ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
"เจ้าพญาไท" "พระยาไทย" เป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อเฉพาะสถานที่ ดังนั้นวัดไหนจะเป็นวัดเจ้าพญาไท ขึ้นกับว่าเจ้าอาวาสวัดไหนเป็นประมุขคณะสงฆ์ เหมือน "วัดพระยาคลัง" ก็ขึ้นกับว่าช่วงไหนใครเป็นโกษาธิบดี ส่วนที่ว่าไม่มีวัดใหญ่ชัยมงคลสมัยอยุธยานั้นไม่ถูกครับ เพราะเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุถึงชื่อวัดเจ้าพญาไทกับวัดใหญ่ไชยมงคล เป็น 2 ที่ในพารากราฟเดียวกัน แสดงว่าเป็นคนละวัดกัน และมีวัดใหญ่ไชยมงคลสมัยอยุธยา อ้อหลักฐานอีกชิ้นคือพระราชพงศาวดารเหนือต้นฉบับเดิมสมัยพระนารายณ์ ก็มีวัดใหญ่ไชยมงคล ส่วนวัดป่าแก้ว เป็นคำเรียกวัดในฝ่ายอรัญญิก จึงมีวัดป่าแก้วเยอะ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทิศตะวันตก ขึ้นกับว่าวัดนั้นๆอยู่สังกัดในการปกครองของคณะสงฆ์ฝ่ายไหน ในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ฯ วัดป่าแก้วมีทุกทิศ แม้ในแต่เกาะเมืองก็มี ส่วนที่ว่าวัดนี้คือวัดป่าแก้วที่สร้างสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 พิจารณาง่ายๆ คือที่นี่ไม่ใช่ปท่าคูจามหรือเวียงเล็กที่เคยประทับอยู่ก่อน 1893 ตามเกณฑ์นี้วัดแรกที่นอนมาเลยคือวัดแก้วฟ้า (ร้าง) ครับ
คิดถึงอาจารย์อยู่เลยครับ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก จริงๆ ประเด็นชื่อวัดใหญ่ชัยมงคลในเอกสารคำให้การฯ ที่แยกจากวัดเจ้าพระยาไท ผมก็มีพูดถึง แต่ด้วยความที่ผมไม่แน่ใจในข้อมูลนี้จริงๆ เลยขอตัดออกไป มานึกอีกทีก็เสียดายเหมือนกันครับ ทีนี้ ประเด็นเรื่องวัดป่าแก้วนี่เป็นไปได้ไหมครับว่ามันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธรรมเนียมกัยใหม่ กล่าวคือช่วงยุคต้นยังใช้ธรรมเนียมป่าแก้วในเขตอรัญญิกทิศตะวันตกของพระนคร แล้วมาเปลี่ยนเป็นคณะป่าแก้วที่แยกย่อยออกไปหลายๆ วัดกันในช่วงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังกรุงแตก 2112 ขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยครับ ^^
@@HiddenAyutthaya ยากที่จะรู้ได้ เพราะอย่างวัดธรรมิกราช วัดวรเชษฐ์ ที่มันก็มีอะไรเก่าๆ อยู่เกาะเมืองนี่มันก็มีมาตั้งแต่อยุธยาต้น ช่วงที่ตะวันตกเข้ามาและมีทำแผนที่ ช่วงนั้นวัดเจ้าพญาไทก็คงเป็นวัดใหญ่ชัยมงคลนี่แหล่ะ แต่ถึงแม้จะมีชื่อวัดใหญ่ไชยมงคล ก็ไม่ใช่สร้างเพื่อฉลองชัยยุทธหัตถีของพระนเรศวรอยู่ดี
แต่เอาจริงๆ ส่วนตัวผมยังไม่เชื่อว่าชื่อเจ้าพระยาไท จะเคลื่อนตามประมุขคณะสงฆ์ คำว่าป่าแก้วนี่ล่ะที่เคลื่อนไปวัดอื่นๆ ได้
@@HiddenAyutthaya งั้นก็ลำบากหน่อยนะ เพราะสมัยอยุธยา เจ้าอาวาสวัดใหญ่ไชยมงคลไม่ได้เป็น "เจ้าพญาไท" (เจ้าพระยาไทย) ตลอด แม้แต่สมเด็จพระพนรัตน์เองก็ไม่ใช่ ไม่เชื่อผมก็ดูในเล่มฟื้นฝอยฯ ของพิเศษก็ได้ ในนั้นแกก็เสนอว่าเจ้าพญาไทมันเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อเฉพาะสถานที่ หรือถ้าจะดูเอกสาร การที่มีชื่อวัดพญาไทกับวัดใหญ่ไชยมงคลเป็นคนละที่ มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า พระพนรัตน์วัดใหญ่ฯไม่ใช่เจ้าพญาไท ส่วนที่ว่าแผนที่ตวต.ระบุตำแหน่งวัดตรงกับวัดใหญ่ มันก็สะท้อนความเข้าใจผิดของคนบันทึกว่า เจ้าพญาไทเป็นชื่อเฉพาะเหมือนอย่างที่คุณเชื่อนั่นแหล่ะ มันมีหลายชื่อครับที่ไม่ใช่นามเฉพาะ แต่คนเข้าใจไปว่าเป็นนามเฉพาะ อย่างนาม "วัดพระยาพระคลัง" ก็เป็นอีกตัวอย่าง ธรรมเนียมการสร้างวัดอยุธยานี่คือวัดของบุคคล ของวงศ์ตระกูล ซึ่งบุคคลวงศ์ตระกูล มันมีการเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ตลอด พอได้เป็นโกษาธิบดี วัดที่สร้างก็กลายเป็นวัดพระยาพระคลัง พระก็เหมือนกัน พอเป็นสังฆราชา วัดที่ประทับก็กลายเป็นวัดเจ้าพญาไท พอเปลี่ยนรัชกาล เจ้าพญาไทเป็นองค์อื่น วัดเจ้าพญาไทก็ไปเป็นชื่อที่องค์ใหม่นั้นเป็น ไม่มีวัดเจ้าพญาไท ไม่มีวัดป่าแก้ว ที่หมายถึงวัดเดียวกันตั้งแต่สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 จนสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยสังคมวัฒนธรรมอยุธยามันเป็นแบบนั้นครับ มันเลยดูแต่เอกสาร+รูปแบบศิลปะไม่ได้
แต่ในส่วนอื่นคลิปนี้ทำได้ดีนะ
วัดใหญ่ หรือแม้แต่เจดีย์ใหญ่ตอนนี้ แตกต่างจากเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วมากครับ ภายในที่บอกว่าเห็นเป็นซุ้มกลีบบัว ศิลปะแบบเปอร์เซีย เอาจริงๆ เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วเป็นแบบนี้รึเปล่าก็ไม่รู้ น่าจะไม่ใช่แบบนี้ด้วย เจดีย์วัดใหญ่ผ่านการบูรณะจากเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วเยอะมากๆ ครับ ผมเคยไปเดินที่วัดนี้ตั้งแต่ 4-5 ชวบ จนตอนนี้ 40 จะ 50 ตอนนั้นคนละเรื่องกับตอนนี้เลย แตกต่างจากตอนนี้มากกกกกกก แล้วคิดดูว่า ก่อนที่ผมจะเกิดจะต่างจากตอนนี้ขนาดไหน ขนาดเมื่อย 40 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ผมไปเดิน เค้ายังแทบไม่ให้คนขึ้นไปบนเจดีย์แบบเดี๋ยวนี้เลย
ขอบคุณข้อมูลอันมีค่านี้ครับ :)
❤🙏แต่ก่อนนี้บ้านผมอยู่ตรงข้ามองค์เจดีย์แค่มีถนนกั้นกลางครับทางฝั่งตะวันตก(ฝั่งเดียวกับสายทองแดงล่อฟ้าตรงกันเป๊ะตอนเช้าเงาเจดีย์ชี้ตรงบ้านผมเป๊ะ)เสียดายที่ปัจจุบันขายบ้านย้ายถิ่นฐานแล้ว บ้านอยู่ติดกับบ้าน 3 ชั้นครับ อยู่ตั้งแต่สมัยที่องค์เจดีย์มีแต่อิฐ ยอดเจดีย์ก็หักด้วนตรงโพรงกรุก็เป็นที่อาศัยของค้างคาว รอบนอกมีแต่นกพิราบ เคยเห็นฟ้าผ่าตรงยอดที่ด้วนๆกับตานกตายเกลื่อน ส่วนประวัติ ก็มีเขียนไว้หลายตำราอย่างที่รู้ๆครับ ตอนนั้นเวลามีงานทอดกฐิณ แม่ผมจะไปทำอาหารเลี้ยงที่โรงครัว แม่ผมทำหมี่กรอบเก่งมากอร่อย ตอนเด็กน้อยถึงวันพระแม่จะพาไปทำบุญตลอด หลวงตาเปลื้องเป็นเจ้าอาวาสสมัยนั้น ผมอยู่จนกระทั่งอายุ 20 ปลายถึงได้ไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด แล้วก็แทบจะไม่ได้กลับไปเลย แม่ผมก็เลยตัดสินใจขายแล้วย้ายมาอยู่สุรินทร์ จนปัจจุบันครับ เสียดายมาก แต่ความเจริญก็ทำให้ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปหมด แต่ภาพจำยังคงอยู่ไม่ลืมเลือน🙏❤
เป็นความทรงจำที่ดีจริงๆ ครับ เหมือนผมที่มีความทรงจำกับบ้านโปรตุเกส ที่ปู่กับพ่อผมเคยอยู่มาครับ
เคยไปห่มผ้าเจดีย์องค์เล็กครับ ผมไปอยุธยาทุกสัปดาห์ไปร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์ ขอบคุณสำหรับ EP. นี้ ค่อยหายคิดถึงหน่อยครับ
ขอบคุณเช่นกันครับ
เสียงหล่อ หน้าตาก็หล่อเข้มค่ะ😊😊
ขอบคุณครับ
ผมล่ะอย่าชอบเลย ชื่นชม มากๆ นั้งลุ่นอยู่ว่า จะพูดจะพูดถึง การก่อซุ่มโค้ง ในตัวเจดีย์ รึป่าว ผมล่ะชื่นชมจริงๆ หาข้อมูลได้ดี นำเสนอได้ดี เป็นกำลังใจ ให้มากๆเลยครับ ทำต่อไปน่ะครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ😄
ประวัติศาสตร์ถูกชำระแล้ว เห็นแต่ความจริง สาธุ❤❤❤❤
ขอบคุณครับ😄
ช่องคุณภาพ รอนานหน่อยแต่คุ้มค่ะ ทำมาอีกเยอะๆ นะคะ ติดตามตลอดค่ะ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ช่วงนี้งานประจำเยอะมากครับ อาจมีเวลาทำคลิปน้อยลง แต่จะพยายามหาเวลาทำมาให้ชมกันครับ 😄
เยี่ยมมากครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ 😄
ขอบคุณมากๆ สำหรับคลิปดีๆมีประโยชน์มีคุณค่าทางจิตใจครับผม
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ :)
มาตามหาออเจ้าค่ะ😊
แล้วเจอไหมครับ ^^
ดูคลิปนี้แล้วได้ความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับวัดใหญ่ฯ ดีมากเลยครับ ชอบครับ
ขอบคุณครับผม😄
ถ้าจากที่เคยอ่านหนังสือธรรมของหลวงพ่อจรัญฯ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ระบุไว้ว่า เมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
