The Infinity
The Infinity
  • 2 069
  • 335 222
รีวิวหนังสือ Energize! ความลับของมนุษย์พลังสูง | Keep Me Busy Podcast EP. 210
แนะนำหนังสือ Energize! ความลับของมนุษย์พลังสูง เหมาะมากสำหรับคุณผู้ฟังที่รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยล้า อ่อนเพลียและไม่มีพลังทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตเลย การเข้าใจพลังงานของตัวเองผ่านแบบทดสอบในเล่มและปรับการใช้ชีวิตทั้งการนอน การตื่น การดื่มกาแฟ การเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน ส่วนตัวหลังจากทดลองปรับแล้วพบว่า ระหว่างวันทำงาน productive มากขึ้นและสิ้นวันก็ไม่ได้เหนื่อยอ่อนจนแทบคลานกลับบ้านเหมือนเดิม ถ้าคุณผู้ฟังกำลังประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน episode นี้เหมาะกับคุณค่ะ
#book #review #podcast #ความลับมนุษย์พลังสูง
มุมมอง: 20

วีดีโอ

แบงก์ชาติ เงินบาทแข็ง! เพื่อประเทศชาติ หรือการเมือง? | Democracy X Innovations EP.221
มุมมอง 312 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ช่วงนี้เงินบาทแข็งค่ามาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพราะผลกระทบจากสถานการณ์โลกหรืออย่างไร แต่แน่นอนว่ามีคนได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ ฟากฝั่งรัฐบาลเห็นว่าควรลดค่าเงินบาท ให้การส่งออกดีขึ้น ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าคงไว้ได้ จึงเกิดเป็นวาทะที่ต่างวาระกันผ่านสื่อของทั่งสองฝั่ง ทำให้เกิดการถกเถียงว่า การเพิ่มหรือลดค่าเงินบาทนั้นดีกว่ากัน มากไปกว่านั้น นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่องค์กรในลักษณะที่เป็น “อิสระ” ...
Infinity Books 185: บ้านดับจิต กาลครั้งหนึ่ง…ฉันเคยตาย
มุมมอง 659 ชั่วโมงที่ผ่านมา
เรื่องราวของหญิงสาวผู้ไม่มีความทรงจำในวัยเด็กหลงเหลืออยู่ เธอเพียงต้องการแต่คำตอบที่ว่า ความทรงจำของเธอนั้นหายไปไหน และบ้านร้างหลังนี้ที่พ่อมอบกุญแจไว้ให้เกี่ยวข้องอย่างไรกับตัวเธอเอง
อัตลักษณ์ของรัฐธรรมนูญคืออะไร การแก้ไขรายมาตราจะทำให้ดีขึ้นไหม | Democracy X Innovations EP.220
มุมมอง 2712 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สภาได้มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ของทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน เพื่อทำให้รัฐธรรมนูญมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสังคมไทยมากขึ้น เราจึงมาชวนคุยเรื่องอัตลักษณ์รัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญกับบริบททางสังคมของประเทศต่าง ๆ ว่าเหตุใดกฎหมายจึงเป็นผลผลิตของสังคมนั้น ๆ
ทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุขเพิ่มขึ้นมากที่สุด? | Tell Me Why EP.25
มุมมอง 5414 ชั่วโมงที่ผ่านมา
มิติของความสุขมีอะไรบ้าง แต่ละมิติแตกต่างกันอย่างไร แล้วเราจะสามารถนำความสุขแต่ละมิติมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงอย่างไรให้มีความสุขมากขึ้น
สร้างพื้นที่สบายใจให้กับตัวเอง | Keep Me Busy EP.209
มุมมอง 4916 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ชวนผู้ฟังสร้างพื้นที่สบายใจให้กับตัวเองกันค่ะ หลังจากทำงานหนักมาตลอดทั้งวันจะดีแค่ไหนถ้าได้มีพื้นที่พักกาย พักใจ เพื่อสร้างความสบายกายและใจ เพื่อให้มีพลังในวันต่อ ๆ ไป เราจะมาแชร์วิธีสร้างพื้นที่สบายใจให้ตัวเองให้ฟังกันค่ะ
Infinity Books 184: โอกาสสุดท้ายที่จะได้เจอคนตายอีกครั้ง
มุมมอง 93วันที่ผ่านมา
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดีที่สุดในรอบปีนี้ที่ได้อ่าน … หากเราเหลือโอกาสเพียง 1 ครั้งที่จะได้พบคนที่ตายไปแล้ว เราอยากจะบอกอะไรกับเขา . #books #bookreview #podcast #books #รีวิวหนังสือ
เป็นคนรวยสไตล์ Minimalist | StartYup EP. 229
มุมมอง 2.3Kวันที่ผ่านมา
ชวนมาคุยเรื่องการเพิ่มความมั่งคั่ง ทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น สะสมเงินได้มากขึ้น ตามวิถีของ Minimalist
ทำไมคนได้เหรียญทองแดง มีความสุขมากกว่าคนที่ได้เหรียญเงิน? | Tell Me Why EP.24
มุมมอง 24วันที่ผ่านมา
เคยสังเกตไหมว่า ในการแข่งขันกีฬา นักกีฬาที่ได้เหรียญทองแดงมักจะดูมีความสุขมากกว่าคนที่ได้เหรียญเงิน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่เหรียญเงินน่าจะดีกว่าแท้ ๆ แต่คนได้เหรียญทองแดงกลับดีใจมากกว่า Tell Me Why จะชวนมาหาคำตอบผ่านแนวคิดทางจิตวิทยาที่เรียกว่า "Counterfactual Thinking" . #podcast #psychologyfacts #sports #psychology #olympics
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือ "ปัญหาไม่ใช่เรื่องใหญ่ คิดยังไงให้สร้างสรรค์" | Keep Me Busy EP.208
มุมมอง 25วันที่ผ่านมา
แชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือที่ชื่อว่า ปัญหาไม่ใช่เรื่องใหญ่ คิดยังไงให้สร้างสรรค์ โดยคุณ Brian Tracy หนังสือแห่งความบังเอิญที่ซื้อมา บังเอิญได้อ่านและบังเอิญตรงกับช่วงที่กำลังเจอความท้าทายพอดี เลยคิดว่าน่าจะเหมาะกับคุณผู้ฟังที่กำลังเจอความท้าทายยาก ๆ แล้วก็คิดหาทางออกหรือหาคำตอบไม่เจอ ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
จากสภาผัวเมียถึงครม. สืบสันดาน: แล้วมันผิดตรงไหนอ่ะ? | Democracy X Innovations EP.219
มุมมอง 10114 วันที่ผ่านมา
จากการที่มีการโปรดเกล้าฯ ครม. ของนายกฯแพทองธาร แล้ว ซึ่งเป็นการตั้ง ครม. ตามเอกสิทธิ์ของนายกฯ ที่ต้องระมัดระวังในการตั้งคนที่มีคุณสมบัติไม่ครบ จึงต้องเปลี่ยนมาตั้งบุคคลอื่น แต่บุคคลอื่นเหล่านั้น ดันมีนามสกุลที่คล้ายกับนักการเมืองรุ่นก่อน จนเกิดกระแสที่กล่าวว่า เป็น ครม. สืบสันดาน แต่แล้ว ครม.สืบสันดานนั้น จะเป็นวาทะ คล้ายกับ "สภาผัวเมีย" หรือ "เผด็จการรัฐสภา" ในอดีตหรือไม่ จนเป็นวาทะเด็ดในการโค...
Black Myth: Wukong สู่ซอฟต์พาวเวอร์ (ของแทร่) | จ้อจีน EP.220
มุมมอง 2314 วันที่ผ่านมา
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเกมที่เป็นกระแสในช่วงนี้ นั่นก็คือ Black Myth: Wukong ผลงานแรกจากผู้ผลิตเกมมือใหม่ Game Science ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่แต่ก็มีการใส่ใจในรายละเอียดของเกมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องของดราม่าในช่วงก่อนที่จะวางขายอีก เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว มาฟังกันเลยครับ
Infinity Books 183: ร้านนี้เปิดให้ตายหลัง 4 ทุ่ม
มุมมอง 9714 วันที่ผ่านมา
เรื่องราวของคดีฆาตกรรม สองกรรม สองวาระในระยะเวลาที่ห่างกัน 15 ปีกับคำพูดสุดท้ายของฆาตกรที่สั้นกระชับได้ใจความ “ราตรีสวัสดิ์ คนสวย”
ว่าด้วยเรื่องของ Human-AI Interaction | Tell Me Why EP.23
มุมมอง 4014 วันที่ผ่านมา
สัมภาษณ์คุณพีพี นักเทคโนโลยีและนักวิจัยเกี่ยวกับ Cyborg Psychology และ Human-AI Interaction จาก MIT Media Lab วันนี้เราจะมาคุยกันว่าด้วยเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และ AI ผ่านงานวิจัยเจ๋ง ๆ อย่าง Future You ที่จะทำให้มนุษย์ลดความกังวลความคิดลบและเพิ่ม Future Self-Continuity ได้, AI คือโหราศาสตร์สมัยใหม่จริงหรือ?, การเสพติดการใช้ AI อาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Intelligence Addictive และปัญห...
วิธีการตัดสินใจเรื่องยาก ๆ ในชีวิต | Keep Me Busy EP.207
มุมมอง 4721 วันที่ผ่านมา
มาแบ่งปันวิธีที่ช่วยในการตัดสินใจเมื่อเจอเรื่องยาก ๆ ในชีวิตกันค่ะ ด้วยเหตุว่าช่วงนี้บังเอิญมีเรื่องต้องตัดสินใจเรื่องและก็ไม่รู้ตัดสินใจอย่างไรดี เลยลองหาวิธีในการช่วยตัดสินใจด้วยตัวเองดู แล้วก็เจอวิธีที่คิดว่าน่าจะช่วยในการตัดสินใจได้ในหลากหลายเรื่อง เลยอยากมาแบ่งปันให้คุณผู้ฟังได้ฟังกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังพร้อม ๆ กันเลย
Infinity Books 182: ที่พักกลางหุบเขา สำหรับเหล่ามนุษย์ผู้หลงทาง
มุมมอง 12621 วันที่ผ่านมา
Infinity Books 182: ที่พักกลางหุบเขา สำหรับเหล่ามนุษย์ผู้หลงทาง
หลักคิดสามเหลี่ยมความมั่งคั่ง ด้วยจิตใจที่สงบ แบบปรัชญา 'สโตอิก' | StartYup EP.228
มุมมอง 6021 วันที่ผ่านมา
หลักคิดสามเหลี่ยมความมั่งคั่ง ด้วยจิตใจที่สงบ แบบปรัชญา 'สโตอิก' | StartYup EP.228
ทำไมเวลาเห็นข่าวเครื่องบินตกบ่อย ๆ เราถึงไม่อยากขึ้นเครื่องบิน | Tell Me Why EP.22
มุมมอง 4021 วันที่ผ่านมา
ทำไมเวลาเห็นข่าวเครื่องบินตกบ่อย ๆ เราถึงไม่อยากขึ้นเครื่องบิน | Tell Me Why EP.22
วิธีการเพิ่ม passion ในการใช้ชีวิต ในแบบที่เราอยากให้เป็น | Keep Me Busy EP. 206
มุมมอง 5428 วันที่ผ่านมา
วิธีการเพิ่ม passion ในการใช้ชีวิต ในแบบที่เราอยากให้เป็น | Keep Me Busy EP. 206
Entertainment Complex: รุ่งเรืองหรือมอมเมา | Democracy X Innovations EP.218
มุมมอง 1628 วันที่ผ่านมา
Entertainment Complex: รุ่งเรืองหรือมอมเมา | Democracy X Innovations EP.218
พ่างตงหลาย สุดยอดห้างของเมืองสู่ชาง | จ้อจีน EP.219
มุมมอง 16หลายเดือนก่อน
พ่างตงหลาย สุดยอดห้างของเมืองสู่ชาง | จ้อจีน EP.219
Infinity Books 181: ความทรงจำสุดท้ายกับภาพถ่ายชีวิต
มุมมอง 84หลายเดือนก่อน
Infinity Books 181: ความทรงจำสุดท้ายกับภาพถ่ายชีวิต
เพราะอะไรคนเราถึงมีความคิดว่า ตัวเองคิดไม่เหมือนกับคนอื่น? | Tell Me Why EP.21
มุมมอง 25หลายเดือนก่อน
เพราะอะไรคนเราถึงมีความคิดว่า ตัวเองคิดไม่เหมือนกับคนอื่น? | Tell Me Why EP.21
ข้อคิดจากหนังสือ "แก๊งคุณย่ากับชุดบิกินี" | Keep Me Busy EP. 205
มุมมอง 80หลายเดือนก่อน
ข้อคิดจากหนังสือ "แก๊งคุณย่ากับชุดบิกินี" | Keep Me Busy EP. 205
Infinity Books 180: ห้องสมุดบันทึกความทรงจำ
มุมมอง 125หลายเดือนก่อน
Infinity Books 180: ห้องสมุดบันทึกความทรงจำ
ต้องมีเงินเท่าไหร่ กว่าจะไปถึง American Dream แบบไทย ๆ | StartYup EP. 227
มุมมอง 101หลายเดือนก่อน
ต้องมีเงินเท่าไหร่ กว่าจะไปถึง American Dream แบบไทย ๆ | StartYup EP. 227
ทำไมผู้เชี่ยวชาญปลอมถึงโดดเด่นในสื่อมากกว่าผู้เชี่ยวชาญตัวจริง? | Tell Me Why EP.20
มุมมอง 38หลายเดือนก่อน
ทำไมผู้เชี่ยวชาญปลอมถึงโดดเด่นในสื่อมากกว่าผู้เชี่ยวชาญตัวจริง? | Tell Me Why EP.20
เก้าอี้นายก นั่งยาก แต่หลุดง่าย? | Democracy X Innovations EP.217
มุมมอง 30หลายเดือนก่อน
เก้าอี้นายก นั่งยาก แต่หลุดง่าย? | Democracy X Innovations EP.217
อาหารการกินแบบฉบับชาวเผ่าในกุ้ยโจว | จ้อจีน EP.218
มุมมอง 47หลายเดือนก่อน
อาหารการกินแบบฉบับชาวเผ่าในกุ้ยโจว | จ้อจีน EP.218
Infinity Books 179: ร้านหนังสือมินาโตะที่เรารัก
มุมมอง 182หลายเดือนก่อน
Infinity Books 179: ร้านหนังสือมินาโตะที่เรารัก

