าจะได้ตอบแค่นี้แหละ

  • @happykpp4843
    @happykpp4843 4 หลายเดือนก่อน

    ทำไมผู้เรียนแต่ละคน ตอบคำถามเยิ่นเย้อ,วกวน โดยไม่จำเป็น...