ปลูกต้นไม้ปลูกป่าฤดูฝนปลูกแบบไม่ต้องไถเตรียมดินปลูกง่าย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 พ.ย. 2023
  • กันเกรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagraea fragrans)
    เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่เกิดขึ้นได้
    ในทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกในช่วงเดือน
    เมษายนถึงเดือนมิถุนายน ดอกเป็น ช่อสี
    เหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
    ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะชูไม้ต้น
    กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปตามพื้นที่คือ
    ภาคกลางเรียกกันเกรา
    ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก มันปลา
    ภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสามูซูเป็นภาษาถิ่นทางภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมี
    คุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกรา
    หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำ
    อันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้าน
    ไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน
    ชื่อมันปลาน่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง
    ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    สูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็น
    ร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม
    แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร
    ยาว 8-11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาว
    เรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มี
    ทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม
    ดอกเริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก นิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณขึ้นและตามที่ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกช่วง
    เดือนเมษายนถึงมิถุนายน เป็นผลช่วงเดือน
    มิถุนายนถึงกรกฎาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
    ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง
    เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการ
    ก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้
    เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุง
    โลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ
    #ป่าไม้ #ปลูกป่า #เกษตร #ต้นไม้มงคล

ความคิดเห็น •