ทุนท้องถิ่น
ทุนท้องถิ่น
  • 30
  • 7 356
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์: ‘ท้องถิ่น’ ไม่ใช่ ‘บ้านนอก’ อีกต่อไปแล้ว
ในฐานะที่เป็นผู้ที่สนับสนุนงานพัฒนาท้องถิ่นและมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นที่ความเป็นเมืองขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้านการศึกษา เทคโนโลยี มองเห็นบทบาทของนวัตกรรมทางสังคมที่ช่วยปรับเปลี่ยนและพัฒนาท้องถิ่นผ่านกลุ่มคนที่เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งสำนักนวัตกรรมแห่งชาติในสมัยที่เขาเป็นหัวเรือใหญ่นั้นได้ส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่น และกลุ่มนักนวัตกรรมทางสังคมเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรมสังคมจำนวนนับร้อยโครงการ
กองบรรณาธิการ “ทุนท้องถิ่น” สัมภาษณ์ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ที่ตอบรับเป็นปรึกษาให้กับการพัฒนาเครือข่าย “ทุนท้องถิ่น” มาตั้งแต่ยังดำรงตำแหน่ง ผอ. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งเขาท้าทายหลายๆ คนว่า ท้องถิ่นไม่เท่ากับบ้านนอก และคนท้องถิ่นไม่ใช่คนที่ต้องสื่อสารด้วยผ่านช่องทางเก่าๆ อย่างใบปลิวแผ่นพับ แต่พวกเขาก็ใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับคนเมือง
"เรื่องท้องถิ่นมันไม่ใช่เรื่องบ้านนอก เรื่องท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนเมือง เรื่องท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องที่เราไม่ต้องสนใจก็ได้ เพราะว่าคนที่อยู่ก็เป็นคนยากจน ท้องถิ่นมันเปลี่ยนไปแล้ว คำว่าท้องถิ่น ควรได้รับการพูดถึงไม่แตกต่างจากมุมมองของคนในเมืองใหญ่ ด้วยการที่เราเปลี่ยนความคิดว่า อยู่ที่ไหนก็เท่าเทียมกัน"
มุมมอง: 3

