ท่ารำฟ้อนเงี้ยวสำหรับเด็ก โดยครูไผ่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 ก.ย. 2021
  • ประวัติความเป็นมา
    ฟ้อนเงี้ยว เป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เงี้ยว” มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย นางลมุล ยมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์กรมศิลปากรได้มีโอกาสไปสอนละครที่คุ้มเจ้าหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการฟ้อนเงี้ยวเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า เงี้ยวปนเมือง ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางหลง บุญจูหลงเป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชการที่ 5 ต่อมานางลมุล ยมคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนนาฏศิลป์ ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ (ในขณะนั้นเรียกว่า “โรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์”) และได้นำลีลาท่ารำฟ้อนเงี้ยวมาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้งดงามตามแบบฉบับนาฏศิลป์ไทย บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2478 บทร้องของฟ้อนเงี้ยวมีลักษณะเป็นบทอวยพร คือ อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครองอวยชัยให้พรเป็นสวัสดิ์มงคลต่อไป
    เนื้อเพลง
    ขออวยชัย พุทธิไกรช่วยก้ำ
    ทรงคุณเลิศล้ำ ไปทุกทั่วตัวตน
    จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านนาขอเทวาช่วยรักษาเถิด
    ขอฮื่ออยู่สุขา โดยธรรมมานุภาพเจ้า
    เทพดาช่วยเฮา ฮื้อเป็นมิ่งมงคล
    สังฆานุภาพเจ้า ช่วยแนะนำผลสรรพมิ่งทั่วไปเนอ
    มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดลช่วยค้ำจิม

ความคิดเห็น •