ความคิดเห็น

  • @SuJin_Jan
    @SuJin_Jan 9 วันที่ผ่านมา

    ถูกน้องหมีป้ายยาสำเร็จแล้วค่ะ พรุ่งนี้จะรีบไปซื้อ

  • @pp5216s
    @pp5216s 10 วันที่ผ่านมา

    เหมือนโดนป้ายยาทุกสัปดาห์เลยค่า 😆

  • @Nn-ti1kf
    @Nn-ti1kf 11 วันที่ผ่านมา

    ได้ฟังอินโทรก็ตื่นเต้นแล้วค่ะ

  • @pt867
    @pt867 11 วันที่ผ่านมา

    ฟังแล้ว..ต้องรีบหามาอ่านแล้วค่า 😁

  • @konikoni1490
    @konikoni1490 14 วันที่ผ่านมา

    ปีนี้จะมีโอกาสได้ฟัง EP ใหม่มั้ยคะ รออยู่เสมอ🥹🙏🏻

  • @JasmineQw
    @JasmineQw 17 วันที่ผ่านมา

    เมืองไทยเมืองร้อน มีเหงื่อ"ในส่วนตัว"ใช้น้ำไม่เยอะต้องอาบ ถ้าไม่อาบคือ...เหนียวตัว อารมณ์หงุดหงิด ทำงานไม่มีสมาธิ กลิ่นเหม็นเขียว(ในกรณีคนที่ทำงานในห้องแอร์2ครั้งก็ำม่จำเป็น)

  • @JasmineQw
    @JasmineQw 17 วันที่ผ่านมา

    2ครั้งเช้า เย็น

  • @chomsuan13
    @chomsuan13 18 วันที่ผ่านมา

    ในซีรี่ย์จีน ตอนเย็นกลับบ้านขึ้นเตียงนอน 555

    • @nichaphetboonphat7985
      @nichaphetboonphat7985 13 วันที่ผ่านมา

      จิง😅สงสัยเขานอนแบบนั้นจิงหรอหน้าผมพร้อมในวันถัดไป😂ขนาดฉากเลิฟซีนเส้ดพระเอกใส่เสื้อผ้าไปทำงานต่อเฉยเลย😅

