Nick Nahathai
Nick Nahathai
  • 10
  • 23 112
ผู้ใช้ 👤| ป.อาญา มาตรา 84 📖
[ผู้ใช้]
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด
ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ และถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าทางใด ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้นั้น
มุมมอง: 1 621

วีดีโอ

ตัวการ 👥 | ป.อาญา มาตรา 83 📖
มุมมอง 2.7K3 ปีที่แล้ว
มาตรา 83 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
Morning sounds สดชื่นอีหลี
มุมมอง 744 ปีที่แล้ว
Morning sounds สดชื่นอีหลี
บันดาลโทสะ 😡 | ป.อาญา มาตรา 72 📖
มุมมอง 1.7K4 ปีที่แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา บันดาลโทสะ (เหตุลดโทษ) มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
พยายาม | ป.อาญา มาตรา 80 📖
มุมมอง 6K4 ปีที่แล้ว
การพยายามกระทำความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
🛡ป้องกัน จำเป็น | ป.อาญา มาตรา 67, 68 📖
มุมมอง 6K4 ปีที่แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา จำเป็น เหตุยกเว้นโทษ (มีความผิด แต่ยกเว้นโทษ) มาตรา 67 ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น (1) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ (2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั...
🗣💬หมิ่นประมาท ดูหมิ่น | ป.อาญา และ ป.พ.พ. 📖
มุมมอง 2K4 ปีที่แล้ว
- หมิ่นประมาททางอาญาและทางแพ่ง - ความแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทกับดูหมิ่น background music : Kiss the Sky - Aakash Gandhi
🤕ทำร้ายอันตรายสาหัส🏥 | ป.อาญา มาตรา 295, 297 📖
มุมมอง 2.4K4 ปีที่แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท อันตรายสาหัสนั้น ...

ความคิดเห็น

  • @racharilprosi3200
    @racharilprosi3200 9 วันที่ผ่านมา

    ดีมากเลยครับ เกิดภาพจำ

  • @j7plus150
    @j7plus150 6 หลายเดือนก่อน

    ไม่เห็นลงคลิบเลย ครับช่วงนี้

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 6 หลายเดือนก่อน

      พอทำงานแล้ว ก็แทบไม่ได้มีเวลาทำคลิปเลยค่ะ😅

  • @นุชาผาดีอุ่น
    @นุชาผาดีอุ่น ปีที่แล้ว

    เสียงหน้ารัก

    • @NickNahathai
      @NickNahathai ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่า เขินจัง😊

  • @MrYut4657
    @MrYut4657 ปีที่แล้ว

    ดูจบ เมื่อ 23:16 2022-12-03

  • @somprasongkhumchot476
    @somprasongkhumchot476 2 ปีที่แล้ว

    ขอเบอร์ปรึกษาได้ป่าวคับ

  • @somprasongkhumchot476
    @somprasongkhumchot476 2 ปีที่แล้ว

    ขอสอบถามคับเราโดนทำร้านตาบวมผมไม่ยอมความแล้วส่งฟ้องสานผมต้องจ้างทนายไหม

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      โดยปกตินอกจากวิธีแจ้งความกับพนักงานสอบสวนแล้ว ถ้าเพื่อความรวดเร็ว ก็สามารถให้ทนายความฟ้องร้องดำเนินคดีโดยตรงต่อศาลได้เลยค่ะ ขอบอกไว้ก่อนเราเองไม่ใช่ทนายความนะคะ แต่อยากแนะนำเว็บของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ มีให้ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรีผ่าน line ระหว่างเวลา 8.30 -16.30 น ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ แอดไลน์ลิงก์นี้ก็ได้ค่ะ liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=lct249

