เหล็กขนาดเดียวกัน ความหนาเดียวกัน ทำไมราคาต่างกันเยอะ ? | 25 ธ.ค. 68
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 7 ม.ค. 2025
- เหล็กขนาดเดียวกัน ความหนาเดียวกัน ทำไมราคาต่างกันเยอะ ? 🤔 | 25 ธ.ค. 68
คลิปนี้อาจจะยาวหน่อยค่ะ แต่อยากฟังให้จบ จะได้เข้าใจและเลือกเหล็กให้ถูกต้องและได้มาตรฐาน เพื่อความคุ้มค่าและปลอดภัยมากที่สุด
ว่าด้วยเรื่องของ เหล็กขนาดเดียวกัน ความหนาเดียวกัน ทำไมราคาต่างกันเยอะ ? 🤔 มีหลายปัจจัย ดังนี้
1️⃣ เกิดจากเทคนิคการขายและการแข่งขันด้านราคา
ร้านขายเหล็กแต่ละแห่งมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกันหรือค่อนข้างหลากหลาย บางคนเน้น "เหล็กเต็ม คุณภาพดี" แต่บางคนให้ความสำคัญกับ "ราคาถูก" ทำให้เกิดช่องว่างในตลาด เช่น การขาย "เหล็กเบา" หรือเหล็กที่บางกว่ามาตรฐาน เพื่อแข่งราคา ซึ่งน้ำหนักต่อเส้นน้อยลง ส่งผลให้ราคาถูกกว่า แต่ไม่ได้มาตรฐาน
👉 ข้อแนะนำ : เวลาซื้อเหล็ก อย่าถามแค่ราคา ให้ถาม "น้ำหนักต่อเส้น" เพื่อคำนวณเปรียบเทียบได้อย่างแม่นยำ
2️⃣ เป็นมาตรฐานการผลิตของแต่ละโรงงาน
ในอุตสาหกรรมเหล็ก การผลิตเหล็กต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เช่น มอก. (มอก.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ของไทย หรือมาตรฐานสากล เช่น ASTM, JIS, หรือ BS แต่ผู้ผลิตสามารถใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของความหนาเหล็กในการผลิตสินค้าได้ เ ทำให้เหล็กจากแต่ละโรงงานมีความหนาต่างกันตามมาตรฐานที่ใช้ แต่ก็ยังสามารถคำนวณได้ตามน้ำหนักของเหล็กค่ะ
3️⃣ กระบวนการผลิตเหล็ก (Manufacturing Process)
การผลิตเหล็กมีหลายวิธี เช่น การหล่อ การรีดเย็น และการรีดร้อน ซึ่งส่งผลให้ความหนาของเหล็กต่างกัน เช่น เหล็กรีดเย็นจะมีความหนาที่แม่นยำกว่าเหล็กรีดร้อนนั่นเองค่ะ เนื่องจากการควบคุมความคลาดเคลื่อนได้ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนสูงกว่าค่ะ
นอกจากนี้ในขั้นตอนการเคลือบหรือชุบเคลือบผิว เช่น การชุบสังกะสี (Galvanizing) ก็ส่งผลต่อความหนา หากเคลือบหนาขึ้นเพื่อการป้องกันสนิม ความหนาก็จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยค่ะ
4️⃣ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
โรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพเข้มงวดจะทำให้เหล็กมีความหนาที่คงที่กว่า โดยมีการตรวจวัดความหนาในแต่ละขั้นตอน เช่น การใช้เครื่องมือวัดละเอียดหรือการตรวจสอบด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อให้แน่ใจว่าความหนาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดนั่นเองค่ะ
ผลเสียของเหล็กไม่ได้มาตรฐาน
⚠️ รับแรงลดลง: เพราะเหล็กเบาที่ไม่ได้มาตรฐานมักมีพื้นที่หน้าตัดน้อยกว่า ทำให้รับแรงไม่ได้ดี หากนำมาใช้งานในงานโครงสร้างสำคัญ อาจจะเกิดการพังทลาย หรือมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทดแทน
⚠️ อายุการใช้งานสั้น: เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานอาจจะเกิดสนิมหรือการผุกร่อนได้เร็วกว่า ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูง ในระยะยาว
📌 สรุป : ทาง 2 เอสเมทัล อยากให้ลูกค้าเลือกเหล็กที่มีมาตรฐานจากโรงงานที่เชื่อถือได้ แม้ราคาสูงขึ้น แต่คุ้มค่ากว่าในระยะยาว ทั้งในแง่คุณภาพ ความปลอดภัย และอายุการใช้งาน เพราะนอกจากจะมั่นใจได้ในคุณภาพแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับโครงสร้างและความปลอดภัยในชีวิตของผู้ใช้งานด้วย
#เหล็กมาตรฐาน #เหล็กเต็ม #เหล็กคุณภาพ #2SMetal #วัสดุก่อสร้าง #เหล็กโครงสร้าง #เหล็กกล่อง #เลือกเหล็กดี #เหล็กมอก #เหล็กราคาถูก #เหล็กเบา #เคล็ดลับเลือกเหล็ก #เหล็กโรงงาน #วัสดุปลอดภัย #อุปกรณ์ก่อสร้าง #มาตรฐานมอก