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 20 วันที่ผ่านมา

    Comment EP 218 (4) -Thought experiment อีกอันหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง สมมุติว่ามีบ้านหลังใหญ่ที่มีคน 20 คนอาศัยอยู่ร่วมกัน ถ้ามีคน 11 คนเห็นต่างจากคน 9 คน แบบที่ลงรอยกันไม่ได้เลย คุณจะทำยังไง 1.ฝืนอยู่ในบ้านต่อไปโดย พยายามจะหากติกาเดียวกัน ที่มาบังคับใช้กับคน 20 คน แต่ก็จะมีคำถามเพิ่มอีก 1.1 ใครจะเป็นคนร่างกติการะหว่างคน 11 คนหรือคน 9 คน หรือตัวแทนของทั้งสองกลุ่ม หรือ คนที่อาวุโสที่สุดในบ้าน/สมาชิกในบ้านที่เรียนจบกฎหมายมา โดยไม่สนว่าต้องอยู่กลุ่มไหน 1.2 จะใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงได้กติกาเดียวกันที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ ถ้าไม่ได้สักทีระหว่างนี้จะทะเลาะชกต่อยกันไปกี่รอบ หรือต้องรอจนถึงรุ่นหลาน เหลน อีกกี่ปีกว่าจะตกลงกันได้ หรือ ตัดจบง่ายๆ ว่า ร่างกติกาใหม่ไม่ได้ ยอมรับอันเดิมไปก่อนแล้วกัน ใครเสียประโยชน์จากกติกาปัจจุบันช่างมัน 2.แยกย้ายกันไปอยู่บ้านคนละหลัง แบ่งพื้นที่เป็น % ตามจำนวนประชากรในแต่ละกลุ่มไปก่อน ถ้าคืนดีกันได้ค่อยมารวมกันใหม่ ถ้าคืนดีไม่ได้ก็แยกกันอยู่ไปเรื่อยๆ สมาชิกในบ้านใครอยากอยู่พื้นที่ฝั่งไหนก็ย้ายไปได้ตามสะดวก -พอได้ยินที่พิธีกรพูดว่ายังไม่ได้ศึกษาวิจัย มีแต่ตั้งข้อสังเกตว่านักการเมืองส่วนใหญ่ทุกพรรคก็ล้วนมีเครือข่ายธุรกิจ ผมในฐานะประชาชนคนหนึ่งสงสัยว่า ตั้งแต่สำนักนวัตกรรมฯ ก่อตั้งมา 20 ปี มีงานวิจัยอะไรเกิดขึ้นไปแล้วบ้าง และนำความรู้จากการวิจัยมาต่อยอดพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น อะไรแล้วบ้าง ควรจะนำมาเล่าให้ฟังในรายการ (เคยเอามาเล่าบาง ep แต่ไม่ค่อยลงรายละเอียดจริงจัง และไม่ได้บอกว่าได้ประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างไร) ไม่ใช่แค่วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองแบบที่พบเห็นได้ทั่วไปตามสื่ออื่น หรือแค่ตั้งข้อสังเกตแล้วไม่ได้คำตอบอะไรขึ้นมา ถ้าหากงานทำวิจัยทั้งหมดที่ทำมา ได้แค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ยังเกิดปัญหาเดิมๆ คนเถียงกันเรื่องเดิม ก็ไม่ควรเสียงบประมาณไปกับการวิจัยอีก และเกิดคำถามว่ายังจำเป็นต้องมีสถาบันฯ อยู่ไหม -การ comment EP นี้ ผมจะ comment ครั้งสุดท้าย เพราะรู้สึกว่าเสียเวลาพิมพ์ไปตั้งมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรต่อรายการ รายการเคยบอกว่าอ่าน comment แต่หลังๆ ก็เงียบหายไปไม่เห็นมี response ใดๆ จัดรายการรูปแบบเดิม ผมอาจคาดหวังมากไปว่ารายการนี้เป็นหน่วยงานของรัฐ (ใช้เงินภาษี) ควรมีภารกิจสร้างความปรองดองของคนในชาติ รายการนี้ควรสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับระบบประชาธิปไตยได้ตามชื่อหน่วยงานสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย หรืออย่างน้อยก็ทำงานทางความคิดวิเคราะห์ตรงไปตรงมาทำให้ผู้ฟังกลับมาตั้งคำถามตัวเองว่าคิดแบบนี้ แบบนั้นเพราะอ้างอิงหลักการอะไร ยึดถือคุณค่าอะไรในตัวพรรคการเมืองโน้นนี้ เพราะถ้าไม่เข้าใจความคิดของอีกฝ่ายก็จะไม่มีทางปรองดองกันได้

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 20 วันที่ผ่านมา

    Comment EP 218 (3) -การที่พิธีกรกล่าวว่า การเล่นการเมือง จำเป็นต้องมีต้นทุนทางสังคม จึงจะเล่นได้ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปรับรู้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่อยากให้รายการพูดถึงคือ 1.มันเป็นปัญหาไหม ทุนนิยมเป็นอุปสรรคของประชาธิปไตยหรือไม่ คนที่มองว่าไม่เป็นปัญหาก็แสดงว่าอาจรอ Elite สักคนจะเป็นคนดี ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน แล้วมาช่วยเหลือตนเอง (จะคิดแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร) 2.ถ้ามองว่ามันเป็นปัญหา แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยส่วนตัวมองในเชิงอุดมคติว่า ถ้าคุณไม่อยากให้ต้นทุนทางสังคมเป็นปัญหา รัฐก็ต้องคนเป็นคนจ่ายต้นทุนทางสังคมให้เขาไปเลย (อาจต้องยอมแลกมาด้วยเงินภาษีที่มากขึ้น) ตัวอย่างเช่น 2.1.ลดต้นทุนทางสังคมเรื่องการศึกษา แทนที่จะจำกัดวุฒิการศึกษาต้องจบปริญญา คุณก็อาจจะให้เขาพิสูจน์ความรู้ด้วยการทำข้อสอบแทน หรืออีกแบบหนึ่งก็คือคุณก็จัดการศึกษาให้เขาไปเลย เช่น จัดอบรมกี่เดือนก็ว่าไปให้เขาสอบตอนนั้นเลย หรือให้สวัสดิการการศึกษาฟรีถึงปริญญาตรีตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการสมัคร สส. 2.2.ต้นทุนเรื่องการเงิน แทนที่จะให้เขาหาเงินเอง คุณก็จัดเงินเดือนให้เขาไปเลย จ่ายเงินให้พรรคการเมืองทุกพรรค แต่มีเงื่อนไขบางอย่างเป็นข้อแลกเปลี่ยน เช่น อาจจะต้องดูว่ามีการลงพื้นที่ไปดูปัญหาชาวบ้านจริง มีการคิดนโยบายแก้ปัญหาขึ้นมาจริง เป็นต้น จะทำให้คนรากหญ้าก็จะสามารถเปลี่ยนอาชีพมาทำงานการเมืองโดยหาเลี้ยงตัวเองไปด้วยได้ -ตอนที่พูดว่า พรรคประชาชน เป็นแกะดำในสภา ทำให้บรรยากาศในสภาตึงเครียดเกินไป อยากทราบว่าภาพที่พิธีกรคาดหวัง หรือประชาชนคาดหวังจะเห็นในสภาเป็นอย่างไร เพราะการดำเนินนโยบายบางอย่าง มันต้องขัดแย้งกันมากพอ ที่พร้อมจะตัดเพื่อนอยู่แล้ว ระหว่าง 1.ทุกพรรคเป็นเพื่อนกันหมด คุยกันสนุกสนานเฮฮา เคยเป็นศัตรูกันก็ไม่สนใจ ถ้าพรรคไหนอยากผลักดันนโยบายอะไร ต้องมา deal กับพรรคอื่นเพื่อปรองดองก่อน แล้วก็ต้องยอมลดเพดานนโยบายเพื่อรักษาความสัมพันธ์ฉันเพื่อน ก็จะส่งผลให้นโยบายจะมีแนวโน้มที่จะไม่เปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ เหมือนกับวันนี้อยาก vote ยกเลิก สว. แต่คืนนี้นัดกับ สว. แล้วว่าต้องไปสังสรรค์กัน ถ้า vote ยกเลิก สว. เดี๋ยวก็อดไปสังสรรค์สิ 2.โจมตีกันในสภา ไม่ต้องสนใจว่าเพื่อนจะคบหรือไม่คบ หากใช้วิธีนี้ บรรยากาศในสภาสามารถดีขึ้นได้ หากทุกคนเคารพกติกา และแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว คุณอาจจะไม่ชอบเขาคุณก็ต้องยอมรับสิ่งที่เขาทำ เช่น สมมุติว่าวันหนึ่งมีร่างกฎหมายฉบับหนึ่งที่ปรากฏไปในสภาโดยไม่รู้ใครเป็นคนเสนอ พรรครัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ก็จะคุยถกเถียงกันได้มีอิสระมากขึ้น (แต่ทางปฏิบัติน่าจะป้องกันให้รู้ได้ยากมาก) -ข้อสรุปสุดท้าย ถ้าคิดว่าไม่สามารถใช้ตำราของตะวันตกเข้ามาใช้กับประเทศไทยได้ ก็ต้องหาทางออกแบบโครงสร้างของตัวเองไปเลย แต่คำถามคือประชาชนจะให้ คุณค่าอะไรสำคัญที่สุด ระหว่าง 1.ยึดประชาธิปไตยเป็นใหญ่ พอเชื่อใจประชาชน ก็แปลว่าควรให้ สสร มาจากการเลือกตั้ง 100% (ข้อนี้ยากกว่าเป็นธรรมดา เพราะกฎกติกาปัจจุบันมาจากคนที่เห็นด้วยค่อนไปทางข้อ 2.) 2.ยึดสัจธรรมว่าคนไม่เท่ากันโดยธรรมชาติ ประชาชนทุกคน ไม่ได้มีวัยวุฒฺิ ไม่ได้มีความรู้ดีพอไปกว่าคนบางกลุ่ม ที่มีความรู้มากกว่า ดังนั้นคนกลุ่มนั้นต้องเป็นคนร่างกติกา ก็แปลว่าควรให้ สสร.มาจากการแต่งตั้ง 100% ไปเลย เอาคนที่เห็นว่าเก่งที่สุด เป็นคนดีย์ที่สุด ในประเทศมาเขียน