  • @XXX-p2g9o
    @XXX-p2g9o 2 ปีที่แล้ว

    ภยันตราย เข้ามาใกล้ตัว เราจึงทำลายภยันตรายนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน ตาม68 หรือ ภยันตราย เข้ามาใกล้ตัว เราจำเป็นต้องทำลายภยันตรายนั้น ตาม67 จุดตัดคือ ตรงไหนครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      ขออนุญาตอ้างอิงคำอธิบายจากหนังสือนะคะ - ป้องกัน 68 ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ไม่จำเป็นต้องรอให้ภัยนั้นเกิดขึ้นก่อน แต่ต้องอยู่ในลักษณะที่หากไม่กระทำเพื่อป้องกันแล้วจะต้องเกิดภัยอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าภัยยังอยู่ในอนาคตหรือห่างไกล ออกไป ไม่ฉุกเฉินก็ไม่เกิดสิทธิป้องกันได้ เพราะถ้าภัยนั้นผ่านไปแล้ว ก็อาจจะเข้ากรณีบันดาลโทสะ - จำเป็น 67 ภยันตรายนี้ต้อง"กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทันใดอันเป็นเหตุฉุกเฉิน" ซึ่งถ้าไม่ได้กระทำผิดลงในขณะนั้น อาจสายเกินที่จะแก้ไขได้ทันท่วงที ถ้าภัยผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะต้องหลีกเลี่ยง/ไม่มีความจำเป็นจะต้องเลือกกระทำความผิด เพราะอาจมีโอกาสหาทางหลีกเลี่ยงด้วยวิธีอื่นที่ไม่ต้องกระทำผิดได้ (จากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป ของ อ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ) เป็นอีกเล่มที่อธิบายอาญาภาคทั่วไปได้เข้าใจง่าย แนะนำเลยค่ะ

    • @XXX-p2g9o
      @XXX-p2g9o 2 ปีที่แล้ว

      @@NickNahathai ตัวอย่าง เช่น เราไปนั่งเรือกับเพื่อน แล้วเรือกำลังจะล่ม มีห่วงยางอันเดียว เราชิงแย่งได้ เพื่อนจมน้ำตาย เราผิด 67 หรือ 68

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      ส่วนตัวมองว่า ใกล้เคียงกับจำเป็นค่ะ เพราะอ่านเจอในเรื่องจำเป็นมีตัวอย่างเรือล่มคลายกัน เป็นคดีของอเมริกา กะลาสีและผู้โดยสารเรือแตก เรือรั่วเกิดพายุจวนจะล่ม ต้นหนสั่งให้กะลาสีจับคนโยนลงน้ำไป14คน เรือจึงไม่ล่ม จนกระทั่งมีเรือมาช่วยไว้ได้ กะลาสีคนหนึ่งถูกฟ้องข้อหาฆ่าคนโดยมีเหตุลดโทษ ศาลลงโทษจำคุก6เดือน แต่ก็มีเหตุผลตอนหนึ่งในคำพิพากษาว่า "บุคคลไม่มีสิทธิทำลายชีวิตของอีกคนหนึ่งเพื่อให้ตนเองอยู่รอด" แม้ว่าจะเป็นเพียงวิธีเดียวก็ตาม [คดี U.S.v Holmes, 26 F.Cas. 360 (1942)] อีกกรณีที่เรือโดยสารเกิดขัดข้องกลางทะเลไม่อาจติดต่อทางวิทยุได้หลายวัน หาอาหารจากที่อื่นก็ไม่ได้ นอกจากจำเป็นต้องเปิดเอากล่องสินค้าบรรจุอาหารของผู้อื่นที่บรรทุกมาด้วยออกมาเพื่อประทังชีวิต ย่อมเป็นเหตุยกเว้นโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 541/2477 ธส. เล่ม18 หน้า895)

    • @XXX-p2g9o
      @XXX-p2g9o 2 ปีที่แล้ว

      @@NickNahathai ขอบคุณครับ

    • @XXX-p2g9o
      @XXX-p2g9o 2 ปีที่แล้ว

      @@NickNahathai ผมมาแยกแยะระหว่าง 68 กับ67 ตรงจุดตัดเรื่องของภยันตรายที่มากระทำ 67 จำเป็น เกิดเนื่องจาก ภัยมาใกล้ตัวจำเป็นต้องกระทำ ส่วน 68 ป้องกัน บทมันระบุคำว่า”ประทุษร้ายอันละเมิดกฎหมาย” หมายถึง มันเจาะจง ว่า ต้องเป็น การตั้งใจทำผิดกฎหมาย ความแตกต่างจึงน่าจะอยู่ที่ว่า ภัยนั้นมีสาเหตุมาจาก อะไร ถ้าคนที่มาละเมิดตั้งใจทำผิดกฎหมาย จะเป็น 68 แต่ถ้าเป็น ภัยที่เกิดจากความไม่ตั้งใจแต่แรก จะเป็น 67 ไม่รู้ว่า เข้าใจถูกไหม? ครับ

