ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
Sadhu ... sadhu ... sadhuDhamma is the logical method teaching of Buddha which we can practice these great ways in our daily life. 😊😊😊
กำลังให้ลูกลูกฟังค่ะ น้องพูดไทยฟังไทยไม่ได้ สาธุเจ้าค่ะ🙏🙏🙏
ขอกราบนมัสการค่ะ และขอขอบคุณผู้จัดทำวิดีโอนี้มากๆเลยค่ะ จะได้เอาไปให้เพื่อนต่างชาติได้ชม จะได้เข้าใจว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร
ผมขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ ท่านภัณเตมาร์ค อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริง ของ "พระพุทธเจ้า" ผู้เปิดธรรมที่ถูกปิด ผู้มีอุปการะมาก ต่อชาวพุทธบริษัท และชาวต่างชาติ ที่ต้องการศึกษาคำตรัสสอนอันบริสุทธิ์ถูกต้องของ "พระผู้มีพระภาคเจ้า" ครับผม
Sadhu Sadhu Sadhu kha.
สาธุ
ช้างเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ได้มาพบพระพุทธเจ้า สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ เจ้าคะ
สาธุสาธุสาธุเจ้าค่ะ
น้อมกราบพระธรรมน้อมกราบพระคุณเจ้าอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
ขอกราบนมัสการค่ะ
กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุครับครับ
You’re so cutie!. อนุโมทนาสาธุค่ะท่าน!.ขอบคุณมากค่ะ.
ขอกราบน่อมน้อมสมณะสากยะปุตติยะ..สาธุๆๆเจ้าคะ
ทุกสิ่งเมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย ถ้าไม่อยากตายก็ไม่ต้องเกิด ทำอย่างไรไม่ต้องเกิด พระพุทธเจ้าได้ชึ้ทางให้แล้วเพียงแต่ปฏิบัติตามเท่านั้นพวกเราก็จะไม่ต้องเกิด พุทธวจนคือคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าโดยตรง
สาธุคะ
Sathu sathu sathu!. Thanks.
Sadhu Sadhu Sadhu...Brilliant!
กราบนมัสการ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ🙏🙏🙏
BuddhaWajana 🙌
คุณ Mark ถามว่า "อานาปานสติ" มี อานิสงส์ อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "อานาปานสติ" ดับอกุศล ได้ทุกเรื่อง และยังเป็นการสร้าง "เหตุสมปรารถนา" ในชีวิต เพราะเมื่อจิต รู้อยู่กับลมหายใจ คือ กาย เพียงอย่างเดียวแล้ว ความคิดในทางอกุศลทั้งหลาย คือ กาม พยาบาท เบียดเบียน ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อใดก็ตาม เกิดความคิดในทางอกุศลขึ้นมา การวางจิตอยู่กับการ (ลมหายใจ) คือ อานาปานสติ จะดับอกุศลนั้นได้ เพราะเราคุมจิตตนเอง ไม่ให้เคลื่อนหรือไปรับรู้อารมณ์อันเป็นอกุศลนั้น โดยทำความรู้อยู่กับลมหายใจที่ไหลเข้าออกเท่านั้น นั่นคือเหตุ ที่ทำให้จิตถึงความสงบจากอกุศล เพราะเราไม่ส่งจิตออกไปรับรู้อารมณ์นั่นเองด้วยอาการอย่างนี้ "กุศลธรรม" ย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ชีวิตมีความสุข ไม่ทุกข์ร้อนจากอารมณ์อันเป็นอกุศล ซึ่งจะนำไปสู่ กายกรรม และ วจีกรรม ที่เป็นอกุศลตามมา และด้วย "กุศลธรรม" นั้นเอง เราสามารถตั้งความปรารถนาในเรื่องที่ต้องการได้ แม้ปรารถนา "ความหลุดพ้น" ก็เป็นฐานะ ที่มีได้ เป็นได้ คุณ Mark ถามว่า การทำสมาธิ (อานาปานสติ) สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตา ได้หรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า โชคชะตาเพียงอย่างเดียวที่พวกเราทุกคนมี คือ การเดินไปสู่ความตาย ทุกคนไม่อาจหนีความตายพ้น อาจเป็นพรุ่งนี้ สิบปีข้างหน้า หรือในเวลาใดๆ ก็ตามตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" ชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นอะไร หรือ เป็นอย่างไรก็ตาม สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ได้เกิดจาก โชคชะตา หรือ เทพเจ้า ดลบันดาล เพราะธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดมาแต่เหตุทั้งสิ้น ความสุขทุกข์ในชีวิตของคนเรา ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย คือ การกระทำทางกาย วาจา ใจ ของเราเอง เช่น ถ้าเราเป็นผู้มีศีล รักษาศีลห้าครบบริบูรณ์ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ แม้ในปัจจุบัน หรือ ในอนาคต ย่อมไม่เกิดกับเรา เพราะเหตุปัจจัยอันเป็น "กุศล" ในปัจจุบัน คือ การรักษาศีลห้านั้น อันเราสั่งสมไว้ พรั่งพร้อมไว้แล้วอย่างนี้ นั่นเอง ดังนั้น การมีโชคชะตามาดลบันดาล จึงไม่มี มีแต่การสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง เท่านั้น นอกจากนี้ การทำสมาธิ ยังสามารถใช้ละความรู้สึก สุข ทุกข์ ต่างๆ ในโลกได้ เพราะเราไม่ไปยึดว่า อารมณ์นั้นๆ ความรู้สึกนั้นๆ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่ว่าจิตจะไปรับรู้เรื่องอะไรก็ตาม สุข ทุกข์ อดีต หรือ อนาคต ให้ดึงจิตกับมา ทำความรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเหมือนเดิม
คุณ Mark กล่าวว่า ตนอยากทราบถึงชีวิตประจำวันของภิกขุ ท่านภัณเตมาร์ค จึงอธิบายว่า วัตถุประสงค์ของการบวชเป็นภิกขุ คือ การอยู่อย่างผู้ไม่มีเรือน คือ การละชีวิตทางโลก และพยายามอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ "ความหลุดพ้น" โดยหลักปฏิบัติของภิกขุ ตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" คือ การทำสมาธิ สลับกับการเดินจงกรม หลังฉันอาหาร จนกระทั่งสิ้นสุดของวัน คือ เวลาสี่ทุ่มของวันนั้น หลังจากนั้น ก็เข้านอน จากนั้น ก็ตื่นขึ้นประมาณ ตีสอง หรือ ตีสาม จากนั้น ก็เริ่มการประพฤติปฏิบัติอีกครั้ง ด้วย การทำสมาธิ สลับกับการยืนเดินนั่ง กล่าวคือ ละทิ้งวิถีชีวิตทางโลก ด้วยประการทั้งปวง เพื่อมุ่งสู่ "ความหลุดพ้น" คุณ Mark ถามต่อว่า โรงเรียนที่เปิดสอน "พุทธศาสนา" แต่ละแห่ง ตามสถานที่ต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องของความเป็นภิกขุสงฆ์? ท่านภัณเตมาร์คตอบว่า ปัจจุบันนี้ คำสอน และ การสอน เรื่อง "ศาสนาพุทธ" ในแต่ละที่ มีความแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ พุทธประสงค์ ของ "พระพุทธเจ้า" เหตุเพราะ "พระองค์" ทรงตรัสกำชับว่า ให้ฟังและปฏิบัติตาม "คำตรัสสอน" ของ "พระองค์" เท่านั้น คือ "เนื้อธรรม" (บทแห่งธรรม) และ "สิกขาบท" (ธรรมวินัย) แต่ในปัจจุบัน กลับมี นิกาย และ สายต่างๆ ใน "ศาสนาพุทธ" เกิดขึ้นมากมาย เหตุเพราะเหล่าบรรดาสาวกทั้งหลาย ที่กล่าวอ้างตนเองว่าเป็นครู เป็นอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ต่างคนจึงต่างพูด ต่างบัญญัติ และต่างสอนกันเอง จนเกิดความแตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ ลืม "ความเป็นจริง" ว่า ใคร ? คือ "ศาสดา" ที่ "แท้จริง" ของ "ศาสนาพุทธ" ซึ่งคำตอบ ก็คือ "พระพุทธเจ้า""พระผู้มีพระภาคเจ้า" ทรงตรัสถึง "ความแตกต่าง" ระหว่าง "พระองค์" ผู้เป็น "ตถาคต ผู้อรหันตะ สัมมา สัมพุทธะ" กับ ภิกขุผู้ปัญญาวิมุตติ ไว้อย่างชัดเจน ว่า "ตถาคต" ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้มีการกล่าวกันแล้ว "ตถาคต" เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็น มัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็น มัคโกวิโท (ผู้ฉลาดในมรรค) ส่วนสาวกทั้งหลาย ในกาลนี้ เป็นเพียง มัคคานุคา คือ ผู้เดินตามมาในภายหลัง เท่านั้น นี้แล ! เป็น "ความผิดแผกแตกต่างกัน" เป็น "ความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน" เป็น "เครื่องกระทำให้แตกต่างกัน" ระหว่าง "ตถาคต ผู้อรหันตะ สัมมา สัมพุทธะ" กับ ภิกขุผู้ปัญญาวิมุตติ ด้วยเหตุนี้ เหล่าบรรดาสาวกทั้งหลาย จึงไม่ควรบัญญัติคำสอนเพิ่มเติมใหม่ เพราะหน้าที่ของสาวกทุกคน คือ เป็นผู้สดับฟังคำสอน และ นำไปประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อถึงจุดหมาย เพียงเท่านั้น นี้คือเหตุผลสำคัญที่ว่า เพราะเหตุใด? พุทธบริษัททุกคน จักต้องศึกษา "พุทธวจน" เท่านั้น เพราะเป็น "คำตรัสสอน" ที่ออกจาก "พระโอษฐ์" ของ "พระพุทธเจ้า" อย่างแท้จริง
ขอบคุนครับ
นมัสการสาธุเจ้าค่า🙏
คุณ Mark ถามว่า คำถามใหญ่ ที่คนส่วนใหญ่สงสัย คือ อะไรคือเป้าหมายของชีวิต และ ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร ? ซึ่งแต่ละศาสนา ก็สอนแตกต่างกัน? ในเรื่องดังกล่าว "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอน และ ให้คำตอบว่า อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า มนุษย์ทุกคน ต้องเผชิญกับ "ความทุกข์" จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และ ความตาย ทั้งสิ้น อันเป็น "วัฏฏะ" ที่ไม่มีสิ้นสุด กล่าวคือ ตายแล้วเกิดอีก เกิดแล้วตายอีก ตายแล้วเกิดอีก อยู่อย่างนี้ โดยหาที่สุดไม่ได้ แต่ "พระพุทธเจ้า" ทรงค้นพบวิธีดับ "วัฏฏะ" ดังกล่าว และ ออกจาก "ความทุกข์" นี้ได้ ดังนั้น เป้าหมายของชีวิต ตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" คือ การประพฤติพรหมจรรย์ ตามหลักคำสอนของ "พระองค์" เพื่อนำตนเองออกจาก "กองทุกข์" ของ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย อันวนเวียนใน "วัฏฏะ" อันไม่มีที่สิ้นสุด ดังกล่าว เพื่อเข้าถึง "ความหลุดพ้น" คือ "ความไม่ต้องตายอีกต่อไป"คุณ Mark ถามว่า อะไร ? คือ การประพฤติปฏิบัติที่เป็นหลักในศาสนาพุทธ? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า คือ การรักษาศีลห้า กล่าวคือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มของมึนเมา อันเป็นศีล ที่เป็นส่วนประกอบของความเป็น อริยบุคคล และจักเป็นเหตุให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ อยู่เป็นสุข
🙏🙏🙏
Sathu. Awesome!!!!
Very interesting
คุณ Mark ถามว่า "ศาสนาพุทธ" จะปลดปล่อยเรา จากความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่ดี ได้อย่างไร? เช่น ความเศร้า ความโกรธ ฯลฯ ที่เกิดขึ้น ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า การเจริญ "อานาปานสติ" นั้น เราต้องเข้าใจการทำงานของ "วิญญาณ" กับ "นามรูป" เพื่อให้เข้าใจว่า ความรู้สึกอันเป็นเวทนาต่างๆ เช่น สุข ทุกข์ เศร้า โกรธ ล้วนเป็นธาตุตามธรรมชาติ เมื่อทำสมาธิ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ในขณะที่จิตไปรับรู้อารมณ์ต่างๆอยู่นั้น การรู้อยู่กับลมหายใจของเรา จะดับไป และเมื่อเรากลับมาทำความรู้อยู่กับลมหายใจอีกครั้ง การรับรู้ในอารมณ์ต่างๆ ของจิต ก็จะหายไปเช่นกัน นั่นแสดงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา แต่เพราะเราไปยึดว่า ความรู้สึกต่างๆ หรือ อารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น เป็นเรา เราจึงรู้สึก สุข ทุกข์ เศร้า โกรธ ไปตามอารมณ์นั้น เหตุเพราะจิต มโน วิญญาณ ไปจับฉวย และ ยึดถือ มีอุปทาน ในอารมณ์นั้น ดังนั้น ในการทำสมาธิ เราจึงพยายามบังคับจิต ให้รับรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า จิตก็เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ เช่นเดียวกัน ที่มีการเกิดดับตลอดเวลา ไม่ใช่ว่า จิตวิ่งไปตรงนี้บ้าง จากนั้น ก็วิ่งไปตรงนั้นบ้าง ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะจิตเป็นสิ่งที่เกิดดับได้รวดเร็ว ตลอดเวลา ตลอดวัน ตลอดคืน กล่าวคือ มีการเกิด และการตาย เราจึงสังเกตุเห็นได้ยาก ดังนั้น หน้าที่เรา คือ ทิ้งอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นเสีย และ กลับมาทำความรู้อยู่กับลมหายใจเหมือนเดิม เหตุเพราะจิต รับรู้ หรือ ตั้งอาศัยได้ ทีละธรรมธาตุ เท่านั้น ดังนั้น เราจึงควรวางจิตอยู่กับกายตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน จะเดิน ก็ตาม ก็สามารถทำสมาธิได้ ในทุกอริยาบถคุณ Mark ถามว่า หลายคนสับสนระหว่างคำว่า การทำสมาธิ และ การสวดมนต์ ทั้งสองอย่างมีความต่างกันอย่างมาก ใช่หรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ใช่ โดยอธิบายว่า "พระพุทธเจ้า" ทรงเรียกการสาธยายบทแห่งธรรมของ "พระองค์" ว่า "สัฌชายะ" คือ การสาธยายธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าหนทางในการเข้าสู่วิมุติ แต่เราไปเข้าใจผิดว่า การสวดมนต์ คือ การท่องบ่นอะไรออกมา เพื่อหวังหรือขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะที่ การทำสมาธิ ก็คือ การวางจิตอยู่กับกาย รู้ลมหายใจที่ไหลเข้าออก (กายคตาสติ) ซึ่งเป็นปฏิปทา เพื่อการหลุดพ้น
คุณ Mark ถามว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักมีความกลัว และมีความเชื่อเรื่องผี ผีมีจริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่า มี ภพอื่น นอกเหนือจากภพของมนุษย์ที่เราเป็นอยู่ ซึ่งภพที่เราอยู่ คือ กามภพ ซึ่งประกอบไปด้วย มหาภูติสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สิ่งที่เรียกว่า ผี ก็คือ ภพที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป ได้แก่ เปรตวิสัย กำเนิดเดรัจฉาน สัตว์นรก ซึ่งเป็นภพที่มีอยู่ เราอาจสัมผัสได้ ได้ยิน สิ่งเหล่านี้มีอยู่ แต่เราไม่เห็น เพราะอยู่ต่างภพกัน แต่สิ่งหนึ่ง ที่กามภพมีเหมือนกัน และเป็นกฏธรรมชาติ คือ ความประกอบด้วย มหาภูติสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นทุกข์ คือ "ความแตกสลาย" และมี "ความตาย" เป็นที่สุด เช่นเดียวกันคุณ Mark ถามว่า การทำบุญ ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่? และ การทำบุญที่ดีที่สุด คือ อะไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า การทำบุญ คือ การสร้าง "กุศล" สามารถเป็นเหตุปัจจัย ให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราได้ "การหลุดพ้น" ถ้าเราทำความดี ประพฤติกุศลกรรม และหวังสิ่งตอบแทน คือ "การหวังผลในทาน" "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า เราจะได้แค่ "ผลใหญ่" แต่ไม่มี "อานิสงส์ใหญ่" กล่าวคือ เราจะได้ไปเกิดในเทวดาเหล่ากามภพ แต่เมื่อสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ ยังเป็นผู้ต้องกลับมาสู่ "สังสารวัฏ" ไม่พ้นไปได้จาก อบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่ถ้าเราให้ทานด้วยการวางจิตถูกต้อง คือ การวางจิตละ "ความตระหนี่" อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการเสียสละ ด้วยการวางจิตแบบนี้ สามารถทำให้ได้ "การหลุดพ้น" และการทำบุญ ประพฤติกุศลธรรมที่ดีที่สุด คือ การทำสมาธิ เพราะอะไร? คำตอบ คือ เมื่อเราทำสมาธิ นั่นหมายถึง กาย วาจา ใจ ของเรา มีความบริสุทธิ์ เรากำลังควบคุมกายของเรา เพราะว่าเราพยายามทำสมาธิ เรากำลังควบคุมวาจาของเรา มิให้เกิด มิจฉาวาจา และ เราก็กำลังพยายามควบคุมใจของเรา ไม่ให้รู้สึกผูกติดไปกับอารมณ์ต่างๆ อันเป็นเหยื่อของโลก นั่นหมายความว่า ในขณะนั้น กาย วาจา ใจ ของเรา ได้รับการรักษา และได้รับการเจริญอย่างบริสุทธิ์ ครบถ้วน และ บริบูรณ์แต่ในขณะที่ให้ทาน จิตของเราอาจไม่นิ่ง เราอาจส่งจิตออกไปคิดสิ่งนี้บ้าง คิดสิ่งนั้นบ้าง และหลังจากให้ทานแล้ว เราอาจแวะเวียนไปดื่มของมึนเมา อาจลักทรัพย์ อาจโกหก ดังนั้น ทาน กับ ศีล จึงยังไม่ใช่วิธีการทำบุญ ประพฤติกุศล ที่ดีที่สุด และ มีอานิสงส์ มากที่สุดด้วยเหตุนี้ "การทำสมาธิ" จึงเป็นการทำบุญ การสร้างบุญ และ การประพฤติกุศล ที่ "ดีที่สุด"
คุณ Mark ถามว่า ในศีลห้านั้น มีข้อยกเว้นหรือไม่ ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ไม่มี เหตุเพราะโกหก ก็คือ โกหก ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า ศีลห้า อันบุคคลไม่รักษาแล้ว ย่อมมีวิบากทั้งอย่างเบาและอย่างหนัก วิบากอย่างหนักของผู้ทุศีล คือ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย ส่วนวิบากอย่างเบาของผู้ที่ฆ่าสัตว์ คือ จะมีอายุสั้น วิบากอย่างเบาของผู้ที่ลักทรัพย์ คือ ความเสื่อมแห่งโภคะ วิบากอย่างเบาของผู้ที่ประพฤติผิดในกาม คือ การก่อภัยเวรด้วยศัตรู วิบากอย่างเบาของผู้กล่าวเท็จ คือ การถูกกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำที่ไม่จริง และ วิบากอย่างเบาของผู้ดื่มของมึนเมา คือ ความวิปลาส ซึ่งหากเกิดในอบายภูมิแล้ว การได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่ง คุณ Mark ถามว่า ถ้าเราฆ่าสัตว์ เพื่อกินเป็นอาหาร จักถือว่าผิดศีลหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ตราบใดที่เราเป็นคนฆ่าเอง ย่อมเป็นการผิดศีลข้อแรก แต่หากเราไปทานอาหารที่ร้านอาหาร แล้วมีพ่อครัวทำอาหารให้เราทาน อย่างนี้ ถือว่า เราไม่ได้เป็นผู้ฆ่า เพราะพ่อครัวนั้น เป็นผู้ฆ่าสัตว์นั้นเอง ซึ่งการที่เขาเกิดมามีอาชีพเป็นพ่อครัว ก็เป็นเพราะกรรม ซึ่งเราจะทานเนื้อสัตว์ หรือ ทานผัก ก็ได้ ตราบใดที่เรา ไม่ได้เป็นผู้ฆ่าสัตว์นั้น ก็สามารถทานเนื้อสัตว์ได้ ภิกขุ ชื่อว่าเข้าถึงอาชีพความเป็นขอทาน ดังนั้น ภิกขุจึงไม่ควรมีเงื่อนไขในการรับอาหารบิณฑบาตร ว่าไม่ทานเนื้อสัตว์ ตราบใดก็ตาม ที่เนื้อสัตว์นั้น ภิกขุไม่ได้เห็นว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ไม่ได้ยินว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ไม่ได้รังเกียจว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ก็สามารถทานเนื้อสัตว์นั้น ได้
คุณ Mark ถามว่า คนบางคนมีความสามารถแสดงพลังเหนือธรรมชาติได้ จริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ได้ คนบางคนก็สามารถแสดงอิทธิปาฏิหารย์ได้จริง ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียงความรู้ความสามารถประเภทหนึ่งในโลกเท่านั้น เหมือนกับคนเป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นสถาปนิก บางคนสามารถวาดรูปได้ บางคนสามารถระบายสีได้ บางคนสามารถปั้นได้ แต่ความรู้เหล่านี้ ไม่สามารถนำพาเขาเหล่านั้น ไปสู่ "ความหลุดพ้น" คือ "ความไม่ตาย" ได้"พระผู้มีพระภาคเจ้า" ทรงจำแนก "ปาฏิหารย์" ออกเป็น 3 ประเภท คือ "อิทธิปาฏิหารย์" เช่น การทำคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว เดินบนน้ำได้ ลอยไปในอากาศได้ ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังค์ ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ตลอดไปจนถึงพรหมโลก, "อาเทศนาปาฏิหารย์" คือ การกำหนดรู้วาระจิตของผู้อื่น ว่าคนๆนี้ คิดอย่างนั้น คนๆนั้น คิดอย่างนี้ ซึ่ง "พระองค์" ทรงตรัสว่า "พระองค์" รู้สึก อึดอัด เกลียดชัง ขยะแขยง ต่อ ปาฏิหารย์สองประเภทนี้ เพราะเป็นปาฏิหารย์ของปุถุชน ไม่สามารถทำให้พ้นจาก "ความตาย" ได้ ส่วน "ปาฎิหารย์" ประเภทสุดท้าย "พระองค์" ทรงตรัสเรียกว่า "อนุสาสนีปาฏิหารย์" ซึ่งเป็นสิ่งที่ "พระองค์" ทรง "สรรเสริญ" เพราะ คือ "ปาฏิหารย์" จาก คำเทศน์สอน คำบอกสอน ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น ท่านจงทำในใจไว้อย่างนี้ อย่าทำในใจไว้อย่างนั้น ซึ่งสามารถทำให้ปุถุชน ก้าวล่วงพ้น ปุถุชนภูมิ เข้าสู่ความเป็น อริยบุคคล และพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และ ความตาย ได้คุณ Mark ถามว่า หมอดู สามารถทำนายอนาคตได้จริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า สามารถทำได้ แต่การทำนาย และ คำทำนายเหล่านั้น ล้วนเป็น "อนิจจัง" คือ ไม่เที่ยง ซึ่งการทำนายทายทักอนาคตแบบนี้ มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า มีเพียง "พระองค์" หรือผู้ที่เหมือนพระองค์เท่านั้น ที่พยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และ ไม่ผิดพลาด ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องกังวลกับอนาคต เพราะ "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนให้สร้างเหตุปัจจัยที่ดีในปัจจุบัน ซึ่งย่อมส่งผลเป็นสุขในอนาคต
ผมขออนุญาตพื้นที่ นำคำแปล "การแสดงธรรม" (สุคตวินโย) ในคลิปวิดีโอข้างต้นนี้ ของท่าน ภัณเตมาร์ค อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริงของ "พระพุทธเจ้า" มาโพสไว้ในที่นี้ ด้วย นะครับ กราบอนุโมทนาสาธุ ครับผม
ฝรั่งคนนี้ ที่เป็นพิธีกร มีช่องส่วนตัวไหมค่ะ อยากติดตามมากขึ้นค่ะ รบกวนใครพอทราบ บอกด้วยนะค่ะ who know about him is a speaker on VDO tell me please
Wow. ! Do you interring in him. Give. A goods. Reason fore. All bless thx sadhu ! 👍🇹🇭
🙇♀️🙇♀️🙏🙏🙏🙇♀️🙇♀️🥰
Love words of the Buddha but have to be Buddhawajana.
