อ้อย - ตอนที่ 4 - การให้น้ำแก่อ้อย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ต.ค. 2024

ความคิดเห็น • 30

  • @CABKUChannel
    @CABKUChannel  2 ปีที่แล้ว +3

    ในวีดีโอมังคุดและทุเรียนของ อ.สุนทรี ไม่ได้แจ้งตัวแทนจำหน่ายไว้
    เพราะเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้เป็นระดับงานวิจัย
    มีราคาค่อนข้างสูงสำหรับเกษตรกร (หลักหมื่น)
    แต่เกษตรกรหลายท่านก็เห็นความสำคัญและพร้อมลงทุน
    จึงได้สอบถามที่อยู่และเบอร์ติดต่อตัวแทนจำหน่าย มาอย่างเนืองๆ
    ซึ่งผมได้ตอบแล้วในหลาย comment ดังนี้ครับ
    ---------------- การเลือกใช้ tensiometer เพื่อกำหนดการให้น้ำ ---------------------------
    ยี่ห้อ tensiometer ที่ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เลือกใช้ในงานวิจัยตลอด 30 ปี คือ
    Jet Fill Tensiometer ของบริษัท Soil Moisture ประเทศสหรัฐอเมริกา
    www.soilmoisture.com/2725ARL-JET-FILL-TENSIOMETER-SERIES/
    เพราะเป็นบริษัทที่ผลิตขายมานาน ออกแบบอุปกรณ์ให้เปลี่ยนอะไหล่ได้
    มีมาตรฐานการผลิตสูง โดยเฉพาะในส่วนของกระเปาะพรุน
    ได้รับการยอมรับจากนักวิจัยทั่วโลก และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้งานอย่างกว้างขวาง
    ตัวแทนจำหน่าย tensiometer ยี่ห้อนี้ในประเทศไทย
    มีเพียงบริษัทเดียว คือ บจ.ไทยวิคตอรี่
    โทรศัพท์ 02-253-0393, 253-4914, 253-9066
    แฟกซ์ 02-253-9067, 651-6115
    อีเมล์ tvc@thaivictory.co.th
    ติดต่อ คุณเชิดชู หาญมนต์สุข
    มือถือ 085-949-0505, 091-775-4483
    อีเมล์ tor_todnum@hotmail.com
    *****************************************************
    อ.สุนทรี ฝากคำแนะนำเพิ่มเติม ดังนี้
    เครื่องนี้วัดน้ำในท่อที่สัมผัสกับน้ำในดิน ที่มีแรงดันต่ำกว่าแรงดันอากาศ
    ดังนั้นข้อที่ต้องระวังมากที่สุดคือไม่ให้มีอากาศภายนอกรั่วเข้าไป และเกย์วัดต้องมีน้ำหล่อตลอดเวลา
    หากตั้งใจซื้อแล้ว (ตัวละประมาณหมื่นบาท แพงขึ้นตามความยาวของท่อ)
    ควรทำใจว่าจะซื้อเพื่อติดตั้งหลายตัว และซื้อปั๊มมือด้วยค่ะ เพื่อให้การเตรียมอุปกรณ์ง่ายขึ้น
    ไม่แนะนำชุดที่ทำขายกันเอง เพราะเกย์ที่ต้องใช้เป็นแบบใช้วัดน้ำ หากใช้เกย์วัดลมที่มีราคาถูกจะเป็นสนิมเร็ว
    ส่วนกระเปาะต้องมีความสม่ำเสมอของช่องพรุน เพื่อไม่ให้รั่วอากาศ ซื้อต้องใช้ความรู้เรื่องดินที่นำมาเผาพอสมควร
    ไม่ใช่ทำได้เองแบบง่ายๆ ค่ะ

  • @aaas9267
    @aaas9267 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ..ที่ได้ให้ความรู้ครับ

  • @ninejofinfin5338
    @ninejofinfin5338 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้อาจารย์ ให้ความรู้เรื่องมันสำประหลัง หน่อยครับ

  • @juntangame1
    @juntangame1 ปีที่แล้ว

    ชอบอาจารย์มากครับ

  • @z4minis
    @z4minis 3 ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณมากๆครับอาจารย์

  • @weerayutkophon9117
    @weerayutkophon9117 2 ปีที่แล้ว

    ทำต่อไปอีกนะครับ สู้ๆครับ

  • @สวนสบายดีชาแนล
    @สวนสบายดีชาแนล 3 ปีที่แล้ว +2

    ที่ดิน2ไร่กล้วยน้ำว้า 50ต้น กล้วยหอมทอง50ต้น ฝรั่ง100ต้น มะพร้าว30?ต้น อ้ยคั้นน้ำ400หลุมใน2ไร่ใช้ถัง 1000ลิตร2ถัง ใช้น้ำหยดค่ะอาจารย์ สระ1ลูกรดทุก 3วัน อ้อยรดทุก4วัน

  • @หวังปี้เจ้า-ร4ฌ
    @หวังปี้เจ้า-ร4ฌ 2 ปีที่แล้ว +3

    ถ้ามึงจะมาบ่นมึงไม่ต้องมาบรรยายก็ได้ เพราะเขาไม่รู้ไงเขาถึงมานั่งฟังมึงเนี่ย มึงมันฉลาดอยู่คนเดียวมั้งคนอื่นเขาโง่หมด

  • @abddef9579
    @abddef9579 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ fc ครับอาจารย์

  • @pronpirujjunpong8881
    @pronpirujjunpong8881 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับอ.