  • @racharilprosi3200
    @racharilprosi3200 2 ปีที่แล้ว

    ดีจังเลยแบบนี้เข้าใจง่าย

  • @ไม่ควรทําชั่ว
    @ไม่ควรทําชั่ว 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคับ

  • @ไม่ควรทําชั่ว
    @ไม่ควรทําชั่ว 2 ปีที่แล้ว

    ขอหน่อยครับ แอดหมิ่นประมาท ม.326= และม.393หมิ่นซึ่งหน้า คับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      ตามลิงก์นี้เลยค่ะ th-cam.com/video/WTxDEEhr9rY/w-d-xo.html

  • @JKMLX2
    @JKMLX2 2 ปีที่แล้ว

    ในกรณีที่เขายกปืนข่มขู่​ผู้ที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกาย​เขา.. ล่ะ...? การที่จะบอกว่า​ยกปืน​ขีนมาแต่มิใด้ยิงออกไปทำให้ผู้อื่นใด้รับบาดเจ็บ​ จึงไม่ควรถือว่า​เป็นเจตนา​พยายามฆ่า.. ซึ่งถ้าหาก​เจาไม่ยกปืนขึนมาข่มขู่​เพื่อปกป้องตัวเอง​เขาอาจจะ​ถูกทำร้ายหรือถูกเป็นฝ่ายถูกฆ่า.. ในกรณีที่​ยกปืน.. ขึ้นมาข่มขู่​จึงไม่ควรจะ​ถือว่า​เป็นเจตนา​พยายามฆ่า... ถูกต้อง​ไหม​ขอรับกระผม.........!

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยค่ะ ต้องดูเจตนาประกอบด้วย ถ้ามีพฤติการณ์เพียงยกปืนเล็งโดยมีเจตนาข่มขู่ ให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความกลัวหรือเพื่อป้องกันตนเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า

  • @thelow4554
    @thelow4554 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากๆนะครับ ชอบตรงยก ฎ.มาด้วย

  • @nisboo2725
    @nisboo2725 2 ปีที่แล้ว

    อยากให้ทำอีกเรื่อยๆครับฟังง่ายเข้าใจง่ายครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณนะคะ ถ้ามีเวลาจะพยายามทำอีกค่ะ

    • @nisboo2725
      @nisboo2725 2 ปีที่แล้ว

      @@NickNahathai งับ <3

  • @angelthiptarot
    @angelthiptarot 3 ปีที่แล้ว

    อธิบายได้ชัดเลยค่ะ

  • @user-ed6pg2mb8w
    @user-ed6pg2mb8w 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @usernull66
    @usernull66 3 ปีที่แล้ว

    ผมว่า คำแก้ต่างที่อ้างว่าไม่รู้ว่าไม่จริง มันฟังไม่ขึ้นหรอกครับสำหรับ ผู้กระทำที่มี เจตนาที่จะใส่ความ หรือเจตนาแสดงข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งพาดพิงไปถึงผู้อื่นต่อบุคคลที่สามให้เสียหาย

  • @arcan10
    @arcan10 3 ปีที่แล้ว

    jungs habt ihr alles verstanden

  • @heyguys9178
    @heyguys9178 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @heyguys9178
    @heyguys9178 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @heyguys9178
    @heyguys9178 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @parugunfingerstyle18
    @parugunfingerstyle18 3 ปีที่แล้ว

    บุคคลที่สามในที่นี้คืออะไรครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 3 ปีที่แล้ว

      ในเรื่องกระทำผิดด้วยความจำเป็น "บุคคลที่สาม" ก็คือผู้อื่นที่ไม่ได้กระทำความผิด หรือไม่ได้มีส่วนผิดด้วยเลย เช่น Aข่มขู่ว่าจะยิงB ถ้าBไม่ทำร้ายC กรณีเป็นการที่BถูกAบังคับข่มขู่ให้กระทำความผิดต่อC ในที่นี้C ถือเป็นบุคคลที่สามค่ะ