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 20 วันที่ผ่านมา

    Comment EP 218 (2) -ในเมื่อระบบการเมืองเป็นเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่นักการเมือง จะหาฐานเสียงในพื้นที่ แล้วเข้ามาต่อรองเข้าร่วมกับพรรคการเมืองใหญ่ เพราะประชาชนก็เชื่อมั่นในบุคคล มากกว่าอุดมการณ์ แต่ถ้ามองว่าการเชื่อมั่นในตัวบุคคลเป็นปัญหา ส่วนตัวเสนอให้แก้โดย ในทุกการเลือกตั้ง ตอนหาเสียงไม่ใช่แค่บอกว่ามีนโยบายจะทำอะไรบ้าง แต่ต้องมีการระบุอุดมการณ์ไปเลย ว่าเป็นฝ่ายซ้ายหรือขวา (หากเป็น clip สัมภาษณ์ยาวๆ ถึงมุมมองความคิดต่อปัญหาแต่ละด้านเหมือนพวกรายการ debate จะดีกว่าเขียนสั้นๆ แล้วไปติดบนบอร์ด) ทีนี้ในตอนที่เข้าไปร่วมกับพรรคใหญ่ก็จะเปรียบเทียบได้ว่าเป็นคนยึดมั่นในอุดมการณ์ไหม หรือยังเหมือนเดิม (ทั้งนี้ พรรคใหญ่ ก็ต้องแสดงจุดยืน อุดมการณ์ในแต่ละเรื่อง เช่นเดียวกัน ยิ่งละเอียดยิ่งดี) -สิ่งที่คนกลัวเรื่องการอุปถัมภ์อย่างหนึ่ง คือ จะนำมาสู่การทุจริตคอรับชั่น ปัญหา คือ ระบบที่ตรวจสอบมันดีพอที่จะป้องกันแล้วจริงหรือ เช่น การแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน ให้ ปปช. มันเพียงพอแล้วหรือ ไม่ทำบัญชีการเงินการคลังของประเทศให้โปร่งใส เหมือนเป็นบัญชีเงินฝากคนๆ หนึ่งที่ต้องรู้ว่ามีรายการอะไรเข้าออกบ้าง เช่น ทำระบบการจ่ายเงินรับเงินเป็นดิจิตอลทั้งหมด แล้วประชาชนแต่ละคนสามารถไปกดดูได้ว่า มีเงินเข้าจากภาษีเท่าใด เงินออกไปเป็นค่าจ้างนักการเมือง/ข้าราชการแต่ละคนเท่าใดบ้าง ถ้าทำได้ก็แปลว่าประชาชนก็ตรวจสอบได้ไม่ใช่ แค่ ปปช. หรือ คณะกรรมาธิการของสภา (การทำเช่นนี้ไม่ได้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเพราะรู้เฉพาะธุรกรรมกับรัฐเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับธุรกิจส่วนตัว) - พิธีกรบอกว่า ทุกพรรคการเมืองล้วนเป็นอนุรักษ์นิยม แม้แต่พรรคประชาชน พอฟังแล้วก็เกิดสองคำถาม 1.นิยามของอนุรักษ์นิยมคืออะไร นิยามเดียวกันทุกสังคมหรือแตกต่างกัน หากไม่มีนิยามที่ชัดเจนก็แปลว่าก็จะเกิดวาทกรรมเรียกพรรคตัวเองว่าก้าวหน้าหรือเสรีนิยม เรียกอีกฝ่ายว่าหัวโบราณ อนุรักษ์นิยม ตลอดกาล เพียงเพราะคำว่า อนุรักษ์นิยมมันถูกมองแง่ลบมากกว่าคำว่าก้าวหน้า ดังนั้นทำไมสถาบันฯ ไม่ให้ความรู้แบบชัดเจนใช้เป็น reference ได้ไปเลย หลังจากนั้นก็ระบุไปเลยว่า 1.1 พรรคมีมุมมองต่อตัวเอง อยู่บน political spectrum ไหน (อาจไม่ตรงกับมุมมองภายนอกได้ เห็นได้จากรายการไกลบ้าน ที่คุณฟาโรส ไปสัมภาษณ์หัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละคนก่อนเลือกตั้ง แล้วให้ plot จุดบนแกน political spectrum) หรือถ้าพรรคไหนไม่มีก็ควรบอกตรงๆ ตั้งแต่แรกว่าไม่สนใจแบ่งฝ่ายซ้ายขวา จะสนแค่เรื่องปัญหาปากท้อง ปัญหาราชการ ฯลฯ แบบที่ พรรคกล้า เคยให้สัมภาษณ์ไว้ 1.2 มุมมองที่สถาบันฯ / นักวิชาการที่วิเคราะห์ ว่าพรรคอยู่บน political spectrum ไหน โดยยกเหตุผลสนับสนุนจากพฤติกรรมที่แสดงออกที่ละข้อ เช่น ถ้าพรรคนี้ vote ต่อต้านกฎหมายสมรสเท่าเทียม แสดงว่าเป็นอนุรักษ์นิยม เป็นต้น พอมีมติพรรคใหม่ก็เอามา update เพิ่มในตาราง ถ้าทำแบบนี้ก็จะเกิด digital footprint ให้ทุกคนได้รับรู้ได้ 1.3 มุมมองที่ประชาชน มองว่าพรรคอยู่บน political spectrum ไหน หรือจะไม่สนใจ เพราะเลือกตัวบุคคลตั้งแต่แรกก็ระบุมา -การที่พิธีกรมีความเห็นว่า พรรคการเมืองทุกพรรค ขับเคลื่อนด้วยนายทุน เพราะว่านายทุนให้เงินพรรคไปดำเนินการได้ โดยส่วนตัวมองว่าเป็น fallacy เพราะสื่อว่าการที่พรรคได้เงินจากใครต้องตอบแทนคนๆนั้นเสมอไป ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงไม่ต้องทำตามก็ได้ ดูจากพฤติกรรมเอา เช่น ถ้าพรรคไหนมีนโยบายที่ทำให้นายทุนใหญ่ (มีเงินมาก และต้องเป็นคนที่บริจาคให้พรรคด้วย) ได้ประโยชน์"น้อยกว่า"คนทั่วไป (มีเงินน้อย) ก็แสดงว่าไม่ได้ถูกครอบงำด้วยนายทุน อีกอย่างถ้าใช้ตรรกะที่พิธีกรพูดก็แสดงว่าไม่ให้พรรครับเงินจากใครเลย เช่น มีเศรษฐีคนหนึ่งชอบพรรคหนึ่งมากแต่ไม่ได้อยากหวังผลให้ตัวเอง ก็จะให้เงินได้แค่ 500 บาท อย่างนี้เหรอ

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 20 วันที่ผ่านมา

    Comment EP 218 (1) -โดยภาพรวมใน EP นี้มีการพูดถึงหลายประเด็น แตะหลายประเด็น แต่สิ่งสำคัญที่ขาดคือคำถามว่า มันเป็นปัญหาไหม ถ้ามันเป็นปัญหาแล้วจะแก้ไขอย่างไร ถ้าไม่เอ่ยถึงสองอย่างนี้ก็รู้สึกว่าไม่ได้มีความตั้งใจพัฒนาประชาธิปไตย และแก้ปัญหาทางการเมืองอย่างแท้จริง - ประเด็นเรื่อง เอกสิทธิ์ ส.ส. vs มติพรรค ส่วนตัวมองว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการทำให้โยงใยการ vote สวนมติพรรคเข้ากับประชาชน เพราะตอนที่ได้รับเลือกตั้งมา มีทั้ง 2 แบบ (บางคนเลือกเพราะเชื่อตัวบุคคล บางคนเลือกเพราะว่าอยู่พรรคที่ตนเชื่อถือ) เช่น 1.หาก สส.เขตคนไหนถูกพรรคขับออก ก็ให้ประชาชนในเขตนั้นเลือกตั้งใหม่เลย ว่า จะยังให้ สส.คนนั้นจะยังได้เป็นต่อหรือไม่ แทนที่จะย้ายเข้าอีกพรรคแล้วก็จบเรื่อง (แสดงว่าตามกฎหมายเชื่อว่าประชาชนเลือกจากตัวบุคคล 100%) 2.การที่กรรมการพรรคตัดสินขับ ส.ส. คนหนึ่งออกจากพรรค ควรเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ทั้งการสอบสวน (อย่างน้อยก็ควรเปิดให้คนที่เป็นสมาชิกพรรคได้รับรู้ เช่น ผ่านการ log in เข้า web) ไม่ใช่ปิดเป็นความลับ -ประเด็นเรื่อง การเมืองแบบอุปถัมภ์ในประเทศไทย พิธีกรบอกว่าเป็นวัฒนธรรมไทย แต่ปัญหาคือภาคประชาสังคมก็มองเรื่องนี้ว่าไม่ดี (ถ้ามองว่าเป็นเรื่องดี คงไม่เสนอข่าวว่า ครม.สืบสันดาน ตั้งแต่แรก) แสดงให้เห็นความย้อนแย้งกัน คนในประเทศไม่ได้ตกลงกันว่าจะเอาแบบไหนกันแน่สักทาง 1.หากมองว่า อุปถัมภ์ไม่ดี ก็ควรจะต้องป้องกันด้วยระบบ และโครงสร้างการเมือง เช่น กำหนดว่ารัฐมนตรีทุกคน และนายกต้องเป็น สส. ถ้ากำหนดแค่คุณสมบัติ แต่มาจากการแต่งตั้งก็แสดงว่ายอมรับว่าอุปถัมภ์ได้อยู่แล้ว 2.หากมองว่า อุปถัมภ์ เป็นเรื่องที่ดี จะได้คนที่มีความรู้ความสามารถ ก็ไม่ต้องเลือกตั้งก็ได้ หรือถ้าจะทำให้ชัดๆ ไปเลย ก็ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจแต่งตั้งนายกฯ ก็ได้ หรืออาจจะใช้ระบบเดียวกับการคัดเลือก สว. ปัจจุบันมาคัดเลือก สส. ทั้งหมดเลยก็ได้ พอไม่ไปสุดสักทาง ก็เลยเกิดปัญหาให้โจมตีตัวบุคคล ทั้งที่ มีปัญหาตั้งแต่ตัวระบบแล้ว -หากไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบการเมืองแบบเดิมในปัจจุบัน แต่ไม่อยากเกิดข้อครหานินทาเรื่องการอุปถัมภ์ เราจะแยกได้อย่างไรว่า ลูกไม่ได้อยากเล่นการการเมืองเพราะเห็นพ่อเล่นมาแต่เด็กแล้วประทับใจ หรือ CEO คนหนึ่งเห็นเพื่อนนักธุรกิจเล่นการเมืองแล้วเท่ดีเลยอยากทำบ้าง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีวิธีแยกแยะว่า “คนที่มีอำนาจคนหนึ่ง เกิดจากการอุปถัมภ์ หรือ เกิดจากความสามารถ“ เช่น นายกแต่งตั้งญาติตัวเองมาเป็น รมต. ไม่ได้ รมต.นั้นต้องชนะเลือกตั้งได้เป็น สส. ก่อน, หรืออาจใช้การทำข้อสอบทางด้านกฎหมายหรือรัฐศาสตร์ เพื่อวัดความรู้ เป็นต้น ตัวอย่าง สมมุติว่าเป็น thought experiment ที่อยากทดสอบว่านายกฯ คนปัจจุบันมีวิสัยทัศน์ที่ดีหรือเปล่า อาจจะใช้วิธีการไปสัมภาษณ์โดยไม่เห็นหน้า อาจให้หาคนมา 5 คนให้มาตอบคำถาม ทุกคนอยู่ห้องแยกไม่มีใครเห็นหน้า ใช้เครื่องแปลงเสียง แล้วก็สัมภาษณ์รายคน ซึ่งมี นายกฯ เป็นหนึ่งในห้าคนนั้นด้วยแล้วให้ประชาชนทั้งประเทศลงคะแนนตามลำดับ ดูนายกฯ จะเหมาะสมเป็นอันดับที่ 1 เหมือนที่สภาเลือกหรือเปล่า ถ้าไม่ตรงกันก็แปลว่า ถ้าดูแค่ความสามารถในเรื่องนี้เรื่องเดียวนายกฯ คนปัจจุบันก็อาจจะไม่เหมาะสมเท่ากับอีก 4 คนที่เหลือก็ได้

