การปรับปรุงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่1 หนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 3 พ.ย. 2022
  • การปรับปรุงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย - เวียงจันทน์) เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าด้วยน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน/เพลา
    เส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ หนองคาย-ท่านาแล้ง เปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 โดยในช่วงแรกมีเฉพาะขบวนรถโดยสารให้บริการ และเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ได้มีการเปิดขบวนรถรวมขนส่งสินค้าระหว่างสถานีหนองคาย ถึง สถานีท่านาแล้ง โดยมีการหยุดเดินขบวนรถในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประมาณ 1 ปี และกลับมาเปิดเดินรถอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
    การขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างไทย กับ สปป. ลาว เป็นหนึ่งในช่องทางเชื่อมต่อ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 1 หนองคาย - เวียงจันทน์ โดยปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้รถจักรและรถพ่วงน้ำหนักกดเพลาที่ 15 ตัน/เพลา หรือ U15 สามารถขนส่งรถสินค้าได้ขบวนละ 25 คัน มีน้ำหนักบรรทุกคันละไม่เกิน 45 ตัน หรือประมาณ 1,125 ตันต่อขบวน ตามข้อกำหนดขีดความสามารถในการรองรับน้ำหนักที่สามารถข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 หนองคาย ของคณะกรรมการบริหารสะพานร่วมไทย-ลาว
    อย่างไรก็ตาม ตลอดเส้นทางขนส่งสินค้าสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าของประเทศไทย ถึง สถานีหนองคาย สามารถรองรับรถจักรและรถพ่วงที่มีน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน/เพลา หรือ U20 สามารถขนส่งรถสินค้าได้ขบวนละ 30 คัน โดยมีน้ำหนักบรรทุกคันละไม่เกิน 62 ตัน หรือประมาณ 1,860 ตันต่อขบวนซึ่งในส่วนของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ได้ถูกออกแบบก่อสร้างให้สามารถรองรับพิกัดน้ำหนัก 20 ตัน/เพลาได้ แต่เนื่อง
    จากสะพานมีอายุการใช้งานมานาน คณะกรรมการบริหารสะพานร่วม ไทย-ลาว ได้มีมติให้มีการทดสอบความสามารถในการรองรับน้ำหนักบรรทุกดังกล่าวก่อนทำการขนส่ง
    ที่ผ่านมา มีความต้องการในการใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่ติดอุปสรรคบางประการ เช่น น้ำหนักตู้สินค้านำเข้า-ส่งออก รวมถึงการขนส่งตู้สินค้าผ่านแดนทางรถไฟจากประเทศจีน ซึ่งมีน้ำหนักสูง ต้องใช้รถพ่วง (แคร่) ที่รองรับน้ำหนักพิกัดสูง จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ยังไม่สามารถข้ามสะพานได้ เช่น สินค้าประเภทปุ๋ยเคมี แร่ธาตุ และข้าวสาร เป็นต้น เป็นเหตุให้สินค้าน้ำหนักสูงจากจีนและ สปป.ลาว ต้องเปลี่ยนโหมดการขนส่งข้ามสะพานด้วยทางถนนแทน ส่งผลให้เพิ่มปริมาณการจราจรทางถนนผ่านสะพาน และต้นทุนในการขนส่งสูงขึ้น เพราะหากมีสินค้าที่มีน้ำหนักสูง ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนการขนส่งจากรถไฟเป็นรถยนต์
    ดังนั้น กระทรวงคมนาคม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 1 ให้มีความแข็งแรง เพื่อสามารถรองรับการเดินขบวนรถสินค้าน้ำหนักพิกัด U20 ได้ จะทำให้การขนส่งทางรางตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมการขนส่งทางรางและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างยั่งยืน

ความคิดเห็น • 3

  • @user-ph1ue5rg5x
    @user-ph1ue5rg5x 8 หลายเดือนก่อน

    เหตุผลที่ไม่สร้างรางต่อกับจีนเพื่อให้มีการจ้างานขนถ่ายสินค้าคนลาวจะได้มีเงินเข้าประเทศถ้ารางต่อกันถึงไทยจีนจะได้ประโยชน์ฝ่ายเดียวการจ้างแรงงานจะไม่เกิด

  • @Kotzaa305
    @Kotzaa305 ปีที่แล้ว +1

    ทำสะพานข้างๆอีกสะพานนึง

  • @kongdechsuntornchai133
    @kongdechsuntornchai133 ปีที่แล้ว

    จีนยังทำเขื่อนแม่น้ำโขงได้ แต่ไทยไม่สามารถทำได้