ขอบคุณค่ะ🙏
ขอบคุณมากครับ สมกับที่ผมรอคอยมาหลายวัน
สุดยอดมากๆครับ
ขอบคุณครับ :)
คลิปที่ผมรอคอย มาถึงแล้ว ขอบคุณมากครับพี่🙏🙏🙏👍👍👍
ขอบคุณเช่นกันนะครับ ^^
ผมวนดูคลิปนี้เกือบร้อยครั้ง ชอบจริงๆครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ตอนนี้ผมงานเยอะมาก ขอเคลียร์ก่อนนะครับ😅
@@HiddenAyutthaya ครับพี่ทำงานหลักก่อนครับ ถ้าว่างจริงๆมำคลิป ตำหนักกำมะเลียนหน่อยครับ 🙏🙏🙏
ข้อมูลอ้างอิงดีมากครับ
ขอบคุณครับ🙂
ผมชอบประวัติศาสตร์อยุธยามาก ไปมาเกือบทุกวัด แต่ผมพลาดวันนี้ได้ยังไงไม่รู้ เลยมาหาข้อมูลจากพี่ครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ^^
สนุกครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย
ขอบคุณคุณหอยมากๆ เลยครับ ^^
เย่ ดีใจครับรอคลิปดีๆฮะ😊
ผมไปมาหลายครั้งเเล้วคับวัดนี้
ครับผม🙂
ต่างชาติ..ส่งจารชนเข้ามาทำแผ่นที่..ทุกส่วน ทุกบริเวณ..เอาไว้หมด..ซึ่งตอนนี้ พม่าคงทำเข่นนนี้ไว้หมดเช่นกัน...จาด น้ัน กรีฑาพล.เข้า ตี ทีละเมือง...แล้วทะลวง ปล้นเข้าทีละจุด..
ก็มีความเป็นไปได้ครับ
ยอดเยี่ยมครับ
สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณครับผม 😄
มาแล้ว ขอบคุณครับ
ขอบคุณเช่นกันครับผม ^^
ขอบคุณมากครับพี่ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเยอะเลย EP นี้ยังสนุกเหมือนเคย แถมยังได้รู้ข้อมูลจากหลายข้อสันนิษฐานเลยครับ ^^
ขอบคุณเช่นกันครับ ^^
ชอบการตัดคลิปเเล้วก็การนำเสนอเเบบนี้มากค่ะไล่วนดูคลิปเก่าๆช่องนี้วนไปพอมีคลิปใหม่รีบมาดูทันทีนำเสนอเเละเล่าเรื่องได้น่าสนใจมากๆ เคยไปวัดใหญ่ชัยมงคล1ครั้งอยากไปอีกจังเป็นวัดที่สวยมากๆและเต่าก็เยอะมากเช่นกัน😂
ขอบคุณมากๆ เลยครับ
👍👍👍👍
ขอบคุณครับ คุ้มที่รอและหลายๆอย่างแม้จะรู้แต่นำเสนอได้ดีครับ
ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอดครับ :)
🙏
สวัสดีครับ ❤❤❤❤
สวัสดีครับผม🙂
อ่านพบข้อมูลว่า พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา ข้อสังเกตคือท่านมีชื่อที่ชาวเมืองเรียกว่า ”เจ้าไท“ สมมติฐาน...จึงเป็นไปได้หรือไม่ครับ ว่าเจ้าไทหรือวัดใหญ่ชัยมงคลจะสร้างขึ้นในยุคนี้และชื่อวัดตามชื่อสมเด็จพระสังฆราช พระองค์นี้...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ พอจะมีเอกสารอ้างอิงข้อมูลนี้ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ
@@HiddenAyutthaya อ่านพบจากนี้ครับ "ตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับของพระราหุลเถรเจ้าวัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับของพระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)"
ช่วงต้นมีระบุว่า "วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓-๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว" ก็มีชื่อที่เกี่ยวข้องกันอยู่เช่นกัน ส่วนตัวไม่ทราบว่าข้อมูลตามตำนานนี้แน่ชัดเพียงไรครับ อ่านเป็นข้อมูลประกอบดู แต่ดูจะระบุเป็นวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดป่าแก้วเรื่อยมาแต่แห่งเดียว ส่วนตัวเห็นตาสมมติฐานในคลิปว่าอาจจะมีการเปลี่ยนวัดไปบ้างในแต่ละช่วง
@@duly141 ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ส่วนตัว ถ้าระบุชื่อว่า วัดชายทุ่ง ลักษณะของชื่อต้องกันกับวัดวรเชษฐ์มากกว่าวัดเจ้าพระยาไทมากๆ เพราะวัดเจ้าพระยาไท ตั้งบนพื้นที่ชุมชนใหญ่สมัยอโยธยา ส่วนวัดป่าแก้ว ที่มีอีกชื่อว่า ชายทุ่ง ควรอยู่ทุ่งที่อยู่ห่างตัวพระนครออกไป ซึ่งหมายถึงเขตอรัญญิกตามคติเมืองเหนือ ภูมิสถานนี้ก็จะต้องกับวัดวรเชษฐ์นอก แต่อย่างที่บอกว่า วัดวรเชษฐ์นอกสมัยที่เป็นวัดป่าแก้ว พื้นที่วัดยังเล็กอยู่ คือส่วนที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังกับพระวิหาร จะมาขยายพื้นที่ส่วนอื่นๆ ก็ภายหลัง และวัดป่าแก้วเปลี่ยนคติใหม่ไปตั้งอยู่ใกล้พระันครมากขึ้น และขึ้นอยู่กับว่าพระสังฆราชคณะป่าแก้วจะไปสถิต ณ วัดใด ด้วยครับ