  • @surachaijarungklinjarus8899
    @surachaijarungklinjarus8899 22 วันที่ผ่านมา

    ร้อนนี่ ไม่แปลก จีนหนาว ก็อาบหนเดียว

  • @mookkie_jutha3257
    @mookkie_jutha3257 23 วันที่ผ่านมา

    ต้นสึบากิ หรือต้น คามิเลีย คนฝรั่งเศษใช้ดอกมันทำน้ำหอม แต่ตัวดอกจริงๆ ไม่มีกลิ่น ดอกคามิเลีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นว่าดอก 'สึบากิ' มีความหมายในภาษาดอกไม้คือ อุดมคติอันสูงส่ง ความงามที่ไม่เสแสร้ง ความงดงามที่สงบเสงี่ยม และความอ่อนน้อมถ่อมตน . ดอกคามิเลียถือว่า เป็นตัวแทนของความรัก ความปรารถนา ความซื่อสัตย์ และความเป็นเลิศ หากมอบให้ใคร นั่น หมายความว่า 'โชคชะตาของฉันอยู่บนมือของคุณแล้ว' ค่ะ

  • @pp5216s
    @pp5216s 23 วันที่ผ่านมา

    รอฟังทุกอาทิตย์เลยค่ะ :)

  • @pt867
    @pt867 หลายเดือนก่อน

    รอรีวิวอยู่เหมือนกันค่า 🥰

  • @themint4880
    @themint4880 หลายเดือนก่อน

    ขายต่อไหมอยากด้าย

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw หลายเดือนก่อน

    Comment EP 217 -รอบนี้มีการพูดถึงภารกิจของสำนักนวัตกรรมฯ เจ้าของรายการ ในการพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตยขึ้น ผ่านเครื่องมือที่คิดมา อยากให้ชี้แจงว่าหลายปีที่ผ่านมาสำนักทำอะไรที่สำเร็จตามภารกิจไปบ้าง แล้วได้ผลจริงไหม อะไรคือตัวชี้วัด เพราะถ้าสำนักฯเอาเงินภาษีประชาชนมาใช้แล้วมันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร ประเทศมีแต่ถอยห่างจากความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องมีก็ได้ -ถ้าสำนักนวัตกรรมฯ จำเป็นต้องมีอยู่ต่อจะแก้ไขให้ประเทศมีประชาธิปไตยมากขึ้นได้อย่างไร จะจัดการกับตุลาการภิวัฒน์อย่างไร อยากรู้คำตอบที่เป็นรูปธรรมซึ่งควรแตกต่างจากประชาชนคนธรรมดา เช่น แค่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับระบบ อยากแก้รัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นใครก็ออกมาพูดได้ แต่เห็นพูดมานานตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งปัจจุบันก็ยังไม่สำเร็จ -ยังไม่ได้ขยายความประเทศอังกฤษว่านโยบายพรรคฝ่ายขวากับซ้ายต่างกันยังไง ทำไมถึงพูดว่าเหมือนกัน ซึ่งค้างคามาจาก EP 215 -คำพูดที่ว่า "เหล่ามือสมัครเล่นมักจะไล่ตามดวงอาทิตย์แล้วก็มอดไหม้ แต่ผู้มีอำนาจที่แท้จริงจะอยู่ในเงามืด" - ลูอิส สเตราส์ อยากทราบว่าการเมืองประเทศไทยใครเป็นผู้อยู่ในเงามืด เพราะทุกวันนี้ประชาชนหลายคนก็รู้อยู่แล้วว่าใคร หรือคนกลุ่มไหน เป็นผู้มีอำนาจในประเทศนี้บ้าง แต่ปัญหาที่สำคัญจริงๆ ในตอนนี้คือ ยังไม่มีวิธีดึงอำนาจของคนกลุ่มนั้นมากระจายให้กับประชาชนทุกคนได้อย่างแท้จริง แค่การกระทำของตัวแทน (สส สว นายกฯ ฯลฯ) ยังไม่จำเป็นต้องเป็นตามเจตจำนงของประชาชนที่เลือกเลย โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ยังไม่ต้องพูดถึงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ที่ทำลายเสียงเลือกตั้งได้ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบสมมุติว่ามีบริษัทหนึ่ง เลือกพนักงานคนหนึ่ง ให้มาดูแลระบบ IT ของบริษัท โดยดูจาก profile และคำมั่นสัญญาปากเปล่าที่ดี แต่พอเริ่มทำจริงก็ผิดสัญญา ทำให้ระบบ IT รวน เสียหาย แต่พนักงานคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ยังทำงานต่อไปได้ บริษัทจะไล่ออกก็ไม่ได้ จะลดเงินเดือนก็ไม่ได้ ทำได้แค่รอ 4 ปี เพื่อให้สัญญาจ้างนั้นหมดไปเอง แล้วก็เลือกจ้างคนใหม่ แล้วต้องใช้เวลากี่ปี ระบบ IT จึงจะเสถียร ยังไม่นับว่าบางครั้งระบบเกือบจะดีอยู่แล้ว ดันโดนไวรัสเล่นงาน แล้วต้องมาเริ่ม restart ใหม่

  • @DKrella
    @DKrella หลายเดือนก่อน

    ดีใจมากตอนเห็นจุดสีฟ้าใน spotify ที่แสดงว่ามี episode ใหม่แล้ว กรี๊ดดด คุณลูกหมีกลับมารอบนี้น้ำเสียงสดใส เอเนอร์จี้จอยๆในการรีวิวกว่าเดิมมาก จะรอฟังทุกสัปดาห์เหมือนเดิมนะฮะ ร้ากเหมือนเดิม

  • @indydshine3961
    @indydshine3961 หลายเดือนก่อน

    นึกว่าหยุดไปแล้ว

  • @rikatinydoll4463
    @rikatinydoll4463 หลายเดือนก่อน

    รอฟังเรื่องนายกคนใหม่นะคะ

  • @s.wannawongson1396
    @s.wannawongson1396 หลายเดือนก่อน

    ชอบที่มีการรีวิวหน้าปก หลังปก และราคาด้วย ไม่ต้องเสียงสวย ไม่ต้องประดิษฐ์คำมากมาย ใสๆซื่อๆ แบบนี้ ติดรีวิวช่องนี้งอมแงมค่ะ

    • @TheInfinityTH
      @TheInfinityTH หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณมากเลยค่ะ ♥️

  • @suthinee163
    @suthinee163 หลายเดือนก่อน

    รักการรีวิวฟิกชั่นของช่องนี้เสมอค่ะ ตอนหยุดไปก็รอค่ะ ตอนนี้กลับมาแล้ว เย่❤

    • @TheInfinityTH
      @TheInfinityTH หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณมากเลยค่ะ ♥️

