การละเล่นผีลอบวัดดุสิต วันที่ 17 ธันวาคม 2565

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ธ.ค. 2022
  • การละเล่นผีลอบวัดดุสิต วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ตอนที่ 1
    #การละเล่นผีลอบวัดดุสิต 17 ธ ค 2565 เกริ่นนำ
    #ผีลอบ
    การละเล่นผีลอบชุมชนย่านวัดดุสิตาราม : ความเป็นมา การสืบสานและปํญหา
    ความเป็นมา
    การละเล๋นผีลอบเป็นการละเล๋นที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่นิยมเล่นในภาคกลางซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องภูตผีและวิญญาณ จากการศึกษาพบว่าการละเล่นผีลอบชุมชนย่านวัดดุสิตารามสันนิฐานว่ามีการสืบสานมาก่อน พ.ศ. 2484 โดยนายเทียน เพ็งศาสตร์ สัปเหร่อย่านวัดดุสิตารามที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีวิชาคาถา อาคมการเรียกและปราบภูติ ผี วิญญาณ เมื่อนาย
    เทียน เพ็งศาสตร์เสียชีวิต นายละไม เพ็งศาสตร์บุตรชายได้สืบสานต่อแต่ก็มิได้มีการเล่นบ่อยมากนัก นายประชุม สวนการุณ (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้วเมื่อ พ.ศ.2553) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กมีความสนใจการละเล่นนี้เป็นผู้สืบสานต่อโดยใช้วิธีครูพักลักจํา ท่าร่ายรําและนํามาฝึกหัดร้อง หัดรําด้วยตัวเองจนมีความชํานาญและเชี่ยวชาญจึงได้รับช่วงต่อจากนายละไม เพ็งศาสตร์
    การละเล่นผีลอบนิยมเล่นช่วงเทศกาลสงกรานต์เพราะมีความเชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่ประตูสวรรค์ ประตูนรกจะปล่อยผีให้เป็นอิสระในอดีตมักจะเล่นกันในบริเวณลานกว้าง ภายในชุมชนย่านนี้ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ลาน คือ ลานพระเจดีย์ปลา (ลานวัดดุสิตารามในปัจจุบัน) ลานมะเกลือ (ลานหลังวัดดุสิตารามในปัจจุบัน) และลานเมรุ (ลานข้างวัดดุสิตารามในปัจจุบัน) โดยมากมักจะใช้ลานมะเกลือเนื่องจากเป็นลานกว้างแต่เคยใช้เป็นพื้นที่การตากผ้ามะเกลือของชาวจีนที่เข้ามาทําการค้าขายเกี่ยวกับการย้อมผ้าในชุมชน
    ย่านนี้ต่อมาใน พ.ศ.2484 ถึง พ.ศ. 2489 ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาบริเวณปากคลองบางกอกน้อย โดยเฉพาะบริเวณย่านวัดเสาประโคนและชุมชนริมคลองบางกอกน้อยถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีและทิ้งระเบิดหลายลูกได้รับความเสียหาย ผู้คนต่างอพยพหนีภัยสงครามไปจํานวนหนึ่งส่งผลให้การละเล่นผีลอบต้องหยุดชะงัก เมื่อสงครามยุติลงชาวบ้านจึงเริ่มได้ย้ายกลับเข้ามายังชุมชนและนําการละเล่นผีลอบกลับมาเล่นแต่ก็ไม่ได้รับความนิยมอย่างเดิม อีกทั้งในขณะนั้นจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการส่งเสริมการรําวงมาตรฐานซึ่งได้รับความนิยมทั้งในระดับประเทศรวมถึงชุมชนย่านวัดดุสิตารามด้วย ส่งผลทําให้การละเล่นผีลอบได้หยุดเล่นไป อีกทั้งพื้นที่ในชุมชนแคบลงเนื่องจากการขยายชุมชนและชาวบ้านเริ่มที่จะสนใจในการหาเลี้ยงชีพของตนมากยิ่งขึ้นส่งผลให้การละเล่นผีลอบหยุดชะงักนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ.2550 สํานักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร (คุณต่อ ระพีพัฒน์)​ได้ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชนบางกอกน้อยจัดงาน “พลิกฟื้นคืนชีวา สืบสานภูมิปัญญา