@@duly141เป็นวัดแก้วฟ้าป่าแก้วครับ คือวัดแก้วฟ้า(ร้าง)ในปัจจุบัน อยู่ริมคลองตะเคียน ทางด้านทิศใต้ของวัดท่าหอย ไม่ใช่วัดใหญ่ชัยมงคลครับ
ทองคือนำ้ไทคื อดินรว มกันของชือ
ขออภัยครับ ผมไม่เข้าใจที่สื่อมาเลยครับ ^^
มีความเป็นไปได้ จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่อ้างมาครับ
อาจยังมีแง่มุมอื่นๆ ที่ยังซ่อนเร้นเกี่ยวกับหลายๆ ประเด็นที่พูดถึงวัดนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมในคอมเม้นอาจารย์กำพล จำปาพันธ์ ที่ผมปักหมุดไว้ได้เลยครับ :)
ข้อความที่เห็นในคลิป นาทีที่ 6:58 .. "Tiam pia tai" มันอ่านว่า " เทียม-เพีย-ไท" !! ไม่ใช่เหรอคับ
สำเนียง อักขรของ ดัตช์เขาครับ
👍👍👍🙏🙏🙏😍😍😍
มีความเป็นไปได้มั้ยครับว่า ศิลปะการสร้างและเทคโนโลยีการสร้าง ประตูหน้าต่างแบบซุ้มโค้ง เจดีย์เป็นโพรง มีความแพร่หลายอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ เช่น อานันทวิหาร ที่พุกาม หรือปราสาทหินนครวัด ซึ่งล้วนมีเทคโนโลยีการสร้างแบบถ่ายเทน้ำหนัก มาก่อนการมาของเปอร์เซีย ในช่วงสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และพระนารายณ์ คือ พอมีการตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเห็นสิ่งก่อสร้างในอยุธยา เป็นซุ้มโค้งเมื่อไหร่ สิ่งก่อสร้างนั้นจะไม่เก่าไปกว่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผมก็เลยเกิดเอะใจขึ้นมาทุกที
ใช่ครับ เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก ให้ภายในเจดีย์หรือพระปรางค์เป็นห้องขนาดใหญ่มีมานานตั้งแต่สมัยพุกาม - พระนครหลวงกัมพูชา แล้วครับ เทคนิคเปอร์เซียที่เข้ามาในช่วงหลังคือการคลี่คลายของเทคนิควิศวกรรมที่ทำให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนิยมใช้ในงานบูรณะของที่มีมาแต่เดิมนั่นเองครับ
กระจ่างไปอีกเปราะนึงครับ บางทีความคิดของเราก็อยากมีใครสักคนมาคอนเฟิร์มให้มั่นใจ มีอะไรสงสัย จะสอบถามอีกนะครับ ติดตามตลอดครับพี่ 😊
@@siwawongrattanawichain6356 ขอบคุณครับ มีอะไรก็แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ตลอดครับผม ^^
มาแล้วสิ่งที่รอคอยความรู้ดีๆขอบคุณมากที่ให้ความรู้ครับ
เนื้อหาคุณภาพ
ขอบคุณครับผม^^
ว้าวววววว 🙏😊
องค์เจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล แอบคล้ายสภูปที่ศรีเทพ นะครับ แต่ทำไมเจดีย์ใหญ่ถึงไม่มีย่อมุมเลยครับ หากเป็นศิลปะอยุทธยาต้องมีย่อมุมไม้12นะครับ🇹🇭🇹🇭🇹🇭
มันเป็นรูปแบบของศิลปะในช่วงหนึ่งที่นิยมกันในช่วงราชวงศ์สุพรรณภูมิ สายที่ได้ไปครองเมืองสรรคบุรี (ในชัยนาท)
ขอบคุณครับผม :)
ขอบคุณคับที่ทำคลิปดีไมีความรู้จากที่ไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์สมัยเก่าดูคลิปอาจารย์แล้วได้ความรู้คับ
ขอบคุณที่ติดตามเช่นกันครับ :)
ผมชอบดูคลิบแบบนี้ครับดูแล้วเข้าใจง่ายขอบคุณมากๆที่ให้ความรู้สุดยอด
ขอบคุณครับ^^
ชอบครับติดตามทุกตอนที่ทำได้เปิดอดีตของบ้านเรา
พูดถึงพระเจดีย์ว่ามันอย่างนั้นมันอย่างนี้ไม่ค่อยเหมาะนะครับเจดีย์เรียกเป็นองค์ครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ🙂
เขมรเคยหนี้ภัยสงครามมายู่เมืองไทยในสมัยนั้นดว้นเหรอ
เป็นเรื่องปกติในสมัยโบราณครับ แม้แต่คนอยุธยาเองยังเคยลี้ภัยไปพึ่งพระเจ้ากรุงอังวะเลยครับ
ผมไปมา3รอบแล้วครับไปแล้วรู้สึกสบายใจ
ขอบคุณครับผม ^^
ถูกต้องค่ะวัดป่าแก้วนีจะมาถึงวัดต้องพายเรืิอมา
ใช่ครับ มีคลองเชื่อมมาถึงวัดครับ
