Pidthong
Pidthong
  • 818
  • 1 404 582
“บาตามัส” ทุเรียนคุณภาพสามจังหวัดชายแดนใต้ มีกระบวนการส่งออกไปจีน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างไร?
“บาตามัส” ทุเรียนคุณภาพสามจังหวัดชายแดนใต้ มีกระบวนการส่งออกไปประเทศจีน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างไร?
รู้หรือไม่? "บาตามัส" ราชาทุเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ในโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปส่งเสริมมีกระบวนการส่งออกไปยังประเทศจีนอย่างไร? ซึ่งนอกจากสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเพิ่มมาขึ้นแล้ว ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) ก็สามารถสร้างรายได้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่จะทำอย่างไร? ไปดูกันครับ
1.ในสวนทุเรียนมีการจ้างแรงงาน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องใช้แรงงานคนตัดทุเรียน กิโลกรัมละ 6-7 บาท
2.การขนทุเรียนไปยังล้ง ต้องใช้รถในการเคลื่อนย้าย ทำให้เกิดอาชีพรถรับจ้างขนส่งในราคาขั้นต่ำ 2 บาท/กิโลกรัม
3.ในล้งรับซื้อทุเรียน กระบวนการจัดหาหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออก ต้องใช้แรงงานในการโยนทุเรียนค่าแรงวันละ 500 บาท การคัดทุเรียนค่าแรงวันละ 1,500 - 2,000 บาท การนำผลทุเรียนจุ่มน้ำยา ค่าแรง 220 บาท/1,000 กิโลกรัม การแพ็กทุเรียนลงกล่องค่าแรงอยู่ที่ 14 บาท/กล่อง และการขนขึ้นตู้รถขนส่ง ค่าแรงเหมาตู้ละ 2,300 บาท
ซึ่งในทุกกิจกรรมต้องขับเคลื่อนด้วยแรงงานคน ทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งทุเรียนที่ผ่านกระบวนการจัดการ หลังการเก็บเกี่ยว จะเข้าสู่กระบวนการส่งออกไปยังประเทศจีน โดยรถบรรทุกใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วันจะออกจากล้งในพื้นที่ จ.ยะลา เพื่อไปขอ GMP และเสียภาษีส่งออกที่ จ.ชุมพร ผ่านด่านเชียงของ จ.เชียงราย ส่งข้ามไปยังด่านบ่อเต็น ประเทศลาว เพื่อส่งต่อไปยังเมืองโมฮั่น ประเทศจีน และกระจายไปยังพ่อค้าคนกลางในเมืองกวางโจว เป่ยจิง ฉงชิ่ง และช่างไห่
กับอีกเส้นทางหนึ่งคือส่งออกโดยเรือ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 15 วัน โดยจะออกจากล้งในพื้นที่ จ.ยะลา ส่งไปยังบริษัทส่งออก (กทม.) ทำการบรรจุลงกล่อง-ปิดตู้ และขอ GMP พร้อมกับเสียภาษีส่งออก ก่อนส่งลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง มุ่งหน้าไปยังท่าเรือเสอโข่ว มณฑลเซินเจิ้น โดยจะมีบริษัทคู่ค้าเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังลูกค้า ทั้งในรูปแบบผลสด และเนื้อล้วนบรรจุแพ็ก
นอกจากนี้ ยังเกิดผลตอบแทนทางสังคมด้านอื่น ๆ เช่น เกิดอาชีพทำสวนทุเรียนในพื้นที่ ที่มีรายได้มากขึ้น เยาวชนที่ไปทำงานนอกพื้นที่หรือต่างประเทศกลับมายังบ้านเกิด ดูแลสวนทุเรียนของครอบครัว ทำให้ครอบครัวอยู่กันอย่างพร้อมหน้า อบอุ่น ถือเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอีกด้วย
มุมมอง: 186

