เดี่ยวปี่ชวา ย่ำแขก - จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ วงฟองน้ำ Song set Indian - Chamnien Srithaiphan

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 เม.ย. 2020
  • เดี่ยวปี่ชวา
    ย่ำแขก
    โดย จำเนียร ศรีไทยพันธุ์
    บันทึกเสียงเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐
    จากแถบบันทึกเสียง ชุด เมื่อลมรู้โรย
    ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์
    ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ.๒๕๓๖
    วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ณ ฌาปนสถาน วัดดอนหวาย จ.นครปฐม
    * ดำเนินการจัดทำโดย อ.อานันท์ นาคคง
    จำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายนาคและนางเปลี่ยน เรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลบางระทึก วัดดอนหวาย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เริ่มเรียนดนตรีไทยกับครูสุ่ม พูลโคกหวาย ต่อมาได้ไปเรียนกับครูทองดี เดชชาวนาและครูขุนทอง บางระจัน รวมทั้งเรียนวิชาปี่ชั้นสูงจากครูเล็ก มีป้อม เริ่มออกงานบรรเลงดนตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๒ ขณะอายุเพียง ๙ ปี จากนั้น นายจำเนียรได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์และต่อเพลงกับครูเพลงอีกหลายท่านจนเชี่ยวชาญ และได้สมรสกับผ่องศรี สุขสมัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ มีบุตร ๔ คน คือ อนงค์ อานุภาพ อร่ามศรี และอารีย์ ศรีไทยพันธุ์ต่อมาจำเนียร ได้รับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์ ในตำแหน่งศิลปินจัตวา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ จนเกษียณอายุ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีผลงานทั้งการเล่นดนตรี การแต่งเพลงไทยและเป็นครูสอนดนตรีไทยตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ตัวอย่างเพลงเถาที่นายจำเนียรได้ประพันธ์ไว้คือ สร้อยลำปาง ตามกวาง ยอเร มอญขว้างดาบ ศรีธรรมราช สองฝั่งโขง และน้ำลอดใต้ทราย เป็นต้น ตัวอย่างเพลงที่ประพันธ์บทร้อง ได้แก่ เทพชาตรีเถา ต้อยตลิ่งเถา นาคนิมิตรเถา และนกกระจอกทองเถา เป็นต้น ส่วนผลงานการร้องเพลงไทยเดิมที่ได้บันทึกเสียงไว้คือ บันทึกเสียงกับวงดนตรีพลายมงคลที่จัสแมค บันทึกเสียงกับวงดนตรีดุริยประณีต ที่บริษัทยีซีม่อน บันทึกเสียงกับวงดนตรีเกตุคงและบันทึกเสียงร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เงาะป่า
    ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐ สิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี
    ฟองน้ำ เป็นวงดนตรีที่ผสมผสานดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก โดยเฉพาะเทคนิคการประพันธ์ดนตรีในแบบศตวรรษที่ ๒๐ ก่อตั้งโดย บุญยงค์ เกตุคง และ บรูซ แกสตัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยมีสมาชิกที่สำคัญในช่วงแรกนอกเหนือจากสองท่านที่กล่าวไปแล้วประกอบด้วย บุญยัง เกตุคง, จำเนียร ศรีไทยพันธ์, จิรพรรณ อังศวานนท์, เทวัญ ทรัพย์แสนยากร, พิณ เรืองนนท์
    ชื่อของวงฟองน้ำ มาจากชื่อของเพลงไทยโบราณเพลงหนึ่ง ชื่อว่าเพลง "ฟองน้ำ"
    Solo Oboe Java
    Song set Indian
    By Chamnien Srithaiphan
    Recorded in 1987
    From cassette set when the wind knows to sprinkle
    Memorial in cremation ceremony of teacher Jamnien Srithaiyaph
    National artist Performing Arts (Thai Music), 1993
    10 October 1997 at the Don Wai Crematorium, Nakhon Pathom Province
    * Conducted by Anant Narkkong
    Champien Srithaipan, national artist Performing Arts (Thai Music) Year 1993, Teacher Chamnien Srithaipan, was born on October 21, 1920 in Sam Phran District, Nakhon Pathom Province. Is the son of Mr. Nak and Mrs. Plian studied at Bang Rathuk Local School, Don Wai Temple, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province. Until the end of grade 4 Started studying Thai music with teacher Soom Phokhokwai. Later, he went to study with teacher Thongdee Dahtchowna and teacher Kunthong Bangrachan, as well as learning high-grade bagpipes from Teacher Lek Meepom. B.E. 2472, when he was just 9 years old, Mr. Chamnien left himself to be a pupil and continue his music with many music teachers until he became proficient. And married Phongsri Sukasai in 2484 with 4 children Namely Anong, Anuphap, Aramsri and Aree Srithaiphan. Later, Chamnien served in the Department of Public Relations. In the position of rising artist in 1946 until his retirement in 1981, with work including playing music Composing Thai music and being a Thai music teacher at various educational institutions Sample of the songs Mr. Jumnien wrote Namely Soi Lampang, Tam Kwang, Yore, Mon Kwang Dab, Si Thammarat, both banks of the Mekong River And the water under the sand. Examples of lyrics composed by Thep Chatree, Taoy Toi, Taling Ta, Naga Nimitthao, and Sparrows. Recorded with the Plai Mongkhon band at Justmac Recorded with an exquisite orchestra At Yee Simon Company Recorded with the Netsong band and recorded songs for Sakai
    Passed away on June 27, 1997. Siri is 78 years old.
    Fong-Naam is a band that combines Thai and Western music. Especially the technique of music writing in the 20th century, founded by Boonyong Ketkong and Bruce Gaston in 1979, with important members in the first phase. In addition to the two mentioned, Boon Yang Ket Khong, Chamnien Srithaiphan, Jiraphan Angsawanon, Devan Sup Saenakorn, Phinrueang Non
    The name of the Fong-Naam band Derived from the name of an ancient Thai song called "Fong-Naam" (Sponge)
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 9

