EP.8

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ค. 2024
  • #ประวัติการสร้างพระหลวงพ่อทวด  หล่อโบราณปี 2505 วัดช้างให้พอสังเขป
    ซึ่งในการหล่อเนื้อโลหะนั้นจำเป็นจะต้องมีทุนรอนมากกว่าการหล่อแบบเก่า ซึ่งก็ได้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือพระองค์ชายกลางทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ในการจัดสร้าง ตามคำอนุญาตจากหลวงปู่ทวดผ่านพระอาจารย์ทิม มีการนำชนวนและมวลสารจากวัด นำไปหล่อพระร่วมกันที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะส่งไปให้อาจารย์สวัสดิ์ เดชพวง เป็นผู้หล่อ หล่อพระหลวงปู่หวดเนื้อโลหะหลังเตารีดขึ้น 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยังทรงนำโลหะหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นก้อนเงินและทองคำใส่ลงในเตาหลอม ส่วนการเท “พระเนื้อเมฆพัด” ได้ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์ มิได้ใช้วิธีเทเป็นช่อหรือตลับอย่างพระเนื้อโลหะผสม นอกจากนี้ยังมีแบบหลังตัวหนังสือ พระกริ่ง ซึ่งจะพูดถึงในคราวหลัง หมายความว่า หลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อโลหะ ที่สร้างในคราวนี้แบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคําผสมโลหะ จำนวน 99 องค์ พิมพ์ใหญ่ พระเนื้อเมฆพัด จำนวนไม่ถึง 1,000 องค์ และพิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ และเนื้อโลหะผสม อีก จำนวนหลายหมื่นองค์ ที่เหลือเป็น “พิมพ์กลาง" และพิมพ์เล็ก" นอกจากนี้ยังมีการปั๊มหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัว หนังสือ และพระกริ่งอีกด้วยดัง นั้นอาจกล่าวได้ว่าการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นหลังเตารีดมีการเททองหล่อกันนอกวัด โดยวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะ และ ”การลงแผ่นทองชนวน" รวมถึงพิธีปลุกเสกใหญ่ซึ่งพระองค์ชายกลางได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกแล้วนั้นไปหล่อกันที่วัดคอกหมูหรือ วัดสิตารามกรุงเทพฯ อยู่เลยวัดสระเกศ หรือภูเขาทองไปเล็กน้อย)
    - ต่อมาได้ทำการเทเนื้อโลหะโดยเสด็จพระองค์ชายกลาง ใส่ทองคำผสมลงไปเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะเทเนื้อโลหะผสมทองแดง+ทองเหลืองและโลหะอื่นๆ ที่ประชาชนมาร่วมบริจาค) ในส่วนพิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 เนื้อนับได้ประมาณ 6,000 องค์ - หลวงปู่ทวดเนื้อโลหะ เป็นการเทแบบเป็นช่อ ยกเว้นเนื้อเมฆพัด จึงมีคราบเบ้าและดินขี้เบ้าจับอยู่ ด้านใต้ฐานปรากฏเป็นรอยแต่งซ่อมและตะไบ - เมื่อเทเสร็จมีการส่งไปให้ช่างโรงงานแสงฟ้าแต่งพิมพ์ เนื่องจากเป็นช่างมีฝีมือรอยตะไบที่ปรากฏจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดูเรียบร้อย และช่างยังคัดองค์ที่เทไม่สวยออก มาให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกเป็นจำนวนมากเป็นที่มาแห่ง พิมพ์ปั๊มซ้ำ
    การหล่อพระที่วัดช้างให้ ปี 05 เมื่อชาวบ้านในละแวกวัดทราบข่าวการสร้างพระดังกล่าว คนที่มีความศรัทธาได้ถอดสร้อยคอทองคำบ้าง สร้อยนาคบ้าง สร้อยเงินบ้าง และนำขัน ช้อน ทัพพีที่เป็นทองเหลืองหรือของของใช้ที่บ้านที่เป็นโลหะมาร่วมพิธีใส่ลงในเบ้าหลอมโลหะของทางวัดข้างให้ในวันที่หล่อพระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีด จึงทำให้พระที่หล่อมาได้มีเนื้อโลหะผสมที่มีความหลากหลาย เช่น แก่ทองบ้าง แก่ทองเหลืองบ้าง บางองค์มีทองเป็นจ้ำๆในองค์พระ บางองค์ที่แก่เงินจะมีวรรณะออกดำเมื่อทิ้งไว้นานก็จะมีเนื้อกลับดำ จึงเป็นที่มาของคำว่า"เตารีดเนื้อกลับ"
    สนใจติดต่อสอบถามโทร 065-464-2859 โยธิน

ความคิดเห็น •