🥰🙏
Satuka~
Sathu
ท่านภัณเตมาร์ค ชาควโร อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริง ของ "พระพุทธเจ้า" เมตตา แสดงธรรมของ "พระผู้มีพระภาคเจ้า" คือ "พุทธวจน" ให้แก่ คุณ Mark Sontang ชาวต่างชาติ ผู้ที่มีความสนใจใน "ศาสนาพุทธ"ซึ่งคุณ Mark ได้เริ่มต้นถามท่านภัณเตมาร์คว่า "พุทธวจน" คือ อะไร?ท่านภัณเตมาร์คได้ตอบว่า "พุทธวจน" หมายถึง คำพูด คำสอน ที่ออกจาก "พระโอษฐ์" ของ "พระพุทธเจ้า" โดยตรง ซึ่งเป็นคำกล่าวของ "พระศาสดา" ที่ไม่ถูกดัดแปลง แต่งเติม แก้ไข ใดๆ ซึ่งคำว่า "พุทธ" เป็นพระนามของ "พระพุทธเจ้า" และ "วจน" แปลว่า วาจา หรือ คำพูด ดังนั้น "พุทธวจน" จึงแปลตรงตัวตาม "บทพยัญชนะ" ว่า คำพูด วาจา คำบอกสอน ของ "พระพุทธเจ้า" ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนส่วนแรก คือ เนื้อธรรม (ธรรมะ) ที่ "พระองค์" ทรงตรัสสอนให้เข้าใจธรรมชาติของตัวเรา และ ของสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา และ ส่วนที่สอง คือ วินัย ข้อวัตร และ สิกขาบท ต่างๆ ที่ภิกขุผู้เป็นสาวกทั้งหลาย ต้องพึงประพฤติ และ ปฏิบัติตาม เพื่อสืบต่อคำสอนของ "พระองค์" จากรุ่นไปสู่รุ่นได้ โดยไม่เกิดความผิดเพี้ยนของคำสอน หรือ ความอันตรธานสูญหายไป และเพื่อเป็นใช้เป็นหลักให้ภิกขุสาวกทั้งหลาย ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ตามหลักการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ "พระองค์" ทรงบัญญัติคุณ Mark ได้ถามว่า เราจะสามารถนำหลักคำสอน "พุทธวจน" มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า คำตรัสสอนของ "พระศาสดา" สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกคนในชีวิตประจำวันง่ายๆ ดังนี้ เช่น ตัวอย่างง่ายๆ คือ "พระองค์" ทรงตรัสสอนในละ ความคิดในทางอกุศล คือ พยาบาท กล่าวคือ ให้ละทิ้งความคิดอกุศลนั้นเสียโดยเร็ว คือ การละนันทิ (ความเพลิน) ในอารมณ์อันเป็นอกุศลนั่นเอง เพราะอารมณ์ดังกล่าว เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเอง และ เบียดเบียนผู้อื่น โดยให้ตั้งจิตอยู่กับกาย คือ "กายคตาสติ" เมื่อเดิน ก็รู้ว่าเดิน เมื่อนั่ง ก็รู้ว่านั่ง เมื่อยืน ก็รู้ว่ายืน ในทุกอริยาบถ ไม่ปล่อยจิตให้ไหลไปตามอารมณ์ อันเป็น อภิชฌา และ โทมนัส ทั้งหลาย ในโลก หรือ ก็คือ "การสำรวมอินทรีย์" นั่นเอง คุณ Mark ถามว่า "กรรม" คือ อะไร? และ จะส่งผลต่อชีวิตได้อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "กรรม" คือ "เจตนา" (intention) หรือก็คือ "จิต" ที่ไป "รับรู้" หรือ ไป "ตั้งอาศัย" ใน อารมณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเราคิดจะทำร้ายใคร หรือ คิดจะทำดีกับใคร นั่นหมายถึง กรรม เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นที่ มโนกรรม (ความคิด) ก่อน เมื่อ มโนกรรม เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ก็จักเป็นเหตุให้ การกระทำทาง กาย (กายกรรม) และ วาจา (วจีกรรม) อันเป็น กุศล ก็ดี หรือ อกุศล ก็ดี เกิดขึ้นตามมาคุณ Mark ถามว่า วิธีการที่ดี ในการทำสมาธิ (อานาปานสติ) ในชีวิตประจำวัน คืออะไร และ ทำอย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "พระศาสดา" ทรงตรัสสอนให้ทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาณ ทำตามคำสอนของ "พระศาสดา" ปฏิบัติตามโอวาท ยิ่งทำมากยิ่งดี ซึ่ง "พระตถาคต" ทรงเปรียบเหมือนเจ้าของร้านค้าตลาด ที่จัดแจงร้านเป็นอย่างดีในเวลาเช้า ในเวลาบ่าย และในเวลาเย็น ฉันใด ฉันนั้น เราควรเจริญอานาปานสติ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในเวลาเช้า เวลาบ่าย และเวลาเย็นเช่นกัน แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติตามคำตรัสสอนของ "พระศาสดา" แล้ว
โปรดเอา background mudic ออกจากการบรรยายขอรับ... เสียงรบกวนฟังธรรมไร้ประโยชน์ครับ
Sathu sathu sathu
ขอกล่าวคำว่า, พระอาจารย์, ณมัสการ, แดดษิณรี, ขอกล่าวสับสันๆกระทู้ธรรม, พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, แด่องค์สัมมา, สัมพุทธเจ้าสาธุๆ
สาธุค่ะ
สาธุครับ
สาธุสาธุสาธุค่ะ
Sadhu ... sadhu ... sadhu
Dhamma is the logical method teaching of Buddha which we can practice these great ways in our daily life. 😊😊😊
กำลังให้ลูกลูกฟังค่ะ น้องพูดไทยฟังไทยไม่ได้ สาธุเจ้าค่ะ🙏🙏🙏
ขอกราบนมัสการค่ะ และขอขอบคุณผู้จัดทำวิดีโอนี้มากๆเลยค่ะ จะได้เอาไปให้เพื่อนต่างชาติได้ชม จะได้เข้าใจว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร
ผมขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ ท่านภัณเตมาร์ค อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริง ของ "พระพุทธเจ้า" ผู้เปิดธรรมที่ถูกปิด ผู้มีอุปการะมาก ต่อชาวพุทธบริษัท และชาวต่างชาติ ที่ต้องการศึกษาคำตรัสสอนอันบริสุทธิ์ถูกต้องของ "พระผู้มีพระภาคเจ้า" ครับผม
Sadhu Sadhu Sadhu kha.