วีดีโอ

'ตลาดน้ำสองคลอง' ช็อป ชม ชิม ดื่มด่ำวัฒนธรรมสุดชิลล์ชานเมืองกรุง
มุมมอง 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา
หากใครมีเวลาไม่มากและต้องการหลบหลีกความวุ่นวายของเมืองกรุง ขอแนะนำ 'ตลาดน้ำสองคลอง' วัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำและพื้นที่ทางวัฒนธรรมสุดคูลที่เดินทางแสนง่าย อยู่ในเมืองกรุง แต่ยังมีกลิ่นอายบ้านสวนริมน้ำให้ได้สัมผัส ตลาดน้ำแห่งนี้ ตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคนในชุมชนที่อยากหารายได้เสริมจากกิจกรรมและผลิตผลท้องถิ่นที่มีอยู่ จึงช่วยกันลงขัน วัดตลิ่งชันให้ใช้สถานที่ และสำนักเขตช่วยสนับสนุนอีกแรง เผื่อว่าตลาดน้ำ...
‘แม่สามแลบ สาละวิน กลอเซโล’มิติใหม่การท่องเที่ยวชายแดน สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน
มุมมอง 32 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ชัย-พงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ นายกสมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน คนทำงานภาคประชาชนมายาวนานหลายสิบปี ที่คลุกคลีอยู่กับพี่น้องชาติพันธุ์และทำงานขับเคลื่อนด้านทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาะวิน จนได้รับความไว้วางใจมาเป็นตัวแทนท้องถิ่น รับเลือกเป็นนายก อบต.แม่สามแลบ เขาให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือชาวบ้านชาติพันธุ์ใน...
ฟื้น ‘ผลหัน’ พืชสมุนไพรโบราณปัตตานี ภูมิปัญญารักษาโรคผิวหนัง
มุมมอง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
“ต้นหัน” ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านของคนปัตตานีและใกล้เคียงมาตั้งแต่โบราณ เพราะเป็นไม้ใหญ่ที่หาได้ทั่วไปในอดีต โดยคนเฒ่าคนแก่นำผลแห้งมาบด แล้วคั่วกับน้ำมัน ทำเป็นน้ำมันผลหัน หรือ มีเยาะ แดแฮ (Minyak Derahan) ในภาษามลายูท้องถิ่น น้ำมันผลหันมีสรรพคุณแก้โรคหิดได้ชะงัก และยังสามารถรักษากลากเกลื้อนและโรคผิวหนังต่างๆ ได้ด้วย คนหนุ่มสาวปัจจุบันอาจไม่มีประสบการณ์ในการทาน้ำมันผลหันแก้หิตตอนเด็กๆ...
คนรุ่นใหม่เมืองพร้าว อนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นเมือง ควายไทยสวยงาม สร้างเศรษฐกิจชุมชน
มุมมอง 167 ชั่วโมงที่ผ่านมา
แดน-วุฒิชัย คนดี เด็กหนุ่ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เขาบอกว่าเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่เขาชอบลงมือปฏิบัติมากกว่า เขาจึงเริ่มต้นเพาะเลี้ยงหมูพันธุ์ดีขาย ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.4 พอจบ ม.ปลาย เขาตัดสินใจไม่เรียนต่อ แต่ขอเป็นผู้ประกอบการเอง ด้วยการก่อตั้งฟาร์มเล็กๆ ที่ชื่อ “เฮือนไฮ่ผ่อดาว ม้าเมือง” อนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นเมือง จนต่อมา ได้ขยับขยายกลายเป็น “คอกควายวังหินฟาร์มเชียงใหม่ ควายไทยสายพัฒนา” จนกลายเป...
'นาลันทา' บ้านดิน ธรรมชาติ Art & Craft พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจกับชีวิตที่ลงตัว
มุมมอง 119 ชั่วโมงที่ผ่านมา
หนิง' สุณิสา นัดวิไล เธอเป็นคนสมุทรปราการ แต่ต้องมนต์หลงเสน่ห์ของเมืองพร้าว จนพาครอบครัวมาปักหลักเริ่มต้นทำบ้านดิน และทำ Nalantha Clay House Art & Craft Workshop จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้การทำบ้านดิน และการย้อมสีธรรมชาติ ผ้ามัดย้อม ปักผ้า งานคราฟท์ ที่มีคนแวะเวียนเข้ามา ในรอบปีเธอได้จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป และนำบ้านดินมาเป็นที่พักโฮมสเตย์ที่เงียบ ง่าย งาม สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ ชีวิตที่ลงตัว เธอบอก...
