นายจุนทกัมมารบุตรถวายสุกรมัททวบิณฑบาต

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 พ.ค. 2024
  • นายจุนทะ. นายจุนทะถวายภัตตาหารอันประณีตต่างๆ รวมทั้งอาหารชื่อ สุกรมัททวะ (อาจปรุงด้วยเนื้อสุกรอ่อนจริง หรือปรุงด้วยเห็ดที่มีรสอร่อยเหมือนเนื้อสุกร
    มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๑๗-๑๑๘

ความคิดเห็น • 3

  • @SoiSroi
    @SoiSroi 14 วันที่ผ่านมา +3

    สวัสดีครับ ขอบคุณมากๆครับ ต่อไปขอ เรื่องราวของ นางจิณจมานวิกา หรือ สัจจกนิครน ครับ❤

  • @chaivaraic3198
    @chaivaraic3198 13 วันที่ผ่านมา

    สวัสดีค่ะ....สุกรมัมทวคืออะไรค่ะ....

    • @BeeTvMedia
      @BeeTvMedia  13 วันที่ผ่านมา +1

      แอดมินหาข้อมูลโดยสังเขบมาดังนี้ค่ะ
      สุกรมัททวะ คืออะไร
      ท่านให้ความเห็นว่า ตามที่เราแปลกันมาในสายเถรวาท สุกรมัททวะ หมายถึง เนื้อสุกรอ่อน แต่คือเนื้อสุกรอ่อนจริงหรือ ท่านอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านได้อภิปรายพร้อมยกหลักฐานมาประกอบ ดังนี้
      สุกรมัททวะ คืออะไร ในหนังสือชั้นอรรถกถาชื่อ สุมังคลวลาสินี แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้ประมวลการตีความไว้ ๓ ทรรศนะด้วยกันดังนี้
      ๑. สุกรมทฺทวนฺติ นาติชิณฺณสฺส เอกเชฎฐกสูกรส ปวตฺตมํสํ สุกรมัททวะ ได้แก่ ปวัตตะมังสะ (เนื้อที่ขายตามตลาด) ของสุกรที่เจริญเต็มที่ ซึ่งไม่หนุ่มเกินไป ไม่แก่เกินไป ทรรศนะนี้บอกว่าเป็นเนื้อหมู่ และอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื้อสุกรที่ไม่แก่เกินไป ไม่หนุ่มเกินไป นุ่มสนิทดี ปรุงอาหารอร่อย นายจุนนทะนำเนื้อชนิดนี้มาปรุงอาหารถวายพระพุทธเจ้า
      ๒. เอเก ภณนฺติ สุกรมทฺทวนฺติ ปน มุทุโอทนสฺส ปญฺจโครสยูสปาจนวินธานสฺส นาเมตํ ควปานํ นาม ปากนามนฺติ อีกมติหนึ่งว่าสุกรมัททวะ หมายถึง ชื่อแห่งวิธีการปรุงข้าวอ่อนด้วยเบญจโครส เหมือนชื่ออาหารที่ปรุงด้วยควปานะ มตินี้ตรงข้ามมติแรก คือแทนที่จะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กลับเป็นอาหารประเภทพืชไป คือข้าวหุงด้วยนมโค
      ๓. เกจิ ภณนฺติ สุกรมทฺทวํ นาม รสายนวิธี ตํ ปน รสายนยตฺตนฺติ อีกมติหนี่งว่า รสายนวิชื่อว่าสุกรมัททวะ รสายนวิธีนั้นมาในคัมภีร์รสายนศาสตร์ นายจุนทะ ตกแต่งอาหารตามคัมภีร์รสายนศาสตร์ เพื่อมิให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
      ในคัมภีร์ฝ่ายสันสกฤต (คัมภีร์มหายาน) ตีความสุกรมัททวะว่า ได้แก่เห็ดชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ไม้จันทร์ เรียกในภาษาจีนว่า "จับทับฉิ่วยื้อ" และว่าเห็ดชนิดนี้หมูชอบกิน จึงเรียกว่าสุกรมัททวะ มติฝ่ายมหายานนี้เข้ากันได้กับทรรศนะที่ ๓ ที่ว่าสุกรมัททวะ เป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง
      สรุปแล้ว สุกรมัททวะตีความกันได้ ๓ นัย คือ
      ๑. เนื้อสุกรอ่อนนุ่มที่ปรุงรสอย่างดี
      ๒. ข้าวอ่อนหุงด้วยนมโค
      ๓. ยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง (เห็ดไม้จันทน์)
      ข้อที่น่าพิจารณาสำหรับพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก็คือ ถ้าเป็นสุกรอ่อนจริงดังที่ชาวพุทธสายเถรวาทเข้าใจกัน ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้นายจุนทะถวายแก่พระสาวกรูปอื่น ให้ถวายพระองค์ผู้เดียว ที่เหลือจากเสวยรับสั่งให้นายจุนทะเอาไปฝัง และตรัวว่า สุกรมัททวะนี้พระองค์เท่านั้นเสวยแล้วจึงสามารถย่อยได้
      พิเคราห์จากข้อความนี้แสดงว่า สุกรมัททวะมิใช่อาหารธรรมดาที่ปรุงด้วยเนื้อหมูแน่นอน
      มติที่สองที่บอกว่า หมายถึง ข้าวอ่อนหุงด้วยนมโค ก็มีข้อที่น่าสงสัยอีกเช่นกัน ในพระสูตรกล่าวว่า อาหารชื่อ สุกรมัททวะนี้ย่อยยาก พระพุทธองค์เท่านั้นที่สามารถย่อยได้ ถ้าเป็นข้าวหุงด้วยนมธรรมดาไม่น่าจะย่อยยาก และที่สำคัญไม่น่าที่พระพุทธองค์จะตรัสห้ามมิให้นำไปถวายพระสาวกรูปอื่นอีก การที่มิให้นายจุนทะถวายพระรูปอื่น แสดงถึงข้อพิเศษเฉพาะของสิ่งนี้อยู่ในตัวของมัน ไม่สาธารณะทั่วไป
      มติที่สามที่บอกว่าเป็นโอสถพิเศษที่ปรุงด้วยตำรับ"รสายนศาสตร์"
      (ทางฝ่ายมหายานระบุว่าเป็นเห็ดแก่นจันทน์) ข้อนี้น่าพิจารณาและมีทางเป็นไปได้กว่าสองมติที่กล่าวมา ด้วยเหตุผลดังนี้