  • @พี่หมอสุดยอด
    @พี่หมอสุดยอด หลายเดือนก่อน

    คนสู้เพื่อพัฒนา

  • @Dory_103
    @Dory_103 หลายเดือนก่อน

    ❤ คิดถึงเสียงค่ะ 😊

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw หลายเดือนก่อน

    Comment EP 216 - ช่วงแรกเหมือนการวิเคราะห์ข่าวการเมืองปกติ คล้ายรายการอื่น - มีจุดพัฒนาขึ้น มีสาระมากขึ้น ออกนอกประเด็นน้อยลง มีการพูดคำว่า “ผู้ชม” 1 ครั้ง ตอนที่จะอธิบายคำว่า double majority แทนที่จะเข้าใจกันสองคน - ช่วงที่ 2 มีการคุยเรื่อง ประชามติ คล้ายกับ EP 213 ในเมื่อมีประเด็นหลายอย่างที่มีความเห็นไม่ตรงกัน พิธีกรเสนอว่าทางออกของปัญหานี้ คือการคุยกันทีละเรื่อง แต่ปัญหาคือ จะใช้ช่องทางไหนที่จะเกิดผลที่สะท้อนความต้องการของประชาชนได้จริง ถ้าคุยกันเองแบบงานสัมมนามันก็จะกลายเป็นเหมือนการคุยเรื่องประชามติรอบก่อนที่ต่างคนต่างความคิด หรือถ้าไปคุยกันในสภา ก็อาจจะเกิดปัญหาเดิมก็คือ เสียข้างรัฐบาลก็ชนะอยู่ดีถึงแม้จะยกเหตุผลร้อยแปดมา สส เหล่านั้นก็มีธงมาล่วงหน้าแล้ว (ทางปฏิบัติ สส ไม่จำเป็นต้องสะท้อนเสียง ปชช เพราะทรยศนโยบายที่หาเสียงไว้ได้) -ความเห็นส่วนตัวคือ ทำไมไม่รวบรวมประเด็นทั้งหมด แล้วถามลงไปในคำถามประชามติให้หมดทุกข้อเลย แทนที่จะใช้คำถามเดียว ที่ทำไม่ได้เพราะอะไร กลัวประชาชนจะไม่เข้าใจเพราะไม่มีการศึกษา (แต่คนเท่ากันตามหลักประชาธิปไตย?) หรือกลัวว่าแต่ละคนจะใช้เวลาในคูหานาน ก็หาวิธีประชาสัมพันธ์ให้รู้คำถามว่ามีกี่ข้อล่วงหน้าแล้วเตรียมคำตอบมาเลย เช่น 1.) จะให้แก้ทั้งฉบับ หรือยกเว้นหมวด 1-2 หรือไม่แก้เลย 2.) ถ้าจะแก้ตามข้อ 1. จะเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ 3.) … - ช่วงที่ 3 คุยเรื่องการทำประชามติ online หรือเลือกตั้ง online อยากให้ลงลึกว่าประเทศไทยติดปัญหาตรงไหนทำไมถึงทำไม่ได้ ต่างประเทศมีกลไกป้องกันการ hack ระบบอย่างไร ป้องกันการโกงอย่างไร การใช้เครื่องมือแบบอินเดีย มาช่วยเลือกตั้ง จะได้ประโยชน์อะไร (เร็วขึ้น หรือ แค่สะดวกขึ้น) ถ้าเป็นปัญหาเรื่องเงินก็ต้องเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ทำประชามติแต่ละครั้ง เพราะถ้า online สำเร็จครั้งแรกจะทำประชามติครั้งต่อไปก็ง่ายแล้ว อยากรู้ว่าทำไมเสียค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งมาก (แจกแจงว่าค่าอะไรบ้าง กระดาษ? จ้างเจ้าหน้าที่?) ยังไงถ้าไม่เริ่มต้นคุยเรื่องนี้ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น (อีก 100 ปีข้างหน้า คนอาจจะบังคับหุ่นยนต์ Avatar ตัวเอง ไปเลือกตั้งในกระดาษหย่อนหีบ แล้วนับคะแนนด้วยมือ)

  • @pp5216s
    @pp5216s หลายเดือนก่อน

    กลับมาแล้ว ดีใจจังค่ะ 🥰

  • @chompoos8418
    @chompoos8418 หลายเดือนก่อน

    🎉🎉🎉เย้ๆ หายไปนานเลยค่ะ ดีใจที่กลับมาทำต่อ

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw หลายเดือนก่อน

    Comment EP 215 -ยังคง concept การพูดถึงบางหัวข้อ แต่ไม่ได้ขยายความเช่นเดิม พุดคุย style ผู้มีความรู้มากกว่าคนทั่วไปเช่นเดิม อย่างตอนที่พูดถึงว่ารัฐสวัสดิการจะมองเป็น center-left ก็ได้ หรือมองเป็นฝ่ายขวาเพราะชาตินิยมก็ได้ , ไม่ได้ขยายความนโยบายพรรคเลเบอร์ว่าต่างจากเดิมตรงไหน -บอกว่าการเลือกตั้งอังกฤษบริหารจัดการเร็ว แต่ก็ไม่ได้มีขยายความต่อว่าปัญหาของไทยติดที่ตรงไหนทำไมเอาเป็นเยี่ยงอย่างไม่ได้ ทำอย่างไรจะพัฒนาให้เร็วได้ -บอกว่าอเมริกาไม่เป็นประชาธิปไตยในเรื่องการเลือกตั้ง เป็นเพราะว่าสื่อเลือกลงข่าวแค่สองพรรค ดังนั้นถ้าจะแก้ปัญหาระบบสองพรรค คือการทำให้สื่อไปทำข่าวผู้สมัครคนอื่นจะสำเร็จไหม -ภาพรวมของรายการมักวิพากษ์วิจารณ์เฉยๆ โดยไม่มีข้อเสนอแนะทำให้ไม่เข้าใจทัศนคติของผู้ดำเนินรายการอย่างถ่องแท้ จึงเกิดประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น -ประเด็นเรื่องการใช้ Absolute majority เพื่อป้องกันพรรคการเมืองสุดโต่ง ของฝรั่งเศส เป็นไปได้ไหมที่จะใช้แทนระบบ สว เพราะต้องการสกัดอุดมการณ์สุดโต่งเหมือนกัน -ประเด็นเรื่อง การปกครองแบบประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาของฝรั่งเศส กับรัฐสภาที่มีประธานาธิบดีของกรีซ ไม่ได้ขยายความ แบบละเอียดให้เข้าใจว่าอำนาจของประทานาธิบดีทั้ง 2 ระบบนี้ เทียบตัวต่อตัวว่าต่างกัน อาจจะทำเป็นคลิปเพิ่มเติมในอนาคต -ประเด็นเรื่องการจับกลุ่มพรรคตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง น่าจะนำมาวิเคราะห์ว่าต้องอุดมการณ์เหมือนกันขนาดไหน ถึงจะรวมกันได้ -ประเด็นเรื่องพรรคสามเศร้า ที่ทำให้ตั้งรัฐบาลไม่ได้ อยากให้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่าจากบทเรียนที่ผ่านๆ มาของต่างประเทศ ถ้าอนาคตประเทศไทยเจอสภาวะนี้ นั่นคือมีพรรคเล็กมากเกินไปก่อตั้งรัฐบาลไม่ได้ (อาจมากกว่าสาม) จะแก้ปัญหาอย่างไร -ประเด็นเรื่องแรงงานที่วางแผนว่าจะพูดในครั้งต่อไป อยากให้สรุปเป็นประเด็นว่า ทำไมพรรคแรงงานถึงไม่ประสบความสำเร็จ ที่คุยในรายการเหมือนสะเปะสะปะไม่ได้เรียบเรียง เช่น 1.รวมตัวกันไม่มากพอเพราะว่าแยกกันอยู่คนละที่ 2.อาชีพแรงงาน จริงๆมีน้อย เพราะว่าเป็นแรงงานข้ามชาตินอกระบบเยอะ 3.กฎหมาย การตั้งสหภาพมีข้อจำกัด เช่น ต้องไปเจรจาก่อนนัดหยุดงาน 4.แรงงานไร้ฝีมือ ไม่สามารถหยุดงานประท้วงได้จริงเพราะว่าเอาคนอื่นมาทำแทนได้ และอยากลงรายละเอียดทำให้เข้าใจแต่ละข้อ

  • @nanana45402
    @nanana45402 หลายเดือนก่อน

    ซื้อหนังสือมาอ่าน รู้สึกมันไม่ได้สนุกขนาดนั้น ตอนจบเคลียร์ปม ของเรื่องก็ไม่หมด แถมยัง งง เนื้อเรื่องที่แท้จริงของตึกได้ไม่เข้าใจเลย 😅