ทำจากเล็กไปใหญ่ ‘ชุมชนคลองบางหลวง’ แหล่งฮีลใจคนกรุง
มุมมอง 614 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ชุมชนคลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพ ต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักจากการที่ศิลปินกลุ่มหนึ่ง ขอซื้อบ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่งริมคลองบางหลวง หรือบางคนอาจเรียกคลองบางกอกใหญ่ มาทำเป็นสถานที่ทำงานและจัดแสดงผลงานศิลปะรวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้อยลูกปัด ระบายสีหน้ากาก รวมถึงจัดแสดง ‘หุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง’ ให้ผู้สนใจมาชมฟรี ทำให้สถานที่แห่งนี้ค่อยๆ เป็นรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ มีนักท...
ม.อ.ผลิต ‘แม่ปูไข่นอกกระดอง’ ช่วยเหลือเกษตรกร เหมือนมีธนาคารอยู่หลังบ้าน
มุมมอง 514 ชั่วโมงที่ผ่านมา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประสบความสำเร็จในการผลิตแม่ “ปูทะเลไข่นอกกระดองเลียนแบบธรรมชาติ” พร้อมเพาะฟักลูกปูทะเลช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาคอขวดวงการปูทะเลของไทย ‘ปูไข่’ เป็นสัตว์น้ำราคาแพง ลงทุนน้อยแต่ตลาดมีความต้องการสูง สามารถเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำและพืชประเภทอื่นได้อย่างในพื้นที่นากุ้งร้าง เช่น ปลากินพืช สาหร่ายหลายชนิด เปรียบเสมือนมีธนาคารอยู่หลังบ้าน...
สร้อยแก้ว คำมาลา จาก ‘นักเขียน’ มาเป็นสื่อเพื่อบ้านเกิดที่แม่ฮ่องสอน
มุมมอง 219 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สร้อยแก้ว คำมาลา นักเขียนเรื่องสั้นและวรรณกรรมสะท้อนประเด็นปัญหาทางสังคม เกิดและเติบโตที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เธอเริ่มต้นเขียนกวีลงนิตยสารวัยรุ่นตั้งแต่ชั้นมัธยม และเริ่มมีผลงานเรื่องสั้นตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจตั้งแต่เรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นนักเขียนเต็มตัว ผลิตผลงานเรื่องสั้น บทกวี และบทความออกมาอย่างต่อเนื่อง เธอเคยได้รับรางวัล ‘ช่อการะเกด’ ในฐานนักเขียน เธอ...
‘แก๊งค์ถิ่นนิยม’ คนรักษ์ถิ่นแห่ง อ.เชียงดาว พัฒนาท้องถิ่นด้วยความรู้ สู่ชุมชนและธรรมชาติที่ยั่งยืน
มุมมอง 1214 วันที่ผ่านมา
‘แก๊งค์ถิ่นนิยม’เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ มล-จิราวรรณ คำซาว ที่เกิดใน อ.เชียงดาว ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่ภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด และสนใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เธอลาออกจากงาน และกลับสู่เชียงดาว โดยนำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่บ้านเกิด ส่งเสริมการผลิตในท้องถิ่นโดยนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ เช่น ชาจากดอกไม้ รวมถึงผลผลิตจากป่าชุมชนอย่างน้ำผึ้งป่า และกา...
แคมป์ Gi Gae Gae @หาดแฆแฆ ปลุกยักษ์หลับ ชายหาดปัตตานีในความทรงจำ
มุมมอง 1014 วันที่ผ่านมา
