ฤดูกาลทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลายามเย็น ตามไปดูแผงขายทุเรียน @ตลาดเมืองใหม่เทศบาลนครยะลา วันที่ 1/7/2567

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ส.ค. 2024
  • ฤดูกาลทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลายามเย็น ตามไปดูแผงขายทุเรียน @ตลาดเมืองใหม่เทศบาลนครยะลา วันที่ 1/7/2567 (รูปที่ถ่ายมาเพียง 10% ของพื้นที่ส่วนท้ายสุดตลาดเมืองใหม่)
    ฤดูกาลทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา เริ่มต้นประมาณปลายเดือนมิถุนายน- ตุลาคม ของทุกปี
    ช่วงเริ่มต้นฤดูกาลทุเรียน ในจังหวัดยะลา จะมีชาวสวน พ่อค้าแม่ค้า ขายทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นหลากหลายสายพันธุ์ หรือที่ชาวยะลา เรียกกันว่า #ทุเรียนบ้าน ซึ่งมีรสชาติหวานมันอร่อย ครีมมี่ แต่ลูกผลจะเล็กไม่เกิน 2 kg. เนื้อน้อย เม็ดใหญ่
    #ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา มีรสชาติหวานมันอร่อยต่างจากที่อื่น
    #โรงงานรับซื้อทุเรียน& ล้งทุเรียน อยู่รอบพื้นที่สี่แยกมลายูบางกอก เขตเทศบาลนครยะลา
    อดีตก่อนปี 2500 ยะลาเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ทองคำ เหมืองแร่ดีบุก จำนวนมาก มีบริษัทต่างชาติมาทำเหมืองแร่ในจังหวัดยะลาด้วย เป็นที่มาของ #ตราประจำจังหวัดยะลา #คนหาบแร่
    ในตัวเมืองยะลา เป็นตลาดซื้อขายแร่ดีบุก ตลาดใหญ่แห่งหนึ่งของภาคใต้ ด้วยภูมิประเทศเป็นป่าเขาสูง เทือกเขาสันกาลาคีรี สินแร่แร่ธาตุในดินมากมาย จึงทำให้ทุเรียน และผลไม้ทุกชนิดของจังหวัดยะลา มีรสชาติหวานมันอร่อย แม้แต่หมาก ของยะลา โดยเฉพาะหมากจาก อำเภอบันนังสตา ขึ้นชื่อเรื่อง หมากคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดส่งออกต่างประเทศ
    #ช่วงก่อนปี 2500 จากการที่จังหวัดยะลามีการทำเหมืองทองคำ เหมืองแร่ดีบุกจำนวนมาก ทำให้มีผู้คนจากทุกจังหวัดทุกภาคทั่วไทย พากันเดินทางมาทำงานและค้าขายในเมืองยะลา ต่อมาได้ตั้งถิ่นฐานปักหลักมีครอบครัวอยู่ในจังหวัดยะลา หลักฐานชัดเจนคือ สี่แยกมลายูบางกอก ชุมชนมลายูบางกอก เทศบาลนครยะลา เหตุที่มาของชื่อ ช่วงก่อนปี 2500 มีมุสลิมจำนวนมาก ได้ย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพ มาปักหลักอาศัยอยู่พื้นที่บริเวณนี้เป็นชุมชนใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ชุมชนมลายูบางกอก ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่โดยรอบของมลายูบางกอก เมื่อถึงฤดูกาลทุเรียน ผลไม้ เป็นตลาดซื้อขายทุเรียน ผลไม้ของจังหวัดยะลา ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง
    จากการสอบถามเจ้าของสวนทุเรียนที่มีต้นทุเรียนบ้านหลายท่านบอกว่า เป็นต้นทุเรียนโบราณ ปลูกกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า รุ่นทวด ต้นสูงมากสูงประมาณตึก 2 ชั้นขึ้นไป จึงต้องรอทุเรียนสุกหล่นจากต้น ช่วงฤดูกาลทุเรียน ชาวสวนจะเดินเก็บลูกทุเรียนบ้านที่หล่นใต้ต้นทุเรียนทุกวัน แต่ถ้าต้นอยู่บนเขาสูง บางครั้งต้องตามเก็บตามเชิงเขาด้วย
    จากข้อมูลนี้ สันนิษฐานว่า ยุคเหมืองทองคำเหมืองแร่ดีบุกของจังหวัดยะลา ที่มีผู้คนจากทุกทิศทั่วไทย เดินทางมาทำงานเหมือง มาประกอบอาชีพค้าขาย เพราะเศรษฐกิจยะลา ตลาดนิบงยุคนั้น เฟื่องฟูมาก คนเหล่านี้ เมื่อเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด คงเอาต้นพันธุ์ทุเรียน และเม็ดทุเรียน มาปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลา จึงทำให้จังหวัดยะลา มีทุเรียนบ้านหลากหลายสายพันธุ์มาก บางพันธุ์ เจ้าของสวน ก็มีการต่อกิ่ง พันธุ์ที่ตนเองชอบกิน ผสมพันธุ์กัน
