รามเกียรติ์ EP. 9 - ยกเขาพระสุเมรุ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 23 พ.ย. 2023
  • ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รอบระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และ บทละคร รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเป็นสองสิ่งที่เกิดมาคู่กัน แต่เพิ่งจะได้อยู่คู่กันในครั้งนี้ หลังจากที่เวลาล่วงมากว่า 200 ปี ไขความเข้าใจในเรื่องราวภาพวาดที่มีความยาวมากที่สุดในโลก ภาพต่อภาพ บทต่อบท จารึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษ ถ่ายทอดเรื่องราวสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
    บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ถือได้ว่าเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากที่สุด โดยเรื่องราวก็จะเริ่มต้นตั้งแต่ที่มาที่ไปของตัวละคร สถานที่ และ เหตุการณ์สำคัญต่างๆ โดยภาพเรื่องราวในส่วนต้นนี้ จะปรากฏอยู่ตามซุ้มประตูต่างๆ รอบระเบียงวัดพระแก้ว ก่อนที่จะมาถึงภาพจิตรกรรมที่ฝาผนังในห้องที่ 1 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ตอนที่นางสีดาปรากฏตัว ไปจนจบเรื่องที่ห้องที่ 178
    ดังนั้นหากจะให้เข้าใจเรื่องราวรามเกียรติ์ครบถ้วนสมบูรณ์และทราบถึงที่มาที่ไป ก่อนจะถึงภาคหลัก จะต้องเริ่มต้นจากซุ้มประตูเหล่านี้ก่อน
    สำหรับภาพที่นำมาเล่าในคลิปนี้ เป็นภาพที่ซุ้มประตูพระฤาษี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เป็นผลงานชิ้นสำคัญระดับตำนานให้กับสองพี่น้องพญาวานร แต่เหตุการณ์ที่ตามมาจากการสร้างผลงานในครั้งนี้ กลับจะมีผลกระทบให้สองพี่น้องพญาวานรที่น่าจะมาเป็นกำลังสำคัญของพระราม อาจจะไม่เป็นไปตามนั้น
    และช่วงท้ายคลิปยังมีเกร็ดเกี่ยวกับบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ภาพจิตรกรรมฝาผนังรอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระแก้ว อีกด้วย โดยในตอนนี้จะกล่าวถึงลักษณะของตัวละครสำคัญ ได้แก่ พาลี สุครีพ และ ชามพูวราช
    #รามเกียรติ์
    #วัดพระแก้ว
    #จิตรกรรมฝาผนัง
    #เขาพระสุเมรุ

ความคิดเห็น •