“แฆแฆ” เป็นชายหาดที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของ จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงดังมากในอดีต ทว่าด้วยสถานการณ์หลายอย่างทำให้ชายหาดแห่งนี้ซบเซาไปนานนับสิบๆ ปี แต่ด้วยจิตสำนึกของเยาวชนกลุ่มหนึ่งของ ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และความทรงจำของใครอีกหลายคน จึงมีความพยายามที่จะปลุกยักษ์หลับตนนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการจัดงาน “แคมป์ Gi Gae Gae” ระหว่างวันที่ 7- 9 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ในสมกับ...
สาวญี่ปุ่นผู้หลงรักเมืองไทย สร้างห้องสมุดแบ่งปันโอกาสให้คนชายขอบเมืองพร้าว
มุมมอง 1021 วันที่ผ่านมา
โยชิมิ โฮริอุจิ (Yoshimi Horiuchi) หญิงสาวชาวญี่ปุ่นผู้รักหนังสือและการอ่าน ซึ่งบกพร่องทางการมองเห็นมาแต่กำเนิด เธอเป็นหนอนหนังสือที่หลงรักเมืองไทย รักในภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีหลายอย่างคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทำให้เธอเริ่มเรียนภาษาไทยตั้งแต่อายุ 19 ปี เธอบอกว่า ทำอย่างไรถึงจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการอ่าน เพื่อส่งเสริมโอกาสในการอ่านที่เท่าเทียมกัน ทำอย่างไรถึงจะช่วยลดช่องว่างระหว่างเด็กพิก...
กว่าจะมาเป็น 'เกลือหวานปัตตานี' เกลือดีมีน้อยที่นับวันจะยากขึ้นเรื่อยๆ
มุมมอง 421 วันที่ผ่านมา
มะรอนิง มะมิง ชาวนาเกลือปัตตานี ที่ทำนาเกลือมานาน 20 กว่าปีแล้ว บอกว่า การทำนาเกลือปัตตานีจะมีขั้นตอนเยอะกว่าการทำนาเกลือที่อื่น ต้องใช้เวลารวมๆ แล้ว 4-5 เดือนกว่าจะได้เกลือหวาน โดยเวลาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นการทำคันนาและการปรับดิน มะรอนิง บอกว่า การกักน้ำเกลือมี 7 ขั้นตอน ใช้เวลาประมาณ 40 วัน ถึงจะได้เกลือที่ตกผลึกอยู่ในนาแปลงสุดท้าย “หากตอนทำมีฝนตกลงมา น้ำที่กักไว้จะเสียไปเลย ต้องปล่อยทิ้งแล้วเริ่...
'เกลือหวานปัตตานี' สินค้าขึ้นชื่อแต่โบราณ สู่การต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า
มุมมอง 421 วันที่ผ่านมา
“รสชาติของเกลือปัตตานีจะมีความเค็มกลมกล่อม ลองอมเม็ดหนึ่ง แล้วก็ดื่มน้ำตามเข้าไป ห้ามเคี้ยว แล้วจะมีความหวานจริงๆ ติดลิ้น" รอหานิง กรูแป สมาชิกฝ่ายผลิตของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาเกลือบานา อ.เมือง จ.ปัตตานี บอกว่า จริงๆ แล้ว เกลือปัตตานีไม่ได้หวานเหมือนน้ำตาล แต่จะมีความเค็มไม่จัด ไม่เค็มขม เพราะใช้น้ำจากอ่าวปัตตานีที่มีส่วนผสมของน้ำกร่อยมาทำนาเกลือ เป็นที่มาของคำว่า เกลือหวานปัตตานี “เกลือหวานปัต...
‘ย่านลิเภา’ วัชพืชที่สร้างรายได้หลักหมื่นให้ชุมชนใน อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
มุมมอง 4821 วันที่ผ่านมา
ย่านลิเภา วัชพืชตระกูลเฟิร์นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในภาคใต้ ลักษณะพิเศษ คือ ค่อนข้างเหนียว ทน และอยู่ได้นาน ย่านลิเภาที่ขึ้นเองตามสวนยางพาราและสวนผลไม้ถูกนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาที่สวยงาม กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ได้ตลอดทั้งปีให้กับชาวบ้านกลุมศิลปาชีพพิเศษย่านลิเภา ในชุมชนต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส มานานถึง 43 ปีแล้ว วิธีการทำผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภา ถือว่ายาก ต้องใช้ความอดทนสูง...
Bangkok Halal Beef ฟาร์มโคขุนเกรดพรีเมียม เมืองยะลา ขุนวัวด้วย ‘เปลือกทุเรียนหมัก’
มุมมอง 7Kหลายเดือนก่อน