วีดีโอ

ชวนทำความรู้จัก "บาตามัส" ราชาทุเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้
มุมมอง 1008 หลายเดือนก่อน
ชวนทำความรู้จัก "บาตามัส" ราชาทุเรียนสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุเรียน "บาตามัส" เป็นภาษามลายู ที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขานกัน มีความหมายว่า "ทุเรียนหมอนทอง" ซึ่งเป็นแบรนด์ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ ถือเป็นราชาทุเรียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร ทั้งความอร่อย เนื้อละเอียด มีกลิ่นหอม หนานุ่ม เมล็ดลีบ และรสชาติหวานมัน กลมกล่อม นับเป็นทุเรียนคุณภาพที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนว...
สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยเกษตรกรพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้
มุมมอง 1118 หลายเดือนก่อน
สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยเกษตรกรพัฒนาทุเรียนชายแดนใต้ เมื่อ 24 สิงหาคม 2566 : ประธานสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ (นายกฤษฎา บุญราช) ลงพื้นที่ไปเยี่ยมชมกระบวนการรับซื้อการคัดเกรดคุณภาพทุเรียน และการบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานของโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณ เพื่อเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ล้งรับซื้อทุเรียนพันธมิตรจากเกษตรกรสมาชิกเครือข่าย...
สถาบันปิดทองหลังพระฯ พาชม “สวนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ เพิ่มรายได้เกษตรกรเท่าตัว”
มุมมอง 4809 หลายเดือนก่อน
สถาบันปิดทองหลังพระฯ พาชม “สวนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ เพิ่มรายได้เกษตรกรเท่าตัว” วันนี้ สถาบันปิดทองหลังพระฯ พาเพื่อน ๆ ลงพื้นที่ไปชมสวนทุเรียนคุณภาพของ แบมะ หรือ นายมะรอมือลี เฮงลอโอ๊ะ เกษตรกรในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ โครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูลค่าทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา กันครับ เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ทราบถึงกระบว...
สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยชาวสวนทุเรียนชายแดนใต้ ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิตและมูลค่า
มุมมอง 3909 หลายเดือนก่อน
สถาบันปิดทองหลังพระฯ ช่วยชาวสวนทุเรียนชายแดนใต้ ปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิตและมูลค่า จากปัญหาราคาผลผลิตทุเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกกดราคา จำหน่ายทุเรียนได้ในราคาต่ำมาเป็นเวลานาน สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้เข้าไปดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2561 จึงร่วมกับภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ จัดทำโครงการปรับปรุงคุณภาพและปริมาณเพื่อเพิ่มมูล...
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 6 ตอน น้ำ สร้างความสามัคคี ที่บ้านโนนรัง จ.อุบลราชธานี
มุมมอง 3779 หลายเดือนก่อน
ไม่ต้องมีค่าจ้างค่าแรง มีแต่น้ำใจให้กัน เพราะเมื่อมีน้ำ ชีวิตของเกษตรกรอย่างเรา ก็พลิกฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้ง ชาวบ้านโนนรัง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ประสบปัญหาไม่มีน้ำทำการเกษตร เพราะสถานีสูบน้ำจากลำน้ำเซชำรุด ขณะเดียวกันก็ไม่มีระบบ ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำทำการเกษตรมานานถึง 8 ปี มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ รับรู้ถึงความเดือดร้อนและได้ลงไปสำรวจพื้นที่ เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดย...
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 6 ตอน นึกว่าเป็นแค่ฝัน ที่บ้านคำเตยเหนือ จ.ยโสธร
มุมมอง 4009 หลายเดือนก่อน
“ตอนแรกนึกว่าเป็นแค่ฝัน แต่พอได้ “น้ำ” ก็ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในตำบลเราดีขึ้นกว่าเดิม” จากพื้นที่ที่มีแต่ปัญหาทั้งแล้งซ้ำซาก ไม่มีระบบกักเก็บน้ำ และไม่มีระบบกระจายน้ำให้ทั่วถึงมาอย่างยาวนาน ทันทีที่ทางจังหวัดยโสธรได้แจ้งว่า มีพื้นที่ใดต้องการรับการสนับสนุนเกี่ยวกับน้ำ นายบุญสนอง พลมาตย์ นายกเทศมนตรี ต.คำเตยนอก อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร เห็นช่องทางในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จึงส่งเรื่องแจ้งค...