    บางกอกน้อย”ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2550 นําโดยนายประจวบ ทองคําสุกและนายวิทยา นุชรักษา ซึ่งเป็นการสาธิตการแสดงเท่านั้นในปี พ.ศ. 2551 ในงานเทศกาลมหาสงกรานต์ย่านวัดดุสิตาราม โดยการนําของนายประชุม สวนการุณ ได้ทําการฟื้นการละเล่นนี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านใ นชุมชนเป็นจํานวนมาก ต่อมา พ.ศ. 2554 นายประชุม สวนการุณ เสียชีวิต นายมานพ อยู่ดี อายุ 44 ปี ผู้เป็นหลานจึงเป็นผู้สืบสานและมีการฟื้นฟูอีกครั้งด้วยการออกสาธิตการละเล่นผีลอบที่งานบางกอกน้อย เฟสติวัลในวันที่ 26-29 เมษายน พ.ศ.2555 ปัจจุบันนี้การละเล่นแขนงนี้ได้มีเพียงกลุ่มชาวบ้านในชุมชนพยายามฟื้นฟูการละเล่นนี้ไว้เพื่อให้ยังคงมีการสืบสานต่อไปอย่างไรก็ตามในการละเล่นผีลอบควรทําความเข้าใจกับเครื่องผีลอบ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ขั้นตอนการเล่น การสืบสาน คุณค่าและปัญหาของการละเล่นผีลอบย่านวัดดุสิตารามต่อไปให้เข้าใจ ดังนี้
    อุปกรณ์การละเล่นผีลอบ มีอุปกรณ์ในการเล่น ดังต่อไปนี้
    1. ลอบดักปลาที่ใช้แล้ว 1 อัน
    2. ไม้คานแม่หม้าย (ไม้คานที่เคยใช้แล้ว) 1 อัน
    3. มะพร้าวตาเดียว 1 ใบ
    4. สากตําข้าวที่ใช้แล้ว 2 อัน
    5. ผ้าขาวมีความยาวขึ้นอยู่กับขนาดลอบดักปลา (สําหรับคลุมลอบ) 1 ผืน
    6. ไม้กระบอก 4 ลํา ใช้สําหรับเคาะให้จังหวะและใช้กั้นเป็นขอบเขต
    7. ธูปใช้สําหรับปักบนไม้คาน 9 ดอก
    8. เครื่องเซ่น ประกอบด้วยเหล้าและปลาย่างสําหรับใส่ในลอบดักปลา
    .... สัมภาษณ์ ประชุม สวนการุณ , ชาวบ้านชุมชนวัดดุสิตาราม , 11 กุมภาพันธ์ 2553.
    36 สัมภาษณ์ ประชุม สวนการุณ , ชาวบ้านชุมชนวัดดุสิตาราม , 11 กุมภาพันธ์ 2553.
    อุปกรณ์การเล่นผีลอบ
    (ก) ลอบดักปลา (ข) สากตําข้าว
    (ค) กะลาตาเดียว (ง) ไม้คานแม่หม้าย
    การแต่งกาย
    แต่งกายแบบไทย ผู้ชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโจงกระเบน ผู้หญิงสวมเสื้อผ้าไทย
    สวยงาม นุ่งโจงกระเบน
    วิธีการเล่นผีลอบ
    โดยวางกระบอกไม้ไผ่ไว้ทั้ง 4 ด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมจากนั้นนําลอบดักปลานํามาวางบนสากตําข้าว จากนั้นพี่เลี้ยงผีลอบทั้ง 2 คน นั่งบนสากตําข้าว จุดธูปแล้วนําไปปากปลายคานมีธูปข้างละ 3 ดอก จุดแล้วผู้อัญเชิญผีลอบมีการจุดธูปโดยพาพี่เลี้ยงไปขอขมาเจ้าที่ ผู้เชิญผีลอบพาพี่เลี้ยงจุดธูปเพื่อขอขมาเจ้าที่อีกทั้งยังเป็นการอัญเชิญภูตผีที่อยู่บริเวณนั้นให้มาร่วมเล่นการละเล่นนี้โดยกล่าวกับเจ้าที่เพื่อขอเชิญท่านมาร่วมสนุกกับลูกกับหลานด้วย หลังจากนั้นลูกคู่จะคอยประสานเสียงเป็นการเริ่มต้นการเล่นผีลอบถ้าหากในระหวาางเล่นผีลอบพี่เลี้ยงเกิดอาการเหนื่อยก็สามารถเปลี่ยนมือถือลอบได้
    ลอกมาจาก แนวทางการจัดการภูมิปัญญาการละเล่นท้องถิ่นชุมชนย่านวัดดุสิตาราม
    เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    โดย
    นางสาวจิตรานันท์ แสงศรีจันทร์
    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
    สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
    ปีการศึกษา 2555
    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • บันเทิง

ความคิดเห็น •