⚖️เฉลยแนวข้อสอบเขียนวิชา รปท มสธ 𝟜𝟙𝟜𝟝𝟙 อธิบายเข้าใจง่าย บ่อเกิดกฏหมายระหว่างประเทศ | เล้งถนัดสอน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 12 พ.ย. 2024

ความคิดเห็น • 23

  • @มีอะไรดีก็บอกกัน
    @มีอะไรดีก็บอกกัน 5 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากครับ

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  5 หลายเดือนก่อน

      ยินดีครับ

  • @apisitthipaksorn5929
    @apisitthipaksorn5929 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณพี่เล้งมากครับ

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว +1

      ยินดีมากครับ

  • @สังคมล่มสลาย
    @สังคมล่มสลาย 2 ปีที่แล้ว

    ผมลงเรียนจะสอบเเล้วครับ❤️

  • @mobile2557
    @mobile2557 ปีที่แล้ว +1

    ขอแนวตอบ กฎหมาย รปทเยอะๆเลยครับ❤

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว

      จะทยอยทำให้นะครับ / ขอบคุณครับที่เดินทางสายเดียวกันกับ

  • @สังคมล่มสลาย
    @สังคมล่มสลาย 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากได้เเบบข้อเขียนครับ

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  2 ปีที่แล้ว +1

      คลิปนี้เป็นข้อเขียนครับ ☆ให้อธิบายบ่อเกิดของกฎหมายต่างประเทศ☆ ออกบ่อยครับ และเป็นความรู้ basic ที่เราต้องรู้แบบลึกซึ้งด้วยนะครับ

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว

      มีคลิปเฉลยเรื่องกฎหมายอาญาระหว่างประเทศแล้วครับ สนใจดูได้ตามลิงค์นี้ครับ th-cam.com/video/Kyno8d9Gm7E/w-d-xo.html

  • @สังคมล่มสลาย
    @สังคมล่มสลาย 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากนะครับ ยังไงผมจะรอดูการเฉลยนะครับ ผมถ้าได้เห็นแนวตอบ อย่างน้อยผมก็มีความมั่นใจหน่อยครับ เพราะในเอกสาร มหาลัยให้มาไม่มีเฉลย ครับ เห้อเเย่ เลยเเบบนี้