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 6 ตอน น้ำผุดในนาข้าว ยั่งยืนถึงลูกหลาน ที่บ้านจานเหนือ จ.นครราชสีมา
มุมมอง 2K9 หลายเดือนก่อน
น้ำผุดกลางนา...ไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้ แต่สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ก็เกิดขึ้นแล้วใน ต.กำปัง และจะหล่อเลี้ยงชาวบ้านไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน “ทำนาพึ่งฟ้าพึ่งฝนอย่างเดียวไม่ไหว มีบ่อก็สูบน้ำขึ้นมาใช้ไม่ได้” นี่คือปัญหาที่เกษตรกร บ้านจานเหนือ ต.กำปัง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ต้องต่อสู้กับความแห้งแล้งมาอย่างยาวนาน ทั้งที่ในพื้นที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่กรมทรัพยากรน้ำได้ก่อสร้างไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 แต่เก...
การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน เพื่อจำหน่าย
มุมมอง 16810 หลายเดือนก่อน
เทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน เพื่อจำหน่าย เช้านี้ พี่อุ้ย เอกพล เพ็ชรพวง ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ จะพาไปดูเทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ (การเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน เพื่อจำหน่าย) ที่สวนทุเรียน ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา หลังจากครั้งที่แล้วได้เรียนรู้เรื่องของการจัดการทุเรียนในระยะผล ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ส่วนจะมีวิธีและขั้นตอนอย่างไรบ...
สถาบันปิดทองหลังพระฯ น้อมนำหลักการทรงงาน ช่วยประชาชนที่ประสบภัยแล้ง
มุมมอง 1.2K10 หลายเดือนก่อน
สถาบันปิดทองหลังพระฯ น้อมนำหลักการทรงงาน ช่วยประชาชนที่ประสบภัยแล้ง สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ลงพื้นที่ช่วยเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง โดยน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการกำหนดขั้นตอนการทำงานตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต้นแบบ โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วย...
การจัดการทุเรียนในระยะผล ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
มุมมอง 35910 หลายเดือนก่อน
เทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ การจัดการทุเรียนในระยะผล ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เย็นนี้ พี่อุ้ย เอกพล เพ็ชรพวง ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ จะพาไปดูเทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ (การจัดการทุเรียนในระยะผล ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต) ที่สวนทุเรียน ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา หลังจากครั้งที่แล้วได้เรียนรู้เรื่องของการชักนำตาดอก การดูแลระยะดอก และการผสมเกสรของต้นทุเรียนกันไปแล้ว ส่...
เทคนิคการใช้เชือกโยงกิ่งทุเรียน ป้องกันผลผลิต ฉีก หัก จากลมพายุ
มุมมอง 2.8K10 หลายเดือนก่อน
ปิดทองหลังพระฯ นำเทคนิคการใช้เชือกโยงกิ่งทุเรียนป้องกันผลผลิต ฉีก หัก จากลมพายุ ของ พี่ ๆ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ มาฝากกันครับ และสามารถติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ และเทคนิคการดูแลบำรุงรักษาต้นทุเรียน เพิ่มเติม ผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊กแฟนเพจ #เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ ได้ที่นี่ profile.php?id=100...
การชักนำตาดอก การดูแลระยะดอก และการผสมเกสรของต้นทุเรียน
มุมมอง 2.7Kปีที่แล้ว
เทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ การชักนำตาดอก การดูแลระยะดอก และการผสมเกสรของต้นทุเรียน เย็นนี้ พี่อุ้ย เอกพล เพ็ชรพวง ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ จะพาไปดูเทคนิคการดูแลทุเรียนให้ได้คุณภาพ (การชักนำตาดอก การดูแลระยะดอก และการผสมเกสรของต้นทุเรียน) ที่สวนทุเรียน ต.กาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส หลังจากครั้งที่แล้วได้เรียนรู้เรื่องของการเตรียมต้นทุเรียนในระยะสะสมอาหาร ก่อนออกดอก...
มหกรรมเปิดบ้าน "เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้"
มุมมอง 334ปีที่แล้ว
