มือนีเละห์แน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ม.ค. 2025
  • การสร้างสรรค์การแสดง ชุด มือนีเละห์แน เป็นการแสดงที่คณะผู้วิจัยได้แนวคิดและแรงบันดาลใจ มาจากการรำเกี้ยวนางที่อยู่ในการแสดงโนราแขกเป็นการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างพ่อโนรากับนางรำ ผู้แสดงประกอบด้วย พ่อโนรา จำนวน 1 คน และนางรำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การรำเกี้ยวนาง หรือ การครองนาค แบ่งผู้แสดงออกมาจำนวน 3 กลุ่ม โดยวิ่งสวนกันในลักษณะเลขแปดแนวนอน บทร้องและบทเจรจาสองภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายู ดนตรีและทำนองเพลงแสดงให้เห็นถึงความเป็นพื้นบ้านที่มีการผสมผสานพหุวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม จากสิ่งที่กล่าวมาในข้างต้น จึงทำให้คณะผู้วิจัยได้เกิดแรงบันดาลใจในการคิด ประดิษฐ์สร้างสรรค์ การแสดงในรูปแบบระบำโดยใช้ผู้ชายแสดงเป็นพ่อโนรา จำนวน 1 คน และผู้หญิงแสดงเป็นนางรำ จำนวน 8 คน สร้างสรรค์กระบวนท่ารำโดยยึดท่ารำดังเดิมที่มีลักษณะเด่นผสมผสานกับท่ารำสร้างสรรค์ ทางนาฏศิลป์ให้มีลีลาท่ารำอ่อนช้อยสวยงาม สนุกสนาน ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยร้องสำเนียงมลายู สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายโดยยึดรูปแบบการแต่งกายดั้งเดิมเป็นหลักผสมผสานกับแนวคิด ทฤษฎีองค์ประกอบทางนาฏศิลป์และทฤษฎีการให้สีของเครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องของวงดนตรีโนราแขกบรรเลงประกอบการแสดงเป็นหลัก และนำเครื่องดนตรีสากลมาผสมผสานเพื่อให้การแสดงเกิดอรรถรสและเข้ากับยุคสมัย

ความคิดเห็น • 17