"เจ้าพญาไท" "พระยาไทย" เป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อเฉพาะสถานที่ ดังนั้นวัดไหนจะเป็นวัดเจ้าพญาไท ขึ้นกับว่าเจ้าอาวาสวัดไหนเป็นประมุขคณะสงฆ์ เหมือน "วัดพระยาคลัง" ก็ขึ้นกับว่าช่วงไหนใครเป็นโกษาธิบดี ส่วนที่ว่าไม่มีวัดใหญ่ชัยมงคลสมัยอยุธยานั้นไม่ถูกครับ เพราะเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุถึงชื่อวัดเจ้าพญาไทกับวัดใหญ่ไชยมงคล เป็น 2 ที่ในพารากราฟเดียวกัน แสดงว่าเป็นคนละวัดกัน และมีวัดใหญ่ไชยมงคลสมัยอยุธยา อ้อหลักฐานอีกชิ้นคือพระราชพงศาวดารเหนือต้นฉบับเดิมสมัยพระนารายณ์ ก็มีวัดใหญ่ไชยมงคล ส่วนวัดป่าแก้ว เป็นคำเรียกวัดในฝ่ายอรัญญิก จึงมีวัดป่าแก้วเยอะ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทิศตะวันตก ขึ้นกับว่าวัดนั้นๆอยู่สังกัดในการปกครองของคณะสงฆ์ฝ่ายไหน ในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ฯ วัดป่าแก้วมีทุกทิศ แม้ในแต่เกาะเมืองก็มี ส่วนที่ว่าวัดนี้คือวัดป่าแก้วที่สร้างสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 พิจารณาง่ายๆ คือที่นี่ไม่ใช่ปท่าคูจามหรือเวียงเล็กที่เคยประทับอยู่ก่อน 1893 ตามเกณฑ์นี้วัดแรกที่นอนมาเลยคือวัดแก้วฟ้า (ร้าง) ครับ
คิดถึงอาจารย์อยู่เลยครับ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก จริงๆ ประเด็นชื่อวัดใหญ่ชัยมงคลในเอกสารคำให้การฯ ที่แยกจากวัดเจ้าพระยาไท ผมก็มีพูดถึง แต่ด้วยความที่ผมไม่แน่ใจในข้อมูลนี้จริงๆ เลยขอตัดออกไป มานึกอีกทีก็เสียดายเหมือนกันครับ ทีนี้ ประเด็นเรื่องวัดป่าแก้วนี่เป็นไปได้ไหมครับว่ามันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธรรมเนียมกัยใหม่ กล่าวคือช่วงยุคต้นยังใช้ธรรมเนียมป่าแก้วในเขตอรัญญิกทิศตะวันตกของพระนคร แล้วมาเปลี่ยนเป็นคณะป่าแก้วที่แยกย่อยออกไปหลายๆ วัดกันในช่วงฟื้นฟูบ้านเมืองหลังกรุงแตก 2112
ขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยครับ ^^
@@HiddenAyutthaya ยากที่จะรู้ได้ เพราะอย่างวัดธรรมิกราช วัดวรเชษฐ์ ที่มันก็มีอะไรเก่าๆ อยู่เกาะเมืองนี่มันก็มีมาตั้งแต่อยุธยาต้น ช่วงที่ตะวันตกเข้ามาและมีทำแผนที่ ช่วงนั้นวัดเจ้าพญาไทก็คงเป็นวัดใหญ่ชัยมงคลนี่แหล่ะ แต่ถึงแม้จะมีชื่อวัดใหญ่ไชยมงคล ก็ไม่ใช่สร้างเพื่อฉลองชัยยุทธหัตถีของพระนเรศวรอยู่ดี
แต่เอาจริงๆ ส่วนตัวผมยังไม่เชื่อว่าชื่อเจ้าพระยาไท จะเคลื่อนตามประมุขคณะสงฆ์ คำว่าป่าแก้วนี่ล่ะที่เคลื่อนไปวัดอื่นๆ ได้
@@HiddenAyutthaya งั้นก็ลำบากหน่อยนะ เพราะสมัยอยุธยา เจ้าอาวาสวัดใหญ่ไชยมงคลไม่ได้เป็น "เจ้าพญาไท" (เจ้าพระยาไทย) ตลอด แม้แต่สมเด็จพระพนรัตน์เองก็ไม่ใช่ ไม่เชื่อผมก็ดูในเล่มฟื้นฝอยฯ ของพิเศษก็ได้ ในนั้นแกก็เสนอว่าเจ้าพญาไทมันเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อเฉพาะสถานที่ หรือถ้าจะดูเอกสาร การที่มีชื่อวัดพญาไทกับวัดใหญ่ไชยมงคลเป็นคนละที่ มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า พระพนรัตน์วัดใหญ่ฯไม่ใช่เจ้าพญาไท ส่วนที่ว่าแผนที่ตวต.ระบุตำแหน่งวัดตรงกับวัดใหญ่ มันก็สะท้อนความเข้าใจผิดของคนบันทึกว่า เจ้าพญาไทเป็นชื่อเฉพาะเหมือนอย่างที่คุณเชื่อนั่นแหล่ะ มันมีหลายชื่อครับที่ไม่ใช่นามเฉพาะ แต่คนเข้าใจไปว่าเป็นนามเฉพาะ อย่างนาม "วัดพระยาพระคลัง" ก็เป็นอีกตัวอย่าง ธรรมเนียมการสร้างวัดอยุธยานี่คือวัดของบุคคล ของวงศ์ตระกูล ซึ่งบุคคลวงศ์ตระกูล มันมีการเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ตลอด พอได้เป็นโกษาธิบดี วัดที่สร้างก็กลายเป็นวัดพระยาพระคลัง พระก็เหมือนกัน พอเป็นสังฆราชา วัดที่ประทับก็กลายเป็นวัดเจ้าพญาไท พอเปลี่ยนรัชกาล เจ้าพญาไทเป็นองค์อื่น วัดเจ้าพญาไทก็ไปเป็นชื่อที่องค์ใหม่นั้นเป็น ไม่มีวัดเจ้าพญาไท ไม่มีวัดป่าแก้ว ที่หมายถึงวัดเดียวกันตั้งแต่สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 จนสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยสังคมวัฒนธรรมอยุธยามันเป็นแบบนั้นครับ มันเลยดูแต่เอกสาร+รูปแบบศิลปะไม่ได้