  • @bchompoo
    @bchompoo 3 หลายเดือนก่อน

    เพราะมากเลย

  • @user-iw7zy2rp4i
    @user-iw7zy2rp4i 6 หลายเดือนก่อน +1

    เห็นไหมคนเป่าปี่เขาไม่เคยถอดลมออกจากการเป่าปี่ ใครเป่าปี่ชว่นแนะนำให้ลูกหลานด้วยครับ

  • @user-iw7zy2rp4i
    @user-iw7zy2rp4i 6 หลายเดือนก่อน +1

    เพลงปี่มีแต่การต่อสู้ เคยฟังไหมเพลงปี่ลุงฟังมาร้อยรอบก็ไม่โศกเลย

  • @annkannk1
    @annkannk1 4 ปีที่แล้ว +7

    ชุดย่ำแขกเวอร์ชั่นที่บันทึกนี้ ครูบุญยงค์กับครูจำเนียรช่วยกันเรียบเรียงใหม่ ที่ห้องสยามพัฒนาฟิล์ม จรัลสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ พ.ศ.2531 ตัดต่อหัวข้อเสร็จแล้วบันทึกเสียงกันสดๆเลย กระบวนเพลงมี ต้นสะระหม่า โยน แปลง หักคอ แล้วปี่พาทย์รับเข้ายะวาเล็ก จากนั้นมีท่อนเชื่อมปี่กับกลองแขกตัดตอนมาจากเพลงเร็วแขกในเครื่องสายปี่ชวา แล้วออกเชิดแขก ระบำแขก สลับเดี่ยวปี่คั่น แปลง แล้วปี่พาทย์รับเพลงเร็วแขกจากนางหงส์ แล้วปล่อยท้ายให้ปี่ลงจบ
    ปี่ชวา ครูจำเนียร ศรีไทยพันธ์ุ, ระนาดเอก ครูละมูล เผือกทองคำ, ฆ้องวงใหญ่ ครูบรูซ แกสตัน, ระนาดทุ้ม ครูบุญยงค์ เกตุคง, ฉิ่ง ประสาร วงษ์วิโรจน์รักษ์, ฉาบ อานันท์ นาคคง, กลองแขก ครูพิณ เรืองนนท์ ตีคู่กับครูสวาท กิจนิเทศ (ครูสวาทมาร่วมบันทึกเสียงพิเศษเฉพาะในวันนั้น ตีกลองแขกเพลงย่ำแขก กับตีตะโพน ตระนาฏราช รัวสามลา สาธุการ ตระหญ้าปากคอก ครูสวาทต่อหน้าทับมาจากขุนสำเนียงชั้นเชิง, ทายาทครูสวาท เป็นมือกลองที่เก่งมากเหมือนกันคือน้าเหลือง สุวรรณ กิจนิเทศ)
    วิศวกรเสียงชื่อคุณแวนเจ็น เป็นคนเยอรมัน บินมาบันทึกฟองน้ำที่สยามพัฒนาฟิล์มโดยเฉพาะ คนออกทุนให้คือบริษัท Pacific (TAO) จากฮ่องกง

