บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อ่านคำแปล

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ค. 2024
  • บทสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
    (อันข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี)
    (ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ว่า)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ)
    (หนึ่งคือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด)
    (เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง.)
    สองคือ การทรมานตนด้วยความลําบาก ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่พ้นจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อีกอย่างหนึ่ง
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ ซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่ตถาคต ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง นั้นเป็นไฉน ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    (ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)
    (ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง. ได้แก่ธรรมเหล่านี้ กล่าวคือ)
    ปัญญาอันเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    (ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลความเป็นจริง แห่งอริยสัจ คือ ทุกข์)
    (ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์)
    (ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)
    (ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
    (โดยย่อแล้ว อุปาทานในขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์.)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดอย่างแท้จริง)
    (คือ ความทะยานอยากนี้ใด ทําให้มีภพ มีการเกิดอีก เป็นไปตามความกําหนัด ด้วยอํานาจความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ)
    (ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ)
    (ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ความทะยานอยากในความมีความเป็น ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง)
    (คือ ความดับโดยสิ้นกําหนัดความอยาก โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นเทียวอันใด ความสละแห่งตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความไม่พัวพันแห่งตัณหา.)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อย่างแท้จริง)
    (คือทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้เอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ)
    (ปัญญาอันเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า อริยสัจคือทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว ดังนี้)
    (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.)
    (ว่านั่นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี,)
    (อันสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม และใครๆ ในโลก ยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภุมมเทพยดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นยามาได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรตีได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น.)
    (เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น).
    (ว่านั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี)
    (อันสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหม และใครๆ ในโลก ยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้.)
    (โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้.)
    (ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้านลั่นไป.)
    (ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก)
    (ล่วงเทวานุภาพของเทพยดาทั้งหลายเสียหมด)
    (ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ)
    (เพราะเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุ โกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล)

ความคิดเห็น •