แต่ในส่วนอื่นคลิปนี้ทำได้ดีนะ
วัดใหญ่ หรือแม้แต่เจดีย์ใหญ่ตอนนี้ แตกต่างจากเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วมากครับ ภายในที่บอกว่าเห็นเป็นซุ้มกลีบบัว ศิลปะแบบเปอร์เซีย เอาจริงๆ เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วเป็นแบบนี้รึเปล่าก็ไม่รู้ น่าจะไม่ใช่แบบนี้ด้วย เจดีย์วัดใหญ่ผ่านการบูรณะจากเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วเยอะมากๆ ครับ ผมเคยไปเดินที่วัดนี้ตั้งแต่ 4-5 ชวบ จนตอนนี้ 40 จะ 50 ตอนนั้นคนละเรื่องกับตอนนี้เลย แตกต่างจากตอนนี้มากกกกกกก แล้วคิดดูว่า ก่อนที่ผมจะเกิดจะต่างจากตอนนี้ขนาดไหน ขนาดเมื่อย 40 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ผมไปเดิน เค้ายังแทบไม่ให้คนขึ้นไปบนเจดีย์แบบเดี๋ยวนี้เลย
ขอบคุณข้อมูลอันมีค่านี้ครับ :)
❤🙏แต่ก่อนนี้บ้านผมอยู่ตรงข้ามองค์เจดีย์แค่มีถนนกั้นกลางครับทางฝั่งตะวันตก(ฝั่งเดียวกับสายทองแดงล่อฟ้าตรงกันเป๊ะตอนเช้าเงาเจดีย์ชี้ตรงบ้านผมเป๊ะ)เสียดายที่ปัจจุบันขายบ้านย้ายถิ่นฐานแล้ว บ้านอยู่ติดกับบ้าน 3 ชั้นครับ อยู่ตั้งแต่สมัยที่องค์เจดีย์มีแต่อิฐ ยอดเจดีย์ก็หักด้วนตรงโพรงกรุก็เป็นที่อาศัยของค้างคาว รอบนอกมีแต่นกพิราบ เคยเห็นฟ้าผ่าตรงยอดที่ด้วนๆกับตานกตายเกลื่อน ส่วนประวัติ ก็มีเขียนไว้หลายตำราอย่างที่รู้ๆครับ ตอนนั้นเวลามีงานทอดกฐิณ แม่ผมจะไปทำอาหารเลี้ยงที่โรงครัว แม่ผมทำหมี่กรอบเก่งมากอร่อย ตอนเด็กน้อยถึงวันพระแม่จะพาไปทำบุญตลอด หลวงตาเปลื้องเป็นเจ้าอาวาสสมัยนั้น
ผมอยู่จนกระทั่งอายุ 20 ปลายถึงได้ไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด แล้วก็แทบจะไม่ได้กลับไปเลย แม่ผมก็เลยตัดสินใจขายแล้วย้ายมาอยู่สุรินทร์ จนปัจจุบันครับ เสียดายมาก แต่ความเจริญก็ทำให้ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปหมด แต่ภาพจำยังคงอยู่ไม่ลืมเลือน🙏❤
เป็นความทรงจำที่ดีจริงๆ ครับ เหมือนผมที่มีความทรงจำกับบ้านโปรตุเกส ที่ปู่กับพ่อผมเคยอยู่มาครับ
เคยไปห่มผ้าเจดีย์องค์เล็กครับ ผมไปอยุธยาทุกสัปดาห์
ไปร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์ ขอบคุณสำหรับ EP. นี้ ค่อยหายคิดถึงหน่อยครับ
ขอบคุณเช่นกันครับ
เสียงหล่อ หน้าตาก็หล่อเข้มค่ะ😊😊
ขอบคุณครับ
ผมล่ะอย่าชอบเลย ชื่นชม มากๆ นั้งลุ่นอยู่ว่า จะพูดจะพูดถึง การก่อซุ่มโค้ง ในตัวเจดีย์ รึป่าว ผมล่ะชื่นชมจริงๆ หาข้อมูลได้ดี นำเสนอได้ดี เป็นกำลังใจ ให้มากๆเลยครับ ทำต่อไปน่ะครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ😄
ประวัติศาสตร์ถูกชำระแล้ว เห็นแต่ความจริง สาธุ❤❤❤❤
ขอบคุณครับ😄
ช่องคุณภาพ รอนานหน่อยแต่คุ้มค่ะ ทำมาอีกเยอะๆ นะคะ ติดตามตลอดค่ะ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ช่วงนี้งานประจำเยอะมากครับ อาจมีเวลาทำคลิปน้อยลง แต่จะพยายามหาเวลาทำมาให้ชมกันครับ 😄
เยี่ยมมากครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ 😄
ขอบคุณมากๆ สำหรับคลิปดีๆมีประโยชน์มีคุณค่าทางจิตใจครับผม
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ :)
มาตามหาออเจ้าค่ะ😊
แล้วเจอไหมครับ ^^
ดูคลิปนี้แล้วได้ความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับวัดใหญ่ฯ ดีมากเลยครับ ชอบครับ
ขอบคุณครับผม😄
ถ้าจากที่เคยอ่านหนังสือธรรมของหลวงพ่อจรัญฯ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ระบุไว้ว่า เมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว
ขอบคุณครับ
ขอบคุณค่ะ🙏
ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากครับ สมกับที่ผมรอคอยมาหลายวัน
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ช่วงนี้งานประจำเยอะมากครับ อาจมีเวลาทำคลิปน้อยลง แต่จะพยายามหาเวลาทำมาให้ชมกันครับ 😄