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  2 ปีที่แล้ว +2

      ดูแนวข้อนี้ก่อนนะครับ
      วิชากฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ
      อัตนัย
      นายโกมาเป็นผู้นำกบฏเมืองยูดา เกณฑ์เด็กอายุ 12 - 17 ปี จํานวน 550 คน
      เพื่อฝึกกำลังต่อสู้ โดยมีนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลัง ปฏิบัติการกลุ่มกำลังเข้าทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือนที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ทำให้คนตายนับพันคน ดังนั้น จงวิเคราะห์
      1) นายโกมาจะอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดทางอาญา เพราะตนไม่ได้เป็นผู้สั่ง แต่ยอมรับว่าเกณฑ์เด็กจริง ฝึกเด็กจริง และยอมรับว่าทราบถึงผลการโจมตีโดยตลอดของนายจัมโบหัวหน้าหน่วยฝึกได้หรือไม่
      2) ศาลอาญาระหว่างประเทศจะพิจารณาลงโทษนายโกมา นายจัมโบ ได้หรือไม่
      3) นาย จูเนียร์ อายุ 17 ปี เข้าร่วมการฝึกและโจมตีพลเรือน ศาลจะพิจารณาความผิดได้หรือไม่
      แนวการตอบ
      อ้างอิงหนังสือ มสธ กฎหมายระหว่างประเทศหน้า 15-62, 15-62
      1) กรณีตามปัญหา ตามธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา 7 ได้นิยามความหมายของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes against humanity) ว่า หมายถึงการกระทำใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีที่แพร่ขยายอย่างกว้างขวาง หรือการโจมตีอย่างมีระบบโดยตรงต่อพลเรีอนโดยจงใจ มุ่งหมาย หรือรู้ในการกระทำ โดยฆาตกรรม การทรมาน เป็นต้น
      นอกจากนี้ยังหมายถึงการต่อต้าน ทำลายล้างกลุ่มบุคคลใดๆ กลุ่มการเมือง เผ่าชนใดๆ เชื้อชาติ สัญชาติ กลุ่มวัฒนธรรม ศาสนา เพศ ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดๆ เป็นต้น
      รวมทั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีอาญาร้ายแรงต่อบุคคล ผู้บังคับบัญชา ผู้ควบคุม กำกับ หรือผู้บัญชาการรบ ก็ต้องรับผิดต่อการกระทำที่โหดร้ายนั้นด้วย
      ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายโกมาเป็นผู้นำกบฏเมืองยูดา เกณฑ์เด็กเพื่อฝึกกำลังต่อสู้ โดยมีนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลังและได้เข้าทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือนที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ทำให้คนตายจำนวนมากนั้น นายโกมาในฐานะผู้บังคับบัญชานายจัมโบ ทั้งนายโกมาก็ยอมรับว่าทราบถึงผลการโจมตีโดยตลอดของนายจัมโบ ดังนั้นนายโกมาจะต้องรับผิดทางอาญาด้วย จะอ้างว่าตนมิใช่ผู้สั่งการมิได้
      2) การที่นายโกมามีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา และนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลังพลและนำกำลังเข้าโจมตีทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือน ดังนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาลงโทษนายโกมาและนายจัมโบได้
      3) กรณีที่นาย จูเนียร์ อายุ 17 ปี เข้าร่วมการฝึกและโจมตีพลเรือนนั้น ด้วยธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา 5 ได้วางหลักเขตอำนาจศาลเหนือบุคคลธรรมดาที่จะพิจารณาความผิดได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
      เมื่อนายจูเนียร์ อายุ 17 ปีซึ่งยังไม่ถึง 18 ปี ศาลจะพิจารณาความผิดนายจูเนียร์หาได้ไม่

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว

      มีคลิปเฉลยเรื่องกฎหมายอาญาระหว่างประเทศแล้วครับ สนใจดูได้ตามลิงค์นี้ครับ th-cam.com/video/Kyno8d9Gm7E/w-d-xo.html

  • @หวก
    @หวก ปีที่แล้ว +1

    อยากถามข้อนี้หน่อยครับ ชวนกันคิด เป็นเรื่องของเจตนาผู้ใช้
    ถ้าในกรณีที่แดงถูกดำข่มแหงรังแก จนรู้สึกโกรธ จึงบ่นออกมาดัง ๆ ว่า ถ้ามีใครทำให้ดำตายได้ ห้าหมื่นบาทก็ไม่เสียดาย ทั้งนี้แดงคิดว่าตนอยู่แถวนั้นคนเดีย แต่เผอิญขาวได้ยินคิดว่าจริงจึงไปยิงดำถึงแก่ความตาย ดังนี้แดง และดำ มีความผิดหรือไม่

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว

      ความเห็นผมคือ แดงไม่ผิดเพราะไม่มีเจตนาจ้างวานหรือสั่งการแต่อย่างได ส่วนดำมีความผิดฐานยิงดำถึงแก่ความตายฮะ

  • @lawtutor-leng
    @lawtutor-leng  2 ปีที่แล้ว +2

    บางคนบอกว่าวิชานี้ #รปท เป็นวิชาปราบเซียน คำถามคือ มันจริงรึ แต่ถ้าดูคลิปนี้จบจะพบเลยว่าโล่งใจไปได้เยอะ 🤯

  • @lawtutor-leng
    @lawtutor-leng  2 ปีที่แล้ว

    🔥แจ้งแก้ไขข้อความนาทีที่ 7 หัวข้อ 2.1.4 บ่อเกิดกฎหมายจารีตประเพณี 2 ฝ่าย หมายถึง ประเทศที่ทำสนธิสัญญาประเภททวิภาคี (Bilateral)

