บทที่ ๕๙ : หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ | ธรรมะนิยาย ชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม | เรื่อง มักกะลีผล |

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 เม.ย. 2024
  • ธรรมะนิยาย "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
    เรื่องที่ ๑ " มักกะลีผล " บทที่ ๕๙ : หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ "
    ประพันธ์โดย อ.สุทัสสา อ่อนค้อม
    เสียงอ่านโดย อ.เพ็ญศรี อินทรทัต
    ภาพปก :
    ประวัติ : พระธรรมสิงหบุราจารย์ มีนามเดิมว่า จรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471 เวลา 07.10 น. ตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ที่บ้านบางม่วงหมู่ ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
    เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนทั้งหมด 10 คนของ นาย แพ จรรยารักษ์ และ นาง เจิม (สุขประเสริฐ) จรรยารักษ์
    อุปสมบท : พระธรรมสิงหบุราจารย์ อุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 เวลา 14.00น. ณ พัทธสีมาวัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมี
    พระพรหมนคราจารย์ (ดี ธมฺมปญฺโญ) วัดแจ้งพรหมนคร อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูถาวรวิริยคุณ (กิมเฮง พุทฺธสโร) วัดพุทธาราม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการช่อ ปภากโร วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับฉายาว่า "ฐิตธมฺโม" (ผู้มีธรรมตั้งมั่นแล้ว)
    การศึกษา : หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรและที่ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทั้งทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ
    พ.ศ. 2493 ศึกษากสิน และวิชาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) ณ วัดหนองโพธิ ตำบลหนองโพ อำเภอพยุหคีรี (ในขณะนั้น) ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
    พ.ศ. 2494 ศึกษาอสุภกรรมฐานกับพระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร)ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ และฝึกภาวนาพุทโธ ตามแบบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    พ.ศ. 2494 ศึกษาอนุสติ 10และอานาปานสติกับท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ณ วัดเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
    พ.ศ. 2495 ศึกษาการทำเครื่องรางของขลังน้ำมันมนต์กับหลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    พ.ศ. 2495 ศึกษาวิชาทำผงพระต่างๆกับพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค โสภโณ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2495 ศึกษาวิชาปลุกเสกสิ่งของต่างๆกับหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง
    พ.ศ. 2495 ศึกษาวิชาทำยันต์และตะกุดกับพระครูสิทธิสารคุณหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จังหวัดปราจีนบุรี
    พ.ศ. 2496 ศึกษาวิชชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2496 ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ กับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2498 ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2498 ศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) สมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
    พ.ศ. 2498 ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับอาจารย์ พ.อ.ชม สุคันธรัต
    ศึกษาวิชาสเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี วัดบางปิ้ง สมุทรปราการ
    ปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงพ่อในป่า
    สมณศักดิ์ :
    พ.ศ. 2501 ได้รับการแต่งตั้งจากพระสุนทรธรรมประพุทธ (หล้า สีลวํโส) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปลัด
    พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์[4]
    พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามเดิมที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์
    พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามเดิมที่ พระครูภาวนาวิสุทธิ์
    พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ในราชทินนามที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ[5]
    พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุทธิญาณมงคล ศรีพหลนราทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
    พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ ภาวนาวิธานโกศล วิมลธรรมานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
    พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
    *** ขออานิสงค์ในการเผยแพร่ธรรมะนิยาย และร่วมรับฟังธรรมะนิยายชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม นี้จงสำเร็จแก่ทุกท่านผู้ชม ผู้ฟังทุกท่านเทอญ...สาธุ...
    .
    .
    อย่าลืมกด "แชร์คลิป" ...เพื่อเป็นธรรมทานแก่บุคคลที่ท่านรัก
    อย่าลืมกดติดตาม (และกดกระดิ่ง) เพื่อไม่พลาดธรรมะดีๆ กันนะคะ
    ((( เผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานเท่านั้น )))

ความคิดเห็น •