สุดยอดมากๆครับ
ขอบคุณครับ :)
คลิปที่ผมรอคอย มาถึงแล้ว ขอบคุณมากครับพี่🙏🙏🙏👍👍👍
ขอบคุณเช่นกันนะครับ ^^
ผมวนดูคลิปนี้เกือบร้อยครั้ง ชอบจริงๆครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ตอนนี้ผมงานเยอะมาก ขอเคลียร์ก่อนนะครับ😅
@@HiddenAyutthaya ครับพี่ทำงานหลักก่อนครับ ถ้าว่างจริงๆมำคลิป ตำหนักกำมะเลียนหน่อยครับ 🙏🙏🙏
ข้อมูลอ้างอิงดีมากครับ
ขอบคุณครับ🙂
ผมชอบประวัติศาสตร์อยุธยามาก ไปมาเกือบทุกวัด แต่ผมพลาดวันนี้ได้ยังไงไม่รู้ เลยมาหาข้อมูลจากพี่ครับ
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ^^
สนุกครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย
ขอบคุณคุณหอยมากๆ เลยครับ ^^
เย่ ดีใจครับรอคลิปดีๆฮะ😊
ขอบคุณครับ :)
ผมไปมาหลายครั้งเเล้วคับวัดนี้
ครับผม🙂
ต่างชาติ..ส่งจารชนเข้ามาทำแผ่นที่..ทุกส่วน ทุกบริเวณ..เอาไว้หมด..ซึ่งตอนนี้ พม่าคงทำเข่นนนี้ไว้หมดเช่นกัน...จาด น้ัน กรีฑาพล.เข้า ตี ทีละเมือง...แล้วทะลวง ปล้นเข้าทีละจุด..
ก็มีความเป็นไปได้ครับ
ยอดเยี่ยมครับ
ขอบคุณครับ😄
สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณครับผม 😄
มาแล้ว ขอบคุณครับ
ขอบคุณเช่นกันครับผม ^^
ขอบคุณมากครับพี่ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเยอะเลย EP นี้ยังสนุกเหมือนเคย แถมยังได้รู้ข้อมูลจากหลายข้อสันนิษฐานเลยครับ ^^
ขอบคุณเช่นกันครับ ^^
ชอบการตัดคลิปเเล้วก็การนำเสนอเเบบนี้มากค่ะไล่วนดูคลิปเก่าๆช่องนี้วนไปพอมีคลิปใหม่รีบมาดูทันทีนำเสนอเเละเล่าเรื่องได้น่าสนใจมากๆ เคยไปวัดใหญ่ชัยมงคล1ครั้งอยากไปอีกจังเป็นวัดที่สวยมากๆและเต่าก็เยอะมากเช่นกัน😂
ขอบคุณมากๆ เลยครับ
👍👍👍👍
ขอบคุณครับ😄
ขอบคุณครับ คุ้มที่รอและหลายๆอย่างแม้จะรู้แต่นำเสนอได้ดีครับ
ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอดครับ :)
🙏
ขอบคุณครับ :)
สวัสดีครับ ❤❤❤❤
สวัสดีครับผม🙂
อ่านพบข้อมูลว่า พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา ข้อสังเกตคือท่านมีชื่อที่ชาวเมืองเรียกว่า ”เจ้าไท“ สมมติฐาน...จึงเป็นไปได้หรือไม่ครับ ว่าเจ้าไทหรือวัดใหญ่ชัยมงคลจะสร้างขึ้นในยุคนี้และชื่อวัดตามชื่อสมเด็จพระสังฆราช พระองค์นี้...
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ พอจะมีเอกสารอ้างอิงข้อมูลนี้ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ
@@HiddenAyutthaya อ่านพบจากนี้ครับ "ตำนานสืบทอดพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ
ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)
พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของ
พระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา
สืบทอดต่อมาโดย
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)"
ช่วงต้นมีระบุว่า "วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓-๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว" ก็มีชื่อที่เกี่ยวข้องกันอยู่เช่นกัน ส่วนตัวไม่ทราบว่าข้อมูลตามตำนานนี้แน่ชัดเพียงไรครับ อ่านเป็นข้อมูลประกอบดู แต่ดูจะระบุเป็นวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดป่าแก้วเรื่อยมาแต่แห่งเดียว ส่วนตัวเห็นตาสมมติฐานในคลิปว่าอาจจะมีการเปลี่ยนวัดไปบ้างในแต่ละช่วง
@@duly141 ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ส่วนตัว ถ้าระบุชื่อว่า วัดชายทุ่ง ลักษณะของชื่อต้องกันกับวัดวรเชษฐ์มากกว่าวัดเจ้าพระยาไทมากๆ เพราะวัดเจ้าพระยาไท ตั้งบนพื้นที่ชุมชนใหญ่สมัยอโยธยา ส่วนวัดป่าแก้ว ที่มีอีกชื่อว่า ชายทุ่ง ควรอยู่ทุ่งที่อยู่ห่างตัวพระนครออกไป ซึ่งหมายถึงเขตอรัญญิกตามคติเมืองเหนือ ภูมิสถานนี้ก็จะต้องกับวัดวรเชษฐ์นอก แต่อย่างที่บอกว่า วัดวรเชษฐ์นอกสมัยที่เป็นวัดป่าแก้ว พื้นที่วัดยังเล็กอยู่ คือส่วนที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังกับพระวิหาร จะมาขยายพื้นที่ส่วนอื่นๆ ก็ภายหลัง และวัดป่าแก้วเปลี่ยนคติใหม่ไปตั้งอยู่ใกล้พระันครมากขึ้น และขึ้นอยู่กับว่าพระสังฆราชคณะป่าแก้วจะไปสถิต ณ วัดใด ด้วยครับ
