เลี้ยงดง ปู่แสะย่าแสะ เชียงใหม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ก.ค. 2024
  • ประเพณีเลี้ยงดง ความเชื่อ "ผี พุทธ พราหมณ์" ที่หลอมรวมเป็นรีตรอยวัฒนธรรมล้านนา และภูมิปัญญาในการรักษาป่าต้นน้ำของ "ชาวลัวะ" ชาติพันธุ์หลัก หนึ่งในต้นตระกูลของคนล้านนา รวมถึงชาวลำปางส่วนใหญ่
    ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ ‘ผี’ มีอยู่คู่กับสังคมดั้งเดิมของคนถิ่นนี้มาเนิ่นนาน
    โดยในแต่ละพื้นที่ของล้านนา ก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป และเมื่อกล่าวถึงชาวลัวะ ซึ่งเป็นประชากรหลักดั้งเดิมของพื้นที่แห่งนี้ ก็จะมีความเชื่อเรื่อง "ปู่แสะย่าแสะ" ซึ่งเป็นผีที่ยังคงอยู่ในศรัทธาของผู้คนอย่างเหนียวแน่น
    ปู่แสะย่าแสะ เป็นชื่อยักษ์ในตำนานของชาวลัวะ ชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แต่เดิมในพื้นที่ก่อนจะมีอาณาจักรล้านนา
    ป่า เขา ดง ดอย คือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของผีดง
    ชาวลัวะนับถือผี ก่อนที่ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ จะเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่
    ตามตำนานเล่าว่า ปู่แสะย่าแสะ ซึ่งเป็นยักษ์ดุร้าย ที่จ้องจะจับชาวลัวะกินเป็นอาหาร จนชาวลัวะต่างหวาดผวา
    พระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่ดินแดนล้านนานี้ และแสดงธรรม ทำให้ยักษ์ยอมพ่ายแพ้ในธรรม เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธ และหันมารับศีลห้าเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต นำความสงบสุขมาสู่สังคมชาวลัวะในที่สุด
    แต่เนื่องจากปู่แสะย่าแสะเป็นยักษ์ จึงขออนุญาตต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ใหญ่ ตามสัญชาติญาณยักษ์เพียงปีละหนึ่งตัวเท่านั้น
    จากตำนานเล่าขานดังกล่าว ประกอบกับการที่ชาวลัวะเชื่อว่า "ปู่แสะย่าแสะ" เป็นผีที่คอยปกปักรักษาแผ่นดิน ผืนป่า อันเป็นต้นกำเนิดของสายน้ำ และคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข จึงพากันล้มควายเซ่นสังเวย เกิดเป็นประเพณี ‘เลี้ยงดง’ ที่จะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 (เหนือ) และปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่นในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    พิธีกรรมที่ผสมผสานระหว่างพิธีกรรมแบบพราหมณ์ คำสอนของพุทธ และ ผี นี้ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับพันปี และมาหยุดหายไปนานกว่า 240ปี ในช่วงที่พม่าเข้ามาครอบครองนครพิงค์เชียงใหม่ แล้วกลับฟื้นคืนมาเริ่มปฎิบัติกันอีกครั้งหลังการฟื้นม่านที่นำโดยเจ้ากาวิละ แห่งทิพย์จักราธิวงศ์ เจ้าจากลำปางที่ได้รับมอบหมายให้ฟื้นบ้านแปงเมือง
    ภาพพระบฏ พระพุทธเจ้าประทับยืน บนผ้าผืนใหญ่จากวัดป่าจี้ ที่แห่แหนมาแขวนกลางดงนั้น เปรียบเสมือนการที่พระพุทธองค์เสด็จมาแสดงธรรมโปรดยักษ์ร้าย ให้กลับมามีศีล มีธรรม
    และนักวิชาการบางท่านคาดว่า น่าจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของชาวลัวะ ซึ่งเป็นกลุ่มชนในท้องถิ่นดั้งเดิม ที่รู้สึกคับแค้นข้องใจต่อ "คนเมือง" ผู้เข้ามาครอบครองดินแดน เปรียบว่าเป็นยักษ์ เป็นมาร ไม่อยู่ในศีลในธรรม จึงใช้ธรรมเข้าข่ม ว่าลัวะมีธรรมเหนือกว่าผู้รุกราน
    #ที่นี่ลำปาง
    #เลี้ยงดงไหว้ปู่แสะย่าแสะ
    #ลัวะล้านนา
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น •