สาธุ
ช้างเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ได้มาพบพระพุทธเจ้า สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ เจ้าคะ
สาธุสาธุสาธุเจ้าค่ะ
น้อมกราบพระธรรม
น้อมกราบพระคุณเจ้าอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
ขอกราบนมัสการค่ะ
กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุครับครับ
You’re so cutie!. อนุโมทนาสาธุค่ะท่าน!.ขอบคุณมากค่ะ.
ขอกราบน่อมน้อมสมณะสากยะปุตติยะ..สาธุๆๆเจ้าคะ
ทุกสิ่งเมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย ถ้าไม่อยากตายก็ไม่ต้องเกิด ทำอย่างไรไม่ต้องเกิด พระพุทธเจ้าได้ชึ้ทางให้แล้วเพียงแต่ปฏิบัติตามเท่านั้นพวกเราก็จะไม่ต้องเกิด พุทธวจนคือคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าโดยตรง
สาธุคะ
Sathu sathu sathu!. Thanks.
Sadhu Sadhu Sadhu...Brilliant!
กราบนมัสการ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ🙏🙏🙏
BuddhaWajana 🙌
คุณ Mark ถามว่า "อานาปานสติ" มี อานิสงส์ อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "อานาปานสติ" ดับอกุศล ได้ทุกเรื่อง และยังเป็นการสร้าง "เหตุสมปรารถนา" ในชีวิต เพราะเมื่อจิต รู้อยู่กับลมหายใจ คือ กาย เพียงอย่างเดียวแล้ว ความคิดในทางอกุศลทั้งหลาย คือ กาม พยาบาท เบียดเบียน ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อใดก็ตาม เกิดความคิดในทางอกุศลขึ้นมา การวางจิตอยู่กับการ (ลมหายใจ) คือ อานาปานสติ จะดับอกุศลนั้นได้ เพราะเราคุมจิตตนเอง ไม่ให้เคลื่อนหรือไปรับรู้อารมณ์อันเป็นอกุศลนั้น โดยทำความรู้อยู่กับลมหายใจที่ไหลเข้าออกเท่านั้น นั่นคือเหตุ ที่ทำให้จิตถึงความสงบจากอกุศล เพราะเราไม่ส่งจิตออกไปรับรู้อารมณ์นั่นเอง
ด้วยอาการอย่างนี้ "กุศลธรรม" ย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ชีวิตมีความสุข ไม่ทุกข์ร้อนจากอารมณ์อันเป็นอกุศล ซึ่งจะนำไปสู่ กายกรรม และ วจีกรรม ที่เป็นอกุศลตามมา และด้วย "กุศลธรรม" นั้นเอง เราสามารถตั้งความปรารถนาในเรื่องที่ต้องการได้ แม้ปรารถนา "ความหลุดพ้น" ก็เป็นฐานะ ที่มีได้ เป็นได้
คุณ Mark ถามว่า การทำสมาธิ (อานาปานสติ) สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตา ได้หรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า โชคชะตาเพียงอย่างเดียวที่พวกเราทุกคนมี คือ การเดินไปสู่ความตาย ทุกคนไม่อาจหนีความตายพ้น อาจเป็นพรุ่งนี้ สิบปีข้างหน้า หรือในเวลาใดๆ ก็ตาม
ตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" ชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นอะไร หรือ เป็นอย่างไรก็ตาม สิ่งทั้งหลายทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ได้เกิดจาก โชคชะตา หรือ เทพเจ้า ดลบันดาล เพราะธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดมาแต่เหตุทั้งสิ้น ความสุขทุกข์ในชีวิตของคนเรา ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย คือ การกระทำทางกาย วาจา ใจ ของเราเอง เช่น ถ้าเราเป็นผู้มีศีล รักษาศีลห้าครบบริบูรณ์ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ แม้ในปัจจุบัน หรือ ในอนาคต ย่อมไม่เกิดกับเรา เพราะเหตุปัจจัยอันเป็น "กุศล" ในปัจจุบัน คือ การรักษาศีลห้านั้น อันเราสั่งสมไว้ พรั่งพร้อมไว้แล้วอย่างนี้ นั่นเอง ดังนั้น การมีโชคชะตามาดลบันดาล จึงไม่มี มีแต่การสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง เท่านั้น
นอกจากนี้ การทำสมาธิ ยังสามารถใช้ละความรู้สึก สุข ทุกข์ ต่างๆ ในโลกได้ เพราะเราไม่ไปยึดว่า อารมณ์นั้นๆ ความรู้สึกนั้นๆ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา ไม่ว่าจิตจะไปรับรู้เรื่องอะไรก็ตาม สุข ทุกข์ อดีต หรือ อนาคต ให้ดึงจิตกับมา ทำความรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกเหมือนเดิม
คุณ Mark กล่าวว่า ตนอยากทราบถึงชีวิตประจำวันของภิกขุ ท่านภัณเตมาร์ค จึงอธิบายว่า วัตถุประสงค์ของการบวชเป็นภิกขุ คือ การอยู่อย่างผู้ไม่มีเรือน คือ การละชีวิตทางโลก และพยายามอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ "ความหลุดพ้น" โดยหลักปฏิบัติของภิกขุ ตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" คือ การทำสมาธิ สลับกับการเดินจงกรม หลังฉันอาหาร จนกระทั่งสิ้นสุดของวัน คือ เวลาสี่ทุ่มของวันนั้น หลังจากนั้น ก็เข้านอน จากนั้น ก็ตื่นขึ้นประมาณ ตีสอง หรือ ตีสาม จากนั้น ก็เริ่มการประพฤติปฏิบัติอีกครั้ง ด้วย การทำสมาธิ สลับกับการยืนเดินนั่ง กล่าวคือ ละทิ้งวิถีชีวิตทางโลก ด้วยประการทั้งปวง เพื่อมุ่งสู่ "ความหลุดพ้น"
คุณ Mark ถามต่อว่า โรงเรียนที่เปิดสอน "พุทธศาสนา" แต่ละแห่ง ตามสถานที่ต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องของความเป็นภิกขุสงฆ์? ท่านภัณเตมาร์คตอบว่า ปัจจุบันนี้ คำสอน และ การสอน เรื่อง "ศาสนาพุทธ" ในแต่ละที่ มีความแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ พุทธประสงค์ ของ "พระพุทธเจ้า" เหตุเพราะ "พระองค์" ทรงตรัสกำชับว่า ให้ฟังและปฏิบัติตาม "คำตรัสสอน" ของ "พระองค์" เท่านั้น คือ "เนื้อธรรม" (บทแห่งธรรม) และ "สิกขาบท" (ธรรมวินัย) แต่ในปัจจุบัน กลับมี นิกาย และ สายต่างๆ ใน "ศาสนาพุทธ" เกิดขึ้นมากมาย เหตุเพราะเหล่าบรรดาสาวกทั้งหลาย ที่กล่าวอ้างตนเองว่าเป็นครู เป็นอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ต่างคนจึงต่างพูด ต่างบัญญัติ และต่างสอนกันเอง จนเกิดความแตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ ลืม "ความเป็นจริง" ว่า ใคร ? คือ "ศาสดา" ที่ "แท้จริง" ของ "ศาสนาพุทธ" ซึ่งคำตอบ ก็คือ "พระพุทธเจ้า"
"พระผู้มีพระภาคเจ้า" ทรงตรัสถึง "ความแตกต่าง" ระหว่าง "พระองค์" ผู้เป็น "ตถาคต ผู้อรหันตะ สัมมา สัมพุทธะ" กับ ภิกขุผู้ปัญญาวิมุตติ ไว้อย่างชัดเจน ว่า "ตถาคต" ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้มีการกล่าวกันแล้ว "ตถาคต" เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็น มัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็น มัคโกวิโท (ผู้ฉลาดในมรรค) ส่วนสาวกทั้งหลาย ในกาลนี้ เป็นเพียง มัคคานุคา คือ ผู้เดินตามมาในภายหลัง เท่านั้น นี้แล ! เป็น "ความผิดแผกแตกต่างกัน" เป็น "ความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน" เป็น "เครื่องกระทำให้แตกต่างกัน" ระหว่าง "ตถาคต ผู้อรหันตะ สัมมา สัมพุทธะ" กับ ภิกขุผู้ปัญญาวิมุตติ ด้วยเหตุนี้ เหล่าบรรดาสาวกทั้งหลาย จึงไม่ควรบัญญัติคำสอนเพิ่มเติมใหม่ เพราะหน้าที่ของสาวกทุกคน คือ เป็นผู้สดับฟังคำสอน และ นำไปประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อถึงจุดหมาย เพียงเท่านั้น นี้คือเหตุผลสำคัญที่ว่า เพราะเหตุใด? พุทธบริษัททุกคน จักต้องศึกษา "พุทธวจน" เท่านั้น เพราะเป็น "คำตรัสสอน" ที่ออกจาก "พระโอษฐ์" ของ "พระพุทธเจ้า" อย่างแท้จริง