@@duly141เป็นวัดแก้วฟ้าป่าแก้วครับ คือวัดแก้วฟ้า(ร้าง)ในปัจจุบัน อยู่ริมคลองตะเคียน ทางด้านทิศใต้ของวัดท่าหอย ไม่ใช่วัดใหญ่ชัยมงคลครับ
ทองคือนำ้ไทคื อดินรว มกันของชือ
ขออภัยครับ ผมไม่เข้าใจที่สื่อมาเลยครับ ^^
มีความเป็นไปได้ จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่อ้างมาครับ
อาจยังมีแง่มุมอื่นๆ ที่ยังซ่อนเร้นเกี่ยวกับหลายๆ ประเด็นที่พูดถึงวัดนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมในคอมเม้นอาจารย์กำพล จำปาพันธ์ ที่ผมปักหมุดไว้ได้เลยครับ :)
ข้อความที่เห็นในคลิป นาทีที่ 6:58 .. "Tiam pia tai" มันอ่านว่า " เทียม-เพีย-ไท" !! ไม่ใช่เหรอคับ
สำเนียง อักขรของ ดัตช์เขาครับ
👍👍👍🙏🙏🙏😍😍😍
มีความเป็นไปได้มั้ยครับว่า ศิลปะการสร้างและเทคโนโลยีการสร้าง ประตูหน้าต่างแบบซุ้มโค้ง เจดีย์เป็นโพรง มีความแพร่หลายอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ เช่น อานันทวิหาร ที่พุกาม หรือปราสาทหินนครวัด ซึ่งล้วนมีเทคโนโลยีการสร้างแบบถ่ายเทน้ำหนัก มาก่อนการมาของเปอร์เซีย ในช่วงสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และพระนารายณ์ คือ พอมีการตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเห็นสิ่งก่อสร้างในอยุธยา เป็นซุ้มโค้งเมื่อไหร่ สิ่งก่อสร้างนั้นจะไม่เก่าไปกว่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผมก็เลยเกิดเอะใจขึ้นมาทุกที
ใช่ครับ เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนัก ให้ภายในเจดีย์หรือพระปรางค์เป็นห้องขนาดใหญ่มีมานานตั้งแต่สมัยพุกาม - พระนครหลวงกัมพูชา แล้วครับ เทคนิคเปอร์เซียที่เข้ามาในช่วงหลังคือการคลี่คลายของเทคนิควิศวกรรมที่ทำให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนิยมใช้ในงานบูรณะของที่มีมาแต่เดิมนั่นเองครับ
กระจ่างไปอีกเปราะนึงครับ บางทีความคิดของเราก็อยากมีใครสักคนมาคอนเฟิร์มให้มั่นใจ มีอะไรสงสัย จะสอบถามอีกนะครับ ติดตามตลอดครับพี่ 😊
@@siwawongrattanawichain6356 ขอบคุณครับ มีอะไรก็แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ตลอดครับผม ^^
มาแล้วสิ่งที่รอคอยความรู้ดีๆขอบคุณมากที่ให้ความรู้ครับ
ขอบคุณครับผม 😄
เนื้อหาคุณภาพ
ขอบคุณครับผม^^
ว้าวววววว 🙏😊
ขอบคุณครับ :)
องค์เจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล แอบคล้ายสภูปที่ศรีเทพ นะครับ แต่ทำไมเจดีย์ใหญ่ถึงไม่มีย่อมุมเลยครับ หากเป็นศิลปะอยุทธยาต้องมีย่อมุมไม้12นะครับ🇹🇭🇹🇭🇹🇭
มันเป็นรูปแบบของศิลปะในช่วงหนึ่งที่นิยมกันในช่วงราชวงศ์สุพรรณภูมิ สายที่ได้ไปครองเมืองสรรคบุรี (ในชัยนาท)
ยอดเยี่ยมครับ
ขอบคุณครับผม :)
ขอบคุณคับที่ทำคลิปดีไมีความรู้จากที่ไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์สมัยเก่าดูคลิปอาจารย์แล้วได้ความรู้คับ
ขอบคุณที่ติดตามเช่นกันครับ :)
ผมชอบดูคลิบแบบนี้ครับดูแล้วเข้าใจง่ายขอบคุณมากๆที่ให้ความรู้สุดยอด
ขอบคุณครับ^^
ชอบครับติดตามทุกตอนที่ทำได้เปิดอดีตของบ้านเรา
ขอบคุณมากๆ เลยครับ ^^
พูดถึงพระเจดีย์ว่ามันอย่างนั้นมันอย่างนี้ไม่ค่อยเหมาะนะครับเจดีย์เรียกเป็นองค์ครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ🙂
เขมรเคยหนี้ภัยสงครามมายู่เมืองไทยในสมัยนั้นดว้นเหรอ
เป็นเรื่องปกติในสมัยโบราณครับ แม้แต่คนอยุธยาเองยังเคยลี้ภัยไปพึ่งพระเจ้ากรุงอังวะเลยครับ
ผมไปมา3รอบแล้วครับไปแล้วรู้สึกสบายใจ
ขอบคุณครับผม ^^
ถูกต้องค่ะวัดป่าแก้วนีจะมาถึงวัดต้องพายเรืิอมา
ใช่ครับ มีคลองเชื่อมมาถึงวัดครับ