    • @golfgolf5424
      @golfgolf5424 3 ปีที่แล้ว

      ผมเดาว่าน่าจะเป็นเคล็ดใบ้การตอบข้อสอบน่ะครับ. ว่าถ้าเห็นข้อเท็จจริงในโจทย์มีบุคคลที่สามมาเกี่ยว เป็นนัยๆว่า อาจารย์จะออกข้อสอบ เรื่องจำเป็นม67 ให้ใช้ 67 นักศึกษาจะได้ไม่สับสน. สไลด์นี้น่าจะเป็นของนักศึกษาปตรี แต่จริงๆคือ บุคคลที่สาม มันมีได้ทั้ง 67และ68 หรือ67จะไม่มีบุคคลที่สามก็ได้ บุคคลที่สามตาม การกระทำผิดโดยจำเป็น เช่น Aขู่Bให้ปปล้นธนาคารเอาเงินมาให้ โดยจับCซึ่งเป็นลูกBไว้ถ้าไม่ทำจะฆ่าC คือ 67อนุ2 หรือจะเป็นจำเป็นโดยไม่ต้องมีบุคคลที่สามก็ได้ตัวอย่างเช่น. Aขู่Bให้ปล้นธนาคารเอาเงินมาให้ถ้าไม่ทำจะฆ่าBโดยเอาระเบิดผูกติดตัวBไว้แล้วรอกดรีโมท ก็ไม่มีบุคคลที่สาม ไปเข้า ม67อนุ1 ป้องกันม68ก็มีบุคคลที่สามได้. เช่น Aเห็นBกำลังเอาไม้ตีCซ้ำๆ. Aหยิบไม้มาตี B เพื่อช่วยC. ก็เป็นการป้องกันตาม ม68

    • @XXX-p2g9o
      @XXX-p2g9o 2 ปีที่แล้ว

      @@golfgolf5424 ขอบคุณครับ

  • @rjanchatrikingwongsa3601
    @rjanchatrikingwongsa3601 3 ปีที่แล้ว

    เป็นสื่อที่ดีมากครับ อธิบายได้ชัดเจน ขอบคุณครับ

  • @วิถีกล้วยกล้วย
    @วิถีกล้วยกล้วย 4 ปีที่แล้ว

    ทำมาตราอื่นๆด้วยได้ไหมครับพี่ ผมว่าฟังแล้วเข้าใจดีครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 4 ปีที่แล้ว

      ยินดีค่ะ ถ้ามีเวลาจะพยายามทำมาตราอื่น ๆ นะคะ

  • @รัฐนันท์ทําลานดี

    ดีมากเลยครับ ขอบคุณครับ

  • @AomAom-vw2yu
    @AomAom-vw2yu 4 ปีที่แล้ว

    สอบถามเพิ่มเติมได้รึป่าววคับ ใน กรณี ที่ผู้เสียหาย ถูกชกต่อย จนเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง กะดูกกรามร้าว ขอบตาบวม นอนรักษาตัวที่ โรงพยาบาล เพียง3วัน โทธ พอจะรอลงอาญา คุมประพึด ได้รึป่าวคับ เพราะไม่เคยมีคดี มาก่อน ม่มีการใช้อาวุธใดๆทั้งสิ้น ขอคำเเนะนำหน่อยคับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 4 ปีที่แล้ว

      อ้างอิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นะคะ กรณีให้ รอการลงโทษ หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียก รอลงอาญานั้น - ถ้าศาลท่านพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าความผิดที่จำเลยก่อ มีคำตัดสินว่าควรลงโทษให้จำคุกจำเลย ไม่เกิน 5 ปี - ถ้าจำเลยไม่เคยมีประวัติการทำผิดร้ายแรงมาก่อน ศาลจะพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ เช่น อายุ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา สุขภาพจิต แล้วเห็นว่าจำเลยไม่ใช่คนเลวอะไร - ศาลก็อาจให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวกลับใจโดยการรอการลงโทษไว้ จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติด้วยหรือไม่ก็ได้ อันนี้จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลท่านค่ะ ที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆไป

  • @golftopgun1
    @golftopgun1 4 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 4 ปีที่แล้ว

      ยินดีมาก ๆ ค่ะ😊

  • @deealaskalife5497
    @deealaskalife5497 4 ปีที่แล้ว

    สุดยอดเลยครับ

    • @NickNahathai
      @NickNahathai 4 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่า🙏