พระคาถาชินบัญชร ๙ จบ [พร้อมคำแปล] ศักดิ์สิทธิ์ มงคลชีวิต สวดทุกวันดีทุกวัน หมดโรคภัย เจริญรุ่งเรือง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 มี.ค. 2021
  • พระคาถาชินบัญชร คาถาศักดิ์สิทธิ์ สวดทุกวันดีทุกวัน เป็นมงคลชีวิต หมดโรคภัย ค้าขายเจริญรุ่งเรือง มีความสุข
    อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร
    ----------------------------------------
    พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วแต่มีสิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
    พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านี้ จากนั้นเป็นอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษ ตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนา พระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
    อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร
    ----------------------------------------------
    ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้นเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนาดังคำโบราณว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวดแล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
    สมเด็จฯ แปลคติธรรมในท่านั่ง
    -------------------------------------------
    จากท่านั่งของสมเด็จฯ ที่กำมือทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ท่านที่มีความเคารพและศรัทธาในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนาธรรม ทำไมท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้มีความหมายอยู่ 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว การที่ท่านอยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึงใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้น การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่ว ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร
    คติธรรมที่สมเด็จฯ ประทานไว้ในท่าที่นั่งของท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและแก่สังคม
    หมายเหตุ: คำแนะนำทั้งหมดสำหรับผู้ที่มีความศรัทธามั่นคงใน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจประพฤติตัวอยู่ในศีล ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขและรอดพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากว่าจะเกิดจากกรรมในอดีต ส่งผลมาถึงท่านก็ช่วยให้หนักเป็นเบาได้ ขอให้ทำเป็นประจำ และช่วยกันเผยแพร่ต่อ ๆ ไปด้วยเป็นการเพิ่มกุศลให้กับตนเอง
    The Jinapanjara (Pali: jinapañjara; Thai: ชินบัญชร, Chinabanchon), sometimes known in English as "The Cage of the Conqueror", is a post-canonical paritta Buddhist chant. It is one of the most popular texts that is widely chanted in Thailand. It has existed since the end of the nineteenth century, from the time of the reign of Rama II. It is assumed that the Jinapanjara was authored by a Lanna Buddhist monk. Later, the monk Somdej Toh modified the incantation and made it more complete, by translating the content and curtailing some parts in the chant with unknown meaning. The text can also be found in Myanmar and Sri Lanka.
    Historians have found no evidence of the original author, nor where Jinapanjara was composed, but the text is mentioned in ancient Burmese scriptures. The scriptures state that Jinapanjara was written in Chiang Mai in the era of King Anawrahta Minsaw(1578-1607). Because of the popularity of animistic rituals considered in violation of Buddhist principles, Anawrahta consulted with the monastic community and decreed to his citizens to chant the Jinapanjara text instead. Hence, Jinapanjara was authored by Thai monks in Chiang Mai and its chanting became widespread in Myanmar and Sri Lanka.
    There are two well-known adaptations of the Jinapanjara in Thailand. The first version was adapted by Somdej Toh at Wat Rakhangkhositraram Woramahavihan and was further revised by Pra Pattaramuni at Wat Thong Noppakun. Another version was adapted by Nyanasamvara Suvaddhana. Both version have the same meaning, but differ slightly in pronunciation and spelling.
    ------------------------------------------------------------
    หากมีข้อผิดพลาดประการใด
    ขอน้อมรับและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
    ------------------------------------------------------------
    ถ้าท่านชอบคลิปวิดีโอนี้ ช่วยกดแชร์
    กดถูกใจ และกดติดตาม ให้ด้วยนะครับ
    และเพื่อไม่ให้พลาดคลิปใหม่ ๆ ในอนาคต
    อย่าลืมกด "กระดิ่ง" ด้วยนะครับ
    ------------------------------------------------------------
    #คาถาชินบัญชร #สมเด็จโต #วัดระฆัง

ความคิดเห็น • 3

  • @user-xb2nb3xx3r
    @user-xb2nb3xx3r 3 ปีที่แล้ว

    กราบสาธุค่ะ

  • @aken9374
    @aken9374 3 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆค่ะ

  • @user-tc7yl7vb2v
    @user-tc7yl7vb2v 3 ปีที่แล้ว

    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค้ะ. สาธุค่ะ🙏🙏🙏🙏🙏