  • @สังคมล่มสลาย
    @สังคมล่มสลาย 2 ปีที่แล้ว +1

    พี่ครับ ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างสักข้อนะครับ ผมหาคำตอบไม่เจอ เเต่ลองทำเเล้ว เเต่ไม่มั่นใจถ้าพี่ทำให้ผมดู ข้อนี้จะขอบคุณมากๆนะครับ พอดีผมใกล้จะสอบ กฏหมายระหว่างประเทศเดือนมกรานี้เเล้ว ยังไม่มั่นใจเลยครับ ตัวอย่างนะครับ 1.) นางสาวดอกรักได้สมรสโดยนายโรเบิร์ตชาวอังกฤษและได้ขอมีสัญชาติอังกฤษตามสามีและเพื่อป้องกันความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นต่อมานางดอกรักได้สละสัญชาติไทยเพื่อเดินทางไปอยู่อย่างถาวรที่ประเทศอังกฤษกับนายโรเบิร์ตทั้งคู่ครองรักกันอย่างมีความสุขได้5ปีในโรเบิร์ตก็เสียชีวิตลงนางดอกรักมีความเศร้าโศกมากจึงเดินทางกลับมาอยู่ประเทศไทยอยู่มาได้2ปี ก็พบรักกับไนกี้โรเจอร์ซึ่งทำงานอยู่ในองค์การสหประชาชาติในประเทศไทยและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนนั่งดอกรักตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายชื่อเด็กชายกาย ในประเทศไทย ต่อมาไนกี้โรเจอร์หมดวาระการทำงานในประเทศไทยจึงพาครอบครัวกลับไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส จนในกายอายุ 20 ปีในกายพร้อมนางดอกรักจึงอพยพกลับมาอยู่ที่ประเทศไทยอีกวาระหนึ่งเนื่องจากไนกี้โรเจอร์แยกทางกับนางดอกรัก นายกายอยู่ในประเทศไทยได้2ปีก็ถูกตำรวจจับในข้อหาจารกรรมความลับ และถูกเนรเทศออกนอกประเทศนายกายโต้แย้งว่า ตนเป็นคนไทย มีสัญชาติไทยตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตและประเทศไทยไม่สามารถเนรเทศคนชาติออกนอกประเทศได้ทั้งนี้ตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศจงพิจารณาว่าข้อโต้แย้งของนายกายรับฟังได้หรือไม่เพราะเหตุใดจงพิจารณาหลักกฏหมายตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 แก้ไขพ.ศ. 2535 ประกอบการอธิบายและวินิจฉัย

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  2 ปีที่แล้ว

      ตอนนี้ผมทำเฉลยไว้ 1 ข้อ พอดูแนวไปก่อนนะ (ส่วนโจทย์ที่ให้มาผมจะหาเวลาทำเฉลยภายหลังนะครับ)
      ตัวอย่าง การตอบวิชา รปท มสธ
      วิชากฎหมายระหว่างประเทศ เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ
      อัตนัย
      นายโกมาเป็นผู้นำกบฏเมืองยูดา เกณฑ์เด็กอายุ 12 - 17 ปี จํานวน 550 คน
      เพื่อฝึกกำลังต่อสู้ โดยมีนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลัง ปฏิบัติการกลุ่มกำลังเข้าทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือนที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ทำให้คนตายนับพันคน ดังนั้น จงวิเคราะห์
      1) นายโกมาจะอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดทางอาญา เพราะตนไม่ได้เป็นผู้สั่ง แต่ยอมรับว่าเกณฑ์เด็กจริง ฝึกเด็กจริง และยอมรับว่าทราบถึงผลการโจมตีโดยตลอดของนายจัมโบหัวหน้าหน่วยฝึกได้หรือไม่
      2) ศาลอาญาระหว่างประเทศจะพิจารณาลงโทษนายโกมา นายจัมโบ ได้หรือไม่
      3) นาย จูเนียร์ อายุ 17 ปี เข้าร่วมการฝึกและโจมตีพลเรือน ศาลจะพิจารณาความผิดได้หรือไม่
      แนวการตอบ
      อ้างอิงหนังสือ มสธ กฎหมายระหว่างประเทศหน้า 15-62, 15-62
      1) กรณีตามปัญหา ตามธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา 7 ได้นิยามความหมายของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes against humanity) ว่า หมายถึงการกระทำใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีที่แพร่ขยายอย่างกว้างขวาง หรือการโจมตีอย่างมีระบบโดยตรงต่อพลเรีอนโดยจงใจ มุ่งหมาย หรือรู้ในการกระทำ โดยฆาตกรรม การทรมาน เป็นต้น
      นอกจากนี้ยังหมายถึงการต่อต้าน ทำลายล้างกลุ่มบุคคลใดๆ กลุ่มการเมือง เผ่าชนใดๆ เชื้อชาติ สัญชาติ กลุ่มวัฒนธรรม ศาสนา เพศ ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดๆ เป็นต้น
      รวมทั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีอาญาร้ายแรงต่อบุคคล ผู้บังคับบัญชา ผู้ควบคุม กำกับ หรือผู้บัญชาการรบ ก็ต้องรับผิดต่อการกระทำที่โหดร้ายนั้นด้วย
      ข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายโกมาเป็นผู้นำกบฏเมืองยูดา เกณฑ์เด็กเพื่อฝึกกำลังต่อสู้ โดยมีนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลังและได้เข้าทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือนที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ทำให้คนตายจำนวนมากนั้น นายโกมาในฐานะผู้บังคับบัญชานายจัมโบ ทั้งนายโกมาก็ยอมรับว่าทราบถึงผลการโจมตีโดยตลอดของนายจัมโบ ดังนั้นนายโกมาจะต้องรับผิดทางอาญาด้วย จะอ้างว่าตนมิใช่ผู้สั่งการมิได้
      2) การที่นายโกมามีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา และนายจัมโบเป็นผู้ฝึกกำลังพลและนำกำลังเข้าโจมตีทำลายล้างบ้านเมือง พลเรือน ดังนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาลงโทษนายโกมาและนายจัมโบได้
      3) กรณีที่นาย จูเนียร์ อายุ 17 ปี เข้าร่วมการฝึกและโจมตีพลเรือนนั้น ด้วยธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ มาตรา 5 ได้วางหลักเขตอำนาจศาลเหนือบุคคลธรรมดาที่จะพิจารณาความผิดได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
      เมื่อนายจูเนียร์ อายุ 17 ปีซึ่งยังไม่ถึง 18 ปี ศาลจะพิจารณาความผิดนายจูเนียร์หาได้ไม่

  • @ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย00

    พี่ครับ กรณีมีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เเต่บางกลุ่มไม่ยอมรับคำพิพากษานั้น รวมไปถึงองค์กรสหประชาชาติด้วย จะมีองค์กรใดที่มีอำนาจบังคับ กลุ่มชนนั้นได้บางครับ พอดี เเนวข้อสอบ มาธล่าสุด จำได้ประมาณนั้นครับ คือง่ายๆมีองค์เเทน อีกหรือไม่ครับ

    • @lawtutor-leng
      @lawtutor-leng  ปีที่แล้ว

      ลองอ่านหน้า 6-37 ย่อหน้าที่เขียนว่า
      1.3.7 การบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสิน มาตรา 94 วรรค 2 ของกฎบัตรสหประชาชาติที่ให้อำนาจและดุลยพินิจแก่คณะมนตรีความมั่นคงเป็นผู้ออกมาตรการบังคับ....