    • @nathavitenjoythaimusic6855
      @nathavitenjoythaimusic6855  4 ปีที่แล้ว +1

      ขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ เพลงของวงฟองน้ำ ทุกเพลง บันทึกเสียงดีมากเลยครับ ถือว่าดีมากที่สุดของการบันทึกเสียงดนตรีไทย น่าสนใจมาก แต่ผมกังวลว่าจะมีลิขสิทธิ์ของวงหรือไม่ครับ

    • @annkannk1
      @annkannk1 4 ปีที่แล้ว +1

      @@nathavitenjoythaimusic6855 เรื่องลิขสิทธิ์ซับซ้อนมากครับ อยู่ที่ว่าเพลงอะไร บันทึกเมื่อไร เผยแพร่โดยวิธีใด
      ฟองน้ำมีผลงานหลายยุค ทั้งงานแผ่นเสียง ซีดี เทปคาสเซ็ท และวิดีโอ ผ่านยุคสมัยที่บริหารงานโดยรูปแบบบริษัทอย่างยุคศศิลิยะ, ไพซิสมิวสิค ยุคบาเลสซา ยุคจิ้งจกทอง รวมทั้งบางอัลบั้มที่ใช้ทุนของบริษัทเมืองนอกในการบันทึกและจัดจำหน่าย เช่น งานซีดีประวัติศาสตร์ดนตรีไทย 5 แผ่น กับบริษัทมาร์โคโปโล Marco Polo และนาซอส Naxos, งานเทพบรรทม-นางหงส์-จั๊กจั่น กับบริษัทนิมบัส Nimbis, งานซีดีคู่ Ancient to Contemporary กับบริษัท Celestial music เป็นต้น กรณีหลังสุดนี่มีเพลงเชิดในเถา ที่บันทึกโดยนักดนตรีกลุ่มที่แตกต่างจาก MarcoPolo แม้จะชื่อเพลงเดียวกัน แต่เขาใช้วิธีบริหารจัดการที่แตกต่างกัน จดทะเบียนลิขสิทธิ์คนละรูปแบบกัน
      หรือแม้แต่ล่าสุดที่อาจารย์บรูซทำคอนเสิร์ตสดฟองน้ำสามสิบปีและงานสตูดิโออัลบั้มอีกส่วนหนึ่ง นั่นก็เป็นการดำเนินงานใต้เงื่อนไขของบริษัทโอเชียนมีเดีย คนลงทุนคือคุณปรีชาโอเชียน งานที่บันทึกมีทั้งออดิโอและวิดีโอ
      คำว่าลิขสิทธิ์ ไม่ใช่แค่ของวง แต่มันครอบคลุมเรื่องงานดนตรีกรรมที่ผลิตด้วยเงื่อนไขอะไร และการถูกนำไปเผยแพร่ด้วยวิธีการใด รวมทั้งการพิจารณาถึงลิขสิทธิ์เพลงที่มีระบบ "ดนตรีกรรม" กับ "สิทธิ์ในงานเพลง"

  • @wiratkummalai2292
    @wiratkummalai2292 ปีที่แล้ว +1

    กราบท่านคุณครู
    ผู้รอบรู้สรรพวิชา

  • @Mon031
    @Mon031 4 ปีที่แล้ว

    ❤️

    • @user-zl5rq1yw4n
      @user-zl5rq1yw4n 3 ปีที่แล้ว

      กราบท่านครูครับ