  • @abddef9579
    @abddef9579 3 ปีที่แล้ว

    รอตอนที่ 5 อยู่นะครับผม

  • @apiwanmaslag976
    @apiwanmaslag976 3 ปีที่แล้ว

    ขออนุญาตสอบถามค่ะ มีเครื่องวัดความชื้นและวัดช่วงแสงขายไหมค่ะ สนใจค่ะ

  • @chaiyapronpromdui1876
    @chaiyapronpromdui1876 2 ปีที่แล้ว

    ซื้อแท่งวัดความชื้นแล้วใช้ได้รึเปล่าครับหรือต้องเติมนํ้าก่อน

  • @MrCcpt
    @MrCcpt 3 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณมากครับอาจารย์🙏
    ผมขอเรียนสอบถามข้อมูลดังนี้ครับ
    1)ในเรื่องอัตราการคายน้ำเฉลี่ยรอบวันของพืชแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่ครับ ถ้าไม่เหมือนกันเกษตรกรทั่วไปสามารถหาข้อมูลที่ไหนได้บ้างครับ
    2)เช่นเดียวกัน ค่าดัชนีพื้นที่ใบ(LAI) ของพืชชนิดอื่นๆสามารถหาข้อมูลที่ไหนได้บ้างครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 ปีที่แล้ว +2

      1. อัตราคายน้ำคำนวณโดยประมาณว่าเป็นผลคูณของค่านำไหลปากใบ(ช่วงกว้างเปิดของปากใบ)กับแรงดึงคายน้ำของใบ ซึ่งเป็นค่าที่ไม่มีนิ่ง ขึ้นกับสภาพอากาศเป็นอย่างมาก อัตราคายน้ำโดยเฉลี่ยจึงผันแปรมากตลอดทั้งวันและวันต่อวัน ขึ้นกับลักษณะใบชนิดต่างๆและอากาศในรอบวันของแต่ละพื้นที่และฤดูกาล ค่าเฉลี่ยในรอบวันโดยตัวมันเองไม่มีประโยชน์มักนัก นอกจากเอาไปสัมพันธ์กับการทำงานของใบพืช เช่น การศึกษาสภาพขาดน้ำ ว่ามีผลให้ปากใบปิดแคบลงแล้วอัตราคายน้ำลดลงเท่าไร เทียบกับอัตราสังเคราะห์แสง ข้อมูลนี้จึงมีในงานวิจัยด้านสรีรวิทยา โดยต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะจริงๆ ในประเทศเรามีข้อมูลเหล่านี้จากหน่วยวิจัยค่อนข้างจำกัดคะ ทางหน่วยเราวัดไว้หลายพืช ลองหาดูใน website: cab.kps.ku.ac.th/plantbiophysics
      2.ค่าดัชนีพื้นที่ใบมีในหนังสือด้านการเติบโตของพืช ได้จากการวัดพื้นที่ใบจริงๆโดยใช้เครื่องมือวัดพื้นที่ใบ แล้วหารด้วยพื้นที่ปลูกหรือระยะปลูก แล้วแต่นิยามของนักวิจัยเอง สำหรับพืชไร่ เช่นอ้อยและข้าวโพด มักจะมีค่าประมาณ 5 ในช่วงที่ทรงพุ่มปิดพื้นที่ปลูกหมด ลองพิมพ์หาในกูเกิ้ลได้บางพืชคะ

    • @MrCcpt
      @MrCcpt 3 ปีที่แล้ว

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบพระคุณครับอาจารย์🙏

  • @kaianika3202
    @kaianika3202 2 ปีที่แล้ว

    อาจารย์คะ ขอวิธีดูแลอ้อยหลังน้ำท่วมค่ะ

  • @worapots
    @worapots 3 ปีที่แล้ว +1

    เทนชิโอมิเตอร์หาซื้อที่ร้านเกษตรทั่วไปไม่ได้ จะซื้อยี่ห้ออะไร และซื้อที่ไหนได้บ้างครับ

  • @suwatruktham1581
    @suwatruktham1581 3 ปีที่แล้ว

    ถ้าต้องการปลูกป่า เศรษฐกิจ พื้นที่25 ไร่
    1.ต้องใช้กี่ตัวครับ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 ปีที่แล้ว +2