    • @TheInfinityTH
      @TheInfinityTH หลายเดือนก่อน

      เอาจริง ๆ ตอนอ่านเล่มนี้ก็คิดว่าไม่ค่อยสนุกเหมือนกันค่ะ - -“

    • @nanana45402
      @nanana45402 หลายเดือนก่อน

      @@TheInfinityTH เสียดายตังมากค่ะ 😭😂 สรุปมันยังไง ไอ้ตึกอพารเม้นนี่ ตอนเฉลยปม ครอบครัวของมีริลล์ ที่เป็นคุณป้าที่โดดหน้าต่างฆ่าตัวตาย ก็ยัง งง อยู่ คือเหตุผลมันเบามาก ที่อพารทเม้น นี้มีอาถรรพ์ มันเบาหวิว เหมือนคนเขียนไม่มีชั้นเชิงเลย สรุป เล่มนี้เราส่งต่อให้เพื่อนค่ะ5555 ไม่สนุกเลย คงไม่อ่านซ้ำ มันมีประโยคหนี่งในหนังสื่อ ที่ตัวละครพูดว่า 'ขอโทษด้วยที่ต้องเป็นคุณ' ตอนจบนางเอกก็พูดแบบนี้ในท้ายเล่ม สรุป มันคืออะไรคะ พอเข้าใจไหม เราไม่เข้าใจเลย 😂😅 5555555

  • @s.wannawongson1396
    @s.wannawongson1396 2 หลายเดือนก่อน

    เมื่อไหร่คุณน้องหมีจะเพิ่มการรีวิวหนังสือใน list บ้างคะ 😅 ตอนนี้ยังฟังตอนเก่าๆซ้ำไปซ้ำมา คุณน้องหมีห่างหายไปคนฟังเลยขอไปตามน้องหมีเนย butterbear แทนก่อนนะคะ😂😂

  • @Lattedemocha
    @Lattedemocha 2 หลายเดือนก่อน

    สงสาร ม้า 😂😂😂😂😂😂 ดั

  • @pp5216s
    @pp5216s 2 หลายเดือนก่อน

    คิดถึงนะคะ

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 2 หลายเดือนก่อน

    Comment EP 214 -ไม่มีอะไรมากเพราะฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง มีแวะเรื่องอื่น และไม่ค่อยได้อะไรสาระสำคัญอะไร เหมือนกับรายการมาแค่ย้ำว่ามีปัญหา ไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่า ถ้าเลือกแบบนี้ ก็ไม่ได้ตัวแทนของพื้นที่ แล้วคุณจะเลือกแบบไหนถึงจะเลือกตัวแทนพื้นที่ ถ้าอ้างว่าไม่ชำนาญ ก็ควรเชิญคนที่ชำนาญมาพูด เพื่อให้รายการเกิดประโยชน์มากขึ้นกว่านี้ -รู้สึกว่ารายการนี้จะวาง script ไว้หลวมเกินไป ซึ่งมีข้อเสียคือมีการหลงประเด็นได้ง่าย และคำถามหลักก็ไม่ได้คำตอบ เพราะมัว เอาเวลาไปคุยเรื่องอื่น แถมเรื่องอื่นที่ไปแตะก็จะเป็นแค่ผิวเผิน ไม่ได้ลงลึก เช่น เรื่องอเมริกาไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ไม่บอกเหตุผลมาเป็นข้อๆ เหมือนพิธีกรคุยกันเอง รู้กันเองสองคน ผู้ฟังไม่รู้ด้วย โดยเฉพาะ EP ที่คุณภูริภัทร์ ดำเนินรายการคู่กับคุณขวัญข้าว มีการออกนอกเนื้อหาหลักบ่อย และเหมือนคุยกันเข้าใจแค่ 2 คน เพราะความสนิทสนมส่วนตัว โดยที่ผู้ฟังไม่รู้ด้วยว่าคุยอะไร โดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน แตกต่างจาก EP ที่เชิญคนอื่นมา เช่น อย่าง ep ที่ 213 หรือตอนที่เชิญพี่ปาร์ค มาจะได้สาระมากกว่า -ประชาพิจารณ์ที่สถาบันพระปกเกล้าไปทำมาก็พูดถึงสั้นเกินไป ไม่ได้วิเคราะห์ว่า การที่ประชาชนตอบมาลักษณะนี้มันเหมือนคำตอบของตำแหน่งนักการเมืองทั่วไปหรือไม่ ไม่ได้จำเพาะกับ ตำแหน่ง สส. (คนดี ซื่อสัตย์ ปฏิบัติหน้าที่ดี) เป็นไปได้ไหมว่า ประชาชนจะไม่รู้ว่า สว. มีบทบาทอย่างไร ต่างจาก สส. อย่างไร ข้อมูลที่ไปเก็บมา ก็ไม่ได้บอกว่าประชาชนต้องการให้มีหรือไม่มีสว แล้วถ้า มีควรจะมีรูปแบบยังไง ซึ่งจะดูมีประโยชน์มากกว่า ที่จะไปถามว่า สว.ควรเป็นคุณสมบัติยังไง ถ้าจะถามเรื่องคุณสมบัติ ควรเจาะจง เช่น ควรกำหนดอายุไหม วุฒิการศึกษาจำเป็นไหม หากต้องการตัวแทนกลุ่มอาชีพ แล้วจะรู้ได้ไงว่า เชี่ยวชาญอาชีพนั้นจริง ฯลฯ -พอได้ยินว่าพิธีกรต้องการให้มี สว. คอยตรวจสอบ ส.ส.อยู่ก็แสดงว่ายังมีความเห็นค่อนไปทางฝ่ายขวา นั่นคือ ต้องมีคนที่พิเศษกว่าคนอื่นที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง (ไม่ว่าจะด้วย ตำแหน่งทางสายเลือด หรือเงินทอง หรือการศึกษาหรือประสบการณ์หรืออายุ) เข้ามามีอำนาจเหนือกว่าประชาชน จึงอยากทราบว่าจุดยืนของสำนักนวัตกรรม ต้องการนำพาประเทศไป เป็นประชาธิปไตยรูปแบบนี้ หรือรูปแบบสภาเดี่ยว ที่ให้เสียงของประชาชนชี้ขาด (ผ่านตัวแทน คือ สส. หรือ ประชาธิปไตยทางตรง เห็นเคยเหน็บแนมในรายการหลายครั้งว่ามีข้อเสีย ผมอยากรู้ว่าประชาธิปไตยทางตรงมีข้อเสียอะไร ถ้าเป็น Liquid democracy จะแก้ข้อเสียได้หรือไม่ และจะมีข้อเสียอะไรใหม่) -ที่พูดถึง Series yellowstone ไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อสารอะไร สื่อสารว่าผู้นำที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ควรพูดตรงไปตรงมาและน่ายกย่องเหรอ หรือต้องการสื่อสารว่า ทำไมประเทศไทยไม่เอาแบบนี้บ้าง ไม่ต้องมีอุตสาหกรรมการเกษตร หรือต้องการประชดประชันเรื่องการ Romanticize ชีวิตเกษตรกร

  • @DKrella
    @DKrella 2 หลายเดือนก่อน

    หายไปหลายเดือนแล้ว ไม่มี episode ใหม่ ๆ ไว้ฟังตอนขับรถเลย คิดถึง Infinity Books รีบ ๆ กลับมานะครับ

  • @rikatinydoll4463
    @rikatinydoll4463 2 หลายเดือนก่อน

    คิดถึงรายการ Minimalist’s diary ค่ะ 🥹

  • @read.abookclubk2551
    @read.abookclubk2551 2 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณpodcast ดีๆ ครับ 😊