    พ่อค้าทุเรียนยะลาออนไลน์มีทุเรียนสายพันธุ์โบราณ ที่หายาก ของทุกภาคทั่วไทย และมีขายที่แผงทุเรียนในเมืองยะลา แม้แต่ มูซานคิง ต้นพันธุ์เดิมก็มาจากมาเลเซีย
    ศูนย์วิจัยพืชสวนและการเกษตรจังหวัดยะลา ได้มีการอนุรักษ์ต้นทุเรียนบ้าน เพื่อต่อยอดทุเรียนพันธุ์ เพราะต้นของทุเรียนบ้าน มีลำต้นแข็งแรง
    ทุเรียนบ้าน ผลเล็กประมาณ 1-3 kg. รสชาติหวานมันครีมมี่ หอมอ่อนๆ เนื้อนิ่ม ทุเรียนบ้านที่ขายในยะลา เป็นทุเรียนสุกหล่นทั้งหมด ไม่สามารถส่งขายนอกพื้นที่ได้ เมื่อเก็บผลสุกหล่น ต้องกินภายใน 1-2 วัน
    ทุเรียนบ้านยะลา มีผลผลิตเยอะมาก อดีตเมื่อกินไม่ทัน จะแปรรูปเป็นทุเรียนกวน ชาวบ้านชาวสวน จะแกะเนื้อทุเรียน มาขายให้ร้านทำทุเรียนกวน ในเมืองยะลา ซึ่งมีหลายเจ้า ช่วงทุเรียนออกมาก กวนกันโต้รุ่งข้ามวันข้ามคืน กวนเสร็จตั้งให้เย็นแห้ง บรรจุลงปิ๊ป ส่งขึ้นกรุงเทพโดยขนส่งสิบล้อเป็นคันรถ
    ปัจจุบัน เทคโนโลยี่ก้าวไกล มีโรงงาน ล้งทุเรียน รับซื้อเนื้อทุเรียนบ้าน แล้วฟรีซแช่แข็ง บรรจุถุงลงกล่อง ส่งออกต่างประเทศ และขายทั่วไทย เพื่อไปทำขนม ไอศกรีม เพราะเนื้อทุเรียนบ้านจังหวัดยะลา หวานมันครีมมี่หอมอร่อย
    แม่ค้าที่ขายทุเรียนบ้านที่ตลาดสดเช้า ขายไม่ดีไม่หมดยังไง ก็ไม่ต้องกังวล เพราะปัจจุบัน จะมีพ่อค้าคนกลาง ขับรถกระบะเข้าตลาด ตระเวณเก็บทุเรียนบ้านจนหมดแผงทุกแผง ช่วงสายๆ ประมาณ 9-10 โมงเช้า ถ้าหากใครอยากกินทุเรียนบ้าน จะซื้อที่ตลาดสดเช้า ก็ต้องไปก่อน 9-10 โมง ก่อนจะถูกเหมาเก็บหมดแผง
    ฤดูกาลทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ถ้าอยู่จังหวัดยะลา มีทุเรียนบ้านให้กินกันทุกวัน หลากหลายสายพันธุ์ ราคาไม่แพง กิโลกรัมละ 60-80 บาท
    ทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง ชะนีไข่ ชะนี ก้านยาว ของยะลา ขึ้นชื่อในความเป็นทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา เนื้อแห้ง รสชาติหวานมันเข้มข้น เพราะพื้นที่เป็นป่าเขาสูง ดินเพาะปลูกของจังหวัดยะลา เป็นดินที่อุดมด้วยสินแร่ แร่ธาตุในดิน จากการที่พื้นที่ของจังหวัดยะลามีแร่ทองคำ แร่ดีบุกจำนวนมากในอดีต
    ทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง ชะนีไข่ ชะนี ก้านยาว เมื่อเข้าฤดูกาล ทุเรียนพันธุ์เหล่านี้ จากพื้นที่ฝั่ง
    ต.ยุโป ต.ลำพะยา ต.หน้ำถ้ำ อ.เมืองยะลา และ ต.ตาชี อ.ยะหา อ.กาบัง จะให้ผลผลิตออกสู่ตลาดก่อน จากนั้นจะเป็นทุเรียนจากฝั่ง อ.กรงปีนัง อ.บันนังสตา อ.ธารโต อ.เบตง จะให้ผลผลิตออกสู่ตลาดตามมา
    ปัจจุบัน ฤดูกาลทุเรียนยะลา ซึ่งจังหวัดยะลาทีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง และเป็นศูนย์กลางการค้าทุเรียนในภาคใต้ตอนล่าง จะมีโรงงานส่งออกทุเรียนไปจีน มาเปิดโรงงานรับซื้อทั้งเป็นลูกและผล บรรจุกล่องส่งออกจีนโดยตรงจากยะลา โดยไม่ผ่านตลาดอื่น อีกทั้งมี ล้งทุเรียนของนายทุนจากจีน มาเปิดรับซื้อโดยตรงด้วย
    ข้อมูลเพิ่มเติมจากล้งทุเรียน ปีนี้ จะมีโรงงานทุเรียนบรรจุกล่องมาลงทุนเปิดในจังหวัดยะลาเพิ่มขึ้น รวมทั้ง ห้างโลตัส บิ๊กซี ที่กำลังจะเปิด จะเป็นโอกาสของชาวสวนทุเรียน ในการขยายตลาดค้าปลีกไปทั่วประเทศไทย
    #ทุเรียนส่งออก #ทุเรียนยะลา #ทุเรียน #ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา
    #ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลาดินแร่ดีบุกเทือกเขาสันกาลาคีรี #โลตัส
    #บิ๊กซี #โรบินสัน

ความคิดเห็น • 1

  • @user-sv7zk4rg2t
    @user-sv7zk4rg2t หลายเดือนก่อน +1

    ทุเรียนใต้อร่อยสุด