      ตอบยากคะ เพราะให้ข้อมูลลักษณะพื้นที่น้อยมาก เริ่มต้นว่ามี 1 จุด จะได้แนวทางว่าต้นไม้ใช้น้ำเร็วหรือช้า ต่อไปขึ้นกับว่าจะลงทุนซื้อได้กี่ตัว ยิ่งมากตัวและกระจายไปตามความผันแปรของพื้นที่ จะทำให้การให้น้ำสม่ำเสมอขึ้น ซึ่งขึ้นด้วยว่ามีระบบกระจายน้ำแยกกันหรือไม่
      ข้อเสียของอุปกรณ์ชุดนี้คือต้องดูแลอ่านค่าหน้าปัดเป็นประจำ อาจจะทุกวัน แล้วเติมน้ำในหลอด ทำให้ต้องมีคนดูแล จึงขึ้นกับงบดำเนินการ

    • @suwatruktham1581
      @suwatruktham1581 3 ปีที่แล้ว

      @@suntareeyingjajaval6739
      ขอบคุณมากครับ

  • @suntareeyingjajaval6739
    @suntareeyingjajaval6739 3 ปีที่แล้ว

    อุปกรณ์วัดความชื้นได้อธิบายแหล่งซื้อไว้แล้วด้านล่าง
    ส่วนหัววัดแสงและอุปกรณ์​วัดสภาพ​อากาศที่ทางแลปใช้ เป็นแบบราคาค่อนข้างถูก ไม่ได้ทนทานมาก เพราะเราใช้ในงานวิจัยหลายจุด ถือว่าคุ้มถ้าเก็บข้อมูลครบ 1-2 ปี จนเสร็จงานทดลอง ข้อดีคือซื้อได้หลายชุดกว่าไปซื้อชุดที่แพงและทนทานได้เพียงชุดเดียว ที่สำคัญ ซื้อของใหม่จะแน่ใจว่ามีการเทียบตั้งค่า (calibration) ถูกต้องจากผู้ผลิต สำหรับหัววัดเก่าที่ยังใช้ได้ เราจะนำมาเทียบค่ากับหัววัดใหม่ หาตัวคูณแก้ไข (correction factor) ในการปรับค่าที่วัดได้ ก่อนจะนำไปใช้ใหม่
    หัววัดที่ใช้เป็นของบริษัท​ Spectrum technologies, Ltd. USA
    ผู้แทนจำหน่ายในไทย
    ยุวดี สุรเวคิน
    หจก.ผุศดี เอ็นเตอร์ไพร์ส
    089 815 9862
    E-mail yousuravekhin@gmail.com

  • @kaianika3202
    @kaianika3202 3 ปีที่แล้ว

    อยากฟังอาจารย์ให้ความรู้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ค่ะ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 3 ปีที่แล้ว +1

      ข้าวโพดเป็นพืชใหญ่ระดับโลก มีข้อมูลในรายงานวิจัยจำนวนมาก พออาศัยเป็นหลักในการจัดการผลิตได้ หน่วยงานเราจึงไม่ได้รีบทำคะ แต่ปีนี้ ได้งบสนับสนุนแล้ว ต้องรอดำเนินการก่อนนะคะ

    • @kaianika3202
      @kaianika3202 2 ปีที่แล้ว

      @@suntareeyingjajaval6739 ถ้าจะต้องตัดอ้อยอายุ 8-9 เดือน เพื่อจำหน่ายนำไปเป็นต้นพันธุ์ จะต้องใส่ปุ๋ยกี่กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเร่งให้อ้อยมีน้ำหนักมากๆ คะ

    • @suntareeyingjajaval6739
      @suntareeyingjajaval6739 2 ปีที่แล้ว +1

      @@kaianika3202 แนะให้ใส่ปุ๋ยเรโช 3:1:7 เช่นปุ๋ยผสมสูตร 15-5-35 ส่วนใส่ปริมาณเท่าไร ขึ้นกับผลผลิตที่คาดไว้ก่อนตามต้องการ กรุณาตามดูวิดีโอเรื่องปุ๋ยอ้อยก่อนหน้านี้ที่บอกอัตราใส่ตามกำลังผลิตของอ้อยคะ
      อย่างไรก็ดี เมื่อใส่ชนิดและปริมาณปุ๋ยตามที่ต้นอ้อยต้องการแล้ว การได้น้ำหนักที่มาก ขึ้นกับอีกหลายปัจจัย ปัจจัยที่มีผลกำหนดอย่างมาก คือแสงแดด เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการน้ำหนักลำมาก ต้องปลูกให้ห่าง เช่นปลูกระยะระหว่างแถว 165 ซม และระยะระหว่างกอ 50 ซม ปลูกแถวเดี่ยว
      แม้จะขัดความรู้สึกว่ายิ่งจำนวนลำมากจะยิ่งได้น้ำหนักมากนั้น ก็ไม่จริง เพราะลำจะเล็ก ปลูกระยะห่างขึ้น อ้อยได้แสงเพียงพอ จะทำให้สร้างน้ำหนักได้มาก

    • @kaianika3202
      @kaianika3202 2 ปีที่แล้ว

      @@suntareeyingjajaval6739 ขอบคุณค่ะอาจารย์