อำเภอลี้ จ.ลำพูน ถิ่นกำเหนิดครูบาเจ้าศรีวิชัยต๋นบุญแห่งล้านนา Li District Lamphun Province Thailand

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ต.ค. 2022
  • คำขวัญ: องค์พระธาตุสูงค่า ตระการตาอุทยานแม่ปิง ยอยศยิ่งพระนางจามรี ประเพณีงามล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดนักบุญล้านนา.
    เมื่อก่อน พ.ศ. ๑๘๐๐ คนไทยที่อยู่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้าถูกศัตรูรุกราน จึงได้พากันอพยพหนีจากที่อยู่เดิมลงมาทางทิศใต้ ในครั้งนั้นได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งอพยพหนีภัยศึกมาจากทางแคว้นหลวงพระบาง ลงมาสู่แคว้นลานนา ในกลุ่มดังกล่าวมีพระนางจามะรีเป็นหัวหน้า มีท้าวพวงมหาด หรือปวงมหาด ซึ่งเป็น ผู้สนิทใกล้ชิดเป็นผู้นำทางโดยมีช้างเป็นพาหนะพาไพร่พลเมืองหนีภัย
    ล่องลงมาเรื่อยๆ ตามแนวเมืองฝางปัจจุบัน เลียบเลาะมาตามแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ถึงดอยแห่งหนึ่งในเขตจอมทอง ช้างทรงของพระนางจามะรี ได้ออกวิ่งจากดอยลงสู่แม่น้ำ เพื่อจะข้ามไปสู่ฟากข้างหน้า ดอยแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า "ดอยหล่อ" อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบันนี้ ช้างทรงได้นำขบวนอพยพเข้าสู่เขตเมืองหริภุญไชยตอนใต้ เลียบไปตามป่าดงพงไพรไปทางทิศตะวันออก ช้างพาเดินลัดตัดตรงไปที่ดอยแห่งหนึ่งและพาเลาะรอบใกล้เชิงดอยนั้น ต่อมาดอยนั้นเรียกชื่อว่า ดอย "แม่รอบ" หรือ "แม่ลอบ" แล้วพาเดินมุ่งหน้าไปทางทิศใต้สู่ขุนลำน้ำลี้ (ซึ่งสมัยนั้นยังไม่ได้มีชื่อว่าน้ำลี้) ซึ่งเทือกเขายาวติดต่อกันสลับซับซ้อนผู้คนพลเมืองที่เดินติดตามมาต่างก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จนต้องหายใจออกทางปากและเปล่งเสียง "หุย หุย" "ฮุ่ย ฮุ่ย" ตลอดทาง ต่อมาภายหลังที่นั้นได้ชื่อเรียกว่า "ดอยอีฮุ่ย" ขบวนได้เดินทางต่อมาอีกระยะหนึ่งก็ได้มีการหยุดพักไพร่พล และได้ทำการซ่อมแซมเครื่องทรงที่ชำรุดเสียหายจากการเดินทางมาไกล ณ ที่หยุดพักซ่อมแซมเครื่องทรงนี้ต่อมาได้เรียกชื่อว่า "แม่แซม" หรือ "แม่แสม" หลังจากที่ได้หยุดพักและทำการซ่อมแซมเครื่องทรงช้างแล้ว ก็เดินทางต่อมาอีกครึ่งวันก็ได้หยุดพักช้าง และพักพลท้าวปวงมหาดได้พยายามบังคับช้างให้หมอบลง เพื่อจะได้ปลง (ปลด) เครื่องช้าง แต่ช้างไม่ยอมหมอบ ท้าวปวงมหาดได้ให้ควาญช้างบังคับช้าง โดยใช้ขอเหล็กกระทุ้ง (ต๊ง) หัวช้างเพื่อให้ช้างหมอบได้พยายามอยู่เป็นเวลานาน ช้างจึงยอมหมอบลง และก็ได้มีการพักไพร่พล ณ ที่แห่งนั้นต่อมาได้ชื่อว่า "ต๊งหัวจ๊าง" คือทุ่งหัวช้างหรือ อำเภอทุ่งหัวช้าง ในปัจจุบัน หลังจากพักไพร่พลแล้ว ก็ได้เดินทางต่อมาทางทิศใต้ พอมาถึงใกล้ลำห้วยแห่งหนึ่ง ช้างทรงได้ตกใจออกวิ่งจนกระเดง (กระดึง) ที่ผูกคอช้างหลุดออกจากคอช้าง ภายหลัง ณ ที่นั้นได้ชื่อว่า "แม่ปันเดง"
    เมื่อเดินทางต่อมาอีกระยะหนึ่ง จึงหยุดพักแรมอีกขณะที่หยุดพักแรมอยู่นั้น ท้าวปวงมหาดได้ออกแอ่วล่าสัตว์ แล้วถูกอสรพิษกัดถึงแก่ความตายพระนางจามะรีจึงให้ปลงศพท้าวปวงมหาด ณ ที่นั้น ซึ่งภายหลังต่อมาที่นั้น ได้ชื่อว่า "บ้านปวง" และ ที่ปลงศพก็คือที่ตั้งวัดแอ่ว หรือ "วัดแอ้ว" ในปัจจุบัน
    เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับหัวหน้าผู้นำทางเช่นนั้น พระนางจามะรีก็ไม่สามารถจะตัดสินใจทำประการใด จึงได้ทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพาอารักษ์ ขอให้นำช้างทรงไปสู่สถานที่ที่สมควรแก่ลูกหนึ่ง ช้างทรงได้หันกลับคืนหลัง แต่แล้วช้างก็หันกลับเดินทางต่อมาอีก ดอยลูกนั้นได้ชื่อว่า "ดอยคืน" การเดินทางขึ้นดอยลงห้วย ด้วยความเหน็ดเหนื่อยช้างได้หยุดเดินแล้วตะแคงสีข้างหยุดอยู่กับฝั่งลำห้วยแห่งหนึ่ง ณ ที่นั้นต่อมาได้ชื่อว่า "ตาแคง" หรือ "นาแคง" ในปัจจุบัน เมื่อเห็นความเหน็ดเหนื่อยของช้างและไพร่พล
    พระนางจามะรีจึงให้หยุดพักและให้ไพร่พลนำเอาก้อนหินมาวางซ้อนกันข้างก้อนหินก้อนใหญ่ที่ตั้งอยู่ เพื่อทำเป็นแท่นบูชาได้จัดเครื่องบวงสรวงอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สอง ณ ที่นั้นยังปรากฏก้อนหินตั้งอยู่และได้ชื่อว่า "ผายอง" (อยู่ห่างจากบ้านนากลางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เสร็จแล้วก็ได้ออกเดินทางต่อ ช้างได้นำเดินทางมาอีกระยะหนึ่งถึงลำน้ำแม่ลี้ ได้เกิดอาเพศโพงป่าหลอก (คือ ภูต หรือ ผีป่า) ทำให้ช้างสะดุ้งตกใจ ที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า "โพงหลอก" หรือ “โป่งหลอก" ในปัจจุบัน เมื่อช้างตกใจได้พาหก (วิ่ง) ย้อนไปทางทิศใต้อีก ณ ที่นั้นต่อมาภายหลังได้ชื่อว่า "ปาหก" หรือ "ป่าหก" ขณะที่วิ่งช้างวิ่งไปเรื่อยๆ นั้นทำให้เครื่องประดับช้างบางส่วนที่ทำด้วยทองคำเป็นพวงหลุดหล่นตกลงมาต่อมาที่นั้นได้เรียกว่า “พวงคำ" หรือ "ปวงคำ" ช้างได้ไปหยุดยืนอยู่ที่สบน้ำลำห้วยแห่งหนึ่ง ไพร่พลได้ตามไปทัน ช้างก็ได้หันกลับไปทางทิศเหนืออีก แล้วเดินลัดเลาะไปตามป่าและเชิงดอย ช้างเดินไปตามลำห้วยแคบๆ ไพร่พลก็เดินตามกันไปเป็นสาย ห้วยนั้นจึงได้ชื่อว่า "ห้วยสาย" ช้างได้เดินล่องไปตามลำห้วยจนถึงสบห้วยที่ต่อกับลำน้ำลี้ที่ตรงนั้นได้ชื่อว่า “ฮ่อมต่อ" หรือ "ฮ่อมต้อ" ช้างได้หยุดอยู่ ไพร่พลทั้งหลายก็ได้หยุดพักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง
    พระนางจามะรีจึงได้ทำพิธีบวงสรวงอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สาม โดยขอให้เทพาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ช่วยเหลือให้ได้สร้างบ้านแปงเมือง โดยมีคำอธิษฐานว่า "กันว่าได้สร้างบ้านแปงเมืองด้วยเถิด” ได้หลีกลี้หนีภัยแต๊ๆ ขอเทพาอารักษ์ได้โปรดนำช้างไปสู่ ณ ที่ที่จะสร้างบ้านแปงเมืองด้วยเถิด เสร็จพิธีแล้วช้างก็ออกเดินต่อ
    นำขบวนที่ติดตามเลียบเลาะลำน้ำลี้ขึ้นไปทางทิศใต้ แล้วแยกขึ้นไปตามลำน้ำอีกสายหนึ่ง ณ ที่ลำน้ำมาบรรจบกันสามสายนั้นต่อมามีชื่อเรียกว่า "แม่ลี้" "แม่แต๊ะ" และ "แม่ไป" ช้างได้นำเดินขึ้นไปตามลำน้ำแม่แต๊ะ ได้อีกระยะหนึ่งก็เดินตัดขึ้นฝั่งน้ำแม่แต๊ะทางด้านตะวันตกขึ้นไปบนเนินสูง จนถึงบริเวณแห่งหนึ่ง ช้างก็ได้หยุดเดินและทำกิริยาห้าประการ ดังนี้

ความคิดเห็น • 5

  • @user-st4ez8ki1p
    @user-st4ez8ki1p 9 หลายเดือนก่อน

    ป้าแก้วขนมเส้น

  • @user-st4ez8ki1p
    @user-st4ez8ki1p 9 หลายเดือนก่อน

    เฒ่าบ่าเก่าบ้านว้งดินพนมคำมา90/1บูญจิต❤❤🎉🎉😮

  • @OppoA-ju2yh
    @OppoA-ju2yh 8 หลายเดือนก่อน

    ประกันสังลี้

  • @user-st4ez8ki1p
    @user-st4ez8ki1p 9 หลายเดือนก่อน

    เฒ่าบ่าเก่าบ้านว้งดินพนมคำมา90/1บูญจิต

  • @user-st4ez8ki1p
    @user-st4ez8ki1p 9 หลายเดือนก่อน

    เฒ่าบ่าเก่าบ้านว้งดินพนมคำมา90/1บูญจิต