Bangkok Halal Beef ฟาร์มโคขุนเกรดพรีเมียม เมืองยะลา ขุนวัวด้วย ‘เปลือกทุเรียนหมัก’
Bustani แบรนด์เสื้อผ้าชุดมลายูของคนปาตานี
มุมมอง 12หลายเดือนก่อน
Bustani แบรนด์เสื้อผ้าชุดมลายูของคนปาตานี
‘ดูหลำ’ ชายแดนใต้ วิถีคนดำน้ำฟังเสียงปลาแห่งปะนาเระ
มุมมอง 39หลายเดือนก่อน
‘ดูหลำ’ ชายแดนใต้ วิถีคนดำน้ำฟังเสียงปลาแห่งปะนาเระ
‘สิริเมืองพร้าว’ จากรากเหง้า สู่ธุรกิจเพื่อสังคม และเศรษฐกิจชุมชน
มุมมอง 31หลายเดือนก่อน
‘สิริเมืองพร้าว’ จากรากเหง้า สู่ธุรกิจเพื่อสังคม และเศรษฐกิจชุมชน
‘โรงเรียนชาวเลปะนาเระ’ ชุมชนแห่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยว จ.ปัตตานี
มุมมอง 342 หลายเดือนก่อน
‘โรงเรียนชาวเลปะนาเระ’ ชุมชนแห่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยว จ.ปัตตานี
ฝายมีชีวิตห้วยกระทิง คืนชีวิตให้ระบบนิเวศคลองกูวา จ.ยะลา
มุมมอง 162 หลายเดือนก่อน
ฝายมีชีวิตห้วยกระทิง คืนชีวิตให้ระบบนิเวศคลองกูวา จ.ยะลา
Tanjak สินค้าทางวัฒนธรรมที่กำลังบูมในชายแดนใต้
มุมมอง 92 หลายเดือนก่อน
Tanjak สินค้าทางวัฒนธรรมที่กำลังบูมในชายแดนใต้
‘HANNUS’ บ้านธนูเดินดิน
มุมมอง 52 หลายเดือนก่อน
‘HANNUS’ บ้านธนูเดินดิน
‘ใส่ซัมบาย’ คนรุ่นใหม่ย้อมผ้าธรรมชาติ ฟื้นลมหายใจวิถีชุมชน
มุมมอง 143 หลายเดือนก่อน
‘ใส่ซัมบาย’ คนรุ่นใหม่ย้อมผ้าธรรมชาติ ฟื้นลมหายใจวิถีชุมชน
‘ว่าวเบอร์อามาส’ มรดกทางวัฒนธรรมของชาวมลายู
มุมมอง 23 หลายเดือนก่อน
‘ว่าวเบอร์อามาส’ มรดกทางวัฒนธรรมของชาวมลายู
‘กระจูดรายา’ ต่อยอดภูมิปัญญา สร้างมูลค่าให้วัชพืชท้องถิ่น จ.นราธิวาส
มุมมอง 184 หลายเดือนก่อน
‘กระจูดรายา’ ต่อยอดภูมิปัญญา สร้างมูลค่าให้วัชพืชท้องถิ่น จ.นราธิวาส
‘ไม้สำมะปิรักษ์โลก’ ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เหลือใช้ สร้างรายได้ รักษ์สิ่งแวดล้อม
มุมมอง 74 หลายเดือนก่อน
‘ไม้สำมะปิรักษ์โลก’ ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เหลือใช้ สร้างรายได้ รักษ์สิ่งแวดล้อม
‘นาแปลงใหญ่ทุ่งกุลา’ พลิกฟื้นผืนนา เพิ่มมูลค่าข้าว ข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ 100% จ.สุรินทร์
มุมมอง 64 หลายเดือนก่อน
‘นาแปลงใหญ่ทุ่งกุลา’ พลิกฟื้นผืนนา เพิ่มมูลค่าข้าว ข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ 100% จ.สุรินทร์
ศศิธร คำฤทธิ์: ‘สตูดิโอห่อจย่ามา’ ยกเมนูอาหารชาติพันธุ์ขับเคลื่อนชุมชน
มุมมอง 165 หลายเดือนก่อน
ศศิธร คำฤทธิ์: ‘สตูดิโอห่อจย่ามา’ ยกเมนูอาหารชาติพันธุ์ขับเคลื่อนชุมชน
Decandra ‘เชฟเทเบิ้ล’ ร้านอาหารดีที่บ้านเกิด
มุมมอง 525 หลายเดือนก่อน
Decandra ‘เชฟเทเบิ้ล’ ร้านอาหารดีที่บ้านเกิด

ความคิดเห็น

  • @esdsisaket5681
    @esdsisaket5681 20 วันที่ผ่านมา

    ขอช่องทางติดต่อด้วยครับ

    • @user-mn2kr3kt2g
      @user-mn2kr3kt2g 19 วันที่ผ่านมา

      ลองสอบถามไปทางเพจ Bangkok Halal Beef ที่ facebook.com/profile.php?id=61557437676924 ครับ

  • @อาคม-ป7อ
    @อาคม-ป7อ 25 วันที่ผ่านมา

    ขอข้อมูลติดต่อ ครับ

    • @user-mn2kr3kt2g
      @user-mn2kr3kt2g 19 วันที่ผ่านมา

      ลองสอบถามไปทางเพจ Bangkok Halal Beef ที่ facebook.com/profile.php?id=61557437676924 ครับ

  • @huahintrainspotters
    @huahintrainspotters 5 หลายเดือนก่อน

    แนวคิดดีมาก ๆ เลยครับ ถ้ามีคนคิดและทำในแนวทางแบบนี้เพิ่มขึ้น ท้องถิ่นก็จะเติบโตตามไปด้วย