ปฏิบัติตามกฎ ลดอุบัติเหตุ EP.1 มารู้จัก “จุดตัดทางรถไฟ” กันเถอะ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 ก.ย. 2018
  • อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราจึงต้องไม่ประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัญจรผ่านบริเวณที่ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างเช่น ทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับ หรือทางผ่านเสมอระดับ ที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่าจุดตัดทางรถไฟนั่นเองครับ จุดที่ทางรถไฟตัดผ่านถนนที่อยู่ในระดับเดียวกัน บางท่านไม่ได้ผ่านทางแบบนี้บ่อยนัก จึงขาดความรอบคอบ และขาดความชำนาญ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
    ทั่วประเทศไทย มีจุดตัดทางรถไฟอยู่ 2,657 แห่ง รวมระยะทางรถไฟกว่า 4,000 กิโลเมตร และปัจจุบันจุดตัดรถไฟที่พบกันมีอยู่ประเภท
    ประเภท 1 จุดตัดทางรถไฟแบบต่างระดับ เป็นทางตัดผ่านทางรถไฟที่แยกการสัญจรของรถยนต์และขบวนรถไฟออกจากกัน มีทั้งแบบสะพานข้ามและทางลอดใต้ทางรถไฟ ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟทางคู่ของการรถไฟฯ จุดตัดต่างๆ จะถูกเปลี่ยนเป็นลักษณะนี้ทั้งหมด เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง
    ประเภท 2 จุดตัดทางรถไฟแบบมีเครื่องกั้น ใช้เครื่องกั้นควบคุมเพิ่มเติมจากเครื่องหมายจราจร บางครั้งอาจมีไฟวาบและเสียงเตือนประกอบเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน ซึ่งเครื่องกั้นนั่นบางแห่งควบคุมโดยพนักงาน บางแห่งเป็นแบบอัตโนมัติ
    ประเภท 3 จุดตัดทางรถไฟแบบควบคุมด้วยเครื่องหมายจราจร เช่น ป้ายหยุด ป้ายเตือนรถไฟล่วงหน้า ป้ายจำกัดความเร็ว และเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เหมาะกับทางตัดผ่านบนทางหลวงหรือถนนนอกเมืองห่างจากชุมชน
    ประเภท 4 “ทางลักผ่าน” เป็นทางตัดผ่านถนนกับทางรถไฟที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย และไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นบริเวณนี้ครับ ใช้ทางลักผ่าน ผิดกฏหมาย อันตรายถึงชีวิต
    อุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟจะลดลงได้ ถ้าเราทุกคนช่วยกันครับ คือปฏิบัติตามกฏหมายจราจร ระมัดระวังเมื่อสัญจรผ่านทางตัดรถไฟ และอย่าฝ่าฝืนเครื่องกั้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวท่านเอง

ความคิดเห็น • 1