ขอบคุนครับ
สาธุ
นมัสการสาธุเจ้าค่า🙏
คุณ Mark ถามว่า คำถามใหญ่ ที่คนส่วนใหญ่สงสัย คือ อะไรคือเป้าหมายของชีวิต และ ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร ? ซึ่งแต่ละศาสนา ก็สอนแตกต่างกัน? ในเรื่องดังกล่าว "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอน และ ให้คำตอบว่า อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า มนุษย์ทุกคน ต้องเผชิญกับ "ความทุกข์" จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และ ความตาย ทั้งสิ้น อันเป็น "วัฏฏะ" ที่ไม่มีสิ้นสุด กล่าวคือ ตายแล้วเกิดอีก เกิดแล้วตายอีก ตายแล้วเกิดอีก อยู่อย่างนี้ โดยหาที่สุดไม่ได้ แต่ "พระพุทธเจ้า" ทรงค้นพบวิธีดับ "วัฏฏะ" ดังกล่าว และ ออกจาก "ความทุกข์" นี้ได้ ดังนั้น เป้าหมายของชีวิต ตามหลักคำสอนของ "พระพุทธเจ้า" คือ การประพฤติพรหมจรรย์ ตามหลักคำสอนของ "พระองค์" เพื่อนำตนเองออกจาก "กองทุกข์" ของ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย อันวนเวียนใน "วัฏฏะ" อันไม่มีที่สิ้นสุด ดังกล่าว เพื่อเข้าถึง "ความหลุดพ้น" คือ "ความไม่ต้องตายอีกต่อไป"
คุณ Mark ถามว่า อะไร ? คือ การประพฤติปฏิบัติที่เป็นหลักในศาสนาพุทธ? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า คือ การรักษาศีลห้า กล่าวคือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มของมึนเมา อันเป็นศีล ที่เป็นส่วนประกอบของความเป็น อริยบุคคล และจักเป็นเหตุให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ อยู่เป็นสุข
🙏🙏🙏
Sathu. Awesome!!!!
Very interesting
คุณ Mark ถามว่า "ศาสนาพุทธ" จะปลดปล่อยเรา จากความรู้สึกต่างๆ ที่ไม่ดี ได้อย่างไร? เช่น ความเศร้า ความโกรธ ฯลฯ ที่เกิดขึ้น ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า การเจริญ "อานาปานสติ" นั้น เราต้องเข้าใจการทำงานของ "วิญญาณ" กับ "นามรูป" เพื่อให้เข้าใจว่า ความรู้สึกอันเป็นเวทนาต่างๆ เช่น สุข ทุกข์ เศร้า โกรธ ล้วนเป็นธาตุตามธรรมชาติ เมื่อทำสมาธิ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่า ในขณะที่จิตไปรับรู้อารมณ์ต่างๆอยู่นั้น การรู้อยู่กับลมหายใจของเรา จะดับไป และเมื่อเรากลับมาทำความรู้อยู่กับลมหายใจอีกครั้ง การรับรู้ในอารมณ์ต่างๆ ของจิต ก็จะหายไปเช่นกัน นั่นแสดงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา แต่เพราะเราไปยึดว่า ความรู้สึกต่างๆ หรือ อารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น เป็นเรา เราจึงรู้สึก สุข ทุกข์ เศร้า โกรธ ไปตามอารมณ์นั้น เหตุเพราะจิต มโน วิญญาณ ไปจับฉวย และ ยึดถือ มีอุปทาน ในอารมณ์นั้น ดังนั้น ในการทำสมาธิ เราจึงพยายามบังคับจิต ให้รับรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า จิตก็เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ เช่นเดียวกัน ที่มีการเกิดดับตลอดเวลา ไม่ใช่ว่า จิตวิ่งไปตรงนี้บ้าง จากนั้น ก็วิ่งไปตรงนั้นบ้าง ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะจิตเป็นสิ่งที่เกิดดับได้รวดเร็ว ตลอดเวลา ตลอดวัน ตลอดคืน กล่าวคือ มีการเกิด และการตาย เราจึงสังเกตุเห็นได้ยาก ดังนั้น หน้าที่เรา คือ ทิ้งอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นเสีย และ กลับมาทำความรู้อยู่กับลมหายใจเหมือนเดิม เหตุเพราะจิต รับรู้ หรือ ตั้งอาศัยได้ ทีละธรรมธาตุ เท่านั้น ดังนั้น เราจึงควรวางจิตอยู่กับกายตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน จะเดิน ก็ตาม ก็สามารถทำสมาธิได้ ในทุกอริยาบถ
คุณ Mark ถามว่า หลายคนสับสนระหว่างคำว่า การทำสมาธิ และ การสวดมนต์ ทั้งสองอย่างมีความต่างกันอย่างมาก ใช่หรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ใช่ โดยอธิบายว่า "พระพุทธเจ้า" ทรงเรียกการสาธยายบทแห่งธรรมของ "พระองค์" ว่า "สัฌชายะ" คือ การสาธยายธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าหนทางในการเข้าสู่วิมุติ แต่เราไปเข้าใจผิดว่า การสวดมนต์ คือ การท่องบ่นอะไรออกมา เพื่อหวังหรือขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะที่ การทำสมาธิ ก็คือ การวางจิตอยู่กับกาย รู้ลมหายใจที่ไหลเข้าออก (กายคตาสติ) ซึ่งเป็นปฏิปทา เพื่อการหลุดพ้น
คุณ Mark ถามว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักมีความกลัว และมีความเชื่อเรื่องผี ผีมีจริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่า มี ภพอื่น นอกเหนือจากภพของมนุษย์ที่เราเป็นอยู่ ซึ่งภพที่เราอยู่ คือ กามภพ ซึ่งประกอบไปด้วย มหาภูติสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สิ่งที่เรียกว่า ผี ก็คือ ภพที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป ได้แก่ เปรตวิสัย กำเนิดเดรัจฉาน สัตว์นรก ซึ่งเป็นภพที่มีอยู่ เราอาจสัมผัสได้ ได้ยิน สิ่งเหล่านี้มีอยู่ แต่เราไม่เห็น เพราะอยู่ต่างภพกัน แต่สิ่งหนึ่ง ที่กามภพมีเหมือนกัน และเป็นกฏธรรมชาติ คือ ความประกอบด้วย มหาภูติสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นทุกข์ คือ "ความแตกสลาย" และมี "ความตาย" เป็นที่สุด เช่นเดียวกัน
คุณ Mark ถามว่า การทำบุญ ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่? และ การทำบุญที่ดีที่สุด คือ อะไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า การทำบุญ คือ การสร้าง "กุศล" สามารถเป็นเหตุปัจจัย ให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราได้ "การหลุดพ้น" ถ้าเราทำความดี ประพฤติกุศลกรรม และหวังสิ่งตอบแทน คือ "การหวังผลในทาน"
"พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า เราจะได้แค่ "ผลใหญ่" แต่ไม่มี "อานิสงส์ใหญ่" กล่าวคือ เราจะได้ไปเกิดในเทวดาเหล่ากามภพ แต่เมื่อสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ ยังเป็นผู้ต้องกลับมาสู่ "สังสารวัฏ" ไม่พ้นไปได้จาก อบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่ถ้าเราให้ทานด้วยการวางจิตถูกต้อง คือ การวางจิตละ "ความตระหนี่" อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการเสียสละ ด้วยการวางจิตแบบนี้ สามารถทำให้ได้ "การหลุดพ้น" และการทำบุญ ประพฤติกุศลธรรมที่ดีที่สุด คือ การทำสมาธิ เพราะอะไร? คำตอบ คือ เมื่อเราทำสมาธิ นั่นหมายถึง กาย วาจา ใจ ของเรา มีความบริสุทธิ์ เรากำลังควบคุมกายของเรา เพราะว่าเราพยายามทำสมาธิ เรากำลังควบคุมวาจาของเรา มิให้เกิด มิจฉาวาจา และ เราก็กำลังพยายามควบคุมใจของเรา ไม่ให้รู้สึกผูกติดไปกับอารมณ์ต่างๆ อันเป็นเหยื่อของโลก นั่นหมายความว่า ในขณะนั้น กาย วาจา ใจ ของเรา ได้รับการรักษา และได้รับการเจริญอย่างบริสุทธิ์ ครบถ้วน และ บริบูรณ์
แต่ในขณะที่ให้ทาน จิตของเราอาจไม่นิ่ง เราอาจส่งจิตออกไปคิดสิ่งนี้บ้าง คิดสิ่งนั้นบ้าง และหลังจากให้ทานแล้ว เราอาจแวะเวียนไปดื่มของมึนเมา อาจลักทรัพย์ อาจโกหก ดังนั้น ทาน กับ ศีล จึงยังไม่ใช่วิธีการทำบุญ ประพฤติกุศล ที่ดีที่สุด และ มีอานิสงส์ มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ "การทำสมาธิ" จึงเป็นการทำบุญ การสร้างบุญ และ การประพฤติกุศล ที่ "ดีที่สุด"
คุณ Mark ถามว่า ในศีลห้านั้น มีข้อยกเว้นหรือไม่ ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ไม่มี เหตุเพราะโกหก ก็คือ โกหก ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า ศีลห้า อันบุคคลไม่รักษาแล้ว ย่อมมีวิบากทั้งอย่างเบาและอย่างหนัก วิบากอย่างหนักของผู้ทุศีล คือ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย ส่วนวิบากอย่างเบาของผู้ที่ฆ่าสัตว์ คือ จะมีอายุสั้น วิบากอย่างเบาของผู้ที่ลักทรัพย์ คือ ความเสื่อมแห่งโภคะ วิบากอย่างเบาของผู้ที่ประพฤติผิดในกาม คือ การก่อภัยเวรด้วยศัตรู วิบากอย่างเบาของผู้กล่าวเท็จ คือ การถูกกล่าวตู่ด้วยถ้อยคำที่ไม่จริง และ วิบากอย่างเบาของผู้ดื่มของมึนเมา คือ ความวิปลาส ซึ่งหากเกิดในอบายภูมิแล้ว การได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่ง
คุณ Mark ถามว่า ถ้าเราฆ่าสัตว์ เพื่อกินเป็นอาหาร จักถือว่าผิดศีลหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ตราบใดที่เราเป็นคนฆ่าเอง ย่อมเป็นการผิดศีลข้อแรก แต่หากเราไปทานอาหารที่ร้านอาหาร แล้วมีพ่อครัวทำอาหารให้เราทาน อย่างนี้ ถือว่า เราไม่ได้เป็นผู้ฆ่า เพราะพ่อครัวนั้น เป็นผู้ฆ่าสัตว์นั้นเอง ซึ่งการที่เขาเกิดมามีอาชีพเป็นพ่อครัว ก็เป็นเพราะกรรม ซึ่งเราจะทานเนื้อสัตว์ หรือ ทานผัก ก็ได้ ตราบใดที่เรา ไม่ได้เป็นผู้ฆ่าสัตว์นั้น ก็สามารถทานเนื้อสัตว์ได้ ภิกขุ ชื่อว่าเข้าถึงอาชีพความเป็นขอทาน ดังนั้น ภิกขุจึงไม่ควรมีเงื่อนไขในการรับอาหารบิณฑบาตร ว่าไม่ทานเนื้อสัตว์ ตราบใดก็ตาม ที่เนื้อสัตว์นั้น ภิกขุไม่ได้เห็นว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ไม่ได้ยินว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ไม่ได้รังเกียจว่า เขาฆ่าเพื่อเรา ก็สามารถทานเนื้อสัตว์นั้น ได้
คุณ Mark ถามว่า คนบางคนมีความสามารถแสดงพลังเหนือธรรมชาติได้ จริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า ได้ คนบางคนก็สามารถแสดงอิทธิปาฏิหารย์ได้จริง ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเพียงความรู้ความสามารถประเภทหนึ่งในโลกเท่านั้น เหมือนกับคนเป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นสถาปนิก บางคนสามารถวาดรูปได้ บางคนสามารถระบายสีได้ บางคนสามารถปั้นได้ แต่ความรู้เหล่านี้ ไม่สามารถนำพาเขาเหล่านั้น ไปสู่ "ความหลุดพ้น" คือ "ความไม่ตาย" ได้
"พระผู้มีพระภาคเจ้า" ทรงจำแนก "ปาฏิหารย์" ออกเป็น 3 ประเภท คือ "อิทธิปาฏิหารย์" เช่น การทำคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว เดินบนน้ำได้ ลอยไปในอากาศได้ ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังค์ ลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ตลอดไปจนถึงพรหมโลก, "อาเทศนาปาฏิหารย์" คือ การกำหนดรู้วาระจิตของผู้อื่น ว่าคนๆนี้ คิดอย่างนั้น คนๆนั้น คิดอย่างนี้ ซึ่ง "พระองค์" ทรงตรัสว่า "พระองค์" รู้สึก อึดอัด เกลียดชัง ขยะแขยง ต่อ ปาฏิหารย์สองประเภทนี้ เพราะเป็นปาฏิหารย์ของปุถุชน ไม่สามารถทำให้พ้นจาก "ความตาย" ได้ ส่วน "ปาฎิหารย์" ประเภทสุดท้าย "พระองค์" ทรงตรัสเรียกว่า "อนุสาสนีปาฏิหารย์" ซึ่งเป็นสิ่งที่ "พระองค์" ทรง "สรรเสริญ" เพราะ คือ "ปาฏิหารย์" จาก คำเทศน์สอน คำบอกสอน ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น ท่านจงทำในใจไว้อย่างนี้ อย่าทำในใจไว้อย่างนั้น ซึ่งสามารถทำให้ปุถุชน ก้าวล่วงพ้น ปุถุชนภูมิ เข้าสู่ความเป็น อริยบุคคล และพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และ ความตาย ได้
คุณ Mark ถามว่า หมอดู สามารถทำนายอนาคตได้จริงหรือไม่? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า สามารถทำได้ แต่การทำนาย และ คำทำนายเหล่านั้น ล้วนเป็น "อนิจจัง" คือ ไม่เที่ยง ซึ่งการทำนายทายทักอนาคตแบบนี้ มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ซึ่ง "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนว่า มีเพียง "พระองค์" หรือผู้ที่เหมือนพระองค์เท่านั้น ที่พยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และ ไม่ผิดพลาด ดังนั้น เราจึงไม่จำเป็นต้องกังวลกับอนาคต เพราะ "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสสอนให้สร้างเหตุปัจจัยที่ดีในปัจจุบัน ซึ่งย่อมส่งผลเป็นสุขในอนาคต
ผมขออนุญาตพื้นที่ นำคำแปล "การแสดงธรรม" (สุคตวินโย) ในคลิปวิดีโอข้างต้นนี้ ของท่าน ภัณเตมาร์ค อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริงของ "พระพุทธเจ้า" มาโพสไว้ในที่นี้ ด้วย นะครับ กราบอนุโมทนาสาธุ ครับผม
ฝรั่งคนนี้ ที่เป็นพิธีกร มีช่องส่วนตัวไหมค่ะ อยากติดตามมากขึ้นค่ะ รบกวนใครพอทราบ บอกด้วยนะค่ะ who know about him is a speaker on VDO tell me please
Wow. ! Do you interring in him. Give. A goods. Reason fore. All bless thx sadhu ! 👍🇹🇭
🙇♀️🙇♀️🙏🙏🙏🙇♀️🙇♀️🥰
Love words of the Buddha but have to be Buddhawajana.