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ รวมพลังชาวสวนทุเรียน 3 จังหวัด เปิดบ้านโชว์กระบวนการผลิตทุเรียนคุณภาพ พร้อมกับแสวงหาพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันทุเรียนใต้สู่สากลด้วยความมั่นใจในคุณภาพที่ดีที่สุด นายเอกพล เพ็ชรพวง ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของวิสาหกิจทุเรียนคุณภาพ 20 วิสาหกิจ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้...
ติดตามโครงการต้นแบบการส่งเสริมการปลูกพืชหลังฤดูทำนา กับ เจ้าหน้าที่ปิดทองหลังพระฯ
มุมมอง 298ปีที่แล้ว
เช้านี้ นายสุรจิตร นามน้อย หรือ พี่โน๊ต ผู้จัดการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พาไปลงพื้นที่ติดตามโครงการต้นแบบการส่งเสริมการปลูกพืชหลังฤดูทำนา ที่แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ นายธนพล เสนบี้ หรือ พ่อธนพล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านหนองบัวคำมูล ต.คูคำ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น กันครับ พ่อธนพล เล่าว่า ได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เพราะก่อนหน้านี้ชาวบ้านใน...
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และการทำใบสะสมอาหารก่อนออกดอก
มุมมอง 1.1Kปีที่แล้ว
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และการทำใบสะสมอาหารก่อนออกดอก
สู้เพื่อรอด ตอน ไม่สู้เพียงลำพัง
มุมมอง 532ปีที่แล้ว
สู้เพื่อรอด ตอน ไม่สู้เพียงลำพัง
ปิดทองหลังพระ ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ช่วยเหลือเกษตรกรมีรายได้เพิ่มพูน
มุมมอง 332ปีที่แล้ว
ปิดทองหลังพระ ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 ช่วยเหลือเกษตรกรมีรายได้เพิ่มพูน
สู้เพื่อรอด ตอน ความสามัคคี
มุมมอง 278ปีที่แล้ว
สู้เพื่อรอด ตอน ความสามัคคี
สู้เพื่อรอด ตอน สิทธิ์และหน้าที่
มุมมอง 351ปีที่แล้ว
สู้เพื่อรอด ตอน สิทธิ์และหน้าที่
สู้เพื่อรอด ตอน จุดเริ่มต้น
มุมมอง 975ปีที่แล้ว
สู้เพื่อรอด ตอน จุดเริ่มต้น
สู้เพื่อรอด ตอน ปฐมบท
มุมมอง 349ปีที่แล้ว
สู้เพื่อรอด ตอน ปฐมบท
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ผู้ใหญ่วิทวัส เอื้อนไธสง "พัฒนาไม่กลัว กลัวไม่ได้พัฒนา"
มุมมอง 650ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ผู้ใหญ่วิทวัส เอื้อนไธสง "พัฒนาไม่กลัว กลัวไม่ได้พัฒนา"
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน พิกุลทอง สิงห์คำป้อง "ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน"
มุมมอง 423ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน พิกุลทอง สิงห์คำป้อง "ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน"
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน "น้ำ" สร้างสุข ที่ บ้านโนนสวาท จ.กาฬสินธุ์
มุมมอง 352ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน "น้ำ" สร้างสุข ที่ บ้านโนนสวาท จ.กาฬสินธุ์
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน บุญหลาย "จากคนขี้เมา สู่นักพัฒนาแห่ง ต.ขุนน่าน"
มุมมอง 1.3Kปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน บุญหลาย "จากคนขี้เมา สู่นักพัฒนาแห่ง ต.ขุนน่าน"
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ครูดี้-นพดล แสนอินต๊ะ "ครูกาแฟแห่งเปียงซ้อ"
มุมมอง 419ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ครูดี้-นพดล แสนอินต๊ะ "ครูกาแฟแห่งเปียงซ้อ"
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน บุญมาก สิงห์คำป้อง "เกษตรกรนักสู้ เกษตรกรนักบุญ"
มุมมอง 428ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน บุญมาก สิงห์คำป้อง "เกษตรกรนักสู้ เกษตรกรนักบุญ"
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ไกล้รุ่ง บุญเกิด "กะเหรี่ยงโป ผู้กล้าเปลี่ยน"
มุมมอง 774ปีที่แล้ว
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 5 ตอน ไกล้รุ่ง บุญเกิด "กะเหรี่ยงโป ผู้กล้าเปลี่ยน"
มะพร้าวน้ำหอมทุ่งโป่ง พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง ให้ผลผลิตต่อเนื่องกว่า 30 ปี
มุมมอง 16Kปีที่แล้ว
มะพร้าวน้ำหอมทุ่งโป่ง พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง ให้ผลผลิตต่อเนื่องกว่า 30 ปี

ความคิดเห็น

  • @gulickbaba1035
    @gulickbaba1035 3 หลายเดือนก่อน

  • @user-iq5ge4kq8x
    @user-iq5ge4kq8x 9 หลายเดือนก่อน

    สุดยอดครับ ทุเรียนสวย ผลผลิตน่าบริโภค จุดประกายความฝัน. .🙏🙏🙏🙏

  • @darinnamwat4488
    @darinnamwat4488 9 หลายเดือนก่อน

    ทุเรียนหน้ากินมากกกค่ะ