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 3 หลายเดือนก่อน

    Comment EP 213 -อย่าให้เสริมเรื่อง ปฏิบัตินิยม หรือ อุดมคตินิยม สิ่งไหนสำคัญมากกว่ากัน ยกตัวอย่างต่างประเทศ หรือแนวคิดประชาชนแนวโน้มไปทางไหน -สมมุติว่าการแก้ปัญหาด้วยปฏิบัตินิยม ตามที่บอกไว้ในรายการ ถ้าไม่คิดถึงอุดมคติที่ควรเป็นเลย ในอนาคตจะก็จะไม่มีทางดีขึ้นได้ เช่น 1.แทนที่จะคิดตามหลักจิตวิทยาคิดตั้งมากมายออแกบบคำถาม โดยให้เลือกแค่ใช่ กับไม่ใช่ แถมยังต้องห้ามใช้คำว่าใช่ ให้เลี่ยงเป็นคำอื่น ทำไมไม่เขียนคำถามที่ละ 10 ข้อ ในการทำประชามติ 1 ครั้ง เพื่อให้ได้คำถามที่เป็นประโยคความเดียว ไม่ใช่ประโยคความรวมหรือความซ้อน เช่น ข้อแรกเห็นด้วยกับการแก้ทั้งหรือไม่ ข้อสองถ้าเห็นด้วยควรแก้ทั้งฉบับหรือไม่ เป็นต้น 2.แทนที่จะแก้ไขโดยการวางประชามติลงไปในการเลือกตั้งย่อยๆทั้งประเทศ ให้มีผลได้ เพราะไม่จำเป็นต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ก็ลองริเริ่มแนวคิดการพัฒนาระบบการเลือกตั้ง online (แน่นอนว่าต้องมีความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนที่โกงไม่ได้) หากทำสำเร็จครั้งเดียวก็จะประหยัดงบประมาณเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปในอนาคต และสามารถทำประชามติได้บ่อยๆ 3.แทนที่จะแก้ไข ด้วยการตัด Double majority ซึ่งทำให้ประชามติน่าเชื่อถือออก เพียงเพราะกลัวว่าคนจะมาใช้สิทธิน้อย ทำให้การเมืองยืดเยื้อ ในระยะยาวอาจลองแก้ปัญหาว่าทำไมคนมีส่วนร่วมน้อย เช่น ประชาชนไม่รู้สึกถึงการแก้ปัญหาได้ด้วยระบบการเมือง หรือ ประชาชนรู้สึกว่าขั้นตอนยุ่งยากเมื่อเทียบกับภารกิจที่ตัวเองมี ถ้าแก้สองข้อนี้ได้แปลว่าควรใช้ double majority ในทุกประชามติที่ทำ -ยังคงถามประเด็นนี้เช่นเดิม เหมือนใน comment EP 212 อยากรู้ idea ของเหล่านักวิชาการของสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตยว่าจะแก้ปัญหา การมีอยู่ของ กติกาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีเงื่อนไขการแก้ที่ไม่เป็นธรรมอย่างไรในเมื่อรัฐบาลไม่จำเป็นต้องอ้างความชอบธรรมใดๆ แค่ “หน้าด้าน” ก็พอ รวมไปถึงประเด็นคล้ายกันว่า หากเขียนกฎหมายให้ไม่เป็นประชาธิปไตยในระบบประชาธิปไตย เรายังต้องเคารพกฎหมายด้วยหรือไม่ เช่น การเลือก ส.ว. ถ้าต้องเคารพ ก็แปลว่าคณะรัฐประหารจะเขียนกฎหมายแต่งตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจล้นฟ้าได้แล้วประชาชนก็ต้องเคารพกฎหมายเหมือนกัน ทำไมถึงไม่สามารถมองได้ว่า เป็นแค่เศษกระดาษที่ไม่ต้องทำตามก็ได้ เพราะมีบ่อเกิดของกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม -ฟังแล้วไม่เข้าใจว่าการเลือกตั้ง สว ในเยอรมันเป็นยังไงเป็นแบบปาร์ตี้ลิส 100% หรือ ถึงคิดว่าได้สัดส่วนที่แตกต่างจาก ประเทศเราซึ่งเขตมีสัดส่วนมากกว่าปาร์ตี้ลิส แล้วแบบไหนจะดี

  • @tanapolnont991
    @tanapolnont991 3 หลายเดือนก่อน

    ขายไหใครับอยากได้มาก

  • @theeddie3904
    @theeddie3904 3 หลายเดือนก่อน

    เวลาคนจีนให้บุหรี่พี่มีปฎิเสธยังไงครับ เเล้วพี่อยู่ร่วมกับคนจีนที่สูบบุหรี่จัดๆยังไงพี่😂

  • @apisaranet5644
    @apisaranet5644 3 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคลิปนี้มากๆค่ะ เป็นคำตอบที่ถามตัวเองมาตลอด :)

    • @TheInfinityTH
      @TheInfinityTH 3 หลายเดือนก่อน

      ดีใจที่ชอบนะคะ :)

  • @deviljak6257
    @deviljak6257 3 หลายเดือนก่อน

    กว่าจะหาเจอ ไม่ค่อยมีคนทำ

  • @บ้านซีโมน-ฌ5ว
    @บ้านซีโมน-ฌ5ว 4 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคลิปดีๆคะ

  • @WorawitSritharathikun-hq8rw
    @WorawitSritharathikun-hq8rw 4 หลายเดือนก่อน

    Comment EP 212 -อยากให้ขยายประเด็นเรื่องของงานวิชาการที่อาศัยผลประโยชน์ของความขัดแย้ง ในแง่ว่าทำได้หรือไม่ได้ การทำแล้วเป็นการส่งเสริมความขัดแย้งให้มากขึ้นหรือไม่ หรือจะทำให้ความขัดแย้งลดลง เพราะอย่างไรมันก็ไม่ใช่สาเหตุทางตรงของความขัดแย้งอยู่แล้ว และในแง่สมควรหรือไม่ เป็นการหา หาประโยชน์ส่วนบุคคลมากหรือน้อยกว่าประโยชน์ส่วนรวม -อยากรู้ idea ของเหล่านักวิชาการของสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตยว่าจะแก้ปัญหา การมีอยู่ของ กติกาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีเงื่อนไขการแก้ที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร ขอยกตัวอย่างไปสุดขั้วกว่าในปัจจุบันเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมุติในโลกคู่ขนาน มีคณะรัฐประหารที่เรียกตนเองว่า ครช. เข้ายึดอำนาจ และตั้งตนเองเป็นนายกฯ รักษาการณ์แทน และเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ปี 60 แล้วให้ประชาชนทำประชามติ รอบแรกไม่ผ่าน กลายเป็นว่า นายกฯ ครช. ก็อยู่ต่อไป แล้วเสนอร่างใหม่ ปี 62 ประชาชนอยากเลือกตั้งไม่อยากรออีก จึงประชามติให้ผ่านรัฐธรรมนูญปี 62 ซึ่งมีใจความสำคัญ คือ 1.กติกาการเลือกตั้งกำหนดไว้ว่า ให้ ครช. คัดเลือกผู้สมัคร สส. แต่ละเขตทั่วประเทศ เขตละ 2 คนขึ้นไป แล้วให้ ประชาชนเลือกตั้งมา 1 ใน 2 คนนั้น ได้เป็น สส. 2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 62 กำหนดไว้ว่า ต้องได้เสียง สส. เกินกึ่งหนึ่งของสภา และได้เสียงของ ครช. เกินกึ่งหนึ่งอนุมัติด้วย 3. นิรโทษกรรมคดีทั้งหมดของ ครช. ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แน่นอนว่า ประชาชน ลุกขึ้นมาต่อต้าน ความไม่เป็นธรรมนี้ ครช. ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้นเพราะมีอาวุธในมือ แค่ “หน้าด้าน” ทำเป็นไม่ได้ยิน แล้วก็พูดซ้ำๆ ว่า “ทำเพื่อความสงบเรียบร้อยปรองดองของคนในชาติ” ก็พอ ท่านจะทำอย่างไรระหว่าง 1.พยายามใช้วิธีนอกกฎหมายแก้กติกาที่ไม่เป็นธรรมนี้ โดยการชุมนุมทั่วประเทศอย่างพร้อมเพรียงกัน แต่ก็อาจถูกปราบปรามด้วยปืนกระสูนจริง แต่ถ้าโชคดีมากๆ เข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ ก็กลายเป็นข้อครหาว่า ใช้วิธีการนอกกฎหมาย มาฉีกรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ต่างอะไรจากการรัฐประหาร 2.พยายามใช้วิธีตามกฎหมายแก้กติกาทีไม่เป็นธรรมนี้ ไม่ว่าจะใช้เวลา 10-20 ปี หรือตลอดชีวิตก็ตาม โดยการไปสวดอ้อนวอน ขอร้องต่อ ครช. ให้ช่วยยอมอ่อนข้อ แก้ไขสักที ซึ่ง ครช. ไม่มีทางยอมถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ทำให้พวกเขาเสียอำนาจ - อยากให้ขยายความหรือวิเคราะห์ว่าทำไมอายุมากถึงอนุรักษ์นิยม เพราะว่าเบื่อหน่ายในการต่อสู้ หรือมีประสบการณ์มากว่าเห็นแล้วมันต่อสู้และเปลี่ยนแปลงแล้วไม่มีปัญหา หรือว่าตนเองอยู่ในที่ที่สบายแล้วเลยไม่อยากเปลี่ยน

  • @นธีเหมมันต์
    @นธีเหมมันต์ 4 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากครับ

  • @Theoutputpodcast
    @Theoutputpodcast 4 หลายเดือนก่อน

    ชอบอ่านแนวนี้หรอครับแอด เผื่อจะได้ร่วมงานกันครับ😊

  • @Nn-ti1kf
    @Nn-ti1kf 4 หลายเดือนก่อน

    หายไปนานจังเลยค่ะ รอฟังตอนใหม่อยู่นะคะ คิดถึงมากเลยค่ะ 😢

  • @อิสริยาวดีบุญเจริญ
    @อิสริยาวดีบุญเจริญ 4 หลายเดือนก่อน

    เห็นบางช่องแปลว่า หลานนอก ค่ะ คือว่าหลานที่เกิดจากทางฝ่ายลูกสาว เมื่อลูกสาวแต่งงานออกเรือนแล้วก็ต้องเปลี่ยนแซ่ หรือเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของสามี ซึ่งสถาน​ะภาพของความเป็นเครือญาติ​จะห่างออกไปแล้ว เสมือนกับไม่ใช่ลูกหลานที่ไกล้ขิดเหมือนฝ่ายลูกชายที่ยังใช้แซ่เดิมอยู่ค่ะ ขอโทษ​น่ะค่ะ น้องฟังมาจากช่องหนึ่งที่อธิบายไว้ค่ะ เพราะน้องเองก็ไม่ใช่คนจีนค่ะ

  • @neocourt
    @neocourt 4 หลายเดือนก่อน

    ร้านเลิกกิจการไปแล้วครับ

  • @rikatinydoll4463
    @rikatinydoll4463 4 หลายเดือนก่อน

    ❤❤❤