🥰🙏
Satuka~
Sathu
ท่านภัณเตมาร์ค ชาควโร อริยสงฆ์สาวก ผู้ สมณะ ศากยบุตร ผู้ สมณะ สากยะ ปุตติยะ อย่างแท้จริง ของ "พระพุทธเจ้า" เมตตา แสดงธรรมของ "พระผู้มีพระภาคเจ้า" คือ "พุทธวจน" ให้แก่ คุณ Mark Sontang ชาวต่างชาติ ผู้ที่มีความสนใจใน "ศาสนาพุทธ"
ซึ่งคุณ Mark ได้เริ่มต้นถามท่านภัณเตมาร์คว่า "พุทธวจน" คือ อะไร?
ท่านภัณเตมาร์คได้ตอบว่า "พุทธวจน" หมายถึง คำพูด คำสอน ที่ออกจาก "พระโอษฐ์" ของ "พระพุทธเจ้า" โดยตรง ซึ่งเป็นคำกล่าวของ "พระศาสดา" ที่ไม่ถูกดัดแปลง แต่งเติม แก้ไข ใดๆ ซึ่งคำว่า "พุทธ" เป็นพระนามของ "พระพุทธเจ้า" และ "วจน" แปลว่า วาจา หรือ คำพูด ดังนั้น "พุทธวจน" จึงแปลตรงตัวตาม "บทพยัญชนะ" ว่า คำพูด วาจา คำบอกสอน ของ "พระพุทธเจ้า" ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน
ส่วนแรก คือ เนื้อธรรม (ธรรมะ) ที่ "พระองค์" ทรงตรัสสอนให้เข้าใจธรรมชาติของตัวเรา และ ของสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา และ ส่วนที่สอง คือ วินัย ข้อวัตร และ สิกขาบท ต่างๆ ที่ภิกขุผู้เป็นสาวกทั้งหลาย ต้องพึงประพฤติ และ ปฏิบัติตาม เพื่อสืบต่อคำสอนของ "พระองค์" จากรุ่นไปสู่รุ่นได้ โดยไม่เกิดความผิดเพี้ยนของคำสอน หรือ ความอันตรธานสูญหายไป และเพื่อเป็นใช้เป็นหลักให้ภิกขุสาวกทั้งหลาย ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ทั้งทาง กาย วาจา ใจ ตามหลักการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ "พระองค์" ทรงบัญญัติ
คุณ Mark ได้ถามว่า เราจะสามารถนำหลักคำสอน "พุทธวจน" มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า คำตรัสสอนของ "พระศาสดา" สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกคนในชีวิตประจำวันง่ายๆ ดังนี้ เช่น ตัวอย่างง่ายๆ คือ "พระองค์" ทรงตรัสสอนในละ ความคิดในทางอกุศล คือ พยาบาท กล่าวคือ ให้ละทิ้งความคิดอกุศลนั้นเสียโดยเร็ว คือ การละนันทิ (ความเพลิน) ในอารมณ์อันเป็นอกุศลนั่นเอง เพราะอารมณ์ดังกล่าว เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเอง และ เบียดเบียนผู้อื่น โดยให้ตั้งจิตอยู่กับกาย คือ "กายคตาสติ" เมื่อเดิน ก็รู้ว่าเดิน เมื่อนั่ง ก็รู้ว่านั่ง เมื่อยืน ก็รู้ว่ายืน ในทุกอริยาบถ ไม่ปล่อยจิตให้ไหลไปตามอารมณ์ อันเป็น อภิชฌา และ โทมนัส ทั้งหลาย ในโลก หรือ ก็คือ "การสำรวมอินทรีย์" นั่นเอง
คุณ Mark ถามว่า "กรรม" คือ อะไร? และ จะส่งผลต่อชีวิตได้อย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "กรรม" คือ "เจตนา" (intention) หรือก็คือ "จิต" ที่ไป "รับรู้" หรือ ไป "ตั้งอาศัย" ใน อารมณ์ต่างๆ เช่น เมื่อเราคิดจะทำร้ายใคร หรือ คิดจะทำดีกับใคร นั่นหมายถึง กรรม เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นที่ มโนกรรม (ความคิด) ก่อน เมื่อ มโนกรรม เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ก็จักเป็นเหตุให้ การกระทำทาง กาย (กายกรรม) และ วาจา (วจีกรรม) อันเป็น กุศล ก็ดี หรือ อกุศล ก็ดี เกิดขึ้นตามมา
คุณ Mark ถามว่า วิธีการที่ดี ในการทำสมาธิ (อานาปานสติ) ในชีวิตประจำวัน คืออะไร และ ทำอย่างไร? ท่านภัณเตมาร์ค ตอบว่า "พระศาสดา" ทรงตรัสสอนให้ทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาณ ทำตามคำสอนของ "พระศาสดา" ปฏิบัติตามโอวาท ยิ่งทำมากยิ่งดี ซึ่ง "พระตถาคต" ทรงเปรียบเหมือนเจ้าของร้านค้าตลาด ที่จัดแจงร้านเป็นอย่างดีในเวลาเช้า ในเวลาบ่าย และในเวลาเย็น ฉันใด ฉันนั้น เราควรเจริญอานาปานสติ อย่างน้อย 3 ครั้ง ในเวลาเช้า เวลาบ่าย และเวลาเย็นเช่นกัน แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติตามคำตรัสสอนของ "พระศาสดา" แล้ว
โปรดเอา background mudic ออกจากการบรรยายขอรับ... เสียงรบกวนฟังธรรมไร้ประโยชน์ครับ
Sathu sathu sathu
ขอกล่าวคำว่า, พระอาจารย์, ณมัสการ, แดดษิณรี, ขอกล่าวสับสันๆ
กระทู้ธรรม, พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, แด่องค์สัมมา, สัมพุทธเจ้า
สาธุๆ
สาธุสาธุสาธุเจ้าค่ะ
สาธุค่ะ
สาธุ
Sathu
สาธุครับ
สาธุค่ะ
สาธุ
สาธุครับ
สาธุสาธุสาธุค่ะ
สาธุสาธุสาธุค่ะ