เพลงอาหนู เถา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ก.ย. 2023
  • เพลงอาหนู เถา โดย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
    เพลงอาหนู อัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี ๒ ท่อน เป็นเพลงสำเนียงจีน
    ดัดแปลง เพิ่มเติมมาจากเพลงของจีน ครูปุย บาปุยะวาทย์ ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา สามชั้นทางหนึ่ง
    จางวางทั่ว พาทยโกศล ได้แต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา สามชั้น อีกทางหนึ่ง พร้อมทั้งได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว
    ครบเป็นเพลงเถา ในยุคที่นิยมเพลงเดี่ยวมีผู้นำเพลงอาหนูมาเรียบเรียงเป็นเพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องมือต่าง ๆ
    นิยมบรรเลงกันอย่างแพร่หลายเพลงหนึ่ง
    การบรรเลงในวันนี้ ได้นำเพลงอาหนู เถา ทำนองเดิม บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง บทขับร้อง สามชั้นเป็นของเดิม
    สองชั้นและชั้นเดียว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เนื่องในโอกาสครบ ๙๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรากฏในสูจิบัตร ว่า
    "...ทุกปีเมื่อถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม บรรดานิสิตเก่า คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาร่วมกัน
    บรรเลงฉลองในงานวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ ตกลงกันว่าจะเล่นเพลงอาหนู เถา
    อาจารย์ ดร.สิริชัยชาญ ผู้ควบคุมวงปรารภว่า บทเพลงอาหนู เถา ที่ใช้กันอยู่ ไม่สอดคล้องกันเป็นเรื่องราว
    จึงให้ข้าพเจ้าปรุงขึ้นใหม่ เมื่อพิจารณาดู ข้าพเจ้าเห็นว่า บทเดิมอัตราสามชั้นดีอยู่แล้ว ว่าด้วยเรื่องเด็กเพิ่งหัดเรียนดนตรี
    ยังไม่เก่งจึงแต่งใหม่แต่บทสองชั้นและชั้นเดียวว่า อาหนูเป็นเด็กใฝ่รู้ เมื่อโตขึ้นได้ครูดีจึงเป็นคนเก่งและดีพร้อม
    เมื่อแต่งบทเสร็จ ได้ไปลองต่อซ้อมกันที่วังคลองเตย..."
    ที่มา : คัดและปรับจากสูจิบัตรปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐
    --------------------------------------------------------
    บทร้องเพลง อาหนู เถา
    อาหนูน้อยน้อย ค่อยบรรเลงทำเพลงเล่น
    ไม่กระจ่างทางสุนทรที่ซ่อนเร้น ฟังก็เป็นเพลงได้แต่ไม่ดี
    ฉันยังเด็กเล็กอยู่ที่ครูสอน ปัญญาก็อ่อนลืมเลือนเชือนวิถี
    ทั้งรับขับลำเพลงดนตรี จะหาที่เพราะยากลำบากใจ
    ขออภัยในอักษรกลอนประเทียบ ยังไม่เรียบร้อยแน่เชิญแก้ไข
    เอ็นดูได้เป็นครูอาหนูเอย
    (บทขับร้องของเก่า)
    เจ้าสาวสาวสาวสาวรุ่นใหม่ เจ้าเติบใหญ่ทางเพลงเล่นชำนาญ
    ขับร้องซ้องเสียงหวาน มีปฏิภาณเชิงกวี
    พากเพียรขยันแต่เด็ก อาหนูเล็กนำเกียรติศรี
    ครูสอนจนได้ดี ได้ดีมีวัฒนธรรม
    เก่งกาจศาสตร์ศิลป์เรืองนาม กิริยาก็งามหน้าคมขำ
    เล่นได้ทั้งปี่พาทย์มโหรี มีชื่อระบือไกล
    ใครได้ฟังพอใจ สาวคล่องว่องไวน่าชม
    บทขับร้องพระราชนิพนธ์ใน
    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    -----------------------------------
    รายนามนักดนตรี
    ขับร้อง - นางสาวภาสิตา อ๋องแสง
    ปี่ใน - นายธนภัทร เพชรสัมฤทธิ์
    ระนาดเอก - นายณัฐกิตต์ เพ็ชรคล้าย
    ระนาดทุ้ม - นายกิตติพัชญ์ ตรีรัตน์ฤคเวท
    ฆ้องวงใหญ่ - นางสาวเพชรรัตน์ โม่ทอง
    ฆ้องวงเล็ก - นายพงษ์ระพี บูรณะ
    กลองแขกตัวผู้ - นายอัษฎาวุธ ชูวัน
    กลองแขกตัวเมีย - นายปฏิพล ชำนาญกลาง
    ฉิ่ง - นายณัฐภัทร พุทธะสุภะ
    กรับ - นางสาวนภัส กล้าเกิด
    ฉาบเล็ก - นายอภินันท์ อ่ำพาธช
    อาจารย์ผู้ฝึกสอนและฝึกซ้อม - อาจารย์ ดร.สุชาดา โสวัตร
    อาจารย์เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา
    อาจารย์วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์
    ผู้ควบคุมวง - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช
    ---------------------------------------------------------
    “สมสมัย สืบสาน สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ”
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชม
    การแสดงผลงานทางดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ของอาจารย์ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
    โดย บรรดาศิษย์ และหน่วยงาน สถานบันทางดนตรี ที่เกี่ยวข้อง ในโอกาสที่ท่านมีอายุครบ ๘๐ ปี
    วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น.
    ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    และเชิญชมนิทรรศการ สมสมัย สืบสาน สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
    ณ หอสมุดดนตรีไทย ชั้น ๓ อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ---------------------------------------------------

ความคิดเห็น •