เดี่ยวจะเข้เพลงตับวิวาห์พระสมุทร โดยคุณครูทองดี สุจริตกุล4291

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ต.ค. 2024
  • กลวิธีการดีดจะเข้ในแบบของราชสำนักไทย เปนการแสดงออกเถิงความละเมียดละไมแลความงดงามอันประณีตยิ่ง เปนภาพลักษณ์ของสังคมไทยแต่บุราณที่คงความเปนเอกลักษณ์อันน่ายินดี คุณครูทองดี สุจริตกุล คือคุณครูต้นแบบท่านหนึ่งแห่งราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ได้ดำรงกลวิธีอันเปนแบบแผนสืบต่อมาจนเถิงปรัตยุบัน ทั้งท่วงท่าแลลีลาการบรรเลง ล้วนเปนงานประณีตศิลป์ที่เลอค่ายิ่งแลเปนที่ประจักษ์แก่วงการดนตรีไทยมาร่วมร้อยปี
    คุณครูทองดี สุจริตกุล เดิมเปนผู้บรรเลงโทน - รำมะนา ร่วมกับวงเครื่องสายประสมเปียโนคณะนารีศรีสุมิตร ในความอำนวยการของคุณพระสุจริตสุดา(เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยได้เรียนซออู้กับคุณครูชุ่ม กมลวาทิน เรียนดีดจะเข้กับคุณครูหลวงว่องจะเข้รับ (โต กมลวาทิน) แลพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ตั้งแต่บทเพลงขั้นพื้นฐานไปจนเถิงเพลงเดี่ยวขั้นสูง อาทิ เพลงกราวใน เพลงแขกมอญ สามชั้น เพลงจีนขิมใหญ่ เพลงจีนแสโศกาแลเพลงลาวแพน เปนต้น น้ำเสียงจะเข้ของคุณครูทองดีนั้น มีความพลิ้วไหวละเมียดละไมยิ่ง จนมีคำกล่าวว่า "จะเข้บนกลีบกุหลาบ" โดยบรรดานิสิตภาควิชาสารัตถะศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ท่วงท่าการนั่ง การวางมือ การใช้นิ้ว การพันไม้ดีดจะเข้ของคุณครูทองดี ล้วนเปนระบบระเบียบที่มีขั้นตอนละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งรวมความออกมาเปนความงดงามแห่งราชสำนักอย่างไร้ที่ติ จึงเปนครูจะเข้ท่านหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับความเคารพยกย่องแลให้เกียรติท่านมาตั้งแต่อดีตจนเถิงปรัตยุบัน
    บทเพลงตับวิวาห์พระสมุทรชุดนี้ ประกอบด้วยเพลงไทยไพเราะอัตราจังหวะสองชั้นจำนวน ๓ บทเพลงด้วยกัน คือเพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงบังใบแลเพลงแขกสาหร่าย เปนบทเพลงที่เปรียบเสมือนเปนทิพยสังคีตแห่งราชสำนักรัชกาลที่ ๖ แลวงเครื่องสายนารีศรีสุมิตร ที่ได้เคยบรรเลงแลขับร้องบันทึกแผ่นเสียงไว้เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๗ โดยครั้งนั้นคุณครูทองดีได้เปนผู้บรรเลงจะเข้ ซึ่งน้ำเสียงนั้นยังคงปรากฏชัดอยู่ในแผ่นเสียงดังกล่าว สำหรับการบันทึกเสียงครั้งนี้ คุณครูทองดีได้เดี่ยวจะเข้ไว้เพียงผู้เดียว ณ ห้องบันทึกเสียงสิทธิถาวรการดนตรี อำนวยการบันทึกเสียงโดยคุณครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ เปนผลงานเพลงประวัติศาสตร์สำหรับการบรรเลงจะเข้อีกฉบับหนึ่ง ที่ควรค่าแก่การฟังแลเผยแพร่ไว้ เพื่อสืบทอดความงดงามแห่งสุนทรียศาสตร์แขนงนี้ไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย.
    หอสมุดแผ่นเสียงเพลงไทยวริศ อัศวะไพฑูรย์4291
    ภาพประกอบบทเพลง หน้าปกหนังสือที่รฦกงานพระราชทานเพลิงศพคุณครูทองดี สุจริตกุล

ความคิดเห็น • 4

  • @namchokthamano9677
    @namchokthamano9677 หลายเดือนก่อน

    3:47

  • @surecomputer9539
    @surecomputer9539 3 ปีที่แล้ว +1

    ทางเก๋ไก๋มากครับ

    • @varisautsawapaitoon4591
      @varisautsawapaitoon4591  3 ปีที่แล้ว +2

      ใช่ครับ ฟังแล้วรู้สึกเป็นความรักที่กระจุ๋มกระจิ๋ม มีลูกเล่นชั้นเชิงที่ไม่โลดโผนโครมคราม สมเปนผู้ดีทุกกระเบียดนิ้วเลยเทียวล่ะครับ.

    • @naphopvanotchasan987
      @naphopvanotchasan987 ปีที่แล้ว

      ทางนี้..เวลาเล่นรวมวง เสียงจะเข้จะลอยออกมา..เป็